วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เลวี่ สเตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม

เลวี่ สเตร๊าท์ นักมนุษยวิทยาโครงสร้างนิยม กับการศึกษาแนวภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง
การเกิดขึ้นของสำนักโครงสร้างนิยม(Structuralism) ในช่วงปี1960 ที่นำโดยเลวี่ สเตร๊าท์ ในความเรียงอัตชีวประวัติของเขาชื่อ Tristes Tropiques(1958) ในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของนิยายปรัมปรา(myth) ที่มีเรื่องราวของแอ็ดดิวอล(Story of Adiwal:1967) รวมถึงการบรรยายครั้งแรกที่College de France ในหัวข้อขอบเขตทางมานุษยวิทยา(Scope of Anthropology:1967)  และการกลับมาวิเคราะห์ของเขาในการนับถือสัญลักษณ์ของพืชและสัตว์(Totemic illusion)ในเรื่องTotemism(1963) และการศึกษาความคิดของคนป่าและศาสตร์เชิงรูปธรรมใน เรื่อง The Savage mind (1966)  เลวี่ สเตร๊าท์ คาดหวังกับการค้นพบรูปธรรมและตรรกะของจิตใต้สำนึก ในความคิดของคนป่าที่นำไปสู่การวิเคราะห์โครงสร้างและสัญวิทยา เกี่ยวกับนิทานปรัมปรา การตีความหมายในพิธีกรรม การใช้ถ้อยคำ คำพูดและเหตุการณ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์อื่นๆของวัฒนธรรม ที่เป็นของคนพื้นเมือง นี่คือแนวทางของเลวี่ สเตร๊าท์ ในการศึกษาแบบโครงสร้างนิยม ที่วิเคราะห์ปฎิบัติการทางภาษาศาสตร์ การสร้างความหมายเกี่ยวกับนิทานปรัมปรา พิธีกรรม การจัดประเภทจำแนกแยกแยะเกี่ยวกับเครือญาติ ที่เป็นการอ้างถึงแนวความคิดของโซซูร์ในเรื่องของสัญวิทยากับการศึกษาทางมานุษยวิทยา
โดยโซซูร์ มองว่า ระบบของสัญญะเช่นเดียวกับ รูปแบบทางสัญลักษณ์ ความสุภาพ สัญลักษณ์ทางทหาร ภาษาในนิทานปรัมรา  คำพูดและท่าทาง ที่เป็นสัญญะของพิธีกรรม กฎเกณฑ์การแต่งงาน ระบบเครือญาติ ประเพณี จารีตที่เป็นกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่แน่นอนของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ(Singer:1983)
ในความเรียงอัตถชีวประวัติของเขา Tristes Tropiques   เขาได้หันเหออกจากความคิดของมานุษยวิทยาฝั่งตะวันตก ที่เป็นรูปแบบของการเสาะแสวงหาศึกษาคนพื้นเมืองหรือคนป่าจริงๆ ทำให้เขาพบปัญหาใน การสนทนากับคนเหล่านั้น  เมื่อการสนทนากลายเป็นสิ่งที่ล้มเหลวเพราะเราไม่รู้จักภาษาอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความเงียบหรือพูดไม่ได้ เมื่อการสนทนาข้ามวัฒนธรรมเกิดขึ้น นักมานุษยวิทยาโครงสร้างได้สะท้อนกลับในลักษณะของโครงสร้าง  ที่ได้ให้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ที่เลวี่-สเตร๊าท์ ได้แนะนำ สามารถจะเป็นสิ่งที่วิเคราะห์ไปยังทฤษฎีที่เป็นหนึ่งเดียว  ของการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์(word) ผู้หญิง(woman) สินค้า(goods)และบริการ( services)
ความคิดของเลวี่-สเตร๊าท์ ในทางโครงสร้าง ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคาร์ลมาร์กซ์ (Karl Marx) ในคำประกาศที่มีชื่อเสียงว่ามนุษย์สร้างประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง แต่พวกเขาไม่รู้ว่าพวกเขาได้สร้างมันขึ้นมา ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมานุษยวิทยา กับประวัติศาสตร์ รวมถึงความซับซ้อนทางจิตวิทยาที่เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก นอกจากนี้เขายังได้แบ่งปันความคิดกับนักภาษาศาสตร์อย่างวีโก้ (Vico) ที่ความสนใจในภาษาเช่นเดียวกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แต่วิธีการทางภาษาศาสตร์ที่ทันสมัยของเขาได้วิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาศาสตร์  มนุษย์เป็นผู้ครอบครองควบคุมในลักษณะที่แตกต่าง ที่ประกอบสร้างรูปแบบของปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรม รูปแบบชีวิตทางสังคม  เป็นสิ่งที่ถูกจัดตั้งและทำให้คงอยู่ตลอดไป 
การวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษา ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์วัฒนธรรมที่ใหญ่  วิธีการของเลวี่-สเตร๊าท์  ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสิ่งที่ไม่ใช่ภาษา แต่มีโครงสร้างคล้ายภาษา มีองค์ประกอบย่อยๆเหมือนกับความคิดเกี่ยวกับหน่วยของเสียง(Phoeme)ที่ประกอบขึ้นเป็นคำ เป็นประโยค เป็นภาษา  ที่เขานำไปสู่การรับรู้เข้าใจการประกอบสร้างเกี่ยวกับพฤติกรรมทางวัฒนธรรม  (Cultural Behavior) ไม่ว่าจะเป็นพิธีฉลอง พิธีกรรม ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน วิธีการทำอาหาร (Method of cooking) ระบบสัญลักษณ์พืชสัตว์ (Totemic System) ที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นเนื้อแท้ภายในตัวเองที่แยกขาดจากส่วนอื่น แต่อยู่ในชุดของความสัมพันธ์ที่แตกต่างตรงกันข้าม ที่พวกเขามีกับสิ่งอื่นๆ  ซึ่งสร้างความเหมือนกันทางโครงสร้างของพวกเขากับโครงสร้างของหน่วยเสียงทางภาษา
ดังเช่นชุดคำของเครือญาติซึ่งเป็นส่วนประกอบของความหมายเหมือนหน่วยของเสียง ที่พวกเขายอมรับและเข้าใจความหมายเหล่านั้น ถ้าพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกรวมเข้าไปยังระบบ ระบบเหล่านี้เป็นสิ่งที่เห็นการรวมกันของรูปแบบ ประเภทของภาษา ในชุดของกระบวนการยอมรับการก่อตั้ง จัดตั้ง ระหว่างปัจเจกบุคคล และกลุ่ม เกี่ยวกับประเภทที่แน่นอนของการสื่อสาร (Communication)  แต่ละระบบที่เป็นเครือญาติ อาหาร และความคิดทางการเมือง พิธีกรรมการแต่งงาน  การปรุงอาหารและอื่นๆ ที่ประกอบสร้างการแสดงออกที่เฉพาะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทั้งหมด ที่คิดและเข้าใจได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ นั่นคือความคิด ทัศนคติที่ไร้สำนึก(Unconscious attitude) ของเลวี่-สเตร๊าท์ ที่วิเคราะห์ใน 3 ระบบของการผลิตทางวัตถุ ที่มีคุณค่าในเรื่องของ
1)ระบบเครือญาติ(Kinship)  ที่เป็นเสมือนกฎเกณฑ์ในเรื่องของการแต่งงาน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ครอบครัว ชายและหญิง เลวี่ สเตร๊าท์ เสนอว่า  ระบบหรือโครงสร้าง อาจจะเป็นหนึ่งเดียวหรือความเหมือนกัน กับโครงสร้างทางภาษาของสังคม รวมทั้งประเภทพื้นฐานที่แตกต่างของระบบการติดต่อสื่อสาร ในสังคมเดียวกัน ที่เป็นเครือญาติกัน และภาษาก็เป็นโครงสร้างของความไร้สำนึกที่บ่งชี้ หรือแสดงให้เห็น            เลวี่-สเตร๊าท์ ได้ให้ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของระบบเครือญาติในมุมมองที่กว้างและใหม่  ในทัศนะมุมมองเกี่ยวกับหน้าที่ของการแลกเปลี่ยนผู้หญิง เกี่ยวกับบทบาทของลุง(The Avunculate) ในสังคมดั้งเดิมที่ดูเหมือนจะลึกซึ้งมากกว่า  ดังที่เลวี่ สเตร๊าท์เล่าว่า
“เมื่อเรา พิจารณาสังคมของThe Cherkess และTrobriand มันเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอกับการศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงทัศนคติระหว่าง พ่อ-ลูกชาย(Father/son) และUncle/Sister’s Son ที่เป็นความสัมพันธ์ลักษณะหนึ่งเท่านั้น เกี่ยวกับโลกที่บรรจุ 4 ประเภท ชนิดของความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงรูปแบบดั้งเดิม กล่าวคือ Brother/Sister  ,husban/wife, Father/Son และMother’s brother/Sister’s son ที่เป็น2กลุ่มในตัวอย่างของเราที่แสดงกฎเกณฑ์ ที่สามารถกำหนด จัดวาง เช่นเดียวกับสิ่งที่ตามมาในแต่ละความสัมพันธ์ระหว่าง Maternal Uncle และหลานชาย(Nephew) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์ระหว่างน้องชายพี่ชายและพี่สาวน้องสาว เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชาย แม่กับลูกสาว ระหว่างสามีและภรรยา ดังนั้นถ้าเรารู้คู่หนึ่งของความสัมพันธ์ มันเป็นความเป็นไปได้อยู่เสมอกับการอนุมาน สรุป บอกเป็นนัยเกี่ยวกับสิ่งอื่นๆ”(SA.42)
“แน่นอนครอบครัวทางชีววิทยา(Biological Family) เป็นสิ่งที่อยู่ทุกหนทุกแห่งในสังคมมนุษย์ แต่อะไรเป็นสิ่งที่ถูกมอบให้ภายใต้ความเป็นเครือญาติ  ที่เป็นลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมมากกว่า  ไม่ใช่อะไรที่สงวนรักษาไว้ในธรรมชาติ และค่อนข้างเป็นหนทางที่สำคัญ ที่จะแยกออกจากธรรมชาติ ดังนั้นระบบเครือญาติไม่ได้ประกอบหรือมีอยู่ในวัตถุ ที่ผูกมัดเกี่ยวกับเชื้อสาย หรือความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ระหว่างบุคคลที่มันมีอยู่ในความสำนึกของมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นระบบของการเป็นตัวแทน(System of Representation)  ที่ถูกกำหนดให้เป็น ไม่ใช่การพัฒนาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ”(SA.50)
“ระบบเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อทำหน้าที่รับประกันความมั่นคงถาวรของกลุ่ม โดยความหมายของการมีชัยชนะระหว่างกัน ที่เกี่ยวข้องกับสายโลหิต และการเชื่อมโยงผูกติดกันอย่างใกล้ชิด  พวกเขาอาจจะเป็นสิ่งสามารถพิจารณาเช่นเดียวกับ พิมพ์เขียว ของกลไกลโครงสร้าง ที่ปั๊มฉีด ผู้หญิงออกมาจากครอบครัวที่เกี่ยวข้องทางสายโลหิตของพวกเขา กับการแจกจ่ายพวกเขาในกลุ่มที่ผูกพันกันอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้เป็นการสร้างกลุ่มทางสายเลือดใหม่..”(SA,309)
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เน้นย้ำความสัมพันธ์ของการถูกกำหนดให้เป็นของสิ่งที่เรียกว่าเครือญาติ และเป็นระบบที่ลักษณะของเครือญาติเป็นสิ่งที่เราสามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับระบบของภาษา  เครือญาติคือระบบสัญลักษณ์ ที่ได้ให้สนามที่สมบูรณ์ของนักมานุษยวิทยา ในการวิจัยทางมนุษยวิทยาและภาษาศาสตร์
2)นิทานปรัมปรา(Myth)  ภาษาในระบบของนิทานปรัมปราอ้างอิงกับระบบการสร้างความหมาย ในทางภาษาศาสตร์นั้นมานุษยวิทยา ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทางสังคมในระดับพื้นผิว ที่เป็นประสบการณ์ที่รู้สึกเข้าใจโดยสมาชิกปัเจกจชนในชุมชน ดังที่นักภาษาศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับนักพูดพื้นเมือง ที่การทำงานทางภาษาของเขาเป็นพวกประสบการณ์นิยมเท่านั้น ในขณะที่นักมานุษยวิทยาเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของความไร้สำนึก ซึ่งสามารถเป็นสิ่งที่เห็นได้ เมื่อพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกปลดปล่อยออกมา เช่นเดียวกับพ่อมดหมอผี(Shaman) ที่เป็นเสมือนผู้รักษา เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยในชุมชนโบราณดั้งเดิม  ดังที่เลวี่-สเตร๊าท์ ได้แสดงให้เห็น ว่าศาสตร์สมัยใหม่ก็สนับสนุน กับสิ่งที่พวกเรามองเห็น ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลลัพธ์ ระหว่างเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บ ที่Shaman เป็นผู้รักษา ที่อาศัยอยู่ในความสามารถของเขากับในความสัมพันธ์ของโรคภัยไข้เจ็บ กับโลกของนิทานปรัมปรา และสัตว์ประหลาด ปิศาจ(Monsters) ที่ซึ่งบุคคลที่เจ็บป่วยเชื่ออย่างแท้จริง ดังที่เขาบอกว่า
“นั่นคือปรัมปรานิยาย ของ Shaman ที่ไม่ได้ตอบสนองกับสิ่งที่แท้จริง ไม่ได้มีแก่นสารเรื่องราวใด ความเจ็บป่วยของผู้หญิงถูกเชื่อถือในตำนานและเกี่ยวข้องกับสังคม ที่ซึ่งเชื่อถือมันในจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์ผู้ปกครอง (Tutelary spirits)และวิญญาณชั่วร้าย(Malevolent Spirit) สัตว์ประหลาด ปิศาจที่เหนือธรรมชาติ(The supernatural monsters) และสัตว์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์คาถา(Magical Animal) เป็นทั้งหมดของระบบที่ยึดโยง เกาะเกี่ยวกับความคิดของคนพื้นเมือง ในเรื่องของจักรวาลวิทยา ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมา ทำให้อาการเจ็บป่วยของผู้หญิงมีการยอมรับ ในการมีอยู่จริง เกี่ยวกับนิทานปรัมปราเหล่านี้ ที่ค่อนข้างจะถูกต้องมากกว่า และไม่มีการตั้งคำถามกับการมีอยู่ของพวกเขา อะไรที่พวกเขา/เธอ ไม่ยอมรับ เป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และการกำหนดความเจ็บป่วยเป็นส่วนประกอบที่แตกต่างในระบบของเขาและเธอ  ...มนุษย์ได้เข้ามาอยู่ในนิทานปรัมปรา ที่ทุกสิ่งทุกยอย่างกลับมาอยู่รวมกัน เต็มไปด้วยความหมาย ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้หญิง ที่ไม่ได้มีอะไรไปกว่าการสละทิ้งซึ่งตัวหล่อนเอง การยอมรับในความเชื่อเหล่านั้น แล้วหล่อนจะได้รับสิ่งที่ดี...ดังนั้นอาการป่วยของผู้หญิงจึงเป็นสิ่งที่ถูกเรียกว่า Subjected”(SA.197-198)
นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างนิทานปรัมปราและภาษา ที่ได้เข้ามาอยู่ในศูนย์กลางทางความคิดของ  เลวี่ สเตร๊าท์  ซึ่งเขามีมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับความคิดของคนป่าว่า ธรรมชาติของความคิดนั้นเปิดเผยตัวมันเองในโครงสร้างของนิทานปรัมปรา เช่นปมออดิปุสที่ปรากฏในนิทานประเภทลูกฆ่าพ่อเอาแม่เป็นเมีย พ่อลงโทษลูกเพราะเมื่อลูกเกิดมาจะนำภัยพิบัติมาสู่บ้านเมือง จึงต้องถ่วงน้ำ ฝังดินเพื่อให้สิ้นชีวิต แต่ลูกไม่ตายและกลับมาแก้แค้น เป็นต้น เช่นเดียวกับโครงสร้างทางภาษาของนิทาน ที่เปิดเผยให้เห็นความคิดของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างธรรมชาติ วัฒนธรรม  ดังนั้น เป้าหมายของเลวี่ สเตร๊าท์ไม่ได้แสดงว่า มนุษย์คิดอย่างไรในนิทานปรัมปรา แต่นิทานปรัมปราคิดในตัวมนุษย์อย่างไร โดยที่ตัวพวกเขาก็ไม่รู้ เช่นเดียวกับกรณีของเครือญาติ นั่นคือโครงสร้างความไร้สำนึกที่ปรากฏผ่านการเล่านิทานหรือเนื้อหาในนิทานปรัมปรา
ดังที่เลวี่ สเตร๊าท์ บอกว่า นิทานปรัมปรา เป็นสิ่งที่ถูกสร้างหรือผลิตซ้ำ โดยบุคคลหรือการหยิบยืมมาจากธรรมเนียมแบบแผนของการปฎิบัติที่ยอมรับ  ที่ได้รับมาจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม  เราสามารถเริ่มต้นได้กับการตั้งสมมติฐานที่อ้างอิงข้างบนว่า  นิทานปรัมปรา มีการเชื่อมโยงติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดพร้อมกับภาษาในตัวของมันเอง นิทานปรัมปราเป็นสิ่งที่จับยึดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของถ้อยคำมนุษย์(Human Speech) และการวิเคราะห์เกี่ยวกับมัน สามารถมีเป้าหมายที่แผ่ขยายไปยังสนามอื่นๆของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง(Structural Linguistic) ดังเช่นที่Saussure ได้แยก ความแตกต่างระหว่างระบบหรือโครงสร้าง(Langue)และปัจเจกบุคคลหรือเหตุการณ์ประสบการณ์เฉพาะบุคคล(Parole) ดังเช่นนิทานปรัมปราที่ถูกเล่าโดยปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่มาจากระบบที่เฉพาะ  มักถูกอ้างอิงอยู่เสมอกับเหตุการณ์ที่ยืนยันว่ามีการเกิดขึ้นนานมาแล้ว(กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ) ทำให้นิทานเป็นสิ่งที่ก้าวข้ามพรมแดนที่ไร้ช่วงเวลา ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต เมื่อมันถูกถ่ายทอดหรือบอกเล่าออกมาในแต่ละช่วงเวลา  ที่เชื่อมโยงกับระบบและปัจเจกบุคคล ในการกระทำและการดำรงอยู่เพื่ออธิบายโลก อธิบายรากเหง้าของตัวเอง การก้าวข้ามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่มีเกิดจากผลกระทบหรืออิทธิพลของภาษา  เลวี่-เสตร๊าท์ ได้แสดงความคิดใน พื้นฐานสำคัญ 2 อย่างในลักษณะของนิทานปรัมปราที่เขาศึกษา(อ้างจากTerence Hawkes;1978 P.43-44)
2.1 ความหมายของการศึกษานิทานปรัมปรา (Mythology) ไม่สามารถที่จะตั้งมั่นอยู่ในส่วนประกอบที่แยกออกจากกัน ในการประกอบสร้างนิทานปรัมปรา(Myth) แต่มักจะอยู่อย่างมั่นคงถาวรในหนทางที่ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในการสร้างคำอธิบาย และเรื่องเล่า
2.2 ภาษา(Language)ในนิทานปรัมปราแสดงคุณสมบัติที่เฉพาะที่อยู่เหนือระดับภาษาธรรมดา นิทานปรัมปราเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่เกี่ยวกับภาษาเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากหน่วยที่ประกอบกันอยู่ และหน่วยเหล่านี้ถูกสันนิษฐานและมองเห็นกระบวนการทำงานที่เหมือนกันกับหน่วยที่สามารถสังเกตเข้าใจได้ในภาษาธรรมดา ในรูปแบบของหน่วยเสียง(Phoneme) และหน่วยทางภาษาที่เล็กที่สุด(Morpheme)
3) ความคิดหรือธรรมชาติทางความของคนป่า(Savage Mind) เลวี่-สเตร๊าท์ ทำงานอยู่บนธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่า  คนพื้นเมืองและความคิดของคนป่า คือความคิดของคนพื้นถิ่นในความคิดหนึ่งเกี่ยวกับบางสิ่งที่ได้รับติดตัวมาแต่กำเนิด ในความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์ คิดค้นสัญลักษณ์ เช่น Totem ที่เป็นการจินตนาการเกี่ยวกับตัวพวกเขาเองและระบบสังคม เช่นฉันเป็นหมี (I am  a bear)และฉันเป็นนกอินทรีย์(I am the Eagle) ของแต่ละสายตระกูล(Clan) หมีและนกอินทรีย์ เป็นผู้ติดต่อและดำเนินการในเชิงเหตุผล  ที่เป็นเสมือนสัญญะเชิงรูปธรรม กับการทำความเข้าใจพวกเขา ในการวิเคราะห์ตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาในระบบของสัญญะ ในการวิเคราะห์ชุดของความรู้หรือศาสตร์เชิงรูปธรรม(Bricolage /Concrete Science) เป็นสิ่งที่ถูกนิยามในงาน 2 ชิ้น ของเลวี่ สเตร๊าท์ ที่เกี่ยวกับคนพื้นเมือง ในหนังสือ Totemism(1962) และSavage mind(1962) ที่ได้อ้างถึง ความหมายที่ไม่ได้มีในภาษาเขียน(Non-Literate) หรือสิ่งที่ไม่ได้มีความคิดทางเทคนิค เหมือนศาสตร์เชิงนามธรรม(Abstract Science) ของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากศาสตร์เชิงรูปธรรมของคนพื้นเมือง
ศาสตร์ทั้งสองชนิดเป็นสิ่งที่อธิบายในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่มีความแตกต่างกันเป็นคนละประเภท/ชนิด ตามระบบความคิดที่เป็นเรื่องของการรับรู้ จินตนาการและการจำแนกแยกแยะธรรมชาติ ตำนาน นิทานปรัมปราและพิธีกรรมของแต่ละสังคม ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโลกแห่งความเป็นจริงกับจินตนาการเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับการจำลองโลกทางความจริงผ่านนิทานปรัมปรา พิธีกรรม หรือการเล่มกีฬาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละระบบคิดก็มีเหตุผลกันคนละชุดและมีระบบ กฎเกณฑ์กันคนละอย่าง แต่ทั้งสองอย่างต่างก็เท่าเทียมกัน โดยไม่มีความรู้ใดหรือสังคมใดที่ดีกว่าหรือเหนือกว่ากัน เช่นเดียวกับเลวี่ สเตร๊าท์ ต้องการจะปะทะโจมตีกับความคิดสมัยใหม่ ที่มีพื้นฐานอยู่บนเหตุผลนิยม(Realism)และความคิดเกี่ยวกับธรรมชาตินิยม (Naturalism) โดยเฉพาะความคิดยุคหลังฟื้นฟูศิลปะวิทยาการที่การสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกแยกอย่างค่อนข้างสมบูรณ์จากธรรมชาติ(Terence Hawkes;1978) ดังเช่นที่เอ็ดมันส์ ลีซ ได้แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันของการจำแนกแยกประเภททางความคิดเกี่ยวกับสัตว์และพืช ว่า
“ มันคือความจริงเกี่ยวกับกระบวนการสังเกตเกี่ยวกับประสบการณ์ ที่การดำรงอยู่ของมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง ยอมรับทัศนคติทางพิธีกรรม ไปยังสัตว์และพืชในความใกล้เคียงของพวกเขา การพิจารณาสำหรับตัวอย่าง การแบ่งแยก ความแปลกประหลาดพิสดารบ่อยครั้ง กฎเกณฑ์ที่ซึ่งครอบงำพฤติกรรมของชาวอังกฤษ ไปยังสัตว์โลก ที่ซึ่งพวกเขาจำแนกแยกประเภท เช่นเดียวกับ 1) สัตว์ป่า 2) หมาป่า 3)เกมส์ 4)สัตว์ในฟาร์ม 5)สัตว์เลี้ยง 6) สัตว์และนกที่เป็นศัตรูพืช  ข้อสังเกตที่ยิ่งกว่านั้น เมื่อพวกเราจับยึดความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ของคำศัพท์ ก) ความแปลกประหลาด ข) ศัตรู ค)เพื่อน ง)เพื่อนบ้าน จ)เพื่อนร่วมงาน ฉ)อาชญากรรม ทั้งสองชุดของคำศัพท์เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับที่เป็นหนึ่งเดียวกัน”
 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ กับ วัฒนธรรม ในคำนิยมของเขา ในหนังสือ       Le Cru et   le cuit (Raw and Cook)  แสดงความเป็นไปได้ ของการถูกกำหนดให้เป็นของนิยายปรัมปรา ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของกฎเกณฑ์ ที่ปฎิบัติหรือดำเนินการในระดับที่ลึกกว่า   โดยชี้ให้เห็นความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดตลอดเวลาในการสร้างสรรค์เกี่ยวกับนิทานปรัมปราในตัวของมันเอง มีระเบียบกฎเกณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายของผู้เล่า และรักษามันเช่นเดียวกับการผลิตการแสดงเกี่ยวกับภาษา  ที่เป็นหน่วยพื้นฐานและความขัดแย้งตรงกันข้ามในสิ่งที่พวกเขาบ่งชี้หรือแสดงให้เห็น ดังเช่น        การแยกพื้นฐานของสิ่งที่เป็นคู่ตรงกันข้าม  ระหว่าง ดิบ-สุก  ที่แสดงอยู่บนลักษณะความเป็นธรรมชาติ-วัฒนธรรม ที่สะท้อนผ่านการปรุงอาหาร(Culinary/Cooking)  ที่เป็นเสมือนกฎเกณฑ์ที่มีคุณค่า ที่เขาบรรยายใน Mythic Representation  the passage from nature to culture ที่นิยายปรัมปรา ถูกทดสอบอยู่บ่อยครั้ง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พร้อมกับการค้นพบเกี่ยวกับไฟและเกี่ยวกับการปรุงอาหารให้สุก  ความคิดของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติไปยังวัฒนธรรม(อ้างจาก คำบรรยายเรื่อง The raw and the cooked ของLevi-Strauss;1984,หน้า39)  ที่สะท้อนผ่านนิทานปรัมปรา ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดของการปรุงอาหาร  รูปแบบการปรุงอาหาร  ประเภทชนิดของสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร กับการปริโภคเนื้อดิบ สัตว์ที่กินของเน่าเปื่อย ผู้ซึ่งกินของเน่าเปื่อย การจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์ที่กินเนื้อ เช่นเดียวกับสิ่งที่อยู่บนบก(ยักษ์หรือสัตว์ประหลาดกินคน) และสิ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ(ปลาพิรันย่า)  ซึ่งสะท้อนผ่านแนวคิดแบบคู่ตรงกันข้าม ระหว่างสุก ดิบ ความสดใหม่และการเน่าเปื่อย ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม เลวี่-สเตร๊าท์ ต้องการสะท้อนให้เห็นกฎเกณฑ์ ระบบระเบียบทางวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอดผ่านสมาชิกในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค อะไรที่กินได้ อะไรที่กินไม่ได้ อะไรที่สามารถกินดิบได้ อะไรที่ควรปรุงให้สุก และความเหมาะสมกับโอกาสที่เฉพาะในสังคม   เช่นเดียวกับ ข้อห้ามทางเพศในหมู่คนสายเลือดเดียวกัน (Incest taboo) ที่เป็นลักษณะที่ก้ำกึ่งระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่เราสามารถพบได้ในทุกสังคมซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติ และในทางเดียวกันมันก็เป็นการกำหนดขึ้นของสังคมซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...