วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตเอ็นจีโอ(3)


เมื่อชาวบ้านแตกออกเป็นสองฝ่าย เมื่อคนที่เราเคารพนับถือหาว่าเราหลอกลวงให้เชื่อ
การรุกเข้ามาของบริษัทในช่วงปี2546 ซึ่งได้สร้างกรtแสของคนออกเป็นสองกลุ่มซึ่งในตอนแรกมีแค่กลุ่มต่อต้าน และกลุ่มคนที่ไม่แสดงตัวตนว่าคิดอย่างไร คอยดูข่าวสารความเคลื่อนไหวอยู่  คนกลุ่มหลังนี้ส่วนหนึ่งที่ได้แสดงตัวตนออกมาว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนโครงการ โดยเฉพาะกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านสี่ตำบล นำโดย นายชำนาญ ภูวิไลและนายฉลอง ภูวิไล และกลุ่มพิทักษ์สิทธิตนเองบ้านดงมะไฟ ซึ่งในช่วงแรกๆที่บริษัทได้จ้างบัณฑิตอาสาที่เคยทำงานกับชุมชนและหมดวาระการทำงานมาเป็นพนักงานและคอยประสานงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับโปแตชกับชาวบ้าน งานมวลชนสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเงินผ้าป่า เพื่อทำนุบำรุงวัด การจัดแข่งกีฬา การมอบอุปกรณ์โรงเรียน  การสนับสนุนอาชีพ เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ชน การออกสื่อทั้งท้องถิ่นและระดับประเทศ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ การจัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมระดับจังหวัด เช่นงานทุ่งศรีเมือง ครัวโลก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของชาวบ้านเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่นิ่งๆเงียบๆและรอดูท่าที เพราะผลประโยชน์อันมหาศาลและวัตถุที่จับต้องได้ มากกว่าอุดมการณ์ของชาวบ้านที่ต่อสู้มาเป็นเวลา4-5 ปีที่ต้องเสียสละเวลา แรงกายและเงินในการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรและสมบัติของชาติ ที่ยังไม่เห็นผลชัดเจนในคำตอบสุดท้ายของโครงการ ว่าจะหยุดหรือสร้าง พร้อมกับสิ่งที่คนบางคนพูดย้ำว่า สู้ยังไงก็ไม่ชนะเขาหรอก
นี่คือสิ่งสิ่งที่ฝ่ายตรงกันข้ามพยายามสร้างขึ้นมาบั่นทอนกำลังใจ ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความโจมตี ในเรื่องของแกนนำ เรื่องบุญกุ้มข้าว ความไม่โปร่งใสในการจัดงาน การใช้ประเพณีบิดเบือนเจตนารมณ์บรรพบุรุษ การใช้ความรุนแรงเหนือเหตุผลเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ได้ตอกย้ำและสร้างภาพทางลบให้กับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสายตาคนข้างนอก ชาวบ้านบางคนก็เริ่มแสดงตัวตนออกมาอยู่ข้างกลุ่มสนับสนุนมากขึ้น แม้แต่ผู้ที่เคยต่อสู้ร่วมกันบางคน ที่เคยพูดว่าจะสู้ตรงนี้ สู้ที่นี่สู้จนตาย ตนเองเป็นคนสร้างบ้านแปลงเมือง เป็นหลักของลูกหลาน จะเป็นแกนนำในการต่อสู้เอง ก็ยังเปลี่ยนแปลง  ซึ่งแน่นอนว่า หากพื้นฐานของชุมชนที่อยู่บนฮีตบ้านคองเมือง ระบบจารีตประเพณีความเป็นชุมชน ระบบการลงโทษของชุมชน ก็จะจัดการและสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในตัวของมันเอง ดังที่กลุ่มอนุรักษ์หรือคนในชุมชนใช้มาตรการ ไม่คบหาสมาคม ไม่ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของคนๆนั้นก็น่าจะเป็นคำตอบในวิธีการจัดการความขัดแย้งของชาวบ้าน ซึ่งแน่นอนว่า วิธีการนี้คือขั้นสุดท้าย เพราะก่อนหน้านั้นได้มีการนำผู้เฒ่าผู้แก่ไปพูดคุยกับลูกหลานที่ไปเข้ากับบริษัทปลุกปั่นคนในชุมชนให้แตกแยกมาแล้ว แต่ก็ไม่ยอมฟัง  ซึ่งผู้เขียนก็ได้พบเห็นในหลายกรณี เช่นการมาจัดกีฬาที่หมู่บ้านซึ่งบริษัทให้งบมา ตอนสุดท้ายก็ต้องล้มเลิกหรือจัดไม่ได้ หรือการไม่รับเงินฌาปนกิจหมู่บ้านจากลุ่มที่สนับสนุนบริษัท จนกลุ่มคนเหล่านั้นต้องถอนจากกลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน หรือแม้แต่การซื้อของในชุมชน คนในชุมชนก็จะเลือกซื้อของกับคนที่อยู่กลุ่มอนุรักษ์ไม่ซื้อของกับคนที่เข้ากับบริษัท หรือการที่บริษัทจะมามอบเงินให้กับวัด ชาวบ้านก็ไปรวมตัวกันชุมนุมที่วัดจนผลสุดท้ายวัดก็ไม่ยอมรับเงินเป็นต้น นี่เองที่เขาเรียกว่าห้องเรียนสันติวิธีและความรุนแรง การจัดการความขัดแย้งของคนในพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...