วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทำไมต้องศึกษาเศรษฐกิจด้วยมุมมองทางมานุษยวิทยา

ทำไมต้องศึกษาเศรษฐกิจด้วยมุมมองทางมานุษยวิทยา
ความแตกต่างระหว่างมุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับมุมมองทางมานุษยวิทยาในการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ (Economic Perspective, Anthropology Perspective)
   เศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ดังนั้น เศรษฐกิจจึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household) ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Economics” หรือ เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของมนุษย์และเศรษฐกิจควบคู่กันไป 
ในความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจ ทั้งแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์ กับ เศรษฐกิจมีความต่างกัน  ในแง่ที่เศรษฐกิจคือแบบแผนของกิจกรรมที่มีเป้าหมายเป็นผลตอบแทนทางวัตถุ  ในขณะที่เศรษฐศาสตร์คือแนวคิดทฤษฎี หรือสมมุติฐานเพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์กิจกรรมที่หวังผลตอบแทน  ทุกๆสังคมจะมีระบบความคิดเพื่อแยกประเภท และให้คำปรึกษาในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ    ความคิดเรื่องเศรษฐกิจของนักปรัชญาออย่างอริสโตเติล มองว่าเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องระบบคุณค่าที่ยุติธรรม และการทำให้ชุมชนอยู่รอดอย่างมั่นคง
การศึกษาเศรษฐกิจ (ECONOMIC STUDY) ศึกษาอะไร?
   การศึกษาเศรษฐกิจ ศึกษากิจกรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างคนในสังคม โดยใช้เงินหรือสิ่งของในการแลกเปลี่ยน การศึกษาวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนำไปผลิตสินค้าต่างๆและจ่ายแจกระหว่างสมาชิกในสังคมเพื่อการบริโภค การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในธุรกิจธรรมดาของชีวิต ได้แก่การหาเลี้ยงชีพ ความสนุกสนานของชีวิต และการศึกษาวิธีการที่มนุษย์ดำเนินการธุรกิจในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิต สุดท้ายคือศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การแจกจ่ายและการแลกเปลี่ยน
สาระหลักของเศรษฐกิจ (Subject matter of economic)
               เริ่มต้นจาก Aristotle นักคิดนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่บอกว่าสาระหลักของเรื่องเศรษฐกิจคือ การจัดการเศรษฐกิจของรัฐและครัวเรือน “economic management   of state and household” ในขณะที่ อดัม สมิธ (Adam Smith) มองว่าเศรษฐกิจคือการศึกษาสาเหตุและความมั่งคั่งของชาติ  แต่มาร์แชล ชาร์ลิน (Marshall Shalin) มองว่าเศรษฐกิจคือการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับวัตถุที่มีความสำคัญจำเป็นเกี่ยวกับความมั่งคั่ง(welfare) อีกด้านหนึ่ง Paul A Samuelson, Boulding, Leftwitch etc. ให้ความหมายของเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระหลักของเศรษฐกิจที่ต้องประกอบด้วย3ประเด็นคือ 1.กิจกรรมทางเศรษฐกิจ Economic activities 2.ระบบเศรษฐกิจ( Economic Systems) 3.นโยบายทางเศรษฐกิจ(Economic Policies)
ในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามาถแบ่งแยกออกเป็น 2ลักษณะคือ 1. ประเภทหรือลักษณะของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นเป็นลักษณะทางเศรษฐกิจแบบไหน เช่นเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับการผลิต การแจกจ่าย การแลกเปลี่ยนหรือการบริโภค เป็นต้น  และวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำเพื่ออะไร ทำไมต้องทำ เป้าหมายเพื่อใครดังที่ Ragnar Frisch  กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมี2 วัตถุประสงค์หลัก คือการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมมาใช้ประโยชน์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
ภายใต้การมองเศรษฐกิจใน2ระดับ ระดับแรกคือระดับมหภาคที่สัมพันธ์กับการจ้างงานอย่างเต็มที่ รายได้ประชาชาติ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เส้นทางการค้า การค้าระหว่างประเทศ และการคลังสาธารณะ
ในขณะที่ในระดับจุลภาคหรือเศรษฐศาสตร์แบบจุลภาคจะมองไปที่เรื่องของสวัสดิการ ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการซื้อ ทฤษฎีเกี่ยวกับการผลิต การกำหนดราคาและการแจกจ่าย
ในเรื่องของระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะมี3ลักษณะ คือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งสัมพันธ์กับการให้อำนาจกับคนกลุ่มต่างๆในทางเศรษฐกิจ การแข่งขัน การลงทุนและการผลิต บางประเทศจะเปิดให้แข่งขันเสรี โดยรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซง ในขณะที่บางประเทศรัฐบาลจะเข้าไปดำเนินการควบคุม บางประเทศก็จะมีทั้งการเปิดเสรีและการควบคุมในกิจกรรมบางอย่างที่อาจจะกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ หากปล่อยให้บริษัทเอกชนบางกลุ่มผูกขาด ดังเช่น ไฟฟ้าและน้ำประปา รัฐจะเข้าไปลงทุนร่วมหรือผูกขาดกิจการประเภทนี้แต่เพียงผู้เดียวเป็นต้น
  เศรษฐกิจคือการศึกษาว่ามนุษย์และสังคมมีวิถีทางในการเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้เงินกับผลผลิตจากทรัพยากรที่ขาดแคลนหายากที่สามารถนำไปสู่ทางเชือกในการใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายและการแจกจ่ายสำหรับการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคตระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายและกลุ่มต่างๆในสังคม

อะไรคือมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

อะไรคือมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ
คำจำกัดความของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ
          สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือการอธิบายพรรณนา(description)และวิเคราะห์(Analysis)ชีวิตทางเศรษฐกิจ(economic life)โดยใช้มิติมุมมองทางมานุษยวิทยา(Carrier 2005:1) โดยนักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจจะเน้นศึกษาเศรษฐกิจในมิติเชิงเปรียบเทียบ(comparative perspective) โดยเน้นศึกษาประเด็นทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต(production) การแลกเปลี่ยน (exchange)การแจกจ่าย(distribution)และการบริโภคทรัพยากร(Consumption of resources)
          มานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือสนามที่พยายามอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการหรือการศึกษาโดยนักมานุษยวิทยา ภายใต้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันซับซ้อน(complex relationship)กับระเบียบวิธีทางเศรษฐกิจ (Discipline of economics) ซึ่งจุดเริ่มต้นมันมาจากสนามย่อยของนักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์ที่เป็นบิดาของมานุษยวิทยาคือ Bronislaw Malinowski และนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสอย่าง Marcel Mauss ในธรรมชาติของการตอบแทน(Reciprocity)เช่นเดียวกับทางเลือกไปยังการแลกเปลี่ยนทางการตลาด (Market exchange)
          นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจตั้งใจกับการดำรงอยู่ของกิจกรรมการผลิต(productive activities) และรูปแบบของการแลกเปลี่ยน(Forms of exchange)และการบริโภค(Consumption) ในสังคมที่แผ่กว้าง(larger social)และกรอบคิดทางวัฒนธรรม (Cultural Frame) ที่จะทำให้มองเห็นว่าพวกเขาสร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบโดยพื้นที่ชีวิตอื่นอย่างไร (other areas of life) ในบางสังคมรูปแบบของงานศิลปะ(Artistic Styles) เป็นทรัพย์สมบัติของกลุ่มเครือญาติสายตระกูล สมาชิกหรือเครือญาติของสายตระกูลเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ผลิตสิ่งเหล่านั้น
   

นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ(Economic Anthropology)บางคน ได้แยกความแตกต่างระหว่างการศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์กับนักมานุษยวิทยาว่า นักเศรษฐศาสตร์เน้นย้ำอยู่บนเรื่องของการผลิต การแจกจ่ายและการบริโภคภายในโลกอุตสาหกรรม(industrialized world) ในขณะที่นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจก็สนใจศึกษาการผลิต การแจกจ่ายและการบริโภคเหมือนกันแต่สนใจศึกษาในลักษณะเปรียบเทียบในสังคมต่างๆทั่วโลกทั้งสังคมอุตสาหกรรม(industrialized)และไม่ใช่อุตสาหกรรม(nonindustrialized)
คำถามที่น่าสนใจคือนักมานุษยวิทยาศึกษาระบบเศรษฐกิจอย่างไร (How Do Anthropologists Study Economic Systems?)

          นักมานุษยวิทยาศึกษาว่าสินค้าเป็นสิ่งที่ถูกผลิต ถูกจ่ายแจกและถูกบริโภคอย่างไรในบริบทของวัฒนธรรมทั้งมวลและสังคมที่มีความเฉพาะ นักมานุษยวิทยาระลึกเสมอว่า ทฤษฎีที่ได้รับจากการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม(capitalist market economies) มีข้อจำกัดในการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเศรษฐกิจในสังคมที่ซึ่งประชาชนไม่ได้ผลิตหรือแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อผลกำไรส่วนตัว(private profit)ซึ่งตรงกันข้ามกับวิถีคิดแบบตลาดทุนนิยมปัจจุบันที่เน้นเรื่องของผลประโยชน์และผลกำไรสูงสุด

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE)
การหายไปของมนุษย์ในมิติทาง (Absent of man)
  มานุษยวิทยาเศรษฐกิจเริ่มแรกเน้นเกี่ยวกับชีวิตทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนดั้งเดิม ที่ซึ่งองค์ประกอบที่หลากหลายไม่ถูกแสดงในเศรษฐกิจแบบตะวันตก เช่น การใช้เงิน ระบบตลาด การให้ความสำคัญของคนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากการศึกษาทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันแม้จะเห็นมนุษย์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผลิตและการบริโภคที่เป็นผู้ถูกกระทำมากกว่าผู้กระทำหรือเป็นผู้เลือก(Choice being)
การนำเสนองานชาติพันธ์วรรณา (Present of ethnography)
     การสังเกตการณ์โดยตรงในสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม โดยใช้งานสนามทางชาติพันธ์วรรณา(ethnographic fieldwork)ที่สร้างให้เกิดข้อมูลในเชิงบริบทที่มากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้วิถีหรือแนวทางที่นักมานุษยวิทยาค้นหาหรือมีปฏิกริยากับการเผชิญหน้ากับความหลากหลายนี้ และพวกเขาจัดการภายใต้กรอบคิดทฤษฎีที่นำไปสู่การโต้เถียงภายใต้มุมมองทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจอย่างไร
การถกเถียงภายใต้องค์ความรู้ในทางเศรษฐกิจ (The Intellectual Debates) ภายใต้คำถามหรือข้อถกเถียงใน4 ประเด็นคือ
    1) การนำไปใช้อย่างเป็นสากลของสังคมตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ (the universal applicability of Western generated categories of analysis)
                2) คำถามเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าหรือมูลค่า(the question of value)
   3) คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงกับการเมือง (the question of history and connectedness between polities)
       4) การให้น้ำหนักกับวัฒนธรรม(การให้ความหมาย) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ (the weight of culture (meaning) in economic processes)
ปัญหาของการนำไปใช้อย่างเป็นสากลของความคิดแบบตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ภายใต้ทฤษฎีของการกระทำที่มีเหตุผลในการพิจารณาการสร้างการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้นในบริบทของเศรษฐกิจระบบตลาดในตะวันตก และในคำจำกัดความที่แท้จริงเศรษฐกิจควรที่จะถูกให้ความหมายที่แตกต่างในสังคมอื่นๆ ที่นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาทางเศรษฐกิจ ที่แบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพวกรูปแบบนิยม(formalist) ในขณะที่กลุ่มที่2เรียกตัวเองว่า พวกสสารนิยม (substantivist)ที่ติดตามความคิดของนักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจชื่อ Kant Polanyi
     ภายใต้คลื่นของการถกเถียงในช่วงปี1970 รวมถึงนักมานุษยวิทยาที่ทำงานกับโมเดลการตัดสินใจที่เป็นทางการ(formal decision-making models) และนักมานุษยวิทยาสายมาร์กซิสต์ (Marxian anthropologists) กับแนวคิดเรื่องของรูปแบบหรือวิถีการผลิต (mode of production) และประเด็นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยม(capitalist economies)และการเชื่อมต่อของรูปแบบหรือวิถีของการผลิตที่แตกต่างหลากหลาย (Godelier 1977).
     คำถามเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า คือสิ่งที่สัมพันธ์กับหน้าที่ของการแลกเปลี่ยน(function of exchange) ภายใต้ความสำคัญของการค้นหาความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างเพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบ เริ่มแรกคาร์ล มาร์กได้สร้างความแตกต่างระหว่างคุณค่าของการใช้ประโยชน์หรือคุณค่าใช้สอย(use value)กับคุณค่าเชิงการแลกเปลี่ยน(exchange value) และความสามารถที่จะนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม(noncapitalist societies)หรือสังคมชาวนา(peasant societies)ได้อย่างไร ที่ซึ่งปัจจัยต่างๆของการผลิตเป็นสิ่งที่ไม่ถูกทำให้เป็นสินค้าอย่างเต็มที่ เช่น ร่างกายตัวตนที่ยังไม่เป็นแรงงานในระบบตลาด หรือผลผลิตที่เป็นไปเพื่อการบริโภคมากกว่าเป็นสินค้าสำหรับขาย เป็นต้น ลำดับต่อมาก็คือทฤษฎีคลาสสิคของแรงงานเกี่ยวกับเรื่องมูลค่า(the classical labor theory of value) ว่ามันถูกใช้ในสังคมที่ซึ่งเป็นตลาดแรงงานได้อย่างไร ลำดับที่สามคือทฤษฎีอรรถประโยชน์ชายขอบของมูลค่าใช้สอย(the marginal utility theory of value) ว่ามันสร้างความคิดเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้ประโยชน์ออย่างหลากหลายและเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่าที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือเครื่องมือของการวัดค่าที่แตกต่างกัน สุดท้าย ทฤษฎีทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับคุณค่า(the cultural theory of value) เมื่อการให้ความหมายของท้องถิ่น(local meaning)เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับวัตถุ(objects) ผู้คน(people)และสถานการณ์(situations) เป็นสิ่งที่ใช้วัดในเชิงคุณค่า ได้จัดวางปัญหาของความสามารถใช้เปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมในการเชื่อมโยงกับโลก
คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเชื่อมโยงทางการเมือง ความจำเป็นกับการคิดในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของความสัมพันธ์ทางสังคมและความต้องการศึกษาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางสังคมกับเรื่องของเวลา ปัญหาเหล่านี้เป็นลักษณะเด่นเฉพาะที่มีอิทธิพลต่อนักมานุษยวิทยาโดยทฤษฎีว่าด้วยระบบและทฤษฎีของการพึ่งพา โดยนักมานุษยวิทยามาร์กซิสต์ชาวยุโรปที่มองในมิติมุมมองในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองทางมานุษยวิทยา(Roseberry,1988) โดยเป้าหมายเพื่อนำไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจท้องถิ่น เช่นเดียวกับทั้งการถูกจัดวางหรือออกแบบและการดำเนินการที่พึ่งพาบนกระบวนการที่ใหญ่กว่าในการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์(Wolf,1982)

          ลำดับสุดท้ายคือการให้น้ำหนักเกี่ยวกับวัฒนธรรม(The weight of culture)การให้ความหมาย / (Meaning) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางวัฒนธรรมได้จับยึดคำอธิบายในทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังเช่นบริบทที่ซึ่งกิจกรรมในเชิงวัตถุ(Material activities)ได้เกิดขึ้น นักมานุษยวิทยาได้ใช้ชุดคำว่า เศรษฐกิจเชิงศีลธรรม(moral economies) เพื่ออ้างถึงศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มและคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural values) ที่แพร่ไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมเศรษฐกิจ(economic social relations)

ประเด้นที่น่าสนใจจากบทความเรื่อง THE HEART OF WHAT'S THE MATTER : The Semantics of Illness in Iran ของ Byron J. Good โดยอ. นัฐวุฒิ สิงห์กุล

บทความเรื่อง THE HEART OF WHAT'S THE MATTER : The Semantics of Illness in Iran ของ Byron J. Good แปลโดยอ. นัฐวุฒิ สิงห์กุล
โรคหัวใจสั่นของผู้หญิงอิหร่าน  วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ เพศวิถีของผู้หญิง: ภาพสทะท้อนความมีอำนาจและความไร้อำนาจ
ในศตวรรษที่ 11 อิทธิพลของ Islamic scholar สอดคลองกับสิ่งที่ Ghazali ไดอธิบายประสบการณความ วิตกกังวลและวิกฤตสวนตัวของเขาวา มีทางแกไขเพียงอยางเดียวเทานั้นโดยการหันเขาหาเวทมนตคาถา ผูคนใน Maragheh ในปจจุบันสะทอนสิ่งที่ Ghazali กลาวถึงเปนอยางดี สําหรับพวกเขาแลวประสบการณที่วิกฤตและนา กังวลที่เปน อาการปวยจากหัวใจ’ (narahatiye qalb) ยังคงมีอยูอยางชัดเจน ผูหญิงรูสึกติดอยูในบานที่แออัด หลังกําแพงสูงตามตรอกซอยที่คดเคี้ยวใน Maragheh ผูชายก็รูสึกกังวลที่ตองตอสูกับแม หรือภรรยาของพวกเขา ผูหญิงที่ตองกินยาคุมกําเนิด หรือที่คลอดลูก  โดยทุกคนจะบนวาหัวใจของพวกเขาเตนผิดปกติ และเนนย้ำวา พวกเขาปวย (maris) และก็จะนําไปสูการไปหาแพทยทองถิ่นเพื่อทําการรักษาความเจ็บปวยดังกลาว ในบทความชิ้นนี้ไดกลาวถึงตัวอยางกรณีของ Mrs  B และ Mrs Z ที่มีความเหมือนกันคือ ทั้งคูแตงงานแลว แตสิ่งที่แตกตางกันคือ นางซี มีสถานะทางสังคม เศรษฐกิจและระดับการศึกษาที่ต่ำกวานางบีมาก เนื่องจากนาง ซี ไมไดเรียนหนังสือ อานไมออก ภูมิหลังของครอบครัวคอนขางยากจนและแตงงานกับสามีที่เปนชางทําเตาอบ ในตลาดนัด ในขณะที่นางบี จะตรงกันขามในแงของมีการศึกษาดีระดับมหาวิทยาลัย และมีตําแหนงหนาที่การ งานในระดับผูบริหาร และแตงงานกับขาราชการในเมือง เรียนจบปริญญาเชนเดียวกันและมีพื้นฐานครอบครัว มาจากคนที่มีฐานะมั่งคั่งเปนครอบครัวพอคาในเมือง Maragheh  ใหเธอใชชีวิตคอนขางหรูหรามีบานที่ใหญโต สวยงามและมีลูก 2 คน ชีวิตของนางบี ใชชีวิตกับการทํางานในออฟฟศมากกวาอยูบาน แตก็ยังตองดูแลเรื่อง อาหารสําหรับลูกและแมสามีที่สูงอายุและมีอาการปวยจากโรคหัวใจและเสนเลือดในสมองอุดตัน ในเรื่องของการถูกกดขี่ ควบคุมการใชชีวิต กรณีของนางซีที่สัมพันธกับการไมรูหนังสือ การนับเงินไมได ทําใหเวลาไปจายตลาดก็ตองถูกควบคุมจากสามีและแมสามี การมีลูกถึง 5 คน ทําใหเธอถูกจํากัดในพื้นที่เฉพาะ กับลูกๆ ในขณะที่หองอื่นๆก็จะถูกครอบครอง โดยแมสามี พอสามี และนองสาวของสามี 2 คน โดยมีการใช ครัวรวมกัน การใชชีวิตถูกจํากัดโดยหนาที่ เชนการทําความสะอาดบาน สวนการออกไปทํากิจกรรมทางสังคม นอกบานนอยมาก เชน การไปรวมงานแตงงานหรือรวมพิธีกรรมความตายทางศาสนาหรือแมแตการเดินทางไป พบหมอในเรื่องของสุขภาพก็ตาม ดังนั้นชีวิตของนางซี คอนขางถูกจํากัดและคุมขังไวภายใตกําแพงอิฐของบาน ในทางตรงกันขามชีวิตของนางบีไมไดถูกจํากัดเชน นางซี แตสัมพันธกับเรื่องพฤติกรรมของสามีที่ใชเงิน ฟุมเฟอยกับการสังสรรคกับเพื่อน มีการดื่มเหลา  สูบบุหรี่ สูบฝน รวมทั้งปญหาเหตุการณตางๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ของเธอ เชน  ความตกใจกลัวจากการไดรับขาวอุบัติเหตุที่มีลูกของเธอเดินทางไปดวย การสูญเสียแมสามี รวมทั้งพี่สาวของสามีที่ประสบอุบัติเหตุและตองนอนในโรงพยาบาล
          นางซีอายุ 27 ปี หล่อนมีลูก 5 คน ได้แก่ ลูกสาว 3 คน ลูกชาย 2 คน มีตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนถึง 12 ขวบ หล่อนอาศัยอยู่กับสามีของหล่อน (ช่างทำเตาอบในตลาด) และลูกทั้งห้าคน ในบ้านของพ่อของสามี สมาชิกคนอื่นได้แก่ พ่อแม่ของสามี และพี่สาว,น้องสาวสามีอีก 2 คน พวกเขาทั้งหมดใช้ครัวเดี่ยวร่วมกัน บ้านของพวกเขาเป็นบ้านเดี่ยวที่ใช้อิฐบล็อกเป็นบ้านที่มีไฟฟ้าแต่ไม่มีน้ำใช้ เป็นครอบครัวทีมีรายได้เฉลี่ย 100 ดอลล่าร์ต่อเดือน บวกกับรายได้อีกเล็กน้อยจากพี่สะใภ้ของ Mrs. Z. ที่ทำงานเป็นช่างตัดเย็บ ครอบครัวนี้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย รายได้ของพวกเขาจะหามาให้เพียงพอกับอาหาร มีเพียงน้อยครั้งที่จะใช้ไปในทางที่พิเศษไปกว่านั้น
นางซีไม่เคยเรียนหนังสือ หล่อนไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ หล่อนไม่รู้วิธีการนับเงิน และทุกครั้งของการจ่ายตลาด(น้อยครั้ง) จะมีสามีหรือพี่สะใภ้ของหล่อนตามไปด้วยทุกครั้ง หล่อนจะไปเยี่ยมพ่อแม่ของหล่อน ซึ่งมีฐานะยากจนกว่าครอบครัวของสามี สัปดาห์ละครั้ง เพื่อไปทำความสะอาดบ้านให้พวกเขา ส่วนทริปอื่นๆก็มีเพียงไม่มาก อาทิ เช่น งานแต่งงานเป็นบางครั้ง งานพิธีกรรมไว้อาลัยทางศาสนาน้อยครั้ง และการเดินทางที่เป็นโอกาสพิเศษ คือ การไปพบหมอ ที่คลินิกสุขภาพ ดังนั้น  นางซีใช้เวลาเกือบทั้งหมดในแต่ละวัน อยู่เพียงภายในบ้าน รอบสนามบ้านของหล่อน และล้อมรอบด้วยลูกๆของหล่อนและครอบครัวของสามี
นางซีมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ สุขภาพของหล่อนอ่อนแอ หล่อนไร้เรี่ยวแรง ขาดเลือด  และผอมแห้ง(กระดูกไม่มีเนื้อ) หล่อนมักบ่นเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ เส้นประสาทผิดปกติ ประสาทสัมผัสของหัวใจบีบรัดและลดต่ำลง อาการเหล่านี้เป็นต่อเนื่องมา 18 เดือน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอาการของหล่อน หล่อนมักบ่นให้คนอื่นฟัง อาทิเช่น สามี คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และนักมานุษยวิทยา มีอยู่ครั้งหนึ่งหล่อนบอกกับภรรยาของผมว่า หล่อนรู้สึกอยากกรีดร้อง หล่อนโทษว่า ความจริงหล่อนอายุ 27 มีลูกห้าคน อาศัยอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมคับแคบจนรู้สึกหายใจไม่ออก และอาศัยอยู่กับแม่ยาย ที่เปรียบเสมือนผู้นำของครอบครัว หล่อนพูดว่าฉันรู้สึกอยากกรีดร้อง แต่ถ้าคุณได้ยินเรื่องราวจากฉัน คุณจะตกใจ ฉันรู้สึกอยากกรีดร้องออกมาให้ดังๆความต้องการของหล่อนที่อยากกรีดร้องออกมา จะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อหล่อนต้องทะเลาะกับแม่ยาย ที่ถูกสะสมทีเล็กทีละน้อยในทุกสัปดาห์ ด้วยการทะเลาะที่เสียงดัง กรีดร้องโหยหวน และร้องไห้เสียงดังมากไปทั่วท้องถนน
ภายใต้ข้อจำกัดของครอบครัวหล่อน  นางซีจึงต้องกินยาเม็ดเพื่อคุม ในระยะเวลาสั้น(น้อยกว่าหนึ่งเดือน) แต่เมื่อหล่อนกินยา หล่อนบอกว่า หัวใจเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ มือสั่น ระบบประสาทผิดปกติ อาการทั้งหมดเกิดขึ้นก่อน แต่หล่อนเชื่อว่า อาการยิ่งแย่ลงเพราะยา ก่อนหน้านี้หล่อนกินยาเพื่อคุมกำเนิด ครั้งหนึ่งหล่อนเคยทานยาเพื่อพยายามทำให้แท้งลูกคนสุดท้อง (หล่อนใช้ยากับการทำแท้งและป้องกันการตั้งครรภ์)
บางครั้ง Mrs. ใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการอ่อนเพลียและความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ หล่อนไปพบหมอหลายครั้งเพื่อไปปรึกษาเกี่ยวกับอาการอ่อนเพลียและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจของหล่อน และจะได้รับยาบำรุงวิตามินบี หล่อนไม่เคยได้รับการบรรเทาจากความเจ็บปวดที่ยาวนาน หล่อนโทษว่าความเจ็บป่วยของหล่อน ขณะมีลูกหลายคน , สภาพแวดล้อมอาศัยที่คับแคบ ความยากจนของครอบครัว และโรคเรื้อรังของน้อยชายหล่อน (ซึ่งเป็นโรคหัวใจ) การใช้ยาคุมกำเนิดในอดีต และความขัดแย้งที่ทำให้เพิ่มความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์และสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่สามีได้ ดังนั้นความเจ็บป่วยทังหมดยังคงดำเนินในร่างกายของพวกเธอต่อเนื่อง
ผู้หญิงในอิหร่าน บอกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดทำให้พวกเธอเป็นทุกข์ เพราะกินแล้วใจสั่น (heart palpitation) และรู้สึกกลัดกลุ้ม ไม่สบายใจ (heart distress) แล้วยังเชื่อว่า จะทำให้เกิดจุดช่วงมีประจำเดือน หรือขัดขวางการไหลของประจำเดือน รวมถึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย และเลือดจาง ที่ต้องจับมือ หรือมีปัญหาเรื่องเสียประสาท (upset nerves) น้ำนมแห้ง (ดังนั้นจึงควรเลี่ยงไปในช่วงการดูแลลูกอ่อน) ซึ่งลามต่อทำให้มดลูกแห้ง และการตกไข่น้อยลง ดังจะเห็นว่า ยาเม็ดคุมกำเนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความกลัดกลุ้ม ซึ่งมีความหมายสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกัน
 ยาเม็ดคุมกำเนิด เลือดประจำเดือน และความสกปรก นั่นคือ เลือดประจำเดือนเป็นสิ่งสกปรก ยาที่ใช้ระหว่างเดือนถือศีลอด หรือเดือนฮัจญี เพื่อป้องกันประจำเดือนและความสกปรกที่จะแปดเปื้อนความบริสุทธ์ช่วงถือศีลอด หรือช่วงฮัจญี จุด/รอยจ้ำที่เกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงที่ซีเรียสเพราะแสดงถึงความสกปรก ไม่สามารถสวดมนต์ หรือมีเพศสัมพันธ์ได้ ยาเม็ดคุมกำเนิด ความอ่อนแอ ประจำเดือน ผู้หญิงบอกว่ากินยาทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย และการมีประจำเดือนทำให้อ่อนเพลียด้วย เธอมองว่าประจำเดือนเป็นธรรมชาติของผู้หญิง และเราถูกบอกมาอย่างนั้น เพราะเราต้องเสียเลือดจากการมีประจำเดือน
 การทำแท้งและการคลอดก่อนกำหนด การท้องและการคลอด (delivery) จะได้รับผลจาก heart distress และเกี่ยวข้องกับยาเพราะแต่ละเรื่องล้วนเกี่ยวข้องกับเลือดในท่อที่ไม่สะอาด หลังจากที่ผู้หญิงคลอดลูกแล้วถือว่าไม่สะอาด จะต้องมีการล้างออกในวันที่สิบ และอาบต่อเนื่องไปถึงวันที่สี่สิบ เช่นเดียวกับเลือดที่ออกมาช่วงคลอดบุตร หรือเลือดออกเพราะแท้ง เป็นหนึ่งในสิบหรือสิบสองของ nejasat ถือว่าเป็นสิ่งแปดเปื้อน และไม่สะอาด รวมอยู่กับปัสสาวะ อุจจาระ และ the sweat of sexual exertion
ความเชื่อเรื่องประจำเดือนเป็นสิ่งสกปรก เป็นเลือดสกปรก (dirty-blood) ทำให้ผิวคล้ำและมีรังแค ต้องบรรเทาด้วยการกรีดออก (scarification) หรือการดูด (leeching) ออก (เลือดสกปรกจะแสดงออกมาทางผิวหนัง) ซึ่งยาคุมกำเนิดจะขวางการไหลของประจำเดือน ความเจ็บป่วยจึงมาจากเลือดสกปรก การมีผิวขาวและสวยสัมพันธ์กับการขับประจำเดือน เลือดสกปรกทำให้หน้าดำอีกด้วย เลือดสกปรกยังถูกย้ำด้วยจารีตเก่าของการตกเลือดระหว่างช่วงเดือนแรกๆ หลังการคลอดลูก การเล็มผมบนหัว เพื่อกำจัดเลือดสกปรก ซึ่งเชื่อว่า มาจากในมดลูกของแม่ ดังนั้นจะเห็นว่า การตั้งครรภ์และการคลอด ความอ่อนแอ และยาเม็ดคุมกำเนิด มีความหมายเชื่อมโยงกัน และอยู่ในประสบการณ์เลือดสกปรกกับความเจ็บป่วย รวมถึงเลือดประจำเดือน กับการแปดเปื้อนหรือมีมลทิน
การใช้ยาคุมกำเนิดเสี่ยงต่อการเจริญพันธุ์และการให้นมบุตร เนื่องจากยาคุมป้องกันการตั้งครรภ์ และการทำแท้ง จึงอาจเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อการเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรจะเลี่ยงใช้ยาคุม ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ ในกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาน้อย จะไม่รู้เลยว่า การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์เกิดขึ้นอย่างไร แล้วยาคุมกำเนิดไปขัดขวางการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอย่างไร เธอจะรู้ว่ามีสเปริ์มหลุดเข้าไปในท่อนำไปสู่รังไข่ ซึ่งสเปริ์มจะเติบโตขึ้นกลายเป็นตัวอ่อนในมดลูกของผู้หญิง ดังนั้นยาคุมกำเนิดจะอันตรายต่อมดลูก แล้วการเชื่อมโยงเข้ากับความแข็งแกร่งและการเจริญพันธุ์ ผู้หญิงคิดว่า การกินยาจะทำให้แก่เร็ว เร่งการเข้าสู่วัยทอง เพราะทำให้มดลูกแห้งและเย็น เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงกังวลว่าสามีจะไม่สนใจ ถึงขั้นหย่าร้างได้ ดังที่ผู้หญิงคนหนึ่งเล่าว่า “หากเลือด (ประจำเดือน) น้อยลง จะทำให้แก่เร็ว และหน้ากับมือจะดูคล้ายผู้ชายมากขึ้น” Heart Distress สะท้อนความเครียดที่ซับซ้อนของผู้หญิงในอิหร่าน จากร่างกายที่เปี่ยมพลังและดึงดูดผู้ชายที่เป็นอันตราย และต้องควบคุม กับการเผชิญร่างกายที่มีความสกปรก และความชราของตนเอง ประเด็นทางเพศวิถีเป็นเงื่อนไขให้ผู้หญิงเกิดความเครียด และสร้างภาวะใจสั่น heart distress ขึ้น การมองเชิงสังคมจะเห็นถึงความเครียดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมในอิหร่านแตกต่างไปจากความเครียดอื่นๆ
เพศวิถีของผู้หญิงล้อมรอบด้วยความสับสนในอิหร่าน ผู้หญิงถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีพลังมหัศจรรย์และดึงดูดผู้ชาย จากความเชื่อพื้นบ้านแถบเปอร์เซีย แต่พลังเช่นนี้เองจะต้องควบคุม และปกปิดไว้ เพื่อป้องกันมิให้ไปกระตุ้นเร้าจนเกิดความวุ่นวาย ผู้หญิงต้องลดสายลงต่ำตลอดเวลา ห้ามสบตากับผู้ชายที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิดตนเอง ขณะที่ความดึงดูดของผู้หญิง ทำให้เธอเป็นที่ต้องการ กระตุ้นแรงปรารถนา และความรักแก่สามี ซึ่งจะได้ความซื่อสัตย์ ความรัก และทองคำเป็นสิ่งตอบแทน แต่สิ่งกระตุ้นนี้ก็เป็นอันตรายต่อความดีงาม และความสงบเรียบร้อย เมื่อผู้หญิงออกจากบ้านลำพังไม่ได้ จะต้องถูกควบคุม อยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ สามี ญาติ หรือไปไหนมาไหนกับเด็กๆ มีข้อห้ามผู้ชายเข้าบ้านผู้ชายคนอื่นในระหว่างที่ภรรยาอยู่บ้านตามลำพัง
การควบคุมเพศวิถีของผู้หญิงยังมาจาก black-hearted ซึ่งเป็นการแสดงออกของผู้ชายต่อผู้หญิง ด้วยการกีดกันและกักเก็บเธอไว้แยกจากสังคม แสดงความหวาดระแวงทุกครั้งที่เห็นการติดต่อกับผู้ชาย แสดงอาการหึงหวงอย่างออกหน้า ผู้เขียนเล่าถึงเพื่อนที่เป็นข้าราชการ เธอถูกสามีกักไว้ไม่ให้ออกมาข้างนอกบ้านในช่วงที่สามีต้องเดินทางไปทำธุระหลายวันในหมู่บ้านอื่น ซึ่งเขาถือกุญแจที่มีเพียงดอกเดียวติดไปด้วย แต่การจำกัดและควบคุมอย่างเข้มงวดนี้ ถูกมองเชิงบวกว่าเป็นการแสดงถึงความรักความห่วงใยผู้หญิงอย่างสุดซึ้ง และสุดแสนจะโรแมนติก เพศวิถีของผู้หญิงยังสะท้อนความกำกวมทางวัฒนธรรมในเรื่องการมีลูก โดยเฉพาะต้องเป็นลูกชาย แต่ผู้ชายซื่อสัตย์อาจถูกทำลายโดยง่าย เพราะความไร้ยางอาย/พฤติกรรมไม่เหมาะสมของผู้หญิง เพราะการแสดงความเป็นชายชาตรี และดำรงไว้ซึ่งสายเลือดของตนเอง ต้องกระทำผ่านการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้ก่อนแต่งงาน ญาติฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมั่นใจว่า ผู้หญิงที่แต่งงานด้วย “บริสุทธิ์” เพราะเป็นการยากที่จะพิสูจน์ได้ว่า ลูกที่เกิดขึ้นเป็นของฝ่ายชายหรือไม่ จึงต้องแน่ใจว่าผู้หญิงบริสุทธิ์ ผู้หญิงต้องรักษาชื่อเสียง เกียรติยศ จึงถูกควบคุมความประพฤติให้เหมาะสม หากปราศจากสิ่งนี้ จะสร้างความอับอายขายหน้ามาถึงครอบครัวและเครือญาติด้วย ดังนั้นในชุมชนที่อนุรักษ์นิยม จะมีระเบียบควบคุมพฤติกรรมของผู้หญิงที่เข้มงวดมาก เธอต้องไม่เป็นที่สะดุดตา พรางตัวอยู่ในผ้าคลุม และต้องคอยระมัดระวังกริยาตนเองตลอดเวลา เช่น การห้ามผู้หญิงตะโกน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด การตะโกนเป็นพฤติกรรมไม่สุภาพ ผู้หญิงที่ดีไม่ควรทำ
ผู้หญิงใน Meragheh จะถูกควบคุมด้วยความเหมาะสม (ผู้หญิงดี) กับความบริสุทธิ์ ดังนั้นภาวะการแปดเปื้อนจึงเป็นสิ่งที่คุกคามความเป็นผู้หญิงดี และความบริสุทธิ์ส่วนตัว รวมถึงครอบครัวด้วย ช่วงวันสำคัญทางศาสนาที่มีการเทศน์ และในบทสนทนาของผู้หญิงจะย้ำถึง “ความบริสุทธิ์” ได้แก่การคลุมผ้า การอาบน้ำ และการละหมาด ทำให้ความเหมาะสม ความบริสุทธิ์ และหลักปฏิบัติทางศาสนาเชื่อมโยงกันและกัน กลายเป็นเสาหลักของชีวิตที่ดีของผู้หญิง สะท้อนโครงสร้างวัฒนธรรมที่มาของความเครียดที่ซับซ้อนของผู้หญิง
อย่างไรก็ตามที่มาเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับบุคคล ชนชั้น และสถานภาพที่หลากหลาย นำมาซึ่งคามขัดแย้งและความเครียดที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้หญิง ซึ่งโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความเครียดสัมพันธ์กับความหมายความเข้าใจเรื่องยาคุมกับร่างกายของผู้หญิงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อวิเคราะห์ heart distress กับความต้องการอยากตะโกนของผู้หญิงคือการพยายามประท้วงเพราะการถูกกีดกัน หรือการถูกจำกัดให้อยู่แค่ลานบ้าน ซึ่งผู้หญิงอยากจะ “หลบหนี” ให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ ทั้งนี้ย่อมไม่ใช่แค่การต้องการออกไปให้พ้นกำแพงบ้าน แต่ปรารถนาที่อยากจะไปให้พ้นจากกรอบ/ระเบียบที่ควบคุมพฤติกรรมผู้หญิงอย่างเข้มงวด ภาวะ heart distress เป็นการพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ในสังคมอิหร่านเพราะถูกจำกัด ตีกรอบและควบคุมเอาไว้
ดังนั้นความสัมพันธของผูหญิงในสังคมอิหรานมีความเกี่ยวพันกับอํานาจของศาสนาและผูชายเปนอยางมากและสัมพันธกับอาการที่เรียกวาในสั่น Heart Distress สะทอนความเครียดที่ซับซอนของผูหญิงในอิหราน จาก รางกายที่เปยมพลังและดึงดูดผูชายที่เปนอันตราย และตองควบคุม กับการเผชิญรางกายที่มีความสกปรก และ ความชราของตนเอง ประเด็นทางเพศวิถีเปนเงื่อนไขใหผูหญิงเกิดความเครียด และสรางheart distress ขึ้น หาก มองเชิงสังคมจะเห็นถึงความเครียดที่เกี่ยวของกับโครงสรางทางสังคมวัฒนธรรมในอิหรานแตกตางไปจาก ความเครียดอื่นๆ   โดยเฉพาะเรื่องของการมีประจําเดือน ที่เชื่อมโยงกับโลกทัศนความเชื่อในทางศาสนา ความศักดิ์สิทธิ์ ทางศาสนาและมลทินของการมีประจําเดือน โดยเฉพาะในชวงของการถือศีลอดและประกอบพิธีฮัลจ ที่จะตอง ใชยาเม็ดคุมกําเนิดเพื่อปองกันการมีประจําเดือน ที่จะนําไปสูการแปดเปอน ความสกปรกที่จะนําไปสู ความเครียดของผูหญิงที่จะไมสามารถทองบบทสวดตามความเชื่อทางศาสนาหรือมีเพศสัมพันธได รวมทั้งเรื่อง อื่นๆเชน การคลอดกอนกําหนด การแทง รางกายที่ออนแอ การใชยาคุมกําเนิด  สิ่งเหลานี้เกี่ยวของกับประสบการณของความเครียดที่มีอยูรวมกันในสังคมของผูหญิงชาวอิหราน ที่มี ความดึงดูด ยั่วยวนตอเพศตรงกันขามโดยเฉพาะผูชาย เสนหที่ดึงดูดเยายวนใจคือสิ่งที่อันตรายและตองถูก แยกตัวหรือเก็บตัว ความอุดมสมบูรณ การสามารถใหกําเนิดสมาชิกและความดึงดูดใจ เปนสิ่งถูกแทรกแซงหรือ ขัดขวางโดยสภาวะของความสกปรก การมีมลทิน และการคุกคามอยางสมบูรณโดยจารีตอันเกาแก สิ่งเหลานี้ได สรางชุดของความเครียดที่เชื่อมโยงระหวางประสบการณของผูหญิงกับความเจ็บปวยที่เรียกวา Heart Distress ที่ เกี่ยวของกับศูนยกลางทางวัฒนธรรมและโครงสรางทางสังคมของอิหราน  เพศวิถีของผูหญิงลอมรอบดวยบรรยากาศความสับสนในสังคมอิหราน ผูหญิงถูกมองวาเปนผูที่มีพลัง มหัศจรรยและดึงดูดผูชาย จากความเชื่อพื้นบานแถบเปอรเซีย แตพลังเชนนี้เองจะตองควบคุม และปกปดไว เพื่อ ปองกันมิใหไปกระตุนเราจนเกิดความวุนวาย ผูหญิงตองลดสายลงในระดับต่ำตลอดเวลา หามสบตากับผูชายที่ ไมใชญาติใกลชิดตนเอง ขณะที่ความดึงดูดของผูหญิง ทําใหเธอเปนที่ตองการ กระตุนแรงปรารถนา และความ รักแกสามี ซึ่งจะไดความซื่อสัตย ความรัก และทองคําเปนสิ่งตอบแทน แตสิ่งกระตุนนี้ก็เปนอันตรายตอความดี งาม และความสงบเรียบรอย เมื่อผูหญิงออกจากบานลําพังไมได จะตองถูกควบคุม อยูภายใตการดูแลของพอ สามี ญาติ หรือไปไหนมาไหนกับเด็กๆ มีขอหามผูชายเขาบานผูชายคนอื่นในระหวางที่ภรรยาอยูบานตามลําพัง การควบคุมเพศวิถีของผูหญิงยังมาจากสิ่งที่เรียกวา  black-hearted ซึ่งเปนการแสดงออกของผูชายตอผูหญิง ดวย การกีดกันและแยกเธอออกจากสังคม ความรูสึกหวาดระแวงและหึงหวงเมื่อเธอติดตอหรือพูดคุยกับผูชายคนอื่น ดังกรณีที่ผูเขียนเลาถึงเพื่อนที่เปน  ขาราชการ เธอถูกสามีกักไวไมใหออกมาขางนอกบานในชวงที่สามีตองออกไปทำงาน
ความหมายของใจสั่น Heart Distress ในสังคมของชาวอิหรานจึงไมใชลักษณะของโรคที่สมบูรณในโลกที่แทจริง แตมันคือจินตนาการที่เชื่อมโยงเครือขายของสัญลักษณ สถานการณ การกระตุน ความรูสึกและความ ตึงเครียดเขาไวดวยกัน ที่ซึ่งเปนรากฐานในโครงสรางที่ถูกสรางในวิถีชีวิตของชาว Maragheh ที่มีความเปน สาธารณะ เปนแบบแผนรวมกัน เปนตัวแทนรวม ในสนามของการใหความหมายที่แผอาณาบริเวณกวางและอยู เลยจากขอบเขตของการสํานึกรูของปจเจกชนจํานวนมากในการกําหนดของชวงเวลาที่หลากหลาย โดย ความหมายของHeart Distress  ของผูหญิงอิหรานมีมากมายหลายสาเหตุ เชนการใชเปนขออางในการออกจาก โครงการทางการแพทยที่เกี่ยวของกับการรับยาคุมกําเนิด โดยเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพ เชน หัวใจสั่น หรือความรูสึกทางกายภาพที่มีความสัมพันธกับความรูสึกเกี่ยวกับความกังวล ความออนแอ หรือการอางอิง หัวใจกับองคประธานของประสบการณ (Subject of experience) เชน ความรูสึกไมสบายที่เปนประสบการณ และความรูสึกทางกายภาพที่นําไปสูขั้นตอนของความเจ็บปวยที่นําไปสูโรคหัวใจในที่สุด   ดังนั้นแนวคิดในการอธิบายปรากฏการณของโรคหัวใจในบทความชิ้นนี้จึงมีความแตกตางจากแนวคิด ทางการแพทยที่มองแคประเด็นของกายภาพและชีวเคมีของรางกายเทานั้น แตไมไดอธิบายเชื่อมโยงกับมิติทาง สังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเครียด ความขัดแยง อารมณความรูสึก รวมถึงโครงสรางเชิงสัญลักษณของ ชุมชนที่เชื่อมโยงภาษาและคําอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บปวยที่มีความซับซอนและมีความเฉพาะในบริบท


ปัญหาทางสุขภาพในวิธิคิดแบบ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ?

ปัญหาทางสุขภาพในวิธีคิดแบบ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ?
ในบทความเรื่อง After the Miracle ชิ้นนี้เปนเรื่องเกี่ยวกับจิตรา (Chitra) ผูหญิงชาวอินเดียอายุ 32 ปที่อพยพมา อาศัยอยูในเมืองนิวยอรก ประเทศสหรัฐอเมริกา  เหตุการณเกิดขึ้นเมื่อเธอพบวามีกอนเนื้อบริเวณหนาอกขาง ซายของเธอ และเธอก็ไดไปหาหมอและไดรับการวินิจฉัยวากอนเนื้อนั้นเปนเนื้อราย รวมทั้งตรวจพบวามะเร็งได เริ่มลุกลามไปยังปอดของเธอแลว  หลังจากนั้นเธอไดรับการรักษาโดยการตัดเตานมและเนื้อเยื่อที่อยูรอบๆออกไป แพทยไดใชวิธีการรักษาจิตราดวยการฉายรังสีและรักษาดวยวิธี Chemotherapy ซึ่งเปนขั้นตอน มาตรฐานสําหรับการรักษามะเร็งเตานมทั่วไปเพื่อรักษาชีวิตของผูปวย  โดยความมหัศจรรยที่เกิดขึ้นในชีวิตของเธอสัมพันธกับการรักษาโรคดวยสองวิธีการที่แตกตางแตมีเปาหมายเดียวกันคือการรักษาเยียวยาใหหายจาก ความเจ็บปวย ที่นําไปสูความมหัศจรรยในชีวิตของเธอที่เซลลมะเร็งหายไปจากรางกายของเธอ 
 ความเจ็บปวยไมใชเพียงแคเรื่องของรางกายตามคําอธิบายชีวะการแพทย แตมีเรื่องที่เกี่ยวของกับ ชีวะ จิตและสังคมดวย ดังเชนในบทความ ผูเขียนบทความซึ่งเปนหมอที่ดูแลจิตรา ไดเฝาติดตามและสังเกต พฤติกรรมของเธอจนพบวาจิตตรามีความวิตกกังวลและเครียดมาก ซึ่งไมใชเรื่องที่เธอจะตองตายแตเธอเปน กังวลวาสามีของเธอจะอยูคนเดียวและตอไปแตงงานใหมกับผูหญิงอเมริกันซึ่งเปนเรื่องที่เธอทําใจยอมรับไมได แมวาดูภายนอกเธอจะดูมีสุขภาพที่แข็งแรงแตจริงๆแลวเธอซอนความเจ็บปวยของเธอจากผูอื่นเชนญาติของเธอ ซึ่งเธอกลัววาพวกเขาจะมองเธอดวยสายตาที่สงสารวาเธอกําลังใกลจะตาย ทั้งๆที่เธอไดรับความทุกขทรมานจาก ความเจ็บปวยอยางมาก  โอกาสมีชีวิตรอดของเธอเกินกวา5 ปมีนอยกวา 10 เปอรเซ็นต จนกระทั่งนายแพทยได เสนอแนวทางการรักษาใหมที่ควบคูไปกับการทําเคมีบําบัดสําหรับจิตรา ซึ่งก็คือวิธีการแบบอายุรเวช (Ayuraveda)  ซึ่งแมวาจิตราจะเติบโตในสังคมอินเดีย แตเธอก็มีความรูเกี่ยวกับเรื่องนี้นอยมาก มีเพียงปูของเธอ ซึ่งเปนเจเนอเรชั่นสุดทายที่รูเรื่องเหลานี้พรอมกับการเติบโตของการแพทยสมัยใหมในอินเดีย ดังนั้นความ เจ็บปวยของจิตราจึงไมใชแคเรื่องของรางกายแตสัมพันธกับมิติทางดานจิตใจ ความวิตกกังวล รวมถึงเรื่องสังคมที่สัมพันธกับบุคคลที่เธอรักและครอบครัว 
การรักษาความเจ็บปวยไมสามารถรักษาแคเพียงรางกายอยางเดียวแตสัมพันธกับเรื่องของจิตใจและ สังคม ทั้งความเชื่อมั่นในการรักษา การยอมรับการรักษา รวมถึงการบรรเทาความวิตกกังวลหรือความกลัวที่ บุคคลเผชิญกับความเจ็บปวย ดังเชนในบทความ หมอตองการดึงจิตรามาเขาสูกระบวนการรักษาแบบอายุรเวช เพราะความเจ็บปวยดวยโรคมะเร็งของจิตราไดเกี่ยวของกับลักษณะทางกายภาพหรือรางกายเทานั้นแตยัง เกี่ยวพันกับสิ่งอื่นๆแบบเปนองครวม (Holistic) แมวาจิตราจะรับรูวาเธอปวยเปนมะเร็งและรูสึกถึงความทุกข ทรมานจากโรคนี้ ทั้งจากการตรวจเนื้อเยื่อที่ปอดของเธอและรูวาเซลลมะเร็งมีการแพรกระจายมากขึ้น รวมถึง อาการปวดหนาอกของเธอที่ทําใหเธอตั้งนั่งพักและหายใจลําบาก ที่สะทอนใหเห็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวของ กับรางกาย ความรูสึกเจ็บปวดอารมณซึมเศรา หดหู ความวิตกกังวล ที่สมองของจิตราตอบสนองตอสิ่งเหลานี้  ดังนั้นวิธีการแบบองครวม (Holistic) จึงเปนวิธีการรักษาที่เกี่ยวของสัมพันธระหวางรางกาย (Body)กับ จิตใจ (Mind) เขาดวยกัน โดยเปรียบเทียบใหเห็นวาถาปจจุบันจิตตราอยูในบอมเบย อินเดีย ยาของเธออาจจะ จัดเตรียมอาหารที่เฉพาะใหเธอ  การนวดน้ำมันเพื่อใหรางกายผอนคลายและทําความสะอาดรางกายใหเธอหรือ ซื้อยาสมุนไพรจากรานขายยาอายุรเวชและใหหลอนนอนพักอยูบนเตียงนอน ซึ่งวิธีการรักษาแบบอายุรเวชจึง เปนสิ่งที่ปะทะกับบางสิ่งที่ลึกในธรรมชาติ และเปนความรูที่เปนรากเหงาซึ่งไมใชเทคนิควิทยาการสมัยใหมแต เปนภูมิปญญา (Wisdom) ในขณะที่แพทยแบบสมัยใหม (Modern Medicine) มียุทธศาสตรอยูที่การปะทะโจมตี ทางดายกายภาพในโรคมะเร็งของผูปวย แมวาวิธีการทั้งสองอยางจะเหมือนกันตรงที่ใหความสําคัญกับรางกาย โดยอายุรเวช เนนที่การบําบัดฟนฟูตัวเองของรางกาย ขณะที่การแพทยสมัยใหมจัดการกับรางกายโดยเครื่องมือ ทางการแพทยสมัยใหม ทั้งยา รังสี เอกเรย ในขณะที่การทําสมาธิ การฝกจิตเปนเรื่องของจิตใจที่ถูกเชื่อมโยงเขา มาในการรักษาที่หลากหลายของจิตรา  ความมหัศจรรยที่เกิดขึ้นกับการรักษาดวยวิธีการทั้งสองรูปแบบรวมกัน สะทอนใหเห็นความสัมพันธ ของกระบวนทางชีวะวิทยา จิตวิทยาและสังคมที่ทําใหอาการเจ็บปวยของจิตราหายไป ดังเชนในบทความพบวา จิตราไดเขารับการรักษาที่คลินิกของหมอ เธอนอนพักรักษาตัวอยูหลายสัปดาหเพื่อเขารับการรักษาและการ รักษาตัวที่บาน ดวยวิธีการเปลี่ยนแปลงอาหาร การกินยาสมุนไพรตามตําราอายุรเวช  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกําลังกาย เชน การเลนโยคะ วิธีการดังกลาวเหมือนการฟนฟูซอมแซมรางกายที่เชื่อในความสามารถของ การดูแล รักษา ฟนฟูตัวเอง เพื่อใหอวัยวะตางๆกลับมาสูความสมดุล จิตตราเชื่อมั่นกับโปรแกรมการรักษาและกลับมาทุก 6 สัปดาห ในขณะเดียวกันเธอก็ยังคงรักษาดวยวิธีการเคมีบําบัดดวยกับหมอที่นิวยอรก ประมาณป หนึ่งเมื่อไดติดตามความกาวหนาของจิตรา จากการเอ็กซเรยปอดก็ยังคงแยเหมือนเดิม หายใจลําบากและดู เหมือนเธอจะออนแอลง จนกระทั่งหมอสงสัยวาเธอจะมีอาการติดเชื้อ มีไขสูงมากและไมอนุญาตใหเธอออกจาก โรงพยาบาล หมอตัดสินใจเอ็กซเรยปอดของเธออีกครั้ง จนกระทั่งพบวาปอดของเธอไมมีเซลลมะเร็งแลวและ เธอสามารถฟนฟูตัวเองขึ้นมาไดอยางนาอัศจรรย ไมวาจะเกิดจาการรักษาดวยเคมีบําบัดหรืออายุเวชก็ตาม แตจิตราก็ยังมีความกังวลวาเซลลมะเร็งจะกลับมาอีกครั้ง เธอจึงเขามาคุยกับผูเขียนบทความวาจะทํา อยางไรดี เพราะหมอที่รักษาดวยเคมีบําบัดก็บอกวาเธอดีขึ้นเพราะเคมีบําบัดและควรรักษาดวยวิธีการนี้ตอ แมวา ผูเขียนจะเชื่อมั่นในวิธีการรักษาแบบอายุรเวชก็ตามแตไมมีเหตุผลที่ดีมากเพียงพอที่จะใหเธอเลิกรักษาดวยเคมี บําบัดแลวมารักษาดวยอายุรเวชอยางเดียว เพราะไมสามารถรับประกันไดหากเธอกลับมาเปนอีกครั้งและตายใน 6 เดือนถัดไป แตผูเขียนก็ขอใหเธอรักษาแบบเคมีบําบัดควบคูกับอายุรเวชดวย จนกระทั่งหลายเดือนจิตราก็หาย จากโรคนี้ แตเธอก็ยังคงสงสัยถึงความมหัศจรรยที่เกิดขึ้นในชีวิตของเธอเกี่ยวกับโรคภัยไขเจ็บที่หายไป  ในทางการแพทยพยายามจะทําความเขาและอธิบายดวยหลักการของQuantum หรือภาวการณกาว กระโดด (เชนเดียวกับภาวะใกลตายหรือปวยหลักไปสูการหายจากความเจ็บปวย) หรือพลังงาน เปนที่รับรูกันใน หมูนักฟสิกสแมจะยังไมมีการใชในทางคลินิกแตก็มีการพยายามเชื่อมโยงวิธีคิดนี้กับการรักษาแบบอายุรเวช ใน กรณีของจิตราคือการรักษาแบบควอนตัม (Quantum Healing) ที่มีการเคลื่อนไหวจากภายนอก วิธีการที่ใชเทคโนโลยีขั้นสูงไปยัง แกนกลางที่ลึกที่สุดของระบบรางกายและจิตใจ ที่เปนแกนกลางของการรักษา ดังเชนการผสมกลมกลืนระหวาง อายุรเวชกับวิธีการรักษาสมัยใหมเชน เคมีบําบัดหรือรังสีที่สะทอนใหเห็นการแตงงานหรือการเชื่อมโยงระหวาง สองวัฒนธรรมที่พยายามนําไปสูคําตอบที่เปนหนึ่งเดียวคือการรักษาโรค ถาเรารูวาสมองของมนุษยทําหนาที่ อะไรสัมพันธกับความคิด อารมณ ความรูสึกและกระตุนการเคลื่อนไหวของรางกายการรักษาความเจ็บปวยก็ ยอมสามารถทําไดอยางมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การรักษาโดยเนนทางรางกายโดยการใหยา ผาตัด มากกวาการ เชื่อมโยงทางดานจิตใจรางกายเขาดวยกันที่จะทําใหเกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเกิดความมหัศจรรย ขึ้นกับชีวิตของเธอได ดังนั้นการทําความเขาใจสุขภาพอยางเปนองครวมวามีความสัมพันธกับเรื่องของกาย จิตและสังคม การ ผสมผสานระหวางความคิดแบบตะวันตก ที่มองความเจ็บปวยเปนเรื่องของเชื้อโรค พันธุกรรม ยีนส และ
รางกายแบบการแพทยเชิงชีวะ ที่ยังมีขอจํากัด กับการมองความเจ็บปวยดวยเรื่องของจิตใจและสังคมก็เปนสิ่งที่ สําคัญ  ปาฎิหาริยที่เกิดขึ้นในบทความไมวาจะเกี่ยวของกับการหายจากอาการปวยจากโรคราย หรือตัวอยางที่ ผูขียนยกมาประกอบ เชน กระดูกหักที่สามารถผสานกันไดดวยจากสภาวะที่ความรูสึกสั่งการใหเกิดขึ้น หรือ ผูปวยเอดสที่มีชีวิตอยูไดยืนนาน ที่สัมพันธกับการรักษาโดยอาศัยพลังของศรัทธา จึงเปนสิ่งที่สัมพันธกับ กระบวนการทางจิตวิทยา ความมุงมั่นที่จะมีชีวิตรอด การตระหนักในศักยภาพแหงตน (Self Efficacy) ที่เชื่อมั่น ในการรักษาและการดูแลสุขภาพ รวมถึงความคิดและทัศนคติในเชิงบวกตอความเจ็บปวยของตัวเอง ซึ่งทั้งหมด ลวนสัมพันธกับเรื่องของจิตวิทยาและสังคมและมีความสําคัญมากขึ้นในงานวิจัยและงานศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ และความเจ็บปวยในปจจุบัน


สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...