วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตเอ็นจีโอ


ความกดดันของคนในพื้นที่ต่อคนในพื้นที่ด้วยกัน
ความกดดันหรือความน้อยเนื้อต่ำใจที่คนในพื้นที่มีต่อกันก็คือ เรื่องของความร่วมมือร่วมใจกันในการต่อต้านโครงการเหมืองแร่โปแตช สิ่งที่ผู้เขียนได้ยินเป็นประจำจากบรรดาแกนนำในหมู่บ้านต่างๆก็คือ เราต่อสู้กันแทบตายเหนื่อยก็เหนื่อย บางคนก็ยังไม่ลุกขึ้นมาอยู่เฉยๆ ไม่สนใจอะไร บางคนก็ช่วยออกเงินแต่เวลาสำคัญๆก็ไม่ได้ช่วยออกไปแสดงพลัง อย่างไปศาลากลางจังหวัดก็ไปน้อย ออกแต่เงินค่าน้ำมัน ค่าข้าว ค่าน้ำซึ่งเราไม่ต้องการต้องการคนมากกว่า
สิ่งที่พี่สุวิทย์เคยบอกพวกเราคนทำงานเสมอก็คือ จำนวนหรือปริมาณไม่สำคัญเท่ากับคนที่มีคุณภาพ มีความเสียสละเพื่อชุมชนจริงๆ การไปมากไปน้อยไม่ใช่สิ่งที่เป็นเครื่องหมายของชัยชนะ บางครั้งจำนวนคนที่ไปชุมนุมน้อยก็สามารถต่อรองหรือกดดันกับรัฐบาลได้ หากคนเหล่านั้นมีความสามารถในการเจรจา มีระเบียบวินัยในตัวเอง ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าวเพราะหากเราเข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่ผิดแผกแตกต่างกันไป ในการทำงานเราต้องสามารถเลื่อกคนที่เหมาะสมกับการทำงานได้ เช่นอาจเป็นแกนหลักในทางความคิด อาจเป็นแรงงานสำคัญในการเตรียมกิจกรรม เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย กฎระเบียบ กติกาของกลุ่ม หรือเป็นผู้ช่วยเหลือในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งปัจจัย สิ่งของและแรงงาน โดยที่เรามองว่าทุกคนคือมิตรไม่ใช่ศัตรู การทำงานเคลื่อนไหว งานมวลชน จึงต้องทำความเข้าใจจิตวิทยามวลชน ยอมรับในความแตกต่างๆ หลากหลาย อย่างน้อยการที่เขยังสนับสนุนเราก็สะท้อนได้ว่าความคิดของเขาก็ยังต่อต้านโครงการเหมืองแร่โปแตชเหมือนบรรดาแกนนำเช่นกัน ดังนั่นทุกครั้งที่ผู้เขียนประชุมไม่ว่าจะคนเดียวหรือไปกับพี่สุวิทย์ บางบ้านแม้จะมีคนฟังไม่ถึง10 คนแม้แต่คนเดียว ก็ต้องมีการเปิดประชุมไม่มีการยกเลิก ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...