วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

หลังเรียนมหาวิทยาลัย


เข้าสู่แวดวงนักพัฒนาเอกชน สำนึกรักบ้านเกิด
ผมมีประสบการณ์การทำงานพื้นที่รอบโครงการเหมืองแร่โพแทชในเชิงของการให้ข้อมูล และการจัดองค์กรชาวบ้าน กรณีชาวบ้านคัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ที่คัดค้านการก่อสร้างโรงงานผลิตแร่โปแตช ที่บ้านหนองตะไกร้ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งใช้พื้นที่ก่อสร้างโรงงานประมาณ3,000 ไร่และใช้พื้นที่ขุดเจาะใต้พื้นดินเพื่อเอาแร่โปแตช เป็นเนื้อที่25 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือต.หนองไผ่ ต.โนนสูง อ.เมือง และต.ห้วยสามพาด ต.นาม่วง กิ่งอ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ 4 ตำบลรวมตัวกันต่อต้านคัดค้าน ภายใต้ชื่อ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งได้ทำการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี2543 ถึงปัจจุบัน ณ จุดเริ่มต้นครั้งนี้เองที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการทำงานพัฒนาในพื้นที่ ทั้งงานในเชิงข้อมูล งานเคลื่อนไหวในระดับพื้นที่ จังหวัด จนถึงนโยบายระดับประเทศ ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้การทำงานในพื้นที่เริ่มจาก....
        การศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศของพื้นที่ ที่จะลงไปทำงาน  ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตการปกครอง ระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน เพื่อจะทำให้เราได้รู้ข้อมูลพื้นฐานในการทำงานว่าหมู่บ้านนี้มีกี่หมู่ มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอะไร ระดับการศึกษาของชาวบ้าน สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน ศาลากลางบ้านประชากรเท่าไหร่ มีกลุ่มอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราสามารถที่จะหาได้จากที่ว่าการอำเภอ หรือองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆ รวมถึงสามารถค้นจากฐานข้อมูลของกรมการพัฒนาชุมชน ที่เรียกว่า กชช2.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...