วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์เกลือโลก โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เกลือและปลาร้า:วาทกรรมว่าด้วยเรื่องของปากท้อง
การต่อสู้ของชาวนาลุ่มน้ำหนองหานกับ
การพัฒนาเรื่องเขื่อนและเหมืองแร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“It is believed that the sticky rice-pla daek civilization emerged in proto-historic times, since  the abundance of sites related to the saline domes apparently goes back to the first millenium B.C.”
(Dr. W.J.Van Liere,1982,p.116)
As we can go From later centres of higher civilization,the world of salt is characterized by sophistication in production,distributionand consumption. In primitivity as in modernity,salt was a citizen of culture.
(S.A.M Adshead;1992,p.3)
“...เมื่อเสร็จหน้าไร่นาก็จะย่างเข้าฤดูร้อนเกลือจะขึ้นส่าตามพื้นดินขาวโพลน คนทุ่งกุลาก็จะไปขูดกองเอาไปเพื่อนำไปต้ม แล้วก็กักเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน และที่สำคัญคือเอาไว้หมักปลา...”
(เดช ภูเก้าล้วน; 2546, หน้า183)
“เกลือต้มหม่องนี่เป็นเกลือชั้นที่หนึ่ง ต้มอยู่บ่อ(หนองเหล็ก) บ่อของชาวบ้านตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เกิดมากะเห็น พอยามหน้าแล้งมันกะขึ้นกาบซาบ...”
(พ่อสุวรรณ ระเบียบโพธิ์ อายุ60 ปี ชาวบ้านอุ่มจาน)
“อึดเกลือ กะยากส่ำอึดเกลือ อึดข้าวกะยากส่ำอึดข้าว คั่นเฮาสิใช้ สิเอือบปลาเฮ็ดปลาร้า มันกะยาก คั่นบ่มี ปลากะเน่า”
(แม่ใจ ระเบียบโพธิ์ อายุ58 ปี ชาวบ้านอุ่มจาน)
“เกิดโรงงานทำเกลือกันอย่างมโหฬารเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าเกลือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งถ้ามองอย่างเผินๆ ดูแล้วไม่น่ามีความสำคัญนอกเหนือไปจากการอุปโภค แต่ในสายตานักอุตสาหกรรมนั้น เกลืออีสานเป็นเกลือที่มีความหมายต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก”
(ศรีศักร วัลลิโภดม:2532,หน้า1)
“we tend to think that what we call  the meaning of a word depends on the fact that it  has been used by speaker on various  occasions with the intention of communicating or expressing this meaning ,and we thus might want to argue that what can in general  be called the structure of a language”
(Jonathan  Culler,1979;P163)
“พวกเราตั้งใจกับความคิดที่ว่า อะไรคือสิ่งที่เราอ้างถึงความหมายของคำศัพท์(เกลือ) ซึ่งดำรงอยู่บนความจริงของตัวมันเอง ที่ถูกใช้โดยผู้พูดในโอกาสอันหลากหลาย  พร้อมกับความตั้งใจในการสื่อสารและการแสดงออกในความหมายของเกลือนี้ และดังนั้น พวกเราอาจจะโต้แย้งได้ว่า อะไรทีถูกกล่าวถึงโดยทั่วไปแล้วถูกอยู่ภายใต้ โครงสร้างของภาษา”
                                                                     (แปลโดยผู้เขียนบทความ)













ภาพอดีต : ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมว่าด้วยเรื่องเกลือ

เกลือและพริกไทยสัญลักษณ์ของการค้าขายและเศรษฐกิจของมนุษยชาติ

เกลือ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยเกลือเป็นธาตุพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ ในการรักษาสมดุลของระดับน้ำในร่างกายและช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหาร เกลืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องปรุงรสชนิดแรกของโลก ที่มนุษย์นำมาใช้ในการปรุงอาหาร และสร้างรสชาติให้กับอาหารและลิ้นรับรสของมนุษย์  เนื่องจากคุณสมบัติพื้นฐานของมันที่มีความเค็ม   นอกจากนี้มนุษย์ยังได้ใช้เกลือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของหลายๆศาสนา โดยเฉพาะพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องมลทินและความบริสุทธิ์ เช่น ในพิธีกรรมของชาวยิวและชาวคริสต์ ที่เรียกว่าศีลล้างบาป จะต้องมีการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ เพื่อเปลี่ยนผ่านสถานภาพ และทำให้บุคคลเหล่านั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่สมบูรณ์ การแตะเกลือที่ริมฝีปากของเด็ก จึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของพิธีนี้ หรือการโยนเกลือเหนือไหล่ เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายที่อาจติดตามตัวมาซึ่งปรากฏให้เห็นความเชื่อเหล่านี้ในหลายประเทศเมื่อพบกับสิ่งที่เป็นอัปมงคลหรือการเข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวข้องกับคนตายก็มักจะโยนเกลือเหนือไหล่เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายที่ตามมา ความหมายของเกลือจึงเป็นเรื่องของการชำระล้าง ความบริสุทธิ์ สะอาด ดังเช่นการแข่งขันซู่โม่ของญี่ปุ่น ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเข้าไปอยู่ในวงกลมเกลือ และก่อนทำการแข่งขันก็จะมีการโยนเกลือเข้าไปในวงเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย  และทำให้การแข่งขันเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์และสะอาดเป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเกลือมีมาตั้งแต่การกำเนิดขึ้นมาของมนุษย์ เราไม่อาจปฎิเสธได้ว่าเกลือเป็นแร่ธาตุสำคัญของร่างกายมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้ และทำให้ร่างกายเกิดสภาวะที่สมดุล เช่นการรักษาระดับน้ำในร่างกายและรวมถึงกระบวนการเผาผลาญอาหาร  เกลือจึงเป็นแร่ธาตุสำคัญพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ เกลือกับมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างมิอาจแยกจากกันได้ ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานของเกลือที่มีรสเค็ม  การเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือและคุณสมบัติของมนุษย์ จึงมักถูกเปรียบเทียบในลักษณะของสิ่งที่หายาก ขาดแคลน เช่นเดียวกับคุณงามความดีที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ ดังเช่นสุภาษิตที่บอกว่า จงรักษาความดีเหมือนเกลือรักษาความเค็ม เหมือนเฉกเช่นมนุษย์ทั้งหลายที่ต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบ ซึ่งก็คือความดีที่ถือว่าเป็นคุณธรรมสำคัญที่ควรติดตัวมนุษย์ทุกคนเพื่อให้เกิดสันติสุข
ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และประวัติศาสตร์เกลือของโลก  เกลือเป็นวัตถุที่มีความสำคัญในทางพิธีกรรมและความเชื่อในทางศาสนา เช่น พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิว และการสักการะบูชาของชาวกรีกในยุคโบราณ  ในโบสถ์ของชาวยิว ได้ใช้เกลือเป็นวัตถุที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรม ในวันหยุดพักผ่อนของชาวยิว ที่เรียกว่า Sabbath  ซึ่งชาวยิวได้ใช้ขนมปังจิ้มเกลือของพวกเขา เพื่อระลึกถึงความทรงจำและความเชื่อในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์  ในโบสถ์คริสต์ เกลือได้ถูกใช้ในพิธีกรรมของความบริสุทธิ์ (Purifying Ritual)  ที่หลากหลาย เช่นการลิ้มรสชาติของเกลือเพียงเล็กน้อย เมื่อผู้ใหญ่แตะเกลือเล็กน้อยลงบนบริเวณริมฝีปากของเด็ก เมื่อเด็กๆเหล่านั้นได้เข้าสู่พิธีล้างบาป ชำระล้างให้บริสุทธิ์ และเปลี่ยนผ่านสถานภาพเป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์
 

นี่คือสิ่งที่พระเยซู ทรงตรัสถึงกฎระเบียบในพิธีนี้ที่เรียกว่า “The Salt of The Earth” ในภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ (Leonado Davinci) อันมีชื่อเสียงที่เรียกว่าภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งมีภาพของจูดาส ลูกศิษย์ที่ทรยศของพระเยซู ได้ทำเกลือหกล้นออกมานอกถ้วย ซึ่งเป็นเสมือนลางหรือสัญญาณ บอกเหตุร้าย ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้รับการยึดถือสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในบางประเทศ  เมื่อพวกเขาทำเกลือหก พวกเขาก็จะหยิบเกลือส่วนหนึ่ง โยนเหนือไหล่ซ้ายของพวกเขา เพื่อขจัดปัดเป่าความชั่วร้ายนานาให้ออกไป  ซึ่งเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของพวกเขา
ภาพการต้มเกลือของจีนโบราณสมัยราชวงศ์เชง
ภาพการต้มเกลือของชาวตะวันตก ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เรียกว่า ภูเขาเกลือ (Rock Salt)

ในทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏผ่านธรรมเนียมปฎิบัติบางอย่าง ได้ใช้เกลือเป็นวัตถุในการปัดเป่าและขับไล่วิญญาณความชั่วร้ายต่างๆให้ออกไปเช่นเดียวกับทางตะวันตก เช่นพิธีกรรมธรรมเนียม ในการโยนเกลือเหนือไหล่ของพวกเขาก่อนที่จะเข้ามาในบ้าน  หลังจากกลับจากการร่วมในงานศพ ซึ่งจะช่วยขจัดปัดเป่าความชั่วร้าย ความกลัวและ ความไม่เป็นมงคลต่างๆ  ที่อาจจะติดตัวมา ในศาสนาชินโต เกลือได้ถูกใช้เหมือนกันในเรื่องของความบริสุทธิ์ของพื้นที่ ก่อนที่ซูโม่หรือผู้ทำการปล้ำ หรือเริ่มทำการต่อสู้แข่งขัน ก็จะต้องเข้ามาอยู่ในวงกลมสีขาวที่ทำจากเกลือ กรรมการก็จะโยนเกลือเข้าไปในศูนย์กลางของวงกลม เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกถึงการเริ่มแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการปัดเป่าความชั่วร้ายหรืออันตรายออกไประหว่างการแข่งขัน 
 การเตรียมเกลือก่อนเริ่มการแข่งขันซูโม่

ชาวไอริสโบราณ ใช้เกลือในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ ว่า เด็กเล็กๆที่ยังไม่ได้เข้าสู่พิธีล้างบาปตามคริสต์ศาสนา ก็อาจจะถูกเทพธิดา นางฟ้าลักพาตัวไป ก็จำเป็นจะต้องมีการป้องกันเด็กทารกเหล่านั้น โดยก่อนที่จะนำเด็กไปนอนบนที่นอน ก็จะต้องผูกถุงเกลือติดไว้กับเสื้อผ้าของเด็ก เพื่อให้ปลอดภัยและหลับง่าย   แม้แต่คนตายก็ตาม เกลือก็ยังช่วยคุ้มครองพวกเขา เช่น ในไอริช สก็อตแลนด์และอังกฤษ ก็ได้มีพิธีตักเกลือด้วยมือขึ้นมา แล้วเทลงบนร่างของคนตายบริเวณหน้าอก เพื่อทำให้วิญญาณของผู้ตายบริสุทธิ์ และป้องกันจากปิศาจร้าย  ในละตินอเมริกา พลังอำนาจของเกลือยังมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในเม็กซิโก มีความเชื่อว่า เกลือบ้านใครหมดก็จะเกิดความชั่วร้ายขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้ ผู้คนในประเทศเยอรมัน  ถ้าเด็กผู้หญิงคนใด ลืมวางขวดเกลือลงบนโต๊ะอาหาร ก็จะแปลความหมายว่า เธอผู้นั้นได้สารภาพว่าได้สูญเสียพรหมจรรย์ หรือความบริสุทธิ์ไปแล้ว
เกลือในทางพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นวัตถุสำคัญที่เป็นเสมือนยารักษาโรค ดังที่ปรากฏชัดใน        พุทธานุญาตโสณเภสัช  ที่กล่าวว่า โดยที่สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยเกลือ เกลือจึงเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้น แก่ผู้มีพระภาคเจ้าฯ ตรัสอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายขออนุญาตเกลือที่เป็นเภสัชคือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือโป่ง เกลือหุง หรือโสณเภสัชอื่นๆ เกลือจึงเป็นเสมือนยารักษาโรคที่ถูกกำหนดไว้ในพระพุทธศาสนาให้พระภิกษุทั้งหลายได้ปฏิบัติและใช้ประโยชน์จากเกลือเพื่อเป็นยารักษาโรคได้ เช่นเดียวกับอารยธรรมจีน ที่ใช้เกลือเป็นยารักษาโรคมากว่า 4,700ปี
ในสมัยโบราณ บางกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้คนที่เคารพนับถือดวงอาทิตย์  มีความเชื่อว่าเกลือเป็นของขวัญที่มีค่ามหาศาลจากเทพเจ้า ผู้มีพลังอำนาจอันมหาศาล  คนเหล่านี้มองว่า ดวงอาทิตย์สามารถแผดเผา น้ำทะเลให้เหือดแห้งจนกลายเป็นเกลือสำหรับมวลมนุษย์ได้ ดังนั้นเกลือจึงเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานมาให้แก่พวกเขา  และจากการที่พวกเขาสามารถทำเกลือจากน้ำทะเลหรือมหาสมุทรได้ ทำให้พวกเขามีเกลือสำหรับการบริโภคไม่รู้จักหมดสิ้น และนั่นทำให้เขาเชื่อว่า เขาได้รับการคุ้มครองดูแลจากเทพเข้าแห่งดวงอาทิตย์นั่นเอง ในสังคมของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง ในอเมริกา เทพเจ้า ผู้ชายและเทพเจ้าผู้หญิง รวมทั้งเกลือเป็น สิ่งที่มีความสำคัญและได้รับการเคารพอยู่เสมอ  ชาวโฮปี(Hopi) เชื่อว่าเทพเจ้าที่มีพลังอำนาจมากที่สุดก็คือ เทพเจ้า แห่งสงครามและเทพเจ้าแห่งเกลือ เทพแห่งเกลือเป็นเทพที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในจักรวาล   ชาวนาวาโจซ์ ได้สร้างเทพเจ้าแห่งเกลือให้เป็นเทพเจ้าผู้หญิง ที่มีพลังอำนาจมหาศาล และชาวแอสแท็ตส์ (Aztec) เชื่อว่าเทพเจ้าแห่งเกลือที่เป็นผู้หญิงนั้น (The Salt Mother) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของเทพเจ้าซึ่งเป็นหัวหน้า และได้รับการสถาปนาให้มีความสำคัญมากที่สุดในจักรวาล

เกลือของชาวพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องบรรณาการที่สำคัญของชาวตะวันตกผิวขาว

เกลือจึงเป็นเสมือนวัตถุ ที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กับโลกทัศน์ ความคิด ความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ รวมถึงความเชื่อทางศาสนา ที่ยึดโยงวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขาในการสร้างขวัญ กำลังใจ การสร้างความบริสุทธิ์ ให้กับร่างกายและจิตวิญญาณ รวมถึงการปัดเป่าความชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บ และภยันตรายต่างๆที่อยู่รอบตัว เกลือ ไม่ได้มีนัยในทางศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมเท่านั้น แต่เกลือยังเป็นรากฐานประวัติศาสตร์ทาง เศรษฐกิจของโลกและความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศมาตั้งแต่อดีตด้วย  ดังที่ Mr.Bloch ได้สรุปว่า อารยธรรมโลก เริ่มต้นตามริมชายฝั่งทะเลทราย เพราะว่าธรรมชาติของพื้นดินที่พบตะกอนเกลือทับถมมากมายที่นี่ เขายังเชื่ออีกว่า มันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามของการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงทรัพยากร ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับเมืองโบราณของแม่น้ำจอร์แดน อันเป็นเมืองที่อยู่บนแหล่งทรัพยากรอันมีค่าสำคัญซึ่งก็คือเกลือ ผู้ใดที่สามารถครอบครองความอุดมสมบูรณ์ของเกลือก็สามารถสร้างความมั่งคั่งในทางเศรษฐกิจมากกว่าพื้นที่อื่นๆบนโลกและแหล่งของเกลือที่ใหญ่ของโลกก็กลายเป็นแหล่งแร่ที่มีมูลค่ามหาศาลในปัจจุบัน  ในอดีตเกลือได้ถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าราคาสูงๆอื่นๆมากมาย เนื่องจากเกลือเป็นสินค้าหลักที่สำคัญและเป็นแร่ธาตุที่มีคุณค่ามาก เช่น ในแอฟริกา ธิเบต และบอร์เนียว ผู้คนใช้เกลือแทนเงินตราในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ดังนั้นรากศัพท์ของคำว่า เงินเดือนหรือค่าจ้าง “Salary” มาจากรากศัพท์ของเกลือ ที่ถูกใช้เป็นค่าจ้างสำหรับทหารโรมันในสมัยโบราณ ที่เรียกว่า “Salarium” หรือชาวยุโรปที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา ก็นำเกลือติดตัวไปเป็นสินค้าในการแลกเปลี่ยน อาหาร ขนสัตว์ ที่ดินกับคนพื้นเมืองอินเดียนแดง
แม้แต่ในภาษาของเราเกลือก็มีผลกระทบต่อลักษณะการดำรงชีวิตของเรา การแสดงออกซึ่ง สัญลักษณ์ สัญญาณ  คำเปรียบเทียบที่แสดงออก (Expression) ดังเช่น “ Worth his Salt” “Above the Salt” “Old Salt” “loyal to one’s Salt’และเงินเดือน”Salary” เป็นสิ่งที่ถูกใช้ในปัจจุบันอยู่ทุกๆวัน
วัฒนธรรมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก มีการยึดถือ มีการใช้ และให้ความหมายของเกลือ ไว้อย่างหลากหลาย เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า(Divinity) ความบริสุทธิ์(Purify) การเชื้อเชิญต้อนรับ(Welcome) เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล(Hospitality) ของขวัญ (Gift) ปัญญาความรอบรู้ (Wit) หรือภูมิปัญญา(Wisdom) ในภาษาสันสกฤต (Sanskrit) ในศัพท์ “Lavanya” แสดงถึงสัญลักษณ์ของความสง่างาม นุ่มนวล (Grace) ความสวยงาม (Beauty)และความมีเสน่ห์(Charm) ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาจากรากศัพท์ของคำว่า”Salt Lavanya”
ดังนั้นเกลือ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมในด้านการค้าและการเมืองในวัฒนธรรมในช่วงเริ่มแรกของที่ต่างๆ ที่ใช้มันประดุจเดียวกับ กระแสเงินตรา(Currency) ในชนบทดั้งเดิมพื้นเมองได้ให้ทอง(Gold) ในการเปรียบเทียบน้ำหนักต่อน้ำหนัก(Weight) สำหรับการแลกซื้อเกลือ
ในบางประเทศที่มีแร่ธาตุอื่นๆที่มีคุณค่า อย่างเช่นทองคำ เช่น ประเทศมาลี หรือซูดาน ค่าของเกลือมีค่าเทียบเท่าทองคำ   คนพื้นเมืองในประเทศซูดาน มีแร่ธาตุที่มีค่าคือทองคำ ในขณะที่ประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งมีเกลืออุดมสมบูรณ์อยู่มากมาย ก็จะนำเกลือมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนกับทองคำ เกิดเป็นเมืองท่าของการค้าขาย ที่เรียกว่า ทิมบักตู (Timbuktu) ที่เป็นเมืองศูนย์กลางระหว่างพรมแดนทั้งสอง  ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญในยุคกลาง  อันมีชื่อเสียง และเป็นจุดขนถ่ายสินค้าที่มีความสำคัญ มีการลำเลียงทองคำด้วยกองคาราวานเดินทางไปแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และการติดต่อค้าขายกับยุโรป มีเรื่องเล่าว่า แขกมัวร์ได้ซ่อนเกลือไว้จำนวนมากที่ท่อนซุงของพวกเขาเพื่อแลกเปลี่ยนกับทองคำ  เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่ในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ก็จะมีการตีกลองให้สัญญาณ และนำเกลือไปกองไว้ที่พื้นดิน  คนงานที่เหมืองทองคำก็จะโผล่ออกมา และเอาแร่ทองคำวางบนพื้นดิน ถัดออกมาจากกองเกลือ และก็กลับไปเพื่อรอคอยผลการเจรจาต่อรอง แขกมัวร์ก็จะกลับมาอีกครั้ง หากพอใจเขาก็จะตีกลองให้สัญญาณอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันสิ้นสุดการค้า แต่หากไม่พอใจเขาก็จะตักเกลือออกไป และรอดูท่าทีของนักขุดทอง ว่าจะยอมหรือไม่ เป็นต้น
พ่อค้าของอาหรับ ที่ถือได้ว่ามีรากฐานทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวโลกได้รู้จัก ตั้งแต่ช่วงโบราณ ซึ่งเป็นการทำการค้าขายผ่านทะเลทรายซาฮาร่า(Sharah) ได้แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของการผลิตเกลือของชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ซึ่งเกลือเป็นสิ่งที่ถูกทำให้แห้งโดยการร่อนแร่เกลือ และบรรทุกเป็นสินค้าโดยกองคาราวานไปตามทะเลทรายที่เรียกว่า Oasis to Oasis ไปตามทะเลทรายซาฮาร่า ถึงป่าทางด้านใต้และกลับมาพร้อมด้วยผงทองคำ งาช้าง(Ivory) หนังเสือ(Goat Skin) และทาส(Slaves)


 
คาราวานเกลือ Salt Road ที่เมืองทิมบักตู(Timbuktu)ในมาลี ซึ่งเป็นการค้าขายกลือผ่านทะเลทรายซาฮาร่า
การทำเกลือบริเวณทะเลสาบซาด(Lake Chad) และการบรรทุกเกลือโดยคาราวานอูฐ

            ดังนั้นในทางเศรษฐกิจ เกลือได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์และสินค้าในการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของชนิดต่างๆ แม้กระทั่งทองคำและทาส ในครั้งหนึ่งเคยมีการกล่าวว่าราคาของเกลือเทียบเท่ากับราคาของทองคำ และราคาของมนุษย์ที่ถูกจับมาขายเป็นทาส  ทำให้เกลือกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่ามหาศาล ที่คนกลุ่มต่างๆต้องการที่จะครอบครอง และควบคุมแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญต่างๆ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์โลกว่า ในอดีตมีสงครามเกี่ยวกับการแย่งชิงทรัพยากรเกลือหลายครั้ง และเกลือก็กลายเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญในการสงคราม เช่นการต่อสู้ของพวกคาธาจิเนียน กับกรีกและโรมัน เพื่อควบคุมศูนย์กลางการผลิตเกลือในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และในทะเลอาเดรียติก  รวมถึงการควบคุมเส้นทางการค้าของเกลือด้วย ซึ่งสุดท้ายพวกคาธาจิเนียนก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เนื่องจากถูกเกลือที่พวกทหารโรมัน บุกเข้าไปโรยในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ของคาธาจิเนียนแห้งแล้ง พืชผลเสียหาย ประชาชนอดอยาก  ดังนั้น อารยธรรมโลกที่สำคัญจึงมีความสัมพันธ์กับแหล่งผลิตเกลือ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของระบบตลาดและระบบเศรษฐกิจการแลกเปลี่ยน  เช่นบริเวณแถบแม่น้ำจอร์แดนซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือที่ใหญ่ของโลกในอดีต  หรือเมืองท่า ทิมบักตู(Timbuktu) บริเวณแถบทะเลทรายซาฮาร่า  ที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในยุคกลางเป็นต้น และเป็นศูนย์กลางการค้าเกลือ ที่เส้นทางสายเกลือหรือเส้นทางการค้าเกลือจากที่ต่างๆได้มาบรรจบกันที่นี่
ดังนั้น เมื่อเกลือได้กลายเป็นวัตถุหรือทรัพยากรแร่ธาตุที่มีคุณค่า มีราคา  ทำให้รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในแต่ละประเทศ ต้องการที่จะเข้ามาควบคุมจัดการทรัพยากรชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งทรัพยากร การควบคุมการผลิต และการจำหน่าย  รวมถึงการบริโภคของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสงคราม ซึ่งต้องการใช้เกลือปริมาณมากก็จะจำกัดการซื้อขายและบริโภคของประชาชนภายในประเทศ  อย่างเช่นตัวอย่างการจัดการทรัพยากรเกลือในอดีตหลายๆประเทศ เช่น อาณาจักรโรมัน จีน ฝรั่งเศส เป็นต้น
เกลือ ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีค่ามากที่สุด และเป็นที่รู้จักของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ ในสมัยโรมัน (Roman Empire) เกลือเป็นที่รู้จักเช่นเดียวกับเงินตรา(Current) ที่นำไปสู่ประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อนำไปสู่เรื่องของสงคราม นโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล(The Fiscal of Policies of Government) และจุดเริ่มต้นของการปฎิวัติในฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่14
 ในอินเดียในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ  ที่ถูกขูดรีดทรัพยากรเกลือที่ผลิตจากน้ำทะเล และการเก็บภาษีในอัตราที่สูง ทำให้ประชาชนชาวอินเดียกว่าพันคน นำโดยมหาตมะ คานธี ได้ต่อต้านโดยเดินขบวนไปที่ชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตเกลือในปีค.ศ.1930 และเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้เป็นชนวนสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษของคนอินเดีย ปัจจุบันเกลือสำหรับคนอินเดีย จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ในการเป็นของขวัญแห่งความทรงจำและอิสรภาพ ที่ชาวอินเดียได้ใช้ให้แก่กัน
ภาษีเกลือ(The Salt Tax) เป็นความสัมพันธ์กับระบบอื่นๆ และกระตุ้นให้เกิดการปฎิวัติในประเทศฝรั่งเศส (The French Revolution) เช่นเดียวกับภาษีเกลือ ที่เป็นประเด็นหลักสำคัญใน พลเมืองของคานธี (Grandhi’s Civil) ที่ไม่เชื่อฟังและเคลื่อนไหวต่อต้านอังกฤษ(British)เกี่ยวกับเรื่องภาษีเกลือ ซึ่งในที่สุดก็ได้นำไปสู่อิสรภาพของอินเดีย



ภาพการเรียกร้องเรื่องการเก็บภาษีเกลือและการผูกขาดเกลือของชาวอังกฤษในอินเดีย
           

คานธีและประชาชนอินเดียเดินเท้าไปประท้วงรัฐบาลอังกฤษในการเก็บภาษีเกลือ

เกลือได้เข้าสู่ระบบทุนนิยมและการผลิตเพื่อการใช้ประโยชน์ปริมาณมหาศาล ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรป ประมาณช่วงปี ค.ศ.1800 โดยการผลิตโซดาแอช โซดาไฟ ที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีสำคัญในอุตสาหกรรมพื้นฐานต่างๆ จำนวนมากกว่า1,000 ชนิด เช่นในอุตสาหกรรมกระจก อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่างๆ หรืออุตสาหกรรมการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร เป็นต้น ดังที่ ประเสริฐ ณ นคร ได้กล่าวไว้ว่า ยิ่งประเทศใดเจริญทางอุตสาหกรรมมากเท่าใด ก็ยิ่งใช้เกลือมากขึ้นเท่านั้น[1]เนื่องจากเกลือเป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรม เกลือจึงถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม มาตั้งแต่อดีต  เพราะคุณสมบัติและคุณค่าในตัวของมัน ที่สามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดต่างๆได้ทันที ในอดีตบางประเทศใช้เกลือแทนเงินตรา เช่นประเทศในแถบแอฟริกา ธิเบตและบอร์เนียว  หรือแม้แต่ในสมัยโรมัน ก็มีการใช้เกลือจ่ายเป็นค่าจ้างแทนเงินเดือนให้กับทหารโรมัน ที่เรียกว่า Salarium  ซึ่งได้กลายมาเป็นรากศัพท์ของคำว่าเงินเดือนในคำภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลในปัจจุบันที่เราใช้คำว่า Salary ในความหมายถึงเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับในการทำงานแต่ละเดือน  รวมถึงคุณค่าในคัวของมันได้ถูกนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับคุณค่าหรือราคาของมนุษย์ เช่นคำกล่าวที่ว่า “ Worth his Salt” “Above the Salt” “Old Salt” “Loyale to One’s Salt” “The Salt of Life” “ Salt Of The Earth”[2] ที่ใช้เปรียบเทียบค่าของคน เข่นคำกล่าวที่บอกว่า เขาไม่มีค่าสมเกลือของเขาเลย ซึ่งเป็นคำกล่าวที่พูดถึงคุณสมบัติของคนคนนั้น ที่ต่ำต้อยไม่ดี มาจากคำกล่าวในภาษากรีกโบราณ ที่ทำการค้าขายทาส โดยใช้เกลือแลกเปลี่ยน เมื่อคนซื้อทาสไม่พอใจทาส ที่ราคาค่าตัวของเขาไม่สมราคาเกลือที่แลกไปก็จะกล่าวว่า เขาไม่มีค่าสมกับเกลือของเขาเลย เป็นต้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง เกลือก็ถูกพูดในฐานะที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าที่สูงส่ง ความน่าเคารพยกย่องของบุคคล หรือความดีที่หาได้ยากยิ่ง เช่นการเปรียบเทียบว่าเขาเหล่านั้นเป็นเกลือของโลก คล้ายกับในสังคมไทย ที่เปรียบเทียบการรักษาความดี ดังเช่นเกลือรักษาความเค็ม แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็กลายเป็นสิ่งที่ด้อยค่า หรือแสดงถึงความทุกข์ยากลำบาก เมื่อเราบอกว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ หรือ กัดก้อนเกลือกินเป็นต้น
 
                        ภาพ1 การทำเหมืองเกลือในยุคเริ่มต้นในอเมริกา ภาพ 2คนพื้นเมืองอเมริกาที่ทำการผลิตเกลืออย่างง่ายบริเวณภูเขาเกลือโดยใช้น้ำและแสงแดด ภาพ 3-4 การทำนาเกลือของชาวไต้หวันและการต้มเกลือทะเล
 
            การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่เกลือและโพแทซ (Salt and Potash Mining)

ในตะวันตกเฉียงใต้ ความเชื่อของอินเดียนแดงเผ่า Pueblo ที่สักการะบูชา สิ่งที่เรียกว่า The Salt Mother ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่มีการจัดการ ควบคุมและอนุญาตเกี่ยวกับการบริโภคเกลือ ในตำนานของพวก Hopi ที่ยึดถือความโกรธเกี้ยวของนักรบคู่ (The angry Warior Twins) ที่มีหน้าที่ลงโทษมนุษย์ โดยการจัดวาง กำหนด มูลค่าของเกลือที่อยู่ห่างไกลจากอารยธรรม(Civilization) ความต้องการทำงานหนักและความกระตือรือร้นต่อการเก็บเกี่ยวแร่ที่มีค่า(Percious Mineral) หรือในปี1993 ดาไลลามะ (Dali Lama) เป็นผู้ที่ถูกฝังอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า Bed of Salt

ภาพปัจจุบัน : วัฒนธรรมของเกลือในปัจุบัน
มนุษย์ดั้งเดิมได้ใช้ประโยชน์จากเกลือ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ในรูปแบบของอาหาร(Dietary) ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของพวกเขา  เกลือได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สำหรับการเพิ่มรสชาติ(Flavoring)ให้กับอาหาร การถนอมอาหารรูปแบบต่างๆ เช่น การหมักดอง(Pickling) การถนอมรักษาเนื้อสัตว์ ปลาและการฟอกหนัง(Tanning) ลักษณะเหล่านี้ได้สร้างเกลือ ให้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษยชาติ ดังที่นักเขียนท่านหนึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า “From Cells in Our Brains and Bones” ที่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถดำรงความเป็นมนุษย์ได้หากขาดเกลือ แม้แต่ในส่วนประกอบของร่างกาย เลือด เซลล์ สมองและกระดูก นอกจากนี้เกลือยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตจารีตประเพณีและวัฒนธรรม สิ่งที่ปรากฏชัดเจนมากที่สุดนั่นคือ วัฒนธรรมด้านอาหาร ดังจะเห็นได้ว่ามีการนำเกลือมาเป็นเครื่องปรุงเครื่องเทศ(Spice)ในการประกอบอาหาร
ในทุกวันนี้ เกลือเป็นสิ่งที่ถูกผลิตโดยการระเหยกลายกลายเป็นไอของน้ำทะเล( Seawater ) หรือน้ำเกลือ(Brine) มาจากแหล่งอื่นๆ ดังเช่นบ่อน้ำเกลือ (Brine Wells) และทะเลสาบเกลือ(Salt Lake) และโดยการทำเหมืองแร่เกลือหิน (Mining Rocksalt) ที่เรียกว่า Halite ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่คุ้นเคย สำหรับการใช้ประโยชน์จากเกลือในการปรุงอาหาร(Cooking) พวกเขาอาจไม่ได้ตระหนักว่า เกลือเป็นสิ่งที่ถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะที่หลากหลายมาก
ด้วยความที่เกลือมีส่วนประกอบของธาตุ 2 อย่างคือ โซเดียม(Sodium)และ คลอไรด์(Choride) ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์ พร้อมกับหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหาร(Metabolism) ด้วยราคาที่ไม่แพงและมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มากมายตื้นดินและในมหาสมุทร ทำให้เกิดการค้าขายเกลือ (Salt Commodity)และการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม(Raw Material) เป็นอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการผลิตทางเคมี นั่นคือ พลาสติก สบู่ ผงซักฟอก อะลูมิเนียม กระดาษ การฟอกย้อมสิ่งทอ (Texiles) และผ้าทอ (Frabric)และกระจก หรือในรูปแบบของสิ่งต่างๆที่ทำมาจากเกลือ ที่พบว่ามีการนำไปใช้มากกว่า14,000 วิธี
ดังนั้นเกลือ เป็นสิ่งที่เพิ่มรสชาติให้อาหารและเป็นสิ่งที่บ่งชี้(Identified) เกี่ยวกับรสชาติพื้นฐาน(Ironically) อย่างน้อยก็แยกรสชาติของอาหารออกจากความจืด เกลือสามารถใช้ป็นสารกันบูดในการถนอมอาหาร และเป็นรากฐานของอารยธรรมที่สำคัญ เกลือเป็นวัตถุที่มีความจำกัดและมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลของอาหาร และการเดินทางเป็นระยะไกลๆ โดยในยุคกลาง มีบันทึกว่า คาราวานของอูฐ 40,000 ตัว ที่เดินทางเป็นระยะทาง400 ไมล์ ของทะเลทรายซาฮาร่า เพื่อทำการค้าเกลือ บางครั้งก็ใช้เกลือในการแลกเปลี่ยนกับทาส




[1]  ประเสริฐ ณ นคร  ในเรื่อ.ของเกลือที่ไม่เค็ม เป็นคำบรรยาย ที่ประเสริฐใด้กล่าวไว้กับนักศึกษาพัฒนาเศรษฐกิจรุ่นที่1
[2] เป็นสิ่งที่ถูกอ้างถึงในคัมภีร์ไบเบิลในบท แมทธิว 9:50 ที่กล่าวว่า “ You are the salt of the earth: but if the ssalt loses its flavor how shall it be seasoned? It is then good for nothing but to be thrown out and trampled underfoot by men” กล่าวคือ ท่านทั้งหงายเป็นเกลือแห่งโลก ถ้าเกลือนั้นหมดความเค็มไปแล้ว จะทำให้กลับมาเค็มอีกได้อย่างไร แต่นั้นไปก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร มีแต่จะทิ้งเสียสำหรับคนเหยียบย่ำ

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ตาราง:แสดงรูปแบบและมิติความสัมพันธ์ของวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนกับกลุ่มต่างๆ นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตาราง:แสดงรูปแบบและมิติความสัมพันธ์ของวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนกับกลุ่มต่างๆ

     ใคร

เบื้องหลังหลัก

สิ่งที่วิพากษ์

คู่ตรงข้ามหลัก

ความหมายที่ส่งผ่าน

องค์กรขับเคลื่อน

รูปแบบ

ยั่งยืนอะไร/ เพื่อใคร

วาทกรรมย่อยๆ

บทบาทของเทคโนโลยี
บริษัทเอเชีย แปซิฟิก โปแตช คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด (APPC)
กลุ่มทุนข้ามชาติ เช่น จีน แคนาดา
อุตสาหกรรมจัวหวัด
กำนันผู้ใหญ่บ้าน 4 ตำบล
หอการค้าจังหวัด
-เศรษฐกิจ
การเจริญเติบโต
-สภาวะปุ๋ยในตลาดโลก
สถานการณ์ความต้องการของเกษตรกรรมในประเทศ
-การอยู่รวมกันระหว่างเหมืองกับสิ่งแวดล้อม
-การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการ
-วิกฤตการณ์ของประเทศ
-กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดลล้อมอุดรธานี
-นักวิชาการที่คัดค้านวิจารณ์
-นักพัฒนาเอกชน
-สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ชุมชน ชาติ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีมาตรการระวัง ควบคุมและชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
-อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนด้วยมาตรฐานการผลิตและระบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
-การพัฒนาเหมืองใต้ดินอย่างต่อเนื่องยาวนานอุดรเหนือใต้ การให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดในลักษณะยั่งยืนยาวนาน
-บริษัทAPPC
-ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์
-กลุ่มสนับสนุนโครงการ
-กลุ่มพิทักษ์สิทธิตนเอง
-อุตสาหกรรมจังหวัด
-หอการค้าจังหวัด
-จัดกิจกรรมต่างๆในชุมขนและร่วมกับชุมชน
-ส่งเสริมอาชีพเช่นเลี้ยงไก่ เพาะเห็ด
-จัดเวทีให้ข้อมูลโครงการตามโรงเรียน หมู่บ้าน กลุ่มต่างๆ
-ร่วมงานประเพณี ผ้าป่า บุญบั้งไฟ บุญกุ้มข้าวและอื่นๆ
-จัดกีฬาระดับตำบล หมู่บ้าน
-ร่วมงานประจำปีทุ่งศรีเมืองของจังหวัด
-ร่วมงานวันอาหารโลก
-จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
-ออกสื่อทีวี วิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
-ช่วยซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้หมู่บ้าน วัด โรงเรียน
-พาสื่อมวลชนและผู้นำไปดูเหมืองในต่างประเทศเช่นออสเตรเลีย แคนาดาและเหมืองแม่เมาะที่ลำปาง
-ร่วมจัดตั้งกลุ่มมูนมังอีสานเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
-สิ่งแวดล้อม
-เศรษฐกิจ
-ชุมชน/สังคม
-ชาติ
-โลก   
-ห่วงใยใส่ใจสิ่งแวดล้อม
-ป้องกันมาตรฐานระดับโลก
-ทำงานร่วมกับชุมชน
-รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-สร้างความสามัคคีในชุมชน
-ครัวโลกในการเกษตร
-ส่งเริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน
-สิทธิที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
-ธุรกิจสีเขียวธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม
-ความจำเป็นของประเทศชาติและผลประโยชน์ของชาติ
-ความยากจนอดอยาก
-ความเจริญมั่งคั่ง
-เกษตรยั่งยืน
-เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการแร่อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
-นักพัฒนาเอกชน
-ชาวบ้านใน4 ตำบล
-นักวิชาการท้องถิ่น
-คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
-การพัฒนาที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
-การกอบโกยผลประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติ
-การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
-รายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไม่ครอบคลุม ผิดขั้นตอน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม
-กฎหมายแร่ริดรอนสิทธิ
-สัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศ
-ข้าราชการในพื้นที่วางตัวไม่เป็นกลาง
-ความขัดแย้งในพื้นที่
-บริษัทเอเชีย แปซิฟิกโปแตช คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด
กระทรวงอุตสาหกรรม
-กลุ่มสนับสนุน
-นิเวศวิทยาเชิงลึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ เก็บไว้ให้ลูกหลานจำเป็นถึงเอาขึ้นมาใช้
-การมีส่วนร่วมของประชาชน การกำหนดอนาคตตนเองในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลย์ยั่งยืน
-การยืนยันในวิถีชีวิตเกษตรกรรม
-ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ชาวบ้านในพื้นที่ 4 ตำบลของโครงการและบุคคล/กลุ่มทั่วไปในจังหวัดที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เช่น ประชาสังคม องค์กรภาคประชาชนในจังหวัด สถาบันราชภัฎอุดรธานี
-จัดเวทีเสวนาในระดับพื้นที่และจังหวัดและระดับชาติ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการมาให้ข้อมูล
-เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับผล  กระทบของโครงการ
-เคลื่อนไหวโดยการยื่นหนังสือคัดค้าน  พรบ.แร่ และอีไอเอ
-เคลื่อนไหวกดดันระดับจังหวัดเพื่อตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช
-สร้างภาคีเครือข่ายนักวิชาการ องค์กรอิสระ นักพัฒนาเอกชนและชาวบ้านที่คัดค้านเคลื่อนไหวกรณีการพัฒนาต่างๆ
-การพาสื่อมวลชนนักศึกษาลงดูพื้นที่โครงการ
-จัดประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ระดมทุน
-จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนเพื่อเผยแพร่ข่าวสารของโครงการเหมืองแร่โปแตช
-สิ่งแวดล้อมและสังคม
-วิถีชีวิต
-ชุมชน
-ชาติ(คนไทยทุกคน)
-สิทธิส่วนบุคคล
-สิทธิชุมชน
-กฎหมายรัฐธรรมนูญ
-การกระจายอำนาจ
-ภูมิปัญญาชาวบ้าน
-ทรัพย์สมบัติของเรา คนไทย ชาติไทย
-ห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม
-มั่นคงยั่งยืน
-พอเพียงพออยู่พอกิน
-วิถีเกษตรกรรม
-การพัฒนาต้องมาจากประชาชน
-ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
-ความจำเป็น/ความต้องการ
เทคโนโลยีทำลายสภาพแวดล้อมและไม่สามารถควบคุมปัญหาได้
-รัฐบาล
-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ-และสิ่งแวดล้อม
-กระทรวงอุตสาหกรรรม
-กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
-กรมทรัพยากรธรณี
-สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
-การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ผิดพลาดทำลายความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อมและไม่คำนึงถึงอนาคตลูกหลาน
-เทคโนโลยีที่ล้าสมัยไม่ได้มาตฐาน
-กลุ่มผู้ขัดขวางความเจริญของบ้านเมืองและการพัฒนา
-ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศควบคู่กับความสมดุลย์ที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
-ส่วนราชการในพื้นที่เช่นจังหวัดอุดรธานี อุตสาหกรรมจังหวัดและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต11
-ออกเอกสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำอีไอเอ ขั้นตอนการขอประทานบัตรของโครงการและความเคลื่อนไหวของชาวบ้านในพื้นที่
-จัดสัมมนาทำยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
-ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
-ร่วมอยู่ในคณะทำงานระดับจังหวัดและชาติเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบ
-เศรษฐิกิจและสิ้งแวดล้อม
-ชาติ
-คนส่วนใหญ่ของ  ประเทศ
-การจัดการทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน
-ผลประโยชน์ชาติ
-บูรณาการเชิงรุก
-ธรรมาภิบาล
-การมีส่วนร่วม
-การพัฒนา
-ความเจริญและความมั่งคั่ง
-การปรับปรุงเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
-เชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่ทันสมัยของประเทศพัฒนาแล้วว่าสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-จังหวัดส่วนราชการและประชาสังคมในจังหวัด
นักวิชาการท้องถิ่นสถาบันราชภัฎและเครือข่ายทางวิชาการ
-สปรส.
-ราชภัฎอุดรธานี
-เทศบาลนครอุดรธานี
-สภาอุตสาหกรรม
-หอการค้าจังหวัด
-ศูนย์สังฆมลฑลอุดรธานี
-คณะทำงงานพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนอุดรธานี
-กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
-เครือข่ายวิทยุชุมขน
-เครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคอุดรธานี
-สมัชชาเด็กและเยาวชนอุดรธานี
และอื่นๆ
-ประชารัฐ
-การแย่งชิงทรัพยากรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น
-การมีส่วนร่วมของประชาชน
-สัญญาที่ไมม่โปร่งใสเป็นธรรม
-รายงาทฃนผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ครอบคลุม ผิดขั้นตอนและไม่มีส่วนร่วมของคนในพื้นที่
-การปกปิดข้อมูลขาวสารกับคนอุดรธานี
-บริษัทAPPC
-รัฐบาล
-การเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพในการระดมความคิด พลังปัญญาและพลังทุนทางสังคมเพื่อนำไปสู่ทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเน้นที่การตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
-ประชาสังคม องค์กรภาคประขาขนทุกภาคส่วน
-จัดเวทีอภิปราย สัมมนาเช่นประเด็นด้านสุขภาพ สังคม
-จัดกิจกรรมลานโสเหล่สานใจไทบ้าน-คนเมือง
ทำการทำโพล์สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการ
-ร่วมเครือข่ายกับนักวิชาการในพื้นที่ นอกพื้นที่และเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดอื่นๆ
-จัดทำแผ่นพับเอกสารเผยแพร่โครงการ

-สิ่งแวดล้อม
-คนในพื้นที่โครงการ
-คนอุดรธานี
-ชาติ
-มนุษย์ควรจะอยู่อย่างประสานกลมกลืนสอดคล้องกับธรรมชาติ
-การเมืองภาคประชาชน
-การตัดสินใจและการมีส่วนร่วใมของภาคประชาชน

-กลุ่มสนับสนุน
-กลุ่มพิทักษ์สิทธิตนเอง
-อบต.กำนันและ ผู้ใหญ่บ้าน ใน4 ตำบล
-ประชาชนที่สนับสนุนโครงการ
-บริษัทAPPC
-การเข้ามาสร้างความแตกแนฃยกให้กับชุมชนของกลุ่มที่ไม่หวังดี
-วิกฤตของชาติการพึ่งพิงทรัพยากรจากต่างประเทศเช่นน้ำมัน นำมาซึ่งการเสียดุลการค้า
-กลุ่มต่อต้าน/กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้ที่ขัดขวางการพัฒนา
-ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ ลดสภาวะการเสียดุลการค้า นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ของประชาชนส่วนร่วม มีงานทำ อยู่ดินกินดี พื้นที่จังหวัดเกิดการพัฒนาด้านต่างๆตามมา เช่น ถนนหนทาง โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเหมืองแร่ เป็นต้น
-ชาวบ้านที่สนับสนุนโครงการในพื้นที่4 ตำบลที่มีส่วนได้เสียกับโครงการ
-กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นรนที่4 ตำบลที่ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน
-เดินรณรงค์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ
-จัดเวทีประกาศเจตนารมณ์ในการสนับสนุนโครงการ
-จัดเวทีแสดงสินค้าโอท็อปและประกาศว่าไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในชุมขน
-เดินขบวนชูป้ายสนับสนุนโครงการ
-โจมตีผ่ายตรงกันข้ามว่าใช้ถ้อยคำรุนแรง หยาบคายและใช้ประเพณีวัฒนธรมบิดเบือนเจตนารมณ์บรรพบุรุษ ภูมิปัญญาอีสาน และบิดเบือนข้อมูลต่างๆของโครงการสร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในพื้นที่
-การเข้ามาปลุกปั่นคนในพื้นที่โดยนักพัฒนาเอกชน
-ด้านเศรษฐกิจ
--ประชาชนในพื้นที่
-ชาติ/ประเทศ
-วิกฤตชาติ
-ความไร้เหตุผล
-ผลประโยช์ของชาติ
-ความเจริญ/ความมั่งคั่ง
-การพัฒนา การนำทรัพยากรในดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์
-เชื่อมั่นในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ และเชื่อมั่นในรัฐบาลถ้ามันมีปัญหาหรือเกิดผลกระทบคงไม่ให้บริษัทมาดำเนินการลงทุนในประเทศไทย










สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...