วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

รัฐกับการเกษตรกรรม จากหนังสือ เจมส์ ซี สก๊อตต์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 History of the Earliest  States ของ Jame C Scott (2017) มาอ่านแล้วมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ หนังสือจำนวนเกือบ300หน้า แต่ได้ประเด็นดีๆเยอะมาก ..สนุกกว่าทำประกันคุณภาพมากกกเลย

**การก่อกำเนิดรัฐสัมพันธ์กับการทำการเกษตร

   เมื่อการเกษตรเกิดขึ้น มันทำหน้าที่ในการทำให้ความอิสระของคน ที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่หรือทรัพย์สิน โดยเฉพาะกลุ่มคนล่าสัตว์หาของป่า อยู่ติดที่ติดทางมากขึ้น และคุ้นชินกับกับตารางเวลาของการควบคุม ในรูปแบบของการเพาะปลูกข้าวแบบนาปี การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ ที่เขื่อมโยงกับการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่ง เช่น ที่ดิน จำนวนพืชผล จำนวนสัตว์เลี้ยง และอื่นๆ 

   การค้นพบไฟ การเอาพืชและสัตว์ในป่ามาเลี้ยงคือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพราะความต้องการเหล่านั้น มีความสัมพันธ์กับการปรับลดความสามารถในการหาอาหารในป่า รวมถึงการลดรัศมีของการหาอาหารให้แคบลงโดยเน้นอาหารในพื้นที่ขนาดเล็กรอบ ๆที่พักอาศัยมนุษย์ เจมส์ ซี สกอตต์อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของการอยู่ประจำในที่พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่ราบลุ่ม ก่อนการเพาะปลูกธัญพืช เป็นเวลา 4,000 ปีระหว่างการเพาะปลูกเมล็ดพืชในบ้านกับสังคมเกษตรกรรมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเข้มข้น โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับคนยุคแรกที่จะเสริมอาหารที่มีอยู่ของพวกเขาด้วยเมล็ดธัญพืชและพืชผลในบ้านอื่น  แทนที่จะพึ่งพา พืชผลโดยเฉพาะ เขาคิดว่าความสามารถในการปรับตัวในกลยุทธ์เพื่อการยังชีพเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเกษตรในยุคแรกสำหรับบรรพบุรุษของพวกเรา

  มนุษย์ทำในสิ่งที่มากกว่าการเลี้ยงวัวควายและการปลูกพืชผล และสิ่งนี้มีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง การเปลี่ยนแปลงที่ได้นำมาสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมของมนุษยชาติโดยการคัดเลือกพืชพันธุ์ สัตว์เลี้ยงจากธรรมชาติ ..การพรากสิ่งเหล่านี้จากธรรมชาติที่มันดูแลและเติบโตด้วยตัวเอง มาทำให้เชื่องและอยู่ในอำนาจของมนุษย์ในการดูแล เพื่อดึงเอาชนิดของพืชที่ไม่รู้จักตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษของพวกเราและเมื่อนำมาเลี้ยงและเพาะปลูกในครัวเรือน พวกมันก็ไม่สามารถอยู่รอดได้หากปราศจากการดูแลของมนุษย์ และกลายเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นพืชในครัวเรือนของมนุษย์นับตั้งแต่นั้นมา

      นอกจากนี้เรายังเลี้ยงสัตว์ด้วยการคัดออกสัตว์ที่มีลักษณะไม่พึงประสงค์และปลูกฝังในสิ่งที่เราพอใจ สิ่งนี้เปลี่ยนสัตว์ทั้งในด้านพฤติกรรมและทางสรีรวิทยาทำให้พวกมันเชื่องและไม่มีการตอบโต้อย่างถาวร  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลเสียต่อตัวสัตว์เอง แม้ว่าจะส่งผลในเชิงบวกต่อผลผลิตสำหรับเจ้าของครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ก็ตาม

  เจมส์ ซี สกอตต์จึงหันไปอธิบายสิ่งที่เขาเรียกว่า " "Human Parallels" ซึ่งตัวมนุษย์เองอาจได้รับการเปลี่ยนแปลงโดยการเลี้ยงดู ตั้งแต่โครงสร้างกระดูกที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้หญิงที่ถูกบังคับให้ทำงานภาคเกษตรไปจนถึงขนาดร่างกายที่แตกต่างกันทั่วไปและการพิสูจน์การขาดสารอาหารในมนุษยชาติหลังเกษตรกรรม สกอตต์ให้เหตุผลว่ามนุษย์ได้พัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ของพวกมันเอง  เจมส์ ซี สกอตต์คาดการณ์ว่าเราอาจจะเชื่อฟังมากขึ้นและไม่ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา เขายังให้เหตุผลว่าความต้องการของพืชและสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนเกือบทำให้เราตกเป็นทาสของความต้องการเฉพาะอย่างพิถีพิถันและในชีวิตประจำวัน

   เจมส์ซีสกอตต์เน้นย้ำแนวคิดของเกษตรแบบอภิบาลสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์ นั่นคือ วิถีการผลิตโดยใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อการไถนาในการเกษตรและการเป็นสัตว์เลี้ยงที่ให้ผลผลิตอื่นๆในครัวเรือน นม เนื้อมูลสัตว์และอื่นๆ เขาตั้งคำถามว่าเหตุใดคนที่ล่าสัตว์หาของป่าซึ่งเขาเชื่อว่ามีชีวิตที่ค่อนข้างดีและสมบูรณ์จึงหันมาใช้วิธีการเหล่านี้ โดยเปลี่ยนมาเป็นการทำฟาร์มเพื่อยังชีพ ที่ดูเป็นเรื่องทางโลกที่จำกัดตัวเองกับพื้นที่และมีความน่าเบื่อหน่ายมากกว่าสังคมนักล่าสัตว์และหาของป่าที่มีอิสระ จากนั้นเขาก็อ้างเหตุผลว่าเหตุใดสังคมเหล่านี้จึงแปรสภาพเป็นสังคมอภิบาลเกษตรเนื่องจากการบีบบังคับจากรัฐ เขาอ้างอิงงานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีในเมโสโปเตเมียชื่อ Abu Hureyra สกอตต์เห็นด้วยกับนักวิชาการคนอื่นๆ ในสาขาที่ว่า "'ไม่มีนักล่าสัตว์และเก็บของป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีผลผลิตเพียบพร้อมด้วยอาหารป่าหลายชนิดที่สามารถจัดหาได้สำหรับทุกฤดูกาล มีแนวโน้มที่จะเริ่มหันมาเพาะปลูกพืชหลักที่ให้แคลอรี่ของพวกเขาด้วยความเต็มใจและสุดท้ายสกอตต์ยังชี้ให้เห็นว่ารัฐในยุคแรกๆ ถูกรุมเร้าโดยอันตรายและความเสี่ยงจากสัตว์สู่คนเช่น โรคที่แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ซึ่งส่งผลให้อัตราการป่วยเป็นโรคสูงขึ้น

  หากอารยธรรมถูกตัดสินถึงความสำเร็จของรัฐ และหากอารยธรรมโบราณหมายถึงการอยู่ประจำที่ การทำเกษตรกรรม  การชลประทาน และการเติบโตของเมือง ความสำเร็จทั้งหมดของมนุษย์ในยุคหินใหม่นี้เจมส์ ซีสก็อตต์ได้ให้คำจำกัดความของรัฐโดยเน้นที่ตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตและเครื่องมือพิเศษของรัฐ อย่างเช่นกำแพงการจัดเก็บภาษีและเจ้าหน้าทีของรัฐ เมืองสุเมเรียนแห่งอุรุกเป็นตัวอย่าง สกอตต์กล่าวว่าในอูรุก เกษตรกรรมในยุคแรกๆจำเป็นต้องมีวิถีชีวิตที่ยากลำบากมาก หลายคนต้องถูกรัฐบังคับให้ทำงานหนัก เช่น การสร้างช่องทางของการชลประทาน เป็นต้น

  ด้วยเหตุนี้ การทำสงครามระหว่างเมืองที่เป็นคู่แข่งกันจึงแพร่หลายมากในช่วงเวลานี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงงานทาสหรือเพื่อยึดครองพื้นที่ที่ได้รับการชลประทานแล้ว สกอตต์ไปไกลถึงขั้นอ้างว่า "Grains Make States" การแนะนำแหล่งอาหารหลักทำให้รัฐเก็บภาษีจากประชาชนได้มาก ธัญพืช โดยเฉพาะข้าวสาลี กลายเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บภาษีของประชาชน ธัญพืช เช่น ข้าวสาลีหรือข้าวมีคุณค่าต่อน้ำหนักมากกว่าแหล่งอาหารอื่นๆ และขนส่งได้ง่ายกว่ามาก ตามที่เขาพูดว่า "กุญแจสู่การเชื่อมต่อระหว่างธัญพืชและรัฐมีอยู่จริง ฉันเชื่อว่าในความจริงที่ว่าเมล็ดธัญพืชเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการจัดเก็บภาษี มองเห็นได้ แบ่งได้ ประเมินได้ จัดเก็บได้ เคลื่อนย้ายได้และ มีเหตุผล' ' พืชผลอื่นๆ เช่น พืชตระกูลถั่ว พืชหัว และพืชแป้ง ที่มีคุณสมบัติที่รัฐพึงใจเหล่านี้  ภายใต้การทำให้ผู้คนจ่ายภาษีในเมล็ดพืช การบังคับให้ผู้คนเปลี่ยนการผลิตพืชดั้งเดิมสู่แหล่งอื่น หรือเปลี่ยนอาหารที่พวกเขาชอบไปสู่พืชที่สร้างความมั่งคั่งให้กับรัฐ

   เจมส์ ซี สกอตต์อธิบายรัฐยุคแรกว่าเป็นเสมือนเครื่องจักรทางประชากร ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับผลิตภาพและจำนวนผู้คน รัฐยุคแรกต้องรวบรวมผู้คน ตั้งถิ่นฐานชุมชนของพวกเขาให้อยู่ใกล้ศูนย์กลางของอำนาจ และบังคับให้พวกเขาสร้างส่วนเกินเกินความต้องการของตนเอง นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตว่าเนื่องจากรัฐในยุคแรกเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ประชากรมีแนวโน้มลดลงเว้นแต่ผู้คนจะถูกแทนที่ด้วยทาสใหม่จากที่อื่น ในรัฐแรกเริ่ม การควบคุมประชากรนี้มักใช้รูปแบบของการบังคับให้ประชาชนตั้งรกรากบนที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ จากนั้นจึงป้องกันไม่ให้พวกเขาหลบหนีเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นทาสและแรงงาน หลักฐานชิ้นหนึ่งที่สกอตต์อ้างถึงคือประมวลกฎหมายฉบับแรกเริ่มสุดที่เต็มไปด้วยคำสั่งห้ามโดยมีจุดประสงค์เพื่อ กีดกันและลงโทษ เจมส์ ซี สกอตต์อ้างถึงประมวลกฎหมายฮัมมูราบีประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกีดกันการมีอิสระและการหลบหนีของทาส ผลลัพธ์สุดท้ายของระบบนี้คือรัฐที่มีประชาชนส่วนใหญ่มักมีอำนาจมากที่สุด สิ่งนี้สร้างแรงจูงใจที่น่าสนใจสำหรับรัฐในยุคแรกๆ ที่จะพยายามเพิ่มจำนวนประชากร และป้องกัน "การรั่วไหลของประชากรผ่านการเป็นทาสและเฉลยสงคราม

   ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดลงของทรัพยากร โรค สงคราม และการย้ายถิ่นไปยังพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มุมมองของสกอตต์ก็คือหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าชุมชนมนุษย์ในยุคแรก  มีการยุบตัว แยกย้ายกันไป กลับมารวมกันและยุบอีกครั้งอย่างต่อเนื่อง สกอตต์เชื่อว่านักวิชาการมองว่าการล่มสลายของรัฐนั้นไม่ดี เนื่องจากสูญเสียความซับซ้อนทางวัฒนธรรมไป แต่ในความเป็นจริง เขาคิดว่ามันอาจดีสำหรับคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้อง สกอตต์ยืนยันว่าการอาศัยอยู่ในรัฐยุคแรกหมายความว่าคุณต้องเผชิญกับสงครามขนาดใหญ่และการเป็นทาส และช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์หลังจากการล่มสลายของรัฐอาจทำให้มาตรฐานการครองชีพและเสรีภาพสูงขึ้นก็เป็นได้

  เจมส์ ซี สกอตต์ตั้งข้อสมมติฐานทางทฤษฎีว่าเมื่อ 400 ปีก่อนว่ามนุษยชาติอยู่ใน "ยุคทองของอนารยชนนี่เป็นยุคที่ประชากรโลกส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นคนเก็บภาษี ส่วนหนึ่งเกิดจากการดำรงอยู่ของ "เขตป่าเถื่อนเช่น ผืนดินขนาดใหญ่ที่รัฐพบว่าเป็นไปไม่ได้หรือยากที่จะขยายการปกครองออกไป สถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขาและที่ราบกว้างใหญ่ เช่นเดียวกับ ป่าทึบที่รกร้าง หนองน้ำ บึง สันดอนของแม่น้ำ บึง ทุ่ง ทะเลทราย ป่าดงดิบ พื้นที่แห้งแล้ง และแม้แต่ทะเลด้วยเช่นกัน ที่แห่งนี้ไม่เพียงแต่ การมีผู้คนจำนวนมากที่อยู่ห่างไกลจากรัฐ แต่ยังทำให้พวกเขาเป็นภัยคุกคามทางทหารที่สำคัญต่ออำนาจของรัฐ

   นักวิชาการส่วนใหญ่มักอธิบายว่า ชุมชน "ป่าเถื่อนบางแห่งมีการพัฒนาและกลายเป็นรัฐยุคแรกและเป็นชุมชนทางอารยธรรม ในขณะเดียวกันผู้ที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงนี้ยังคงเป็น "คนป่าเถื่อน เจมส์ ซี สกอตต์ให้เหตุผลว่าประวัติศาสตร์ของ "คนป่าเถื่อนและรัฐนั้นลื่นไหลกว่ามาก ที่จริงแล้วบางคน "เปลี่ยนกลับไปเป็นป่าเถื่อนอย่างรวดเร็วเพราะความล้มเหลวและความมากเกินไปของรัฐ นี่หมายความว่าอารยธรรมและการสร้างรัฐไม่ใช่ความก้าวหน้าที่ไม่อาจหยุดยั้งได้ แต่เป็นโครงการที่โหดร้ายที่ผู้คนพร้อมหลีกเลี่ยงเมื่อพวกเขาถูกกดขี่และสามารถต่อรองกับมันได้...



มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 วิชามานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด เป็นวิชาหนึ่งที่ผมเคยคิดอยากจะสอน อยากจะเปิดรายวิชา จากความสนใจวัยเด็กที่ชอบตำนานเรื่องลี้ลับ..โดยส่วนตัวผมชอบอ่านงานมานุษยวิทยาที่ใช้ในศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมานุษยวิทยาว่าด้วยแบคทีเรีย มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด และอื่นๆ

   ทุกสนามมีเรื่องเล่า ทุกสนาม ทุกท้องถิ่น มีความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาด ผมนึกถึงมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสัตว์ประหลาด ที่เรียกว่า Anthropology of monster หรือ Monster studies ..ดังเช่นงานของ  Cohen (1996) ที่เขียน Monster Culture ภายใต้เรื่องเล่าเกี่ยวกับความน่ากลัว จินตนาการที่เหมือนภูติผี อันตราย การทำลาย หรือสิ่งมีชีวิตที่น่าสะพรึงกลัว ที่แฝงหรือซ่อนตัวอยู่ในเงาและความมืด อยู่ใต้เตียง และอยู่ภายในถ้ำหรือใต้ทะเลสาบ ที่ก้าวพ้นไปจากสิ่งที่เรามองเห็น และอยู่ในจินตนาการ  

  ในด้านหนึ่งสัตว์ประหลาด มันคือสาเหตุของความชั่วร้าย ความเสียหายต่อสิ่งต่างๆ บางครั้งมันเป็นสิ่งที่ปกป้องผู้คนรวมทั้งเป็นสิ่งที่สามารถบ่มเพาะความกลัว สร้างความหวาดหวั่นให้กับผู้คน สามาถเข่นฆ่าทำลายชีวิตผู้คน การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดจึงมีความหมายและเป็นประเด็นที่น่าสนใจทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะเป็นสนามย่อยๆเล็กๆ แต่ปัจจุบันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดได้กลายเป็นเสมือนดอกเห็ดที่มีความอุดมสมบูรณ์และเติบโตอย่างมากในการศึกษาเรื่องนี้ ดังเช่นของบทความวิชาการต่างๆ และหนังสือเกี่ยวกับการค้นหาหลักฐานและมีการพิสูจน์ การรับรองการมีอยู่จริงสัตว์ประหลาดเหล่านี้ในทุกมุมโลก และสิ่งเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำผ่านวรรณกรรมภาพยนตร์ และสื่อต่างๆในปัจจุบัน..

      มนุษย์เชื่อมโยงความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เรียกว่าสัตว์ประหลาด โดยการให้ชื่อมันในแต่ละภูมิภาค อย่างในภาคเหนือมีความเชื่อเรื่องแมงสี่หูห้าตา ที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วที่เชียงราย  การสร้างประวัติศาสตร์เรื่องราวของมัน เช่น ตำนาน Dracula  ตำนานมนุษย์หมาป่า  ตำนานบิ๊กฟุต ตำนานล็อกเนสส์หรือเนสซี่ ตำนานเยติ หรือตำนานแฟรงเก้นสไตน์ เป็นต้น แหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งกำเนิดเช่นในมหากาพย์ของโฮเมอร์ เรื่องโอดีสซี ที่พูดถึงเกาะที่มียักษ์ตาเดียว หรือเมืองของเมดูซ่า  รวมทั้งการพูดพลังอำนาจของมัน หรือการเชื่อมโยงกับเทวตำนาน การเกิดลูกของเทพเจ้าที่เกิดตากการผสมเผ่าพันธุ์ของเทพกับสัตว์ กับมนุษย์ธรรมดา หรือกับเทพด้วยกันและต้องคำสาปที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นสัตว์ประหลาด..

   การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาด เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ร่างกาย ( monster bodies) มีการผสมผสานและจับคู่กัน ภายใต้สิ่งที่ควรแยกออกจากกัน  เช่นการผสมระหว่าง ธรรมชาติ / วัฒนธรรมมนุษย์ / สัตว์ชาย / หญิงคุ้นเคย / ไม่คุ้นเคย เป็นต้น ตั้งแต่แม่มดแอฟริกันและผี Burnt Woman ในออสเตรเลียไปจนถึง Freddy Krueger หรือสัตว์ประหลาดที่เกิดจากการค้นคว้าทดลอง การกินยาหรือสารเคมีที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง และการกลายเป็นร่างมนุษย์กึ่งหุนยนต์ที่เรียกว่าไซบอร์ก รวมถึงการทำความเข้าใจรูปแบบสัตว์ประหลาดทั้งแบบตะวันตกและแบบตะวันออกภายใต้วิธีการบางอย่างที่คนในสังคมเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดและมีประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดในชุมชนทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ภายใต้เงื่อนไขทางบริบทและช่วงเวลาเฉพาะ...

    คำถามสำคัญก็คือ สัตว์ประหลาดมีอยู่จริงหรือไม่ ความรู้ ความจริงเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดถูกสร้างขึ้นอย่างไร และเราจะกำหนด แบ่งแยกประเภทหรืออธิบายมันได้อย่างไรสัตว์ประหลาดและเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดมีบทบาทอย่างไรในวัฒนธรรมตรรกะของความชั่วร้ายยังคงอยู่ตลอดเวลาหรือแต่ละยุคยอมรับสัตว์ประหลาดที่แตกต่างกันหรือไม่ดังเช่นหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ตัวพระเอกคือสัตว์ประหลาดผู้ชั่วร้าย ที่ไม่ต้องสร้างภาพแบบดูดี.. 

    แนวคิดที่ว่ามอนสเตอร์เป็นผู้ผิดปกติและไร้ระเบียบ ที่ให้แนวทางกับเราในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความปกติและความผิดปกติในสังคม แนวคิดที่ว่าความชั่วร้าย ที่เป็นเสมือนสัตว์ประหลาดในร่างมนุษย์ที่ปกติ ดังนั้นภาวะของการเป็นสัตว์ประหลาด(monsternization) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความกลัวตัวเองของมนุษย์ที่ผิดปกติหรือร่างกายที่ผิดปกติไปจากมาตรฐานของสังคม แต่ยังรวมถึงความท้าทายต่อรอง ภายใต้การสร้างตัวตนปกติและร่างกายปกติ หรือตัวตนที่ไม่ปกติและร่างกายที่ไม่ปกติ เพื่อต่อสู้ต่อรองกับอะไรบางอย่าง เช่นเดียวกับปางของเจ้าแม่กาลีที่ต้องแสดงด้านของความชั่วร้ายเพื่อต่อสู้กับยักษ์อสูรหรือความไม่ยุติธรรม หรือHulk เจ้ามนุษย์ยักษ์ตัวเขียวที่ใช้อารมณ์ความโกรธของตัวเอง และใช้ร่างกายที่มหึมาในฐานะของสัตว์ประหลาดในการทำลายความชั่วร้ายต่างๆ..


อ้างอิง


Cohen, Jeffrey Jerome. 1996. “Monster Culture (Seven Theses).” In Monster Theory, edited by J. J. Cohen, 3–25. Minneapolis: University of Minnesota Press

Foucault, M. 2003. Abnormal: Lectures at the College de France, 1974-1975, eds V. Marchetti, A. Salomoni, and A. Davidson. New York: Picador. 

Kearney, R. 2003. Strangers, Gods and Monsters. London & New York: Routledge.

Levina, M. and Diem-My T. Bui, eds. 2013. Monster Culture in the 21st Century: A Reader. London & New York:Bloomsbury.

Musharbash, Y and G. H. Presterudstuen, eds. 2014. Monster Anthropology in Australasia and Beyond. New York



สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...