วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554


จนกระทั่งนางไอ่คำถึงวัยที่จะมีเหย้ามีเรือนได้พญาขอมจึงได้แจ้งข่าวให้กับบรรดาหัวเมืองต่างๆ ได้ทำบั้งไฟขึ้นมาจุดแข่งขัน บั้งไฟใครขึ้นสูงก็จะได้นางไอ่ไปครอบครอง อีกทั้งเพื่อเป็นการบูชาพญาแถนที่อยู่บนฟ้า ช่วยดลบันดาลให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาลเพื่อให้ชาวเมืองได้ทำการเพาะปลูก และได้กำหนดให้วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันจัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อให้บรรดาเจ้าชายจากเมืองต่างๆ ทำบั้งไฟเอ้ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน มาร่วมเฉลิมฉลอง แห่เซิ้งเพื่อความสนุกสนาน และจุดแข่งขันกันโดยเอานางไอ่เป็นเดิมพัน  ทั้งท้าวผาแดง และพังคีก็มาร่วมงานด้วย โดยท้าวผาแดงได้ทำบั้งไฟมาแข่งขันด้วย  ผลการจุดปรากฏว่าบั้งไฟของพญาขอมแตก ซึ่งเป็นลางว่าบ้านเมืองอาจเกิดภัยพิบัติ ส่วนของท้าวผาแดงไม่ขึ้น ส่วนของเจ้าเมืองเชียงเหียน ฟ้าแดดสูงยางขึ้นได้สูง บางสำนวนก็ว่าขึ้นนานถึงสามวันสามคืนจึงตกลงมา  แต่เนื่องจากทั้งคู่เป็นอาของนางไอ่จึงไม่ได้นางไอ่ไป ชาวบ้านบางคนบอกว่านางไอ่ไม่ชอบคนแก่ แต่ชอบคนหนุ่มอย่างผาแดงจึงไม่ยอมแต่งงานด้วย หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันความรักของผาแดงและนางไอ่ก็มีมากขึ้นทั้งคู่มีความสัมพันธ์ต่อกันจนกระทั่งผาแดงเดินทางกลับเมืองตนเอง ข้างฝ่ายพังคีก็หลงรักนางไอ่มากจนทนไม่ได้ ต้องปลอมเป็นกระรอกด่อน (กระรอกเผือก)แขวนขอคำ(กระดิ่งทองคำ) มาวิ่งเล่นอยู่ตามต้นไม้ใกล้ที่ประทับของนางไอ่ เพื่อให้เห็นหน้านางไอ่  และเมื่อนางไอ่ได้เห็นกระรอกพังคีก็ใคร่อยากจะได้มาเป็นของตนเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด หรือจับเป็น จับตายก็ตาม นางจึงได้รับสั่งให้เรียกชายฉกรรจ์และนายพรานที่มีในเมือง  มาร่วมไล่ล่ากระรอก  ชื่อของนายพรานกลายเป็นชื่อของหมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านกงพราน มาจากนายกงพาน บ้านพรานงัวมาจากนายพรานชื่องัว   หรือบ้านพรานงู และพรานซ่อน[1]


[1] หมู่บ้านเหล่านี้อยู่ในเขตอำเภอหนองหานในปัจจุบัน คือบ้านกงพราน บ้านพรานงัว บ้านพังงู และบ้านพังซ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...