วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตที่พอเพียงกับการพัฒนาที่ไม่เพียงพอ

ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านแกนนำเกษตรอินทรีย์ที่กาฬสินธุ์ เห็นความตื่นตัวของชาวบ้านในการอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม โดยการเชื่อมโยงวัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่น  ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่ยึดถิืืืืือปฏิบัติมาแต่ครั้งปู่ย่า ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานบญผะเหวด แห่ข้าวพันก้อนที่ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ได้จัดกันขึ้น ตั้งแต่การเชิญพระอุปครุฑ ที่แม่นำ้ของหมู่บ้าน ไปจนถึงการแห่ผ้าพระเหวดเข้าวัด ตอนดึกก็มีการแห่ข้าวพันก้อน พร้อมฟังเทศมหาชาติ 13 กัณฑ์ งานประเพณีดังกล่าวเป็นงานใหญ่ของชุมชน เพราะต้องอาศัยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมาช่วยงานกัน  ซึ่งการเตรียมงานต้องเตรียมกันล่วงหน้าหลายอาทิตย์ ทั้งทำเครื่องประดับตกแต่งธรรมมาศน์ การพับปลา สานนก ทำใยแมงมุม ทำข้าวพันก่้อน การวาดภาพชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ การทำข้าวเกรียบ เพื่อเป็นของฝากให้กับญาติพี่น้องที่มาร่วมงาน
หลังเสร็จงานผมมีโอกาสได้คุยกับชาวบ้านแกนนำ เราคุยกันถึงเรื่องนิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสี ที่เกิดการรั่วไหลของญี่ปุ่น เนื่องจากเหตุการณ์สึนามี และมาเชื่อมโยงกับการประชาพิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูที่นี่ พร้อมความวิตกกังวลของชาวบ้านว่า ถ้าหากโครงการนี้พัฒนาจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาหรือไม่ และพวกเขาจะทำอย่างไร เพราะตอนนี้พวกเขาเดินมาไกลถึงเรื่องของเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นเกษตรที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่โครงนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่พวกเขากระทำอยู่ในปัจจุบัน
การพัฒนาต่างๆที่ถาโถมเข้ามา และไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของความเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ย่อมก่อให้เกิดปัญหา และสุดท้ายอาจนำไปสู่การทำลายวิถีชีวิตที่ไม่มีวันเรียกกลับคืนมาได้อีกตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...