วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองกับการจัดการพื้นที่บนฐานของความจริง?(1)


ในสมัยนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังไม่เป็นเมืองอุดรธานี เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งในแขวงเมืองหนองคาย ในเขตเมืองอุดรธานี มีเมืองเก่าตั้งแต่โบราณสองเมืองคือ เมืองหนองหารน้อย ปัจจุบันเป็นอำเภอกุมภวาปี[1] เดิมเคยเป็นเมืองของเจ้าคำแดง หลานพระยาขอม ต่อมาพญานาคดลบันดาลให้บ้านเมืองล่มจมน้ำ ตามตำนานอุรังคธาตุ จึงกลายเป็นเมืองร้างมาช้านาน  อีกเมืองคือหนองบัวลุ่มภู  (เมืองหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) ซึ่งพระวอพระตาเคยมาตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วโบราณเป็นราชธานีอิสระอยู่  เมืองอุดรธานีเป็นเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงรัชกาลที่5  ที่ได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่างพระเนตรพระกัณห์ นำกองทัพใหญ่ไปปราบฮ่อที่ก่อความไม่สงบในมลฑลลาวพรวน มณฑลลาวพวน ในขณะนั้นถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นเมืองชายแดน เมืองที่มีความสำคัญในมลฑลลาวพวนคือเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทาไสย หล่มศักดิ์ สกลนคร โดยเฉพาะเมืองหนองหาร[2]และเมืองกุมภวาปี ที่ปัจจุบันกลายเป็นอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานี  ในช่วงปี2432 พระเจ้าน้องยาเธอ ในช่วงปี พ..2436 (..112) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งบัญชาการมณฑลลาวพรวน ได้มีหนังสือขอย้ายที่บัญชาการจากบ้านหนองคายมาตั้งที่บ้านหมากแข้ง เนื่องจากในช่วงนั้นไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส  และไทยได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ที่กำหนดไม่ให้ไทยมีกำลังทหารในรัศมี 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาทางฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง  ในช่วงปี พ..2441 ข้าหลวงเทศาภิบาลยกฐานะบ้านหมากแข้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ  และ พ..2442 เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ ในช่วงปี พ..2443 มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัดเช่น ขอนแก่น สกลนคร นครพนม หนองคาย และนครพนมจนกระทั่งปี พ..2450 ได้มีท้องตราประกาศยกบ้านหมากแข้งเป็นเมืองอุดรธานี และปี2489 ก็ล้มเลิกการปกครองแบบมณฑลมาเป็นจังหวัด เหตุการณ์ที่สำคัญในจังหวัดคือการเกิดเพลิงไหม้จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ..2506 และในปี พ..2510 เริ่มทำการสำรวจและวางผังเมืองจังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของจังหวัดอุดรธานีในอนาคต
ปัจจุบันอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ11,730.31 ตารางกิโลเมตร (7,331,438.75 ไร่) โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรถึง 5,302,709 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 54.34% มีจำนวนประชากร ประมาณ 1,539,348คน ชาย 772,845 คน หญิง 766,503 คน  (ข้อมูลสำนักงานจังหวัดอุดรธานี ,2547) จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่มากเป็นอันดับสี่ของภาคอีสาน จังหวัดอุดรธานีแบ่งการปกครองเป็น 18 อำเภอ และ2 กิ่งอำเภอ มี156 ตำบล 1,792 หมู่บ้าน 50 ชุมชน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 151 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลตำบล 29 แห่ง


[1] กุมภวาปี เป็นเมืองเก่า ความเป็นมาของเมืองมีหลายสำนวน บ้างว่าเป็นเมืองแม่น้ำแห่งจระเข้ กุมภี กับวาปี เพราะชาวบ้านเล่าว่าในอดีตที่ลงหาปลาในหนองหานพบเห็นจระเข้จำนวนมาก แต่ปัจจุบันหายไปหมดแล้ว ชาวบ้านบอกว่าพวกมันหนีลงแม่น้ำปาวหรือลำปาวหมด เนื่องจากคนมาอยู่หนาแน่นขึ้น  บ้างก็ว่าเป็นหมู่บ้านตีหม้อเก่า คำว่า กุมภะ ก็คือหม้อในภาษาสันสฤต ปัจจุบันยังมีหมู่บ้านหนึ่งที่ประกอบอาชีพปั้นหม้ออยู่บริเวณหนองหาน
[2] เมืองหนองหาร ตั้งอยู่ที่หนองหารน้อย เป็นหัวเมืองชั้นนอกซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 ในช่วงที่เวียงจันทน์เป็นเมืองประเทศราชขึ้นอยู่กับกรุงเทพฯ (อ้างจากหนังสือพงศาวดาร ของหม่อนราชวงศ์วิจิตร (ถม คเนจร ณ อยุธยา) พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดารภาค4 ) จนกระทั้งเกิดเหตุการณ์ปราบกบฎเวียงจันทน์(พระเจ้าอนุวงศ์)ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้ตั้งเมืองชั้นนอกขึ้นขึ้นอีก 19 เมือง และในสมัยรัชกาลที่4 ก็ได้ตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอีสานขึ้นอีกหลายเมือง ในสมัยรัชกาลที่5 เมืองในมณฑลอุดรมี9เมือง รวมถึงกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และเมืองในมณฑลอีสานอีก 23 เมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...