วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

มุมมองต่อเรื่องการเกิดและเทคโนโลยีสนับสนุนและช่วยการเจริญพันธุ์ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ประเด็นเรื่องของการเกิด ลักษณะและความหมาย มีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรม มิติทางสังคมวัฒนธรรม มุมมองต่อเรื่องของการแต่งงาน การมีบุตรและเครือญาติ ดังเช่น มิติการปฎิสนธิ ตามธรรมชาติ (ไข่กับสเปิร์ม)ทั้งที่กฎหมายรองรับและไม่รองรับ (สามีภรรยาที่สมรสตามกฎหมาย หรือกับผู้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์ Baby Maker) รวมถึงการปฏิสนธิจากการข่มขืน การปฏิสนธิกับหญิงที่มีสามีแล้วกับชายชู้ เป็นต้น

มิติของการปฏิสนธิโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วย ART (Assisted Reproductive Technology) การผสมเทียมระหว่างอสุจิของสามี ไข่ของภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะเป็นการผสมบนโพรงมดลูกหรือหลอดแก้วก็ได้ หรืออาจจะใช้ไข่หรืออสุจิของคนที่ไม่ใช่สามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมายก็ได้เพื่อให้กับหญิงที่พร้อม(การผสมเทียมมีทั้งการใช้สเปิร์มหรือไข่กับธนาคารที่คัดเลือกมา การทำGift การปฏิสนธิในหลอดแก้ว และอื่นๆ) หรือในมิติของการเกิดจากการเพาะพันธุ์ของเซลล์ ที่ไม่มีการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิที่เราเรียกว่าโคลนนิ่ง ที่ทำให้เราเห็นความซับซ้อนของความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการให้กำเนิดที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่มีข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้

      1. การทำความเข้าใจในประเด็นเรื่องนี้ควรพิจารณาถึงเทคโนโลยีอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น การผสมเทียมเด็กในหลอดแก้ว การทำGift การฝากไข่ใน คำถามสำคัญที่จะต้องตั้งคำถามกับประเด็นเหล่านี้ คือ What Who Where When Why How อย่างเช่น  ใครฝากไข่ การแช่แข็งไข่หรือกระบวนการแช่แข็งเกิดขึ้นที่ไหน (ในคลินิก ในสถานพยาบาลหรือสถาบันเอกชนอื่นๆ) เมื่อใดที่ต้องแช่แข็ง(ช่วงวัย อายุ ) อะไรคือการแช่แข็งไข่ (ความหมาย) ทำไมต้องแช่แข็ง (การเติมเต็มความปรารถนาส่วนบุคคล ปัญหาทางสุขภาพ เช่น มะเร็ง ความต้องการทำงาน การแสวงหาคนที่ใช่ ) และแช่แข็งอย่างไร (รูปแบบวิธีการในการแช่แข็ง)

    2. การมองเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ARTs) ในฐานะที่เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การทำให้เป็นประเด็นทางการแพทย์ (Medicalization) ที่นำไปสู่การสร้างความรู้เกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายของผู้คนในเรื่องการเจริญพันธุ์ กระบวนการควบคุม สอดส่อง การจัดการเกี่ยวกับร่างกายของผู้คน โดยเฉพาะร่างกายของผู้หญิง ที่สามารถขยายความรู้เรื่องการแก้ปัญหาทางสุขภาพในเรื่องการเจริญพันธุ์ให้กับผู้คน กลายเป็นเรื่องของปัญหาสังคมในอนาคตได้เช่น สิทธิของการเกิดที่ถูกรับรองโดยกฎหมาย รวมทั้งประเด็นในอนาคตหากเรื่องของไข่และสเปิร์มสามารถซื้อขายกันในระบบตลาดได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการแก้ปัญหาในทางการแพทย์ที่นำไปสู่ไปปัญหาทางสังคม  ทั้งในแง่ของการซื้อขายในตลาด ที่ทำให้เกิดประเด็นของ Social Egg Freezing เป็นต้น

   3. การประกอบสร้างของความคิดว่าด้วยความเป็นแม่ (Construction of Motherhood) ที่สัมพันธ์กับวาทกรรม ความรู้ โครงสร้าง ที่ผลิตซ้ำความเป็นผู้หญิงที่ดี ความเป็นแม่ การอยู่ในสถาบันครอบครัวและการแต่งงาน ความสมบูรณ์ของครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับผู้หญิงที่ดี แม่ที่ดี และคำอธิบายเกี่ยวกับผู้หญิงเป็นสิ่งที่ถูกจัดเตรียมหรือการสร้างความพร้อมให้กับผู้หญิงในการเสียสละตัวเองเพื่ออนาคตที่ดีสำหรับลูกตัวเอง ที่สร้างแนวทางของระเบียบการควบคุมการใช้ชีวิตของผู้หญิง ในขณะที่มุมมองในแง่ของอัตวิสัยและความเป็นผู้กระทำการ ในแง่ของ การแช่แข็งไข่ อาจจะเป็นเครื่องมือที่ผู้หญิงทดลอง(Experiment) กับร่างกายของพวกเธอที่จะออกจากความรู้สึกในการรับผิดชอบต่อการผลิตสมาชิกและการตั้งครรภ์ที่สังคมพยามมอบหมายหรือวางภาระให้

  4. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของเทคโนโลยีเจริญพันธุ์กับเรื่องของชนชั้น (Class Implication) ความแตกต่างในประสบการณ์ของผู้หญิง ช่องว่างของประสบการณ์ในเรื่องของความเป็นแม่ การเลี้ยงดูเด็กระหว่างผู้หญิงที่ยากจนกับผู้หญิงที่ร่ำรวยที่แตกต่างกัน ความมีฐานะที่มั่นคงในทางเศรษฐกิจ มีการศึกษาที่สูง ที่สามารถนำไปสู่สถานภาพของการทำงานที่สูง รายได้ที่สูงขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงที่อยู่ในสถานภาพต่ำและรายได้ต่ำ ในขณะที่ดูเหมือนเทคโนโลยีนี้จะสร้างความมีเอกสิทธิ์ให้กับผู้หญิง การทีอำนาจในการตัดสินใจเลือกในการให้กำเนิด ในขณะเดียวกันมันก็ Exclude ผู้หญิงอื่นๆที่ไม่สามารถจ่ายสำหรับการทำสิ่งเหล่านี้ที่มีราคาแพง.....ทำให้เทคโนโลยีนี้ถูกจำกัดกับกลุ่มผู้หญิงมีการศึกษาและชนชั้นกลางที่สามรถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ ในขณะที่ผู้หญิงทั่วไปในระดับล่างหรือในประเทศด้อยพัฒนา มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยนี้

    5. ประเด็นเรื่องของ Liberate หรือปลดปล่อยผู้หญิงจากการถูกควบคุม กดทับกับกระบวนการผลิตซ้ำหริการผลิตลูกที่สัมพันธ์กับร่างกายในเชิงชีววิทยาของผู้หญิง ในขณะเดียวกันมันก็คือการแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่นำไปสู่ปัญหาทางสังคมที่ตามมา เช่นตลาดของการแช่แข็งของผู้หญิงวัยรุ่นที่ถูกเสริมแรงภายใต้วิธีคิดเรื่องความเป็นแม่ ที่ถูกทำให้กลายเป็นชะตากรรมธรรมชาติของผู้หญิง ดังนั้นหากเรามองปรากฏการณ์นี้ในลักษณะที่เป็น Ambiguous technology ที่สร้างความคลุมเครือ ภาวะอิหลักอิเหลื่อ หรือDilemma ที่มีลักษณะขัดแย้งกัน   การสร้างความรู้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง ความสมบูรณ์ของร่างกายกับความสมบูรณ์เรื่องภาวะการเจริญพันธุ์ ภายใต้วาทกรรมของผู้หญิงที่มีสุขภาพดี (Healthy Women) ที่สะท้อนความมีสุขภาพที่ดีของผู้หญิง ที่จะรักษาศักยภาพของตัวเองในกระบวนการผลิตหรือการให้กำเนิด ผ่านการทำลายวงจรตามธรรมชาติในเส้นทางชีวิต (Life Course) การหยุดนาฬิกาทางชีววิทยา (Stop Biological Clock)

    6. ประเด็นเรื่องของสิทธิการเกิดและสิทธิเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ “ไข่ที่สมบูรณ์กับสเปิร์มที่ใช่” การประกันความเสี่ยง เก็บไว้ก่อน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นเจ็บป่วยหรือเป็นมะเร็ง รอเวลาที่พร้อม ยังสนุกกับการทำงาน อยากมีความมั่นคงในอาชีพ อยากเจอคนที่ใช่เพื่อสร้างครอบครัว

   7.มิติทางเพศสภาพ (Gender) และสตรีนิยม (Feminist) ให้มุมมองเกี่ยวกับการหนุนเสริมพลังและการกดขี่ผู้หญิงทีเป็นภาวะเหมือนเหรียญสองด้าน มาใช้ในการอภิปรายประเด็นเรื่องนี้  รวมถึงแนวคิดในการมองร่างกาย ร่างกายปัจเจก (Individual boy) ร่างกายทางสังคม (Social Body) การเมืองเรื่องของร่างกาย  (Body politics) ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับร่างกาย (Mindful Body) ที่สามารถเชื่อมโยง เพศวิถี เทคโนโลยีเจริญพันธุ์กับเรื่องร่างกายของผู้หญิงที่เป็นศูนย์ในเรื่องนี้

    คำถามที่สำคัญคือ เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งถูกทำให้เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ(Gender) และการผลิตสมาชิกที่ผลิตซ้ำวาทกรรมและเพศสภาวะของผู้หญิงอย่างไร ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเหล่านี้ก็อ้างถึงประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ทรมานจากการตีตราทางสังคม การที่ร่างกายไม่สามารถมีบุตรหรือสร้างความชอบธรรมที่สมบูรณ์ สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือผู้หญิงโสดที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน หรือไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศแต่อยากมีลูก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีอนามัยเจริญพันธุ์เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพลัง (ผู้หญิง) และการควบคุมเชิงการแพทย์ภายใต้กรอบคิดแบบชายเป็นใหญ่ (Patriarchal Medicine control)และตอกย้ำความคาดหวังภายใต้บรรทัดฐานแบบรักต่างเพศ (Heteronormative Expectation) เพื่อสร้างครอบครัว ที่สะท้อนอำนาจของการควบคุมสอดส่องโดยผู้ชาย ที่อยู่เหนือร่างกายและกระบวนการผลิตสมาชิกของผู้หญิง

 เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือARTs (Assisted Reproductive Technologies) คือ เครื่องมือของการกดขี่ภายใต้ระบบชายเป็นใหญ่ (Instrument of Patriarchal  oppression )การอนุญาตยินยอมให้ความรู้แบบผู้ชายสถาปนาอำนาจที่เหนือกว่าในการควบคุมร่างกายของผู้หญิง การเกิดสิ่งที่เรียกว่า Overmedicalization ของการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การเลี้ยงดูเด็ก ในระบบการแพทย์แบบผู้ชายที่ครอบงำ โดยเฉพาะการรักษาประเด็นเรื่องของ Motherhood ที่เป็นศูนย์กลางของการทำให้ผู้หญิงทั่วโลกตกอยู่ภายใต้ความเป็นรองและมีอำนาจด้อยกว่าผู้ชาย เมื่ออยู่ในระบบของครอบครัวและการแต่งงาน เป็นต้น ในส่วนของความเป็นผู้หญิง ความเป็นผู้ชาย ไม่ได้ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ แต่โดยวัฒนธรรม เนื่องจากธรรมชาติได้ทำให้ผู้หญิงถูกกำหนด หน้าที่ของการผลิตซ้ำเชิงร่างกาย (Reproductive Bodily function) ทั้งเรื่องของประจำเดือน การตั้งครรภ์ การเลี้ยงลูก การให้นม และการดูแลครอบครัว ที่กลายเป็นการจัดวางผู้หญิงให้ใกล้ชิดกับภาวะความเป็นธรรมชาติ ที่ถูกทำให้ยอมรับและคุ้นชินกับหน้าที่ดังกล่าว ที่ตรงกันข้ามกับผู้ชายที่อยู่ในด้านของการไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดสมาชิก เป็นผู้จัดการและสร้างวัฒนธรรมทั้งในแง่ศิลปะ ศาสนา และอื่นๆ ที่มีอิสระ และเป็นผู้กดขี่มากกว่า ผู้หญิงที่เป็นผู้ถูกกดขี่และถูกควบคุม

8. ในประเด็นเรื่องขอ Post Modern Feminist แดริดาอธิบายเกี่ยวกับความหมายที่ถูกบรรจุไว้ในภาษา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดแบบการเอาวัฒนธรรมที่เน้นตรรกะและเหตุผลเป็นศูนย์กลาง (Logocentric Culture) การปรากฏของความจริงที่พึ่งพาอยู่บนคำศัพท์ รูปสัญญะหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ความคิดแบบชายเป็นใหญ่และการเอาลึงค์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดเหล่านี้ได้สร้างระบบแบบคู่ตรงกันข้าม (Binary Opposition) ที่ได้สร้างตำแหน่งที่เป็นรองของผู้หญิง มดลูกผู้หญิงที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรของการผลิตสมาชิก การตอกย้ำภาพของเมียที่ดี แม่ที่ดีและลุกสาวที่ดี  ที่จำเป็นต้องถูกถอดรื้อ  โดยวิธีคิดแบบโพสต์โมเดิร์นเฟมินิสต์ สนับสนุนความคิดว่าด้วยความหลากหลาย (Multiplicity) ความเป็นพหุลักษณ์(Plurality)และความแตกต่าง(DIFFERENCE) โดยชี้ให้เห็นว่าไม่ได้มีวิถีเดียวในการเป็นผู้หญิงที่ดี (Good Women)

    รวมทั้งการค้นหาคำอธิบายว่าอะไรที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมของผู้คนในสังคม ความไม่เท่าเทียมทางเพศ วิพากษ์ถอดรื้อการเอาเหตุผลเดียวเป็นศูนย์กลาง  แต่สนับสนุนการก่อรูปของวาทกรรมที่หลากหลาย การถอดรื้อตัวText  สนับสนุนความเป็นองค์ประธานของผู้หญิง ดังนั้นเรื่องเพศ (Sex) ไม่ใช้สิ่งที่เป็นธรรมชาติ และไม่ใช่บางสิ่งที่ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์และสามารถกำหนดได้อย่างง่ายดาย แต่Sex คือส่วนหนึ่งของระบบการให้ความหมาย(Meaning)ที่ถูกผลิตผ่านภาษา ดังนั้นกลไกทางวัฒนธรรมใส่รหัสลงบนเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิงพร้อมกับความหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์การแสดงบทบาทโดยมองความสัมพันธ์ทางความรู้และอำนาจในการร่างหรือสร้างมุมมองของผู้หญิงเกี่ยวกับโลกทางสังคม

    Lacan และ Derrida เรียกว่า Masculine Feminine ที่ซึ่งความจริงของของผู้หญิง (Real Women) ไม่มี มีแต่ความเป็นผู้หญิงที่ผู้ชายมองเห็น  (The Woman that man see) นี่เพราะว่าคือความเป็นผู้หญิงภาใต้วาทกรรมของความเป็นผู้ชาย มันไม่ใช่ตัวผู้หญิงจริงๆ แต่กลายเป็นภาพสะท้อนของจินตนาการของผู้ชายต่อพวกเธอ ดังนั้นจะต้องเป็นผู้หญิงอย่างที่ผู้หญิงมอง (The Woman as Woman see)  ที่เรียกว่า Feminine Feminine ดังนั้นกระบวนการนี้จะเกิดได้ก็ต่อเมือ ผู้หญิงต้องหยุดใช้ภาษาของผู้ชาย (Masculine Language) เช่นแม่ที่ดี เมียที่ดี โดยใช้ภาษาของผู้หญิง รวมทั้งการพัฒนาเพศวิถีของผู้หญิง (Female Sexuality) และใช้สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการต่อสู้ต่อรอง

   9. ในแง่แนวคิดทฤษฎีว่าโครงสร้างและผู้กระทำการที่เชื่อมโยงการมองร่างกายในสองระดับ คือระดับแบบ Macroและ Micro โดยMicro  ความรู้สึกในความเป็นตัวตนและอัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นภายในของปัจเจกบุคคลนั้นๆ เช่นในเรื่องของครอบครัว เรามีอิสระในการสร้างครอบครัวมากขึ้น ทั้งการให้ความหมาย การเลือกคู่ครอง การเลือกคู่ความสัมพันธ์ในแบบของเรา กับใครที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เป็นการให้โอกาสใหม่กับตัวเอง เกิดกระบวนการสะท้อนย้อนคิด (Reflexive Project) เราต้องคิดใคร่ครวญตัวเองตลอดเวลา ต้องมีการตีความอยู่ตลอดเวลา

   การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่สามารถอธิบายในระดับ Micro ได้เพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องเชื่อมโยงกบระดับ Macro ด้วย ในแง่ของรัฐและองค์กรทางสังคม ได้นำเสนอทางเลือกใหม่ๆที่กว้าวขวางมากขึ้นสำหรับคนในสังคม ที่ไม่ได้แยกขาดออกจากกันแต่มีความเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ได้ เช่น การมีลูก กาคุมกำเนิด การใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ การแต่งงาน  สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ขาดทั้งในระดับMacro และ Macro การมีความคิดต่อเรื่องของเพศสัมพันธ์และการแต่งงาน เชื่อมโยงกับเรื่องของศาสนา ทั้งความเสื่อม การตั้งคำถามต่อเรื่องศีลธรรมที่ศาสนากำหนด การเปิดพื้นที่ใหม่ๆทางศาสนา การตีความศาสนาใหม่ เพิ่มขึ้น ภายใต้การใช้เหตุผลและความรู้แบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน การให้กำเนิด การรับรองบุตร และเรื่องเพศวิถี รวมทั้งประเด็นการต่อสู้เรียกร้องทางสังคม ภายใต้สิทธิในความเป็นผู้หญิง สิทธิทางเพศ สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ความหลากหลายทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ (ที่เป็นเรื่องะดับโครงสร้าง Macro) แต่ในขณะเดียวกันก็เกี่ยวเนื่องกับความไม่พอใจต่อสิ่งเหล่านี้ ความไม่เป็นธรรม การกดขี่ขูดรีดทางสังคม ในชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล (Micro)

          การเน้นย้ำโครงสร้างในประเด็นเรื่องของวาทกรรม ชุดความรู้ มีผลต่อมุมมองการรับรู้และการให้ความหมายและปฏิบัติการต่อการฝากไข่ การแช่แข็งไข่อย่างไร ปฏิบัติการของการฝากไข่ เชื่อมโยงกับชุดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ การแพทย์ อย่างไร รวมถึงมิติทางด้านประชากรที่เกี่ยวโยงกับอัตราการเกิด อัตราการตาย ภาวะวัยเจริญพันธุ์ เพราะมันทำลายสิ่งที่เรียกว่านาฬิกาทางชีวภาพ (Biological Cock) ในการเลื่อนชะลอ การแต่งงาน หรือการให้กำเนิดสมาชิก ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแนวคิดทางการแพทย์ กำกับควบคุมให้บุคคลเชื่อฟังและยอมตามอย่างไร ภายใต้ข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการวิจัยการทดลอง ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิของผู้หญิง การอยู่เป็นโสดและอื่นๆ

          ในเรื่องของอัตวิสัยของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ที่ได้รับมา ประกอบกับบริบทแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการกระทำต่างๆ รวมถึงสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นคนชนชั้นกลาง มีฐานะ การศึกษา เพราะเทคโนโลยีนี้เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง  มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่สามารถประเมินความเสี่ยงได้ เป็นต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า อัตวิสัยเป็นหน่วยพื้นฐานในการทำความเข้าใจการกระทำของบุคคล ที่เกิดจากการรับรู้ ความคิด ความรู้สึก รวมถึงวัฒนธรรมและสังคม การศึกษาเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่นำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้คนจะทำให้เห็นภาพสะท้อนของอัตวิสัยและความรู้ทางวิทยาศาสตร์

 ความรู้ต่อร่างกาย ในทางชีววิทยา กายภาพและการผลิตสมาชิก การเข้าใจภาวะความเจ็บป่วย ความเสี่ยง การมีบุตรยาก การเป็นมะเร็งและอื่นๆ ความรู้ทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมวัฒนธรรม การแต่งงาน การมีครอบครัว  ความรู้เหล่านี้ ทำให้ผู้คนได้รับความรู้ การนำความรู้ทางเทคโนโลยี ทางการแพทย์มาใช้จัดการเนื้อตัวร่างกาย เพื่อประกันความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิต ในขณะเดียวกันคำถามสำคัญที่น่าสนใจก็คือเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เปลี่ยนแปลง คุณค่า ความหมายและรูปแบบของการดำรงชีวิต ผ่านปฏิบัติการเชิงอำนาจในรูปแบบทางการแพทย์ ในทางผัสสะ มันสูญเสียอารมณ์ความรู้สึกทางผัสสะไหม ในแง่ของคู่ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ทางเพศ

          ดังนั้นประเด็นเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยมักจะถูกมองหรือทำให้เป็นปัญหาทางการแพทย์ (Medicalization) มากกว่าจะทำความเข้าใจเรื่องความไม่เป็นธรรม การกดขี่หรือความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเพศและเพศวิถีที่เชื่อมโยงกับเนื้อตัวร่างกายของผู้คนในสังคม

Emily martin (1987)The  Women in the Body A Cultural Analysis  of Reproduction

Martin, L.J. (2010) Anticipation Infertility : Egg Freezing ,Genetic Preservation, and Risk.

Ortner,s. Is Female to male as nature is to culture  (1972)

Richard,S,E. (2013) Motherhood Rescheduled : New Frontier of Egg Freezing and the women who tried it.

Romain, T. (2012) Fertility, Freedom , Finally : Cultivating hope in the face of uncertain futures among egg freezing women.

มานุษยวิทยาว่าด้วยการศึกษาสัตว์ประหลาด โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 วิชามานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด เป็นวิชาหนึ่งที่ผมเคยคิดอยากจะสอน อยากจะเปิดรายวิชา จากความสนใจวัยเด็กที่ชอบตำนานเรื่องลี้ลับ..

   ทุกสนามมีเรื่องเล่า ทุกสนาม ทุกท้องถิ่น มีความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาด ผมนึกถึงมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสัตว์ประหลาด ที่เรียกว่า Anthropology of monster หรือ Monster studies ..ดังเช่นงานของ  Cohen (1996) ที่เขียน Monster Culture ภายใต้เรื่องเล่าเกี่ยวกับความน่ากลัว จินตนาการที่เหมือนภูติผี อันตราย การทำลาย หรือสิ่งมีชีวิตที่น่าสะพรึงกลัว ที่แฝงหรือซ่อนตัวอยู่ในเงาและความมืด อยู่ใต้เตียง และอยู่ภายในถ้ำหรือใต้ทะเลสาบ ที่ก้าวพ้นไปจากสิ่งที่เรามองเห็น และอยู่ในจินตนาการ  

  ในด้านหนึ่งสัตว์ประหลาด มันคือสาเหตุของความชั่วร้าย ความเสียหายต่อสิ่งต่างๆ บางครั้งมันเป็นสิ่งที่ปกป้องผู้คน รวมทั้งเป็นสิ่งที่สามารถบ่มเพาะความกลัว สร้างความหวาดหวั่นให้กับผู้คน สามาถเข่นฆ่าทำลายชีวิตผู้คน การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดจึงมีความหมายและเป็นประเด็นที่น่าสนใจทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะเป็นสนามย่อยๆเล็กๆ แต่ปัจจุบันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดได้กลายเป็นเสมือนดอกเห็ดที่มีความอุดมสมบูรณ์และเติบโตอย่างมากในการศึกษาเรื่องนี้ ดังเช่นของบทความวิชาการต่างๆ และหนังสือเกี่ยวกับการค้นหาหลักฐานและมีการพิสูจน์ การรับรองการมีอยู่จริงสัตว์ประหลาดเหล่านี้ในทุกมุมโลก และสิ่งเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำผ่านวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อต่างๆในปัจจุบัน..

      มนุษย์เชื่อมโยงความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เรียกว่าสัตว์ประหลาด โดยการให้ชื่อมันในแต่ละภูมิภาค อย่างในภาคเหนือมีความเชื่อเรื่องแมงสี่หูห้าตา ที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วที่เชียงราย  การสร้างประวัติศาสตร์เรื่องราวของมัน เช่น ตำนาน Dracula  ตำนานมนุษย์หมาป่า  ตำนานบิ๊กฟุต ตำนานล็อกเนสส์หรือเนสซี่ ตำนานเยติ หรือตำนานแฟรงเก้นสไตน์ เป็นต้น แหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งกำเนิดเช่นในมหากาพย์ของโฮเมอร์ เรื่องโอดีสซี ที่พูดถึงเกาะที่มียักษ์ตาเดียว หรือเมืองของเมดูซ่า  รวมทั้งการพูดพลังอำนาจของมัน หรือการเชื่อมโยงกับเทวตำนาน การเกิดลูกของเทพเจ้าที่เกิดตากการผสมเผ่าพันธุ์ของเทพกับสัตว์ กับมนุษย์ธรรมดา หรือกับเทพด้วยกันและต้องคำสาปที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นสัตว์ประหลาด..

   การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาด เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ร่างกาย ( monster bodies) มีการผสมผสานและจับคู่กัน ภายใต้สิ่งที่ควรแยกออกจากกัน  เช่นการผสมระหว่าง ธรรมชาติ / วัฒนธรรม, มนุษย์ / สัตว์, ชาย / หญิง, คุ้นเคย / ไม่คุ้นเคย เป็นต้น ตั้งแต่แม่มดแอฟริกันและผี Burnt Woman ในออสเตรเลียไปจนถึง Freddy Krueger หรือสัตว์ประหลาดที่เกิดจากการค้นคว้าทดลอง การกินยาหรือสารเคมีที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง และการกลายเป็นร่างมนุษย์กึ่งหุนยนต์ที่เรียกว่าไซบอร์ก รวมถึงการทำความเข้าใจรูปแบบสัตว์ประหลาดทั้งแบบตะวันตกและแบบตะวันออกภายใต้วิธีการบางอย่างทราคนในสังคมเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดและมีประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดในชุมชนทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ภายใต้เงื่อนไขทางบริบทและช่วงเวลาเฉพาะ...

    คำถามสำคัญก็คือ สัตว์ประหลาดมีอยู่จริงหรือไม่ ความรู้ ความจริงเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดถูกสร้างขึ้นอย่างไร และเราจะกำหนด แบ่งแยกประเภทหรืออธิบายมันได้อย่างไร? สัตว์ประหลาดและเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดมีบทบาทอย่างไรในวัฒนธรรม? ตรรกะของความชั่วร้ายยังคงอยู่ตลอดเวลาหรือแต่ละยุคยอมรับสัตว์ประหลาดที่แตกต่างกันหรือไม่? ดังเช่นหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ตัวพระเอกคือสัตว์ประหลาดผู้ชั่วร้าย ที่ไม่ต้องสร้างภาพแบบดูดี.. 

    แนวคิดที่ว่ามอนสเตอร์เป็นผู้ผิดปกติและไร้ระเบียบ ที่ให้แนวทางกับเราในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความปกติและความผิดปกติในสังคม แนวคิดที่ว่าความชั่วร้าย ที่เป็นเสมือนสัตว์ประหลาดในร่างมนุษย์ที่ปกติ ดังนั้นภาวะของการเป็นสัตว์ประหลาด(monsternization) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความกลัวตัวเองของมนุษย์ที่ผิดปกติหรือร่างกายที่ผิดปกติไปจากมาตรฐานของสังคม แต่ยังรวมถึงความท้าทายต่อรอง ภายใต้การสร้างตัวตนปกติและร่างกายปกติ เพื่อต่อสู้ต่อรองกับอะไรบางอย่าง เช่นเดียวกับปางของเจ้าแม่กาลีที่ต้องแสดงด้านของความชั่วร้ายเพื่อต่อสู้กับยักษ์อสูรหรือความไม่ยุติธรรม..


อ้างอิง


Cohen, Jeffrey Jerome. 1996. “Monster Culture (Seven Theses).” In Monster Theory, edited by J. J. Cohen, 3–25. Minneapolis: University of Minnesota Press

Foucault, M. 2003. Abnormal: Lectures at the College de France, 1974-1975, eds V. Marchetti, A. Salomoni, and A. Davidson. New York: Picador. 

Kearney, R. 2003. Strangers, Gods and Monsters. London & New York: Routledge.

Levina, M. and Diem-My T. Bui, eds. 2013. Monster Culture in the 21st Century: A Reader. London & New York:Bloomsbury.

Musharbash, Y and G. H. Presterudstuen, eds. 2014. Monster Anthropology in Australasia and Beyond. New York

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...