วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการฐานข้อมูลวิชาการ เครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินเกิด


กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ  มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศไทย
                รากเหง้าของความขัดแย้งดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความขัดแย้งระหว่าง รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับกลุ่มทุนข้ามชาติและชาวบ้านในพื้นที่ด้วยกันเอง กรณีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำเสนอต่อสาธารณะชน อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกนำเสนอ  ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ถูกรับรู้และสร้างให้พวกเขากลายเป็นชายขอบของการพัฒนา แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีนักศึกษาและนักวิจัยเข้าไปทำการศึกษาประเด็นปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังขาดข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากลักษณะของงานวิชาการเหล่านี้มีความหลากหลายตามสาขาวิชาและแหล่งทุนสนับสนุน เช่น งานข้อมูลบางชิ้นก็จัดทำโดยนักวิชาการที่กลุ่มทุนหรือบริษัทข้ามชาติ จ้างเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลและทำวิจัยในพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ งานวิจัยบางชิ้นก็ถูกศึกษาโดยนักวิชาการในสถานศึกษาส่วนกลางหรือท้องถิ่นที่ได้รับทุนสนับสนุน หรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หรือเป็นงานศึกษาขององค์การพัฒนาเอกชนเพื่อใช้ทำการเคลื่อนไหวต่อประเด็นปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้มีทั้งในส่วนที่ชาวบ้านรับรู้และไม่รับรู้ ชาวบ้านมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้เหล่านี้รวมทั้งไม่สามารถใช้ความรู้เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้และเคลื่อนไหวในประเด็นปัญหาของพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้พวกเขาต้องจำยอมต่อการพัฒนาดังกล่าวเพราะไม่อาจต่อสู้กับกระแสของการพัฒนาและนโยบายของรัฐและเอกชนที่ถาโถมเข้ามาเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็วและรุนแรงได้
                ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปัญหาของงานด้านวิชาการ ที่เกิดจากนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลประเด็นปัญหาในพื้นที่นั้น ยังไม่ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและงานศึกษาที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหรือแม้แต่ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการสร้างและรวบรวมความรู้ของตัวเอง (วิจัยไทบ้าน) อีกทั้งยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการ ในการใช้องค์ความรู้ที่มีชี้ให้เห็นทิศทางและแนวโน้มของนโยบายการพัฒนา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรเช่น ป่าไม้ ที่ดิน แร่ธาตุ อุตสาหกรรม และพลังงาน ที่มีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางสังคมวัฒนธรรมของพวกเขา
                ดังนั้นงานสังเคราะห์และประมวลความรู้ชิ้นนี้ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เป็นระบบและหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการคาดคะเนถึงทิศทางการพัฒนาในอนาคต และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เป้าหมาย ที่รวบรวมและสะท้อนให้เห็นปัญหาของพื้นที่ แกนนำต่อสู้ในพื้นที่ กลุ่มทุนในพื้นที่ และเครือข่ายวิชาการในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการต่อสู้เคลื่อนไหวของพื้นที่กรณีปัญหาและเครือข่ายต่อไป รวมทั้งฐานข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาและวิจัยต่อไป และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน ที่สามารถนำไปสูการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งและใช้ความรู้ทางวิชาการในการหนุนเสริมการต่อสู้ร่วมของชาวบ้านในพื้นที่กรณีปัญหาในอนาคต

กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ  มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศไทย
                รากเหง้าของความขัดแย้งดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความขัดแย้งระหว่าง รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับกลุ่มทุนข้ามชาติและชาวบ้านในพื้นที่ด้วยกันเอง กรณีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำเสนอต่อสาธารณะชน อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกนำเสนอ  ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ถูกรับรู้และสร้างให้พวกเขากลายเป็นชายขอบของการพัฒนา แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีนักศึกษาและนักวิจัยเข้าไปทำการศึกษาประเด็นปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังขาดข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากลักษณะของงานวิชาการเหล่านี้มีความหลากหลายตามสาขาวิชาและแหล่งทุนสนับสนุน เช่น งานข้อมูลบางชิ้นก็จัดทำโดยนักวิชาการที่กลุ่มทุนหรือบริษัทข้ามชาติ จ้างเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลและทำวิจัยในพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ งานวิจัยบางชิ้นก็ถูกศึกษาโดยนักวิชาการในสถานศึกษาส่วนกลางหรือท้องถิ่นที่ได้รับทุนสนับสนุน หรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หรือเป็นงานศึกษาขององค์การพัฒนาเอกชนเพื่อใช้ทำการเคลื่อนไหวต่อประเด็นปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้มีทั้งในส่วนที่ชาวบ้านรับรู้และไม่รับรู้ ชาวบ้านมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้เหล่านี้รวมทั้งไม่สามารถใช้ความรู้เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้และเคลื่อนไหวในประเด็นปัญหาของพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้พวกเขาต้องจำยอมต่อการพัฒนาดังกล่าวเพราะไม่อาจต่อสู้กับกระแสของการพัฒนาและนโยบายของรัฐและเอกชนที่ถาโถมเข้ามาเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็วและรุนแรงได้
                ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปัญหาของงานด้านวิชาการ ที่เกิดจากนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลประเด็นปัญหาในพื้นที่นั้น ยังไม่ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและงานศึกษาที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหรือแม้แต่ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการสร้างและรวบรวมความรู้ของตัวเอง (วิจัยไทบ้าน) อีกทั้งยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการ ในการใช้องค์ความรู้ที่มีชี้ให้เห็นทิศทางและแนวโน้มของนโยบายการพัฒนา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรเช่น ป่าไม้ ที่ดิน แร่ธาตุ อุตสาหกรรม และพลังงาน ที่มีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางสังคมวัฒนธรรมของพวกเขา
                ดังนั้นงานสังเคราะห์และประมวลความรู้ชิ้นนี้ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เป็นระบบและหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการคาดคะเนถึงทิศทางการพัฒนาในอนาคต และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เป้าหมาย ที่รวบรวมและสะท้อนให้เห็นปัญหาของพื้นที่ แกนนำต่อสู้ในพื้นที่ กลุ่มทุนในพื้นที่ และเครือข่ายวิชาการในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการต่อสู้เคลื่อนไหวของพื้นที่กรณีปัญหาและเครือข่ายต่อไป รวมทั้งฐานข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาและวิจัยต่อไป และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน ที่สามารถนำไปสูการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งและใช้ความรู้ทางวิชาการในการหนุนเสริมการต่อสู้ร่วมของชาวบ้านในพื้นที่กรณีปัญหาในอนาคต

กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศไทย รากเหง้าของความขัดแย้งดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความขัดแย้งระหว่าง รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับกลุ่มทุนข้ามชาติและชาวบ้านในพื้นที่ด้วยกันเอง กรณีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำเสนอต่อสาธารณะชน อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกนำเสนอ ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ถูกรับรู้และสร้างให้พวกเขากลายเป็นชายขอบของการพัฒนา แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีนักศึกษาและนักวิจัยเข้าไปทำการศึกษาประเด็นปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังขาดข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากลักษณะของงานวิชาการเหล่านี้มีความหลากหลายตามสาขาวิชาและแหล่งทุนสนับสนุน เช่น งานข้อมูลบางชิ้นก็จัดทำโดยนักวิชาการที่กลุ่มทุนหรือบริษัทข้ามชาติ จ้างเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลและทำวิจัยในพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ งานวิจัยบางชิ้นก็ถูกศึกษาโดยนักวิชาการในสถานศึกษาส่วนกลางหรือท้องถิ่นที่ได้รับทุนสนับสนุน หรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หรือเป็นงานศึกษาขององค์การพัฒนาเอกชนเพื่อใช้ทำการเคลื่อนไหวต่อประเด็นปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้มีทั้งในส่วนที่ชาวบ้านรับรู้และไม่รับรู้ ชาวบ้านมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้เหล่านี้รวมทั้งไม่สามารถใช้ความรู้เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้และเคลื่อนไหวในประเด็นปัญหาของพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้พวกเขาต้องจำยอมต่อการพัฒนาดังกล่าวเพราะไม่อาจต่อสู้กับกระแสของการพัฒนาและนโยบายของรัฐและเอกชนที่ถาโถมเข้ามาเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปัญหาของงานด้านวิชาการ ที่เกิดจากนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลประเด็นปัญหาในพื้นที่นั้น ยังไม่ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและงานศึกษาที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหรือแม้แต่ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการสร้างและรวบรวมความรู้ของตัวเอง (วิจัยไทบ้าน) อีกทั้งยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการ ในการใช้องค์ความรู้ที่มีชี้ให้เห็นทิศทางและแนวโน้มของนโยบายการพัฒนา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรเช่น ป่าไม้ ที่ดิน แร่ธาตุ อุตสาหกรรม และพลังงาน ที่มีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางสังคมวัฒนธรรมของพวกเขา ดังนั้นงานสังเคราะห์และประมวลความรู้ชิ้นนี้ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เป็นระบบและหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการคาดคะเนถึงทิศทางการพัฒนาในอนาคต และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เป้าหมาย ที่รวบรวมและสะท้อนให้เห็นปัญหาของพื้นที่ แกนนำต่อสู้ในพื้นที่ กลุ่มทุนในพื้นที่ และเครือข่ายวิชาการในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการต่อสู้เคลื่อนไหวของพื้นที่กรณีปัญหาและเครือข่ายต่อไป รวมทั้งฐานข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาและวิจัยต่อไป และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน ที่สามารถนำไปสูการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งและใช้ความรู้ทางวิชาการในการหนุนเสริมการต่อสู้ร่วมของชาวบ้านในพื้นที่กรณีปัญหาในอนาคต

ในความเป็นไป

ในความเป็นคน

ตัวเราของเรา

ผมไม่อยากรู้ทุกอย่าง เพาะถ้ารู้ทุกอย่าง นั่นก็หมายความว่า ในชีวิตของผมไม่ต้องทำอะไรอีกต่อไป เพราะผมรู้หมดแล้ว จะต้องไปกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้อะไร แต่สำหรับผมไม่ใช่
ผมไม่อยากเป้นต้นแบบใคร หรือเอาใครมาเป็นต้นแบบ ไม่ใช่พราะผมไม่ดีพอ หรือไม่มีใครดีพอ แต่ถ้าผมทำอย่างนั้น เท่ากับว่าผมไม่เหลือคุณค่าในตัวเอง ศักดิ์ศรีของตัวเอง ที่มีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเลียนแบบได้ คนอย่างนายต้นมีคนเดียวในโลก
ผมไม่อยากตัดสินใจอะไร เพราะไม่ใช่นิสัยผม ผมแคร์คนอื่นมากกว่าแคร์ตัวเอง ผมเหมือนอะไรก็ได้ เพราะผมไม่เลือกมาก อยู่อย่างไหนก็ได้ ทำไมต้องเลือก ถ้าโลกไม่แตกหรือคอขาดบาดตาย จะต้องเลือกไปทำไม ต่างคนต่างก็มีความต้องการของตัวเอง เพียงแต่ด้วยความเกรงใจคนอื่นทำให้ไม่กล้าพูด แต่ผมพูดด้เลยว่าผมยังไงก็ได้ ไม่เคยมีตัวเลือกใในใจ นั่นคือนิสัยสันดานของผม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เลวี่ เสตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม (2)


คุณูปการของแนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม
การให้ความสำคัญกับความคิดของคนชายขอบ ความคิดของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่ถูกมองว่าล้าหลัง เป็นวิธีคิดแบบไสยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ดังความคิดเกี่ยวกับศาสตร์เชิงรูปธรรม (Bricolage)ที่เลวี่ สเตร๊าท์ศึกษา พบว่า ผู้ชายเผ่าเนกริโท(Negrito)สามารถจดจำและจำแนกชื่อต้นไม้ได้อย่างสบายๆถึง 450 ชนิด นก 75 ชนิด และ มด 20 ชนิด เด็กจากเผ่าตุยกุย (Tyukyu) สามารถบอกชนิดและเพศของต้นไม้จากเศษเปลือกไม้ที่พบ หรือบอกได้จากการดมกลิ่นหรือดูจากความแข็งของเนื้อไม้ว่าเป็นต้นไม้ชนิดใด อินเดียนเผ่าโคฮุยลา (Coahuila) ที่รู้จักพืชที่กินได้ถึง 60 กว่าชนิด และสมุนไพรที่เป็นยาอีก 28 ชนิด ชนเผ่าโฮปี(Hopi)รู้จักพืชถึง 350 ชนิด และเผ่านาวาโฮ (Navaho)รู้จักพืชที่ 500 ชนิด เป็นต้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าสนใจว่า คนดั้งเดิมเหล่านี้ สามารถคิดได้ไกลกว่าเรื่องประโยชน์ใช้สอยอย่างแคบๆ สามารถคิดถึงสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอยโดยตรงรวมอยู่ด้วย คนเผ่าโบราณดั้งเดิมมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางชีวภาพเป็นอย่างมาก คือ รู้จักธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติ จึงสามารถพัฒนาความรู้เป็นมากกว่าเรื่องของประโยชน์ใช้สอยเฉพาะหน้า (Use)รวมถึงตอบความอยากรู้ของชุมชนที่สั่งสมถ่ายทอดกันมาหลายชั่วคนเช่น เผ่าเฮ็ลมีนี(Helmene)และเผ่าไอคูเท (Iakoute)รู้ว่า หากกินแมงมุมกับหนอนขาวก็จะแก้ปัญหาเรื่องเป็นหมันได้ หรือรู้จักใช้อุจจาระหมีแก้โรคท้องผูก เป็นต้น
สิ่งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การเป็นหนึ่งเดียวและการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ มากกว่าการทำลายล้าง การอยู่เหนือ หรือความต้องการเอาชนะธรรมชาติอย่างที่นิยมคิดกันในระบบความคิดของคนสมัยใหม่ ดังนั้นคนสมัยใหม่จึงมองว่าความคิดของคนดั้งเดิม ล้าหลัง ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่เอาชนะธรรมชาติ ทั้งที่ความจริง คนโบราณดั้งเดิมก็มีระบบคิด มีภูมิปัญญาของตัวเอง เพียงแต่เป็นคนละระบบระเบียบกับคนสมัยใหม่
ในที่นี้พูดถึง ความคิดของคนดั้งเดิม ที่ยังปราศจากวาทกรรมจากภายนอกเข้ามาเพราะชุมชนหมู่บ้าน สมัยนี้ อยู่ภายใต้กรอบวาทกรรม ความรู้ความจริงของคนกลุ่มต่างๆที่เข้ามาปะทะประสาน โดยมีเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ต่างกัน ภายใต้Reason Choice เบื้องหลังที่แตกต่าง ความสำคัญคือ สิ่งเหล่านี้ทำให้ชุมชนอยู่ได้จริงหรือหรือเป็นมายาคติชุดหนึ่งที่ปิดบังความจริงอีกชุดหนึ่ง เป็นนิทานปรัมปราเรื่องหนึ่งของใคร? สุดท้ายความรู้ชุดนี้อาจทำให้ชุมชนอยู่ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อมายาคติชุดดังกล่าวกลายเป็นความจริงและส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
ความคิด ความเชื่อที่ว่าคนเผ่าโบราณดั้งเดิมล้าหลังเนื่องจากไม่มีวิธีการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการหาความรู้แบบวัตถุวิสัย (Objective Knowledge)ซึ่งเลวี่ สเตร๊าท์ไม่เห็นด้วย เนื่องจากความคิดของคนโบราณอยู่บนฐานของการสังเกต เปรียบเทียบ เป็นความรู้เชิงรูปธรรมที่มีโลกแห่งความเป็นจริงรองรับไม่แตกต่างจากองค์ความรู้ของคนสมัยใหม่ เป็นการจัดประเภทแยกแยะธรรมชาติรอบตัวอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าพืช สัตว์ สิ่งของ คุณจะบอกอย่างไรว่ามนุษย์ปัจจุบันแทนดาวเป็นแฉกเมื่อวาดภาพหรือติดเครื่องหมายแสดงยศบนบ่ากับดาวจริงๆบนท้องฟ้า
เลวี่ สเตร๊าท์ บอกว่า หากไม่เอาความคิดหรือมาตรฐานของวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวกำหนดตัดสินแล้ว ไสยศาสตร์คือระบบความคิดแบบหนึ่งที่มีฐานะไม่แตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์ไม่ใช่รูปแบบแรกของวิทยาศาสตร์ เป็นคนละประเภทกับวิทยาศาสตร์แต่เป็นระบบคิด วิธีคิดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่อาจเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ได้
วิธีคิดแบบคู่ตรงกันข้ามถือได้ว่าเป็นวิธีการศึกษาที่อยู่เรื่องของโครงสร้างทางภาษาที่คิดภายใต้ตรรกะของความแตกต่างหรือคู่ตรงกันข้ามที่ก่อให้เกิดความหมายหรือความเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ มนุษย์สามารถคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆภายใต้ตรรกะของความแตกต่างและการเปรียบเทียบในระบบเสียง ของภาษา ของรูปสัญญะ  เช่นดียวกับภาษาที่จะมีทั้งเรื่องของโครงสร้างทางภาษาที่เป็นเสมือนด้านสังคม กับส่วนที่เป็นด้านของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับ ภาพประทับของเสียง การเปล่งเสียง การรับฟังเสียง เป็นต้น เช่นเดียวกับการศึกษานิทานของเลวี่ สเตร๊าท์ ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนิทานปรัมปรา ว่าสามารถแปลได้ง่ายมาก แม้ว่าข้อความจะมีการตกหล่นไม่สมบูรณ์ หรือแปลตกหล่นก็พอปะติดปะต่อได้ ข้อนี้เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ นิทานปรัมปรา เป็น ภาษาหรือ รหัสพิเศษ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ อ่านหรือ ถอดรหัส ด้วยวิธีการเฉพาะเช่นเดียวกัน
แม้ว่าคุณูปการของการวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยมเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ขณะเดียวกันเราก็ปฏิเสธจุดอ่อนของการวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยมไม่ได้เช่นกัน

บทวิพากษ์แนวคิดโครงสร้างนิยม
1.กระบวนการทำให้เป็นนามธรรมและรูปลักษณ์นิยม
ระบบภาษาของโซซูร์ละเลยจุดกำเนิดทางวัตถุของภาษา และตัดขาดจากมิติทางจิตวิทยา เนื่องจากคำอธิบายของภาษาของเขาไม่อิงกับปัจจัยกำหนด จาก จิตสำนึกเป็นพื้นฐาน แม้กระทั่งในระดับชีววิทยาก็ตามแม้โซซูร์จะพูดถึง โครงสร้างระดับลึกแต่ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึกในความหมายแบบฟรอยด์ การวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยมเป็นการอ่าน ระดับพื้นผิว  ในเชิงนามธรรมซึ่งผิดแผกจากการอ่าน ระดับลึก แบบฟรอยด์หรือมาร์กซ์ซึ่งคิดในกรอบการวิเคราะห์อาการป่วยไข้ มีต้นตอ สาเหตุ การรักษา ตรงกันข้ามกับโครงสร้างนิยมที่ปลอดจากความมุ่งหมายที่จะ บำบัด
แม้ยาค็อบสัน ไม่ได้ปฏิเสธจุดเริ่มต้นที่เป็นวัตถุ (ประสาทวิทยา) และความเป็นจริงเกี่ยวกับอาการภาษาแปรปรวน แต่การวิเคราะห์ของเขามีแนวโน้มจะทำให้โรคเป็นนามธรรมและพยายามสร้างแบบแผนให้กับมันอาการภาษาแปรปรวน (aphasia) ซึ่งเป็นอาการที่บกพร่องของการใช้ภาษาอย่างรุนแรง เนื่องจากสมองบางส่วนได้รับความกระทบกระเทือน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการเลือกใช้คำเชิงกระบวนชุดมีแนวโน้มที่จะพูดโดยใช้คำที่เกี่ยวเนื่องหรือนามนัย ผู้ป่วยที่บกพร่องเรื่องการเชื่อมโยงถ้อยคำ(เชิงกระแสความ) จะใช้แต่คำที่คล้ายคลึงกันหรืออุปลักษณ์
โครงสร้างนิยมได้เปิดพื้นที่เชิงรูปแบบให้แก่การวิเคราะห์ แต่ก็เป็นพื้นที่นามธรรมที่ไร้มิติ ซึ่งอาจดูคล้ายกับปรัชญา (คิดเกี่ยวกับความคิด) และยังเชื่อมั่นในกฏของการคิดด้วยเหตุผลเพื่อได้มาซึ่งภาพโดยรวมของโลกโครงสร้างนิยมเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกับเหตุผลนิยมสุดขั้ว  โดยอ้างว่า ความหมาย คือ ผลผลิตของกระบวนการสื่อความหมาย กระบวนการนี้ดำรงอยู่ในโครงสร้างอันเป็นสากลและนิรันดร์ ก่อให้เกิดระบบปิดอันเสถียรซึ่งอิงอยู่กับคู่แย้งหน่วยต่างๆ ของระบบหรือรูปสัญญะต่างๆ จะสื่อความหมายก็ต่อเมื่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ของรูปสัญญะกับความหมายสัญญะ ไม่ว่าจะเป็นความคิดหรือสิ่งของ หรือการกระทำ ล้วนเป็นสิ่งสมมติร่วมกันที่ตั้งอยู่บนฐานของขนบเพียงอย่างเดียว
2.การทำให้มนุษย์กลายเป็นเพียงรูปแบบ
ฉันคิด ฉันจึงดำรงอยู่ ซึ่งสะท้อนว่าฉัน ผู้เป็นอัตบุคคล อันมีเอกภาพซึ่งเป็นเสาหลักของปรัชญาและตรรกะแบบตะวันตก ได้สลายกลายเป็นผู้ใช้ภาษาและผู้สื่อภาษา ฉัน เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากภาษาถูกให้ความหมายโดยการใช้ภาษา ไม่ใช่โดยตัวความหมาย และถูกสร้างขึ้นในรูปแบบเดียวกับอุปลักษณ์และนามมัย โครงสร้างนิยมไม่พยายามจะอธิบายว่า อะไรเป็นแรงจูงใจในการใช้ภาษาของอัตบุคคลในฐานะที่เป็นปัจเจก ดังนั้นตรรกะของระบบจะหลบเลี่ยงและก้าวข้ามเหตุชักนำในการใช้ภาษาของอัตบุคคล ประเด็นเรื่อง การสื่อสารความคิดส่วนบุคคล นั้นไม่อยู่ในความสนใจของนักโครงสร้างนิยม แต่สิ่งที่เขามุ่งสอบสวนคือ ความคิดส่วนบุคคลเข้ามาสู่ระบบได้อย่างไร
3.ความปลอดนัยยะทางประวัติศาสตร์
โครงสร้างนิยมปลอดจากนัยยะทางประวัติศาสตร์ หรือพูดให้ถูกคือ ไร้ความเป็นประวัติศาสตร์ (a-historical)การวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยมใช้การได้(ตามหลักการ) ไม่ว่าจะอยู่ในประวัติศาสตร์แบบไหน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการละทิ้งต้นกำเนิดและแรงจูงใจทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งลักษณะที่เป็นนามธรรมและเน้นการใช้ปัญญาของโครงสร้างนิยม ทำให้แนวคิดนี้เป็นโครงการที่มีแนวโน้มแบบสมัยใหม่นิยม และเป็นเหมือนการผันตัวเข้าสู่ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้าแล้วว่า สมัยใหม่จะต้องกลายเป็นหลังสมัยนิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แดริดากล่าวว่า  เลวี่ สเตร๊าท์ ใช้วิธีการศึกษาแบบที่เอามาตรฐานของตัวเองมาเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) ยังคงเป็นการตอกย้ำ หรือผลิตซ้ำวิธีคิดแบบที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางอย่างแข็งขัน คุณเห็นด้วยหรือไม่ ที่สำคัญคือปัญหาของเลวี่ สเตร๊าท์ในเรื่อง การแยกระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็ง ตามแนวคิดเรื่องคู่ตรงกันข้ามนำไปสู่กับดักทางความคิดและปัญหาในการศึกษาทางมานุษยวิทยา

บรรณานุกรมภาษาไทย
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2545)  สัญวิทยา ,โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์  . กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2527) ไม่มีสังคมใดเหนือกว่าสังคมอื่น:ทรรศนะในการศึกษามานุษยวิทยาของ Claude Levi Strauss” วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. ปีที่2 ฉบับที่2 (กุมภาพันธ์) 60-76.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2533)  เค้าโครงความคิดเรื่องโครงสร้าง ในการศึกษานิทานปรัมปรา ของโคลด เลวี่-เสตราส์ วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่17 ฉบับที่1 (มิถุนายน)45-79.

บรรณานุกรมภาษาต่างประเทศ
Hawkes Terence[1977]. “ Linguistic and Anthropology”  “Science of Sign” In Structuralism and Semiotics ,Methuen and co Ltd.
Hugh J.Silverman[1994] “French Structuralism and After De Saussure,Levi-Strauss,Barthes,Foucault” P.391-408.In  Continental Philosophy in The 20th Century edited by Richard Kearney,Routledge history of Philosophy volume8
Levi-Strauss,Claude[1987] “Introduction to the work of Marcel Mauss” Transleted by Felicity Baker Routledge and Kegan Paul London.
Levi-Strauss,Claude[1976] “Structural Anthropology Volume1  Transleted from the French by Monique Laution ,Basic Book Inc Publisher Newyork.
Levi-Strauss,Claude [1963]. “ Introduction History and anthropology”P.1-27 “Effective of Symbol”P.187-205and “Structural Analysis in Linguistics and in Anthropology” P.31-79 In Structural Anthropology Volume 2 Transleted from Franch by Claire Jacobson and Brooke Grundfest Schoepf,Basic Book.
Levi-Strauss Claude[1984] “Anthropology and Myth  Lecture 1951-1982” Transleted by Roy Willish,Basil Blackwell.
Singer,Milton B.[1984]. “man’s glassy essence exploration in semiotic anthropology” ,Indiana university press.

เลวี่ เสตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม (1)


Ferdinance De Saussure ผู้มีอิทธิพลสำคัญกับแนวคิดโครงสร้างนิยมของเลวี่ สเตร๊าท์
เลวี่ สเตร๊าท์ ได้เริ่มประยุกต์ใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ มาศึกษาทางมานุษยวิทยาโครงสร้างของเขา  ที่ได้เปิดเส้นทางของการศึกษางานชาติพันธุ์วรรณา  ระบบความคิด กฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับเรื่องของภาษา และมีการรับมาใช้โดยนักสัญวิทยาและวรรณคดีวิจารณ์อย่างโรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) และนักโครงสร้างนิยมคนอื่นๆ การร่วมงานกันระหว่างเลววี่ สเตร๊าท์และนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซีย ที่ชื่อ โรมัน ยาค็อบสัน(Roman Jakobson;1895-1982) ในช่วงปลายทศวรรษที่1940 ที่จาค็อบสัน ได้นำรูปแบบความคิดแบบคู่แย้งชองโซซูร์ มาประยุกต์ใช้ศึกษาอาการทางประสาทของการพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด หรือความบกพร่องในการเลือกคำในเชิงกระบวนชุด และความบกพร่องในการเชื่อมโยงถ้อยคำในเชิงกระแสความ ที่เรียกว่า Aphasia ที่ปรากฎในงานของเขาชื่อ Fundamental of Language ซึ่งเขาสนใจเรื่องการอุปมาเปรียบเทียบ การใช้สิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของการแทนที่ การเป็นตัวแทน การทดแทนในเชิงกระบวนชุดที่มีลักษณะการรับรู้บนความคล้ายคลึง  เรียกว่า คำอุปลักษณ์(Metaphor) เช่นใจแข็งเหมือนเพชร ลูกคือดวงใจของพ่อแม่ และการเชื่อมต่อในเชิงกระบวนชุดที่มีลักษณะการรับรู้ถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสิ่งสองสิ่ง เรียกว่า นามนัย(Metonymy) เช่นหัวรถจักร แทนรถไฟทั้งขบวน  สีดำกับความตาย กินโต๊ะ ล้มมวย แน่นอนว่า การใช้คำแทนที่ หรือเชื่อมโยง เชื่อมต่อกัน ต้องอยู่ภายใต้ระบบกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม หรือโครงสร้างร่วมกันในชุมชนที่ใช้ภาษา ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน เราอาจบอกว่าใจแข็งเหมือนหินหรือเพชร แต่ไม่สามารถบอกว่า ใจแข็งเหมือนเมฆหรือปุยนุ่น ที่ขัดกับกฎเกณฑ์หรือโครงสร้างในกำกับความคิดของเราที่เรายอมรับและคุ้นเคยกับมัน เช่นเดียวกับแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของเครือญาติ ซึ่งสะท้อนผ่านการปฎิบัติทางเครือญาติที่กำหนดชุดของความสัมพันธ์ ในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย
งานทางชาติพันธุ์วรรณาและความคิดของเลวี่ สเตร๊าท์ นับว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยในการพัฒนาทางมานุษยวิทยา ด้วยการประยุกต์ใช้แนวความคิดเรื่องภาษา มาวิเคราะห์ส่วนประกอบของความไร้สำนึก ในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ได้อ้างถึงการไม่ตระหนักรู้ของพวกเขา              เลวี่-สเตร๊าท์แสดงให้เห็นความแตกต่างในวิธีการของนักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาว่า ประวัติศาสตร์ จัดระเบียบข้อมูลของมันในความสัมพันธ์ไปยังการสำนึกรู้ของชีวิตทางสังคม ในขณะที่นักมานุษยวิทยา ดำเนินการโดยการทดสอบ พื้นฐานในความไร้สำนึกของมัน(อ้างจากLevi-Strauss, SA.:1963) การก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ภาษาศาสตร์สมัยใหม่ ในหนทางของนักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักรัฐศาสตร์และนักมานุษยวิทยา ดังที่มาร์แซล มอร์ส (Marcel Mauss) ได้พยากรณ์เอาไว้เมื่อ40-50ปีที่แล้วว่า สังคมวิทยา จะมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงแน่นอน ถ้ามันมีการติดตาม ไปทุกหนทุกแห่ง ที่นำไปเกี่ยวกับนักภาษาศาสตร์” (SA:1963) เลวี่-สเตร๊าท์ เป็นนักมานุษยวิทยาที่นำเอาวิธีการของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างมาใช้  ในการศึกษาเรื่องเครือญาติ ชุดคำของเครือญาติที่เป็นเหมือนระบบของหน่วยเสียง  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายเมื่อถูกรวมเข้าไปในระบบ และสร้างความคิดในระดับของความไร้สำนึกของมนุษย์ ที่สะท้อนผ่านชุดคำของเครือญาติ รูปแบบความสัมพันธ์ของเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน ข้อห้ามทางเพศ ที่ทัศนคติเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดอย่างคล้ายคลึงกัน ในความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่นเดียวกับภาษาศาสตร์ที่กระทำอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ดังเช่นนักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างอีกท่านหนึ่งที่ชื่อ N.Troubetzkoy ได้กำหนดนิยามภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างเช่นเดียวกับ โครงสร้างนิยมเชิงระบบ(Systematic Structuralism) และพวกสากลนิยม(Universalism) ที่ต้องการค้นหารหัส โครงสร้างที่เป็นสากล ภาพรวมที่ตรงกันข้ามกับพวกปัจเจกชนนิยม(Individualism) และพวกAtomism  ที่เขาได้อธิบายเกี่ยวกับการลดทอนวิธีการทางโครงสร้างกับ การปฏิบัติพื้นฐาน 4 ลักษณะคือ (อ้างจากLevi Strauss, SA:1963)
 1)ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง ก้าวข้ามจากการศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์การสำนึกรู้ทางภาษาศาสตร์  ไปสู่สิ่งที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของความไร้สำนึกของพวกเขา (Unconscious infrastructure)
 2) ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง ไม่ใช่การรักษาชุดของคำ เช่นเดียวกับการมีอิสระอย่างสมบูรณ์ แต่มันเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชุดคำ (The Relation between Terms)
   3)  ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างแนะนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบ (Concept of System)
   4) ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง มีเป้าหมายในการค้นพบและพิสูจน์หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป(General Law)  ในการสรุปรวบยอด หรือลดทอนเชิงตรรกะเหตุผล ที่ได้ให้ลักษณะสมบูรณ์ของพวกเขา
ภาษาศาสตร์ และการสื่อสาร

เลวี่ สเตร๊าท์  ได้นำแนวคิดข้างต้นมาใช้วิเคราะห์และศึกษาทางมานุษยวิทยา ในการศึกษารหัสหรือโครงสร้าง ที่ถูกประกอบสร้างในรูปแบบธรรมเนียม กฎเกณฑ์ ซึ่งรหัสเป็นสิ่งที่สามารถแปลความหมายไปยังสิ่งอื่นๆ ที่เป็นคุณสมบัติที่กำหนดลงไปอย่างแน่นอน ดังเช่นนักภาษาศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ ที่ถูกสร้างขึ้นเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ที่นำไปสู่เรื่องของการศึกษาภาษาและการติดต่อสื่อสาร ของนักมานุษยวิทยา เช่นเดียวกับที่เลวี่-สเตร๊าท์ ศึกษาเกี่ยวกับชุดคำ ระบบของเครือญาติ นิทานปรัมปรา พิธีกรรม ความคิดที่เป็นรูปธรรมของคนป่า ที่ถอดรหัสไปยังเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ทำงานภายใต้ระบบของจิตใต้สำนึกและมีกระบวนการทำงานเช่นเดียวกับโครงสร้างหรือระบบของภาษา เช่นเดียวกับ แนวความคิดเรื่องสัญศาสตร์และสัญวิทยา ของเพิร์ซและโซซูร์ ในการศึกษาเกี่ยวกับสัญญะและสัญลักษณ์ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการนำไปประยุกต์ใช้ของนักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักวรรณคดีวิจารณ์ ในปัจจุบัน (ดูรูปตัวอย่างวิธีคิดแบบสัญวิทยาและสัญศาสตร์) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (Concept)และจินตนาการของเสียง (Sound-Image) การเปล่งเสียง ที่แสดงให้เห็นด้านโครงสร้างทางสังคมและด้านปัจเจกชนของภาษา

เลวี่ สเตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม

เลวี่ สเตร๊าท์ นักมนุษยวิทยาโครงสร้างนิยม กับการศึกษาแนวภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง
การเกิดขึ้นของสำนักโครงสร้างนิยม(Structuralism) ในช่วงปี1960 ที่นำโดยเลวี่ สเตร๊าท์ ในความเรียงอัตชีวประวัติของเขาชื่อ Tristes Tropiques(1958) ในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของนิยายปรัมปรา(myth) ที่มีเรื่องราวของแอ็ดดิวอล(Story of Adiwal:1967) รวมถึงการบรรยายครั้งแรกที่College de France ในหัวข้อขอบเขตทางมานุษยวิทยา(Scope of Anthropology:1967)  และการกลับมาวิเคราะห์ของเขาในการนับถือสัญลักษณ์ของพืชและสัตว์(Totemic illusion)ในเรื่องTotemism(1963) และการศึกษาความคิดของคนป่าและศาสตร์เชิงรูปธรรมใน เรื่อง The Savage mind (1966)  เลวี่ สเตร๊าท์ คาดหวังกับการค้นพบรูปธรรมและตรรกะของจิตใต้สำนึก ในความคิดของคนป่าที่นำไปสู่การวิเคราะห์โครงสร้างและสัญวิทยา เกี่ยวกับนิทานปรัมปรา การตีความหมายในพิธีกรรม การใช้ถ้อยคำ คำพูดและเหตุการณ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์อื่นๆของวัฒนธรรม ที่เป็นของคนพื้นเมือง นี่คือแนวทางของเลวี่ สเตร๊าท์ ในการศึกษาแบบโครงสร้างนิยม ที่วิเคราะห์ปฎิบัติการทางภาษาศาสตร์ การสร้างความหมายเกี่ยวกับนิทานปรัมปรา พิธีกรรม การจัดประเภทจำแนกแยกแยะเกี่ยวกับเครือญาติ ที่เป็นการอ้างถึงแนวความคิดของโซซูร์ในเรื่องของสัญวิทยากับการศึกษาทางมานุษยวิทยา
โดยโซซูร์ มองว่า ระบบของสัญญะเช่นเดียวกับ รูปแบบทางสัญลักษณ์ ความสุภาพ สัญลักษณ์ทางทหาร ภาษาในนิทานปรัมรา  คำพูดและท่าทาง ที่เป็นสัญญะของพิธีกรรม กฎเกณฑ์การแต่งงาน ระบบเครือญาติ ประเพณี จารีตที่เป็นกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่แน่นอนของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ(Singer:1983)
ในความเรียงอัตถชีวประวัติของเขา Tristes Tropiques   เขาได้หันเหออกจากความคิดของมานุษยวิทยาฝั่งตะวันตก ที่เป็นรูปแบบของการเสาะแสวงหาศึกษาคนพื้นเมืองหรือคนป่าจริงๆ ทำให้เขาพบปัญหาใน การสนทนากับคนเหล่านั้น  เมื่อการสนทนากลายเป็นสิ่งที่ล้มเหลวเพราะเราไม่รู้จักภาษาอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความเงียบหรือพูดไม่ได้ เมื่อการสนทนาข้ามวัฒนธรรมเกิดขึ้น นักมานุษยวิทยาโครงสร้างได้สะท้อนกลับในลักษณะของโครงสร้าง  ที่ได้ให้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ที่เลวี่-สเตร๊าท์ ได้แนะนำ สามารถจะเป็นสิ่งที่วิเคราะห์ไปยังทฤษฎีที่เป็นหนึ่งเดียว  ของการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์(word) ผู้หญิง(woman) สินค้า(goods)และบริการ( services)
ความคิดของเลวี่-สเตร๊าท์ ในทางโครงสร้าง ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคาร์ลมาร์กซ์ (Karl Marx) ในคำประกาศที่มีชื่อเสียงว่ามนุษย์สร้างประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง แต่พวกเขาไม่รู้ว่าพวกเขาได้สร้างมันขึ้นมา ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมานุษยวิทยา กับประวัติศาสตร์ รวมถึงความซับซ้อนทางจิตวิทยาที่เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก นอกจากนี้เขายังได้แบ่งปันความคิดกับนักภาษาศาสตร์อย่างวีโก้ (Vico) ที่ความสนใจในภาษาเช่นเดียวกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แต่วิธีการทางภาษาศาสตร์ที่ทันสมัยของเขาได้วิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษาศาสตร์  มนุษย์เป็นผู้ครอบครองควบคุมในลักษณะที่แตกต่าง ที่ประกอบสร้างรูปแบบของปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรม รูปแบบชีวิตทางสังคม  เป็นสิ่งที่ถูกจัดตั้งและทำให้คงอยู่ตลอดไป 
การวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษา ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์วัฒนธรรมที่ใหญ่  วิธีการของเลวี่-สเตร๊าท์  ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสิ่งที่ไม่ใช่ภาษา แต่มีโครงสร้างคล้ายภาษา มีองค์ประกอบย่อยๆเหมือนกับความคิดเกี่ยวกับหน่วยของเสียง(Phoeme)ที่ประกอบขึ้นเป็นคำ เป็นประโยค เป็นภาษา  ที่เขานำไปสู่การรับรู้เข้าใจการประกอบสร้างเกี่ยวกับพฤติกรรมทางวัฒนธรรม  (Cultural Behavior) ไม่ว่าจะเป็นพิธีฉลอง พิธีกรรม ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน วิธีการทำอาหาร (Method of cooking) ระบบสัญลักษณ์พืชสัตว์ (Totemic System) ที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นเนื้อแท้ภายในตัวเองที่แยกขาดจากส่วนอื่น แต่อยู่ในชุดของความสัมพันธ์ที่แตกต่างตรงกันข้าม ที่พวกเขามีกับสิ่งอื่นๆ  ซึ่งสร้างความเหมือนกันทางโครงสร้างของพวกเขากับโครงสร้างของหน่วยเสียงทางภาษา
ดังเช่นชุดคำของเครือญาติซึ่งเป็นส่วนประกอบของความหมายเหมือนหน่วยของเสียง ที่พวกเขายอมรับและเข้าใจความหมายเหล่านั้น ถ้าพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกรวมเข้าไปยังระบบ ระบบเหล่านี้เป็นสิ่งที่เห็นการรวมกันของรูปแบบ ประเภทของภาษา ในชุดของกระบวนการยอมรับการก่อตั้ง จัดตั้ง ระหว่างปัจเจกบุคคล และกลุ่ม เกี่ยวกับประเภทที่แน่นอนของการสื่อสาร (Communication)  แต่ละระบบที่เป็นเครือญาติ อาหาร และความคิดทางการเมือง พิธีกรรมการแต่งงาน  การปรุงอาหารและอื่นๆ ที่ประกอบสร้างการแสดงออกที่เฉพาะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทั้งหมด ที่คิดและเข้าใจได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ นั่นคือความคิด ทัศนคติที่ไร้สำนึก(Unconscious attitude) ของเลวี่-สเตร๊าท์ ที่วิเคราะห์ใน 3 ระบบของการผลิตทางวัตถุ ที่มีคุณค่าในเรื่องของ
1)ระบบเครือญาติ(Kinship)  ที่เป็นเสมือนกฎเกณฑ์ในเรื่องของการแต่งงาน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ครอบครัว ชายและหญิง เลวี่ สเตร๊าท์ เสนอว่า  ระบบหรือโครงสร้าง อาจจะเป็นหนึ่งเดียวหรือความเหมือนกัน กับโครงสร้างทางภาษาของสังคม รวมทั้งประเภทพื้นฐานที่แตกต่างของระบบการติดต่อสื่อสาร ในสังคมเดียวกัน ที่เป็นเครือญาติกัน และภาษาก็เป็นโครงสร้างของความไร้สำนึกที่บ่งชี้ หรือแสดงให้เห็น            เลวี่-สเตร๊าท์ ได้ให้ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของระบบเครือญาติในมุมมองที่กว้างและใหม่  ในทัศนะมุมมองเกี่ยวกับหน้าที่ของการแลกเปลี่ยนผู้หญิง เกี่ยวกับบทบาทของลุง(The Avunculate) ในสังคมดั้งเดิมที่ดูเหมือนจะลึกซึ้งมากกว่า  ดังที่เลวี่ สเตร๊าท์เล่าว่า
“เมื่อเรา พิจารณาสังคมของThe Cherkess และTrobriand มันเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอกับการศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงทัศนคติระหว่าง พ่อ-ลูกชาย(Father/son) และUncle/Sister’s Son ที่เป็นความสัมพันธ์ลักษณะหนึ่งเท่านั้น เกี่ยวกับโลกที่บรรจุ 4 ประเภท ชนิดของความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงรูปแบบดั้งเดิม กล่าวคือ Brother/Sister  ,husban/wife, Father/Son และMother’s brother/Sister’s son ที่เป็น2กลุ่มในตัวอย่างของเราที่แสดงกฎเกณฑ์ ที่สามารถกำหนด จัดวาง เช่นเดียวกับสิ่งที่ตามมาในแต่ละความสัมพันธ์ระหว่าง Maternal Uncle และหลานชาย(Nephew) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์ระหว่างน้องชายพี่ชายและพี่สาวน้องสาว เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชาย แม่กับลูกสาว ระหว่างสามีและภรรยา ดังนั้นถ้าเรารู้คู่หนึ่งของความสัมพันธ์ มันเป็นความเป็นไปได้อยู่เสมอกับการอนุมาน สรุป บอกเป็นนัยเกี่ยวกับสิ่งอื่นๆ”(SA.42)
“แน่นอนครอบครัวทางชีววิทยา(Biological Family) เป็นสิ่งที่อยู่ทุกหนทุกแห่งในสังคมมนุษย์ แต่อะไรเป็นสิ่งที่ถูกมอบให้ภายใต้ความเป็นเครือญาติ  ที่เป็นลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมมากกว่า  ไม่ใช่อะไรที่สงวนรักษาไว้ในธรรมชาติ และค่อนข้างเป็นหนทางที่สำคัญ ที่จะแยกออกจากธรรมชาติ ดังนั้นระบบเครือญาติไม่ได้ประกอบหรือมีอยู่ในวัตถุ ที่ผูกมัดเกี่ยวกับเชื้อสาย หรือความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ระหว่างบุคคลที่มันมีอยู่ในความสำนึกของมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นระบบของการเป็นตัวแทน(System of Representation)  ที่ถูกกำหนดให้เป็น ไม่ใช่การพัฒนาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ”(SA.50)
“ระบบเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อทำหน้าที่รับประกันความมั่นคงถาวรของกลุ่ม โดยความหมายของการมีชัยชนะระหว่างกัน ที่เกี่ยวข้องกับสายโลหิต และการเชื่อมโยงผูกติดกันอย่างใกล้ชิด  พวกเขาอาจจะเป็นสิ่งสามารถพิจารณาเช่นเดียวกับ พิมพ์เขียว ของกลไกลโครงสร้าง ที่ปั๊มฉีด ผู้หญิงออกมาจากครอบครัวที่เกี่ยวข้องทางสายโลหิตของพวกเขา กับการแจกจ่ายพวกเขาในกลุ่มที่ผูกพันกันอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้เป็นการสร้างกลุ่มทางสายเลือดใหม่..”(SA,309)
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เน้นย้ำความสัมพันธ์ของการถูกกำหนดให้เป็นของสิ่งที่เรียกว่าเครือญาติ และเป็นระบบที่ลักษณะของเครือญาติเป็นสิ่งที่เราสามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับระบบของภาษา  เครือญาติคือระบบสัญลักษณ์ ที่ได้ให้สนามที่สมบูรณ์ของนักมานุษยวิทยา ในการวิจัยทางมนุษยวิทยาและภาษาศาสตร์
2)นิทานปรัมปรา(Myth)  ภาษาในระบบของนิทานปรัมปราอ้างอิงกับระบบการสร้างความหมาย ในทางภาษาศาสตร์นั้นมานุษยวิทยา ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทางสังคมในระดับพื้นผิว ที่เป็นประสบการณ์ที่รู้สึกเข้าใจโดยสมาชิกปัเจกจชนในชุมชน ดังที่นักภาษาศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับนักพูดพื้นเมือง ที่การทำงานทางภาษาของเขาเป็นพวกประสบการณ์นิยมเท่านั้น ในขณะที่นักมานุษยวิทยาเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของความไร้สำนึก ซึ่งสามารถเป็นสิ่งที่เห็นได้ เมื่อพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกปลดปล่อยออกมา เช่นเดียวกับพ่อมดหมอผี(Shaman) ที่เป็นเสมือนผู้รักษา เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยในชุมชนโบราณดั้งเดิม  ดังที่เลวี่-สเตร๊าท์ ได้แสดงให้เห็น ว่าศาสตร์สมัยใหม่ก็สนับสนุน กับสิ่งที่พวกเรามองเห็น ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลลัพธ์ ระหว่างเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บ ที่Shaman เป็นผู้รักษา ที่อาศัยอยู่ในความสามารถของเขากับในความสัมพันธ์ของโรคภัยไข้เจ็บ กับโลกของนิทานปรัมปรา และสัตว์ประหลาด ปิศาจ(Monsters) ที่ซึ่งบุคคลที่เจ็บป่วยเชื่ออย่างแท้จริง ดังที่เขาบอกว่า
“นั่นคือปรัมปรานิยาย ของ Shaman ที่ไม่ได้ตอบสนองกับสิ่งที่แท้จริง ไม่ได้มีแก่นสารเรื่องราวใด ความเจ็บป่วยของผู้หญิงถูกเชื่อถือในตำนานและเกี่ยวข้องกับสังคม ที่ซึ่งเชื่อถือมันในจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์ผู้ปกครอง (Tutelary spirits)และวิญญาณชั่วร้าย(Malevolent Spirit) สัตว์ประหลาด ปิศาจที่เหนือธรรมชาติ(The supernatural monsters) และสัตว์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์คาถา(Magical Animal) เป็นทั้งหมดของระบบที่ยึดโยง เกาะเกี่ยวกับความคิดของคนพื้นเมือง ในเรื่องของจักรวาลวิทยา ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมา ทำให้อาการเจ็บป่วยของผู้หญิงมีการยอมรับ ในการมีอยู่จริง เกี่ยวกับนิทานปรัมปราเหล่านี้ ที่ค่อนข้างจะถูกต้องมากกว่า และไม่มีการตั้งคำถามกับการมีอยู่ของพวกเขา อะไรที่พวกเขา/เธอ ไม่ยอมรับ เป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และการกำหนดความเจ็บป่วยเป็นส่วนประกอบที่แตกต่างในระบบของเขาและเธอ  ...มนุษย์ได้เข้ามาอยู่ในนิทานปรัมปรา ที่ทุกสิ่งทุกยอย่างกลับมาอยู่รวมกัน เต็มไปด้วยความหมาย ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้หญิง ที่ไม่ได้มีอะไรไปกว่าการสละทิ้งซึ่งตัวหล่อนเอง การยอมรับในความเชื่อเหล่านั้น แล้วหล่อนจะได้รับสิ่งที่ดี...ดังนั้นอาการป่วยของผู้หญิงจึงเป็นสิ่งที่ถูกเรียกว่า Subjected”(SA.197-198)
นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างนิทานปรัมปราและภาษา ที่ได้เข้ามาอยู่ในศูนย์กลางทางความคิดของ  เลวี่ สเตร๊าท์  ซึ่งเขามีมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับความคิดของคนป่าว่า ธรรมชาติของความคิดนั้นเปิดเผยตัวมันเองในโครงสร้างของนิทานปรัมปรา เช่นปมออดิปุสที่ปรากฏในนิทานประเภทลูกฆ่าพ่อเอาแม่เป็นเมีย พ่อลงโทษลูกเพราะเมื่อลูกเกิดมาจะนำภัยพิบัติมาสู่บ้านเมือง จึงต้องถ่วงน้ำ ฝังดินเพื่อให้สิ้นชีวิต แต่ลูกไม่ตายและกลับมาแก้แค้น เป็นต้น เช่นเดียวกับโครงสร้างทางภาษาของนิทาน ที่เปิดเผยให้เห็นความคิดของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างธรรมชาติ วัฒนธรรม  ดังนั้น เป้าหมายของเลวี่ สเตร๊าท์ไม่ได้แสดงว่า มนุษย์คิดอย่างไรในนิทานปรัมปรา แต่นิทานปรัมปราคิดในตัวมนุษย์อย่างไร โดยที่ตัวพวกเขาก็ไม่รู้ เช่นเดียวกับกรณีของเครือญาติ นั่นคือโครงสร้างความไร้สำนึกที่ปรากฏผ่านการเล่านิทานหรือเนื้อหาในนิทานปรัมปรา
ดังที่เลวี่ สเตร๊าท์ บอกว่า นิทานปรัมปรา เป็นสิ่งที่ถูกสร้างหรือผลิตซ้ำ โดยบุคคลหรือการหยิบยืมมาจากธรรมเนียมแบบแผนของการปฎิบัติที่ยอมรับ  ที่ได้รับมาจากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม  เราสามารถเริ่มต้นได้กับการตั้งสมมติฐานที่อ้างอิงข้างบนว่า  นิทานปรัมปรา มีการเชื่อมโยงติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดพร้อมกับภาษาในตัวของมันเอง นิทานปรัมปราเป็นสิ่งที่จับยึดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของถ้อยคำมนุษย์(Human Speech) และการวิเคราะห์เกี่ยวกับมัน สามารถมีเป้าหมายที่แผ่ขยายไปยังสนามอื่นๆของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง(Structural Linguistic) ดังเช่นที่Saussure ได้แยก ความแตกต่างระหว่างระบบหรือโครงสร้าง(Langue)และปัจเจกบุคคลหรือเหตุการณ์ประสบการณ์เฉพาะบุคคล(Parole) ดังเช่นนิทานปรัมปราที่ถูกเล่าโดยปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่มาจากระบบที่เฉพาะ  มักถูกอ้างอิงอยู่เสมอกับเหตุการณ์ที่ยืนยันว่ามีการเกิดขึ้นนานมาแล้ว(กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ) ทำให้นิทานเป็นสิ่งที่ก้าวข้ามพรมแดนที่ไร้ช่วงเวลา ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต เมื่อมันถูกถ่ายทอดหรือบอกเล่าออกมาในแต่ละช่วงเวลา  ที่เชื่อมโยงกับระบบและปัจเจกบุคคล ในการกระทำและการดำรงอยู่เพื่ออธิบายโลก อธิบายรากเหง้าของตัวเอง การก้าวข้ามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่มีเกิดจากผลกระทบหรืออิทธิพลของภาษา  เลวี่-เสตร๊าท์ ได้แสดงความคิดใน พื้นฐานสำคัญ 2 อย่างในลักษณะของนิทานปรัมปราที่เขาศึกษา(อ้างจากTerence Hawkes;1978 P.43-44)
2.1 ความหมายของการศึกษานิทานปรัมปรา (Mythology) ไม่สามารถที่จะตั้งมั่นอยู่ในส่วนประกอบที่แยกออกจากกัน ในการประกอบสร้างนิทานปรัมปรา(Myth) แต่มักจะอยู่อย่างมั่นคงถาวรในหนทางที่ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในการสร้างคำอธิบาย และเรื่องเล่า
2.2 ภาษา(Language)ในนิทานปรัมปราแสดงคุณสมบัติที่เฉพาะที่อยู่เหนือระดับภาษาธรรมดา นิทานปรัมปราเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่เกี่ยวกับภาษาเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากหน่วยที่ประกอบกันอยู่ และหน่วยเหล่านี้ถูกสันนิษฐานและมองเห็นกระบวนการทำงานที่เหมือนกันกับหน่วยที่สามารถสังเกตเข้าใจได้ในภาษาธรรมดา ในรูปแบบของหน่วยเสียง(Phoneme) และหน่วยทางภาษาที่เล็กที่สุด(Morpheme)
3) ความคิดหรือธรรมชาติทางความของคนป่า(Savage Mind) เลวี่-สเตร๊าท์ ทำงานอยู่บนธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่า  คนพื้นเมืองและความคิดของคนป่า คือความคิดของคนพื้นถิ่นในความคิดหนึ่งเกี่ยวกับบางสิ่งที่ได้รับติดตัวมาแต่กำเนิด ในความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์ คิดค้นสัญลักษณ์ เช่น Totem ที่เป็นการจินตนาการเกี่ยวกับตัวพวกเขาเองและระบบสังคม เช่นฉันเป็นหมี (I am  a bear)และฉันเป็นนกอินทรีย์(I am the Eagle) ของแต่ละสายตระกูล(Clan) หมีและนกอินทรีย์ เป็นผู้ติดต่อและดำเนินการในเชิงเหตุผล  ที่เป็นเสมือนสัญญะเชิงรูปธรรม กับการทำความเข้าใจพวกเขา ในการวิเคราะห์ตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาในระบบของสัญญะ ในการวิเคราะห์ชุดของความรู้หรือศาสตร์เชิงรูปธรรม(Bricolage /Concrete Science) เป็นสิ่งที่ถูกนิยามในงาน 2 ชิ้น ของเลวี่ สเตร๊าท์ ที่เกี่ยวกับคนพื้นเมือง ในหนังสือ Totemism(1962) และSavage mind(1962) ที่ได้อ้างถึง ความหมายที่ไม่ได้มีในภาษาเขียน(Non-Literate) หรือสิ่งที่ไม่ได้มีความคิดทางเทคนิค เหมือนศาสตร์เชิงนามธรรม(Abstract Science) ของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากศาสตร์เชิงรูปธรรมของคนพื้นเมือง
ศาสตร์ทั้งสองชนิดเป็นสิ่งที่อธิบายในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่มีความแตกต่างกันเป็นคนละประเภท/ชนิด ตามระบบความคิดที่เป็นเรื่องของการรับรู้ จินตนาการและการจำแนกแยกแยะธรรมชาติ ตำนาน นิทานปรัมปราและพิธีกรรมของแต่ละสังคม ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโลกแห่งความเป็นจริงกับจินตนาการเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับการจำลองโลกทางความจริงผ่านนิทานปรัมปรา พิธีกรรม หรือการเล่มกีฬาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละระบบคิดก็มีเหตุผลกันคนละชุดและมีระบบ กฎเกณฑ์กันคนละอย่าง แต่ทั้งสองอย่างต่างก็เท่าเทียมกัน โดยไม่มีความรู้ใดหรือสังคมใดที่ดีกว่าหรือเหนือกว่ากัน เช่นเดียวกับเลวี่ สเตร๊าท์ ต้องการจะปะทะโจมตีกับความคิดสมัยใหม่ ที่มีพื้นฐานอยู่บนเหตุผลนิยม(Realism)และความคิดเกี่ยวกับธรรมชาตินิยม (Naturalism) โดยเฉพาะความคิดยุคหลังฟื้นฟูศิลปะวิทยาการที่การสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกแยกอย่างค่อนข้างสมบูรณ์จากธรรมชาติ(Terence Hawkes;1978) ดังเช่นที่เอ็ดมันส์ ลีซ ได้แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันของการจำแนกแยกประเภททางความคิดเกี่ยวกับสัตว์และพืช ว่า
“ มันคือความจริงเกี่ยวกับกระบวนการสังเกตเกี่ยวกับประสบการณ์ ที่การดำรงอยู่ของมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง ยอมรับทัศนคติทางพิธีกรรม ไปยังสัตว์และพืชในความใกล้เคียงของพวกเขา การพิจารณาสำหรับตัวอย่าง การแบ่งแยก ความแปลกประหลาดพิสดารบ่อยครั้ง กฎเกณฑ์ที่ซึ่งครอบงำพฤติกรรมของชาวอังกฤษ ไปยังสัตว์โลก ที่ซึ่งพวกเขาจำแนกแยกประเภท เช่นเดียวกับ 1) สัตว์ป่า 2) หมาป่า 3)เกมส์ 4)สัตว์ในฟาร์ม 5)สัตว์เลี้ยง 6) สัตว์และนกที่เป็นศัตรูพืช  ข้อสังเกตที่ยิ่งกว่านั้น เมื่อพวกเราจับยึดความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ของคำศัพท์ ก) ความแปลกประหลาด ข) ศัตรู ค)เพื่อน ง)เพื่อนบ้าน จ)เพื่อนร่วมงาน ฉ)อาชญากรรม ทั้งสองชุดของคำศัพท์เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับที่เป็นหนึ่งเดียวกัน”
 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ กับ วัฒนธรรม ในคำนิยมของเขา ในหนังสือ       Le Cru et   le cuit (Raw and Cook)  แสดงความเป็นไปได้ ของการถูกกำหนดให้เป็นของนิยายปรัมปรา ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของกฎเกณฑ์ ที่ปฎิบัติหรือดำเนินการในระดับที่ลึกกว่า   โดยชี้ให้เห็นความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดตลอดเวลาในการสร้างสรรค์เกี่ยวกับนิทานปรัมปราในตัวของมันเอง มีระเบียบกฎเกณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายของผู้เล่า และรักษามันเช่นเดียวกับการผลิตการแสดงเกี่ยวกับภาษา  ที่เป็นหน่วยพื้นฐานและความขัดแย้งตรงกันข้ามในสิ่งที่พวกเขาบ่งชี้หรือแสดงให้เห็น ดังเช่น        การแยกพื้นฐานของสิ่งที่เป็นคู่ตรงกันข้าม  ระหว่าง ดิบ-สุก  ที่แสดงอยู่บนลักษณะความเป็นธรรมชาติ-วัฒนธรรม ที่สะท้อนผ่านการปรุงอาหาร(Culinary/Cooking)  ที่เป็นเสมือนกฎเกณฑ์ที่มีคุณค่า ที่เขาบรรยายใน Mythic Representation  the passage from nature to culture ที่นิยายปรัมปรา ถูกทดสอบอยู่บ่อยครั้ง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พร้อมกับการค้นพบเกี่ยวกับไฟและเกี่ยวกับการปรุงอาหารให้สุก  ความคิดของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติไปยังวัฒนธรรม(อ้างจาก คำบรรยายเรื่อง The raw and the cooked ของLevi-Strauss;1984,หน้า39)  ที่สะท้อนผ่านนิทานปรัมปรา ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดของการปรุงอาหาร  รูปแบบการปรุงอาหาร  ประเภทชนิดของสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร กับการปริโภคเนื้อดิบ สัตว์ที่กินของเน่าเปื่อย ผู้ซึ่งกินของเน่าเปื่อย การจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์ที่กินเนื้อ เช่นเดียวกับสิ่งที่อยู่บนบก(ยักษ์หรือสัตว์ประหลาดกินคน) และสิ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ(ปลาพิรันย่า)  ซึ่งสะท้อนผ่านแนวคิดแบบคู่ตรงกันข้าม ระหว่างสุก ดิบ ความสดใหม่และการเน่าเปื่อย ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม เลวี่-สเตร๊าท์ ต้องการสะท้อนให้เห็นกฎเกณฑ์ ระบบระเบียบทางวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอดผ่านสมาชิกในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค อะไรที่กินได้ อะไรที่กินไม่ได้ อะไรที่สามารถกินดิบได้ อะไรที่ควรปรุงให้สุก และความเหมาะสมกับโอกาสที่เฉพาะในสังคม   เช่นเดียวกับ ข้อห้ามทางเพศในหมู่คนสายเลือดเดียวกัน (Incest taboo) ที่เป็นลักษณะที่ก้ำกึ่งระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่เราสามารถพบได้ในทุกสังคมซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติ และในทางเดียวกันมันก็เป็นการกำหนดขึ้นของสังคมซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรม

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...