วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์


เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์(1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม  ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่19 และช่วงต้นศตวรรษที่20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์(Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง(Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ(Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้(Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม(Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916  ภายใต้ชื่อ Course de linguistique  Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี1960
เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์(Emile Derkhiem ในหนังสือสำคัญของเขาชื่อ Rule of the Sociologies method) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสที่กำลังมีอิทธิพลในการศึกษาสังคมโดยมแองว่าสังคมมีฐานะเหมือนวัตถุทางวิทยนาศาสตร์ฟิสิกส์ที่สามารถศึกษาได้  ทำให้โซซูร์ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาภาษาศาสตร์แบบใหม่โดยแยกภาษาออกเป็น 3 ส่วน คือ Le Language ที่เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆในภาษา Le Langue ที่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ ที่เป็นผลผลิตของสังคม ที่เป็นสิ่งที่ประทับอยู่ในสองของสมาชิกแต่ละคนในชุมชนทางภาษา และLa Parole เป็นเรื่องความสำนึกรู้ในการกระทำของปัจเจกบุคคล ที่เป็นเรื่องของการใช้ภาษาและการออกเสียง การสร้างประโยค การเลือกคำ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล  ภายใต้ไวยากรณ์ กฎเกณฑ์ในภาษา ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่จะไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาของแต่ละบุคคล สำหรับโซซูร์แล้ว ระบบหรือ Langue เป็นส่วนที่เป็นนามธรรม ที่สามารถศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้  เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลเพราะทำการศึกษาได้ยากกว่า และมีความแตกต่างอย่างหลากหลายมากมายในแต่ละบุคคล และเขาก็สนใจศึกษาภาษาพูดมากกว่า เพราะเขาถือว่าภาษาเขียนไม่ใช่ภาษา แต่มันเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำพูดเท่านั้น  โซซูร์ ได้นำเสนอสมมติฐานของปรากฎการณ์ทางภาษาศาสตร์ในลักษณะ 2 ด้านที่สิ่งหนึ่งได้รับคุณค่ามาจากสิ่งอื่นๆ(อ้างจากSuassure:1966,P.8) ซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ
              1.การเชื่อมต่อพยางค์ตัวอักษร(Syllable)  ที่เป็นภาพประทับของเสียงที่เราได้รับโดยหู แต่เสียงจะไม่มีอยู่ถ้าปราศจากอวัยวะในการออกเสียง(Vocal Organ)
              2.ถ้อยคำเป็นทั้งปัจเจกบุคคล(Individual) และสังคม(Social) ซึ่งพวกเราไม่สามารถคิด จินตนาการ เกี่ยวกับสิ่งหนึ่งโดยปราศจากสิ่งอื่น
               3.เสียงเป็นเครื่องมือทางความคิดโดยตัวของมันเอง มันไม่ได้มีอยู่จริง ซึ่งต้องกลับมาตั้งข้อสังเกตกับความสัมพันธ์ของเสียง หน่วยของเสียงพูดที่ซับซ้อน การเชื่อมโยงในกระแสความคิด ไปยังรูปแบบที่ซับซ้อนที่เป็นหน่วยทางจิตวิทยาและทางฟิสิกส์กายภาพ ยังคงไม่ใช่ภาพที่สมบูรณ์
              4.ถ้อยคำ(Speech)  เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างระบบและวิวัฒนาการเสมอ มันคือสถาบันที่มีอยู่จริง และเป็นผลผลิตของอดีต กับการแบ่งแยกระบบและประวัติศาสตร์ของมัน
จากพื้นฐานแนวความคิดข้างต้นเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของภาษา ทำให้เรามองเห็นความคิดแบบคู่แย้ง ของโซซูร์ในเรื่องของภาษา ที่เป็นทั้งเรื่องของปัจเจกบุคคล-สังคม เสียง-ความคิด  พยางค์ตัวอักษร-เสียง  ลักษณะทางจิตวิทยา-ลักษณะฟิสิกส์กายภาพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องพึ่งพาระหว่างกันโดยที่สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้จากสิ่งหนึ่ง นอกจากนี้แนวความคิดดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างภาษาศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ เช่นการศึกษาเกี่ยวกับการออกเสียง(Philology) การศึกษาเชิงฟิสิกส์กายภาพเกี่ยวกับอวัยวะในการออกเสียง การศึกษาทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของภาษาเชิงนิรุกติศาสตร์ (history) การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยา(Psychology) และการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและปัจเจกบุคคลในเรื่องระบบภาษา การใช้ภาษาและความคิด การให้ความหมาย ที่สัมพันธ์กับการศึกษาทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ที่นำมาประยุกต์ใช้ศึกษาเกี่ยวกับสัญวิทยาและสัญญะที่แพร่หลายในปัจจุบัน ดังที่ จูเลีย คริสเตวา (Julia Kristeva) ได้กล่าวว่า
เฟอร์ดิน็องต์ เดอ โซซูร์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การยึดจับทั้งหมดเช่นเดียวกับ ภาษา คือสิ่งที่มีหลายๆด้านและมีความแตกต่างหลากหลาย มี่แผ่กว้างไปยังสนาม ศาสตร์ทางกายภาพ กายภาพสังคมและจิตวิทยา ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับทั้งปัจเจกบุคคลและสังคม พวกเราไม่สามารถจับวางมันไปยังประเภทความจริงของมนุษย์ และพวกเราไม่สามารถค้นพบความเป็นเอกภาพของมัน เพราะว่ามันซับซ้อนและมีความแตกต่างทางปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น ภาษาจึงถูกกล่าว กับการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรัชญา จิตวิเคราะห์ สังคมวิทยา ที่ไม่ได้อ้างถึงระเบียบวิธีทางภาษาศาสตร์ที่หลากหลาย” (Kristeva:1989,P.8-9)
จากข้อสมมตติฐานข้างต้นโซซูร์ ได้สรุปลักษณะของภาษาออกเป็น 4 ประเด็นคือ
1.ภาษาเป็นด้านสังคมของการใช้ถ้อยคำ ที่อยู่นอกขอบเขตของปัจเจกบุคคล ผู้ซึ่งไม่สามารถที่จะเคยสร้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยตัวของเขาเอง ดังนั้น ภาษาจึงเป็นวัตถุที่ถูกให้คำนิยามอย่างดีในมวลสารที่หลากหลายของความจริงแห่งถ้อยคำ
2.ภาษา(Language)ไม่เหมือนการพูด(Speaking) เป็นบางสิ่งที่พวกเราสามารถศึกษาโดยแยกจากกันได้

3.การใช้ถ้อยคำ(speech) เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างหลากหลาย ภาษา(Language) เป็นสิ่งที่เป็นแก่นแท้เท่านั้น ในความเป็นเอกภาพของความหมาย (Meaning)และจินตภาพแห่งเสียง(Sound-Image) ซึ่งเป็นส่วนของสัญญะที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา



4.ภาษาเป็นรูปธรรมไม่น้อยไปกว่า การพูด และนี่เป็นสิ่งที่ช่วยในการศึกษาของเราเกี่ยวกับมัน สัญญะทางภาษาศาสตร์  นำไปสิ่งที่เกี่ยวกับสู่จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐาน ที่ไม่ใช่เรื่องนามธรรม แต่มันสัมพันธ์กับการยึดถือการประทับของมติหรือการยอมรับร่วมกัน และสัญญะทางภาษาเป็นสิ่งที่จับต้องได้

โซซูร์ได้สรุปความคิดของเขา โดยนำวิธีการศึกษาแบบคู่แย้ง มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษาของเขาที่เป็นเรื่องของคำพูด ถ้อยคำ(Speech) ซึ่งแสดงให้เห็นเป็น 2 ขั้วคือ 1) ความเป็นวัตถุแห่งภาษา(Object of Language) ที่เป็นด้านสังคมอย่างบริสุทธิ์และเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่เฉพาะ และเป็นอิสระจากปัจเจกบุคคล  2) ความเป็นวัตถุในด้านของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับถ้อยคำเช่นการพูด การเปล่งเสียง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตวิทยากายภาพ  ทั้งสองขั้วเป็นสิ่งที่ติดต่อเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยอยู่บนสิ่งอื่นๆ ความแตกต่างตรงกันข้ามหรือลักษณะในทางลบ(Negative) เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งหนึ่งมีความหมาย
แนวความคิดดังกล่าวทำให้เราเห็นทิศทางของโซซูร์ในการศึกษาเกี่ยวกับภาษา โดยเน้นที่การศึกษาระบบ ความคิด ที่ปรากฎผ่านการพูด หรือการใช้ภาษา ที่เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่พวกเขาก็ใช้มันอยู่ภายใต้ระบบกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนทางภาษานั้น การศึกษาภาษาจึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ความคิด วัตถุสิ่งของ ซึ่งสัมพันธ์กับภาษา โซซูร์ มองว่า เราสามารถที่จะจับวางความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับภาษาไปยังรูปแบบของรูปภาพ (Graphic Form) ที่ยอมรับโดยดิชชันนารี่และไวยากรณ์กับการแสดงความถูกต้องของมัน สำหรับภาษาเหมือนคลังข้อมูลของภาพประทับแห่งเสียงและการเขียนเป็นสิ่งที่เป็นรูปแบบที่สามารถสัมผัสได้เกี่ยวกับจินตนาการเหล่านั้น (Suassure:1966,P.15) นั่นคือ การตระหนักรู้จินตนาการแห่งเสียงในการพูด สามารถถูกแปลไปยังจินตนาการของการมองเห็น(Visual Image) แต่เป็นส่วนประกอบที่จำกัดของหน่วยเสียง ซึ่งตอบสนองกับจำนวนของสัญลักษณ์ทางการเขียน โซซูร์ ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับภาษาว่า
ภาษาเป็นระบบของสัญญะที่แสดงความคิด และเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบได้กับระบบของการเขียน อักษรของคนหูหนวกเป็นใบ้ หรือตาบอด  สัญลักษณ์ทางพิธีกรรม มารยาท สัญญาณทางทหารและสิ่งอื่นๆ  แต่มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดของระบบทั้งหมดเหล่านี้” (Saussure:1966, P.16)
สัญวิทยา(Semiology มาจากภาษากรีก “Semeion” “Sign”) ของโซซูร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัญญะภายในสังคม ที่เป็นสิ่งที่สามารถจินตนาการเกี่ยวกับมันได้ โดยมันมีลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาทั่วไป เขาถือว่า ภาษาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่เฉพาะทางสัญวิทยาและกฎเกณฑ์ที่ถูกค้นพบโดยสัญวิทยาเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้กับภาษาศาสตร์   ซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของวิธีการศึกษาเชิงสัญวิทยา ที่ใหญ่กว่าเรื่องของภาษา ทำให้เป็นสิ่งที่ถูกโต้แย้งและโจมตี โดยนักสัญวิทยารุ่นต่อมาอย่าง โรล็องต์ บาร์ธ(Roland Barthes) ว่า ภาษาศาสตร์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่ค่อนข้างเฉพาะของสัญญะ ในส่วนที่เป็นเอกสิทธิ์พิเศษ  แต่มันเป็นสัญวิทยา ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาษาศาสตร์”(Floyed Merrell:1992) นั่นคือถ้าทุกๆสิ่งมีโครงสร้างที่คล้ายหรือเหมือนภาษา ก็แสดงว่าไม่มีอะไรเลยที่สามารถจะเป็นหรืออยู่เกินขอบเขตของภาษา ความพยายามก้าวข้ามอยู่เหนือขอบเขตดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  สำหรับโซซูร์แล้ว เขาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกับมายาคติและความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับความคิดเรื่องสัญญะทางภาษาศาสตร์ ว่ามันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุสิ่งของ(Thing) และชื่อ(Name) แต่เขาก็มิได้ปฎิเสธการดำรงอยู่ของวัตถุและชื่อ หรือ ธรรมชาติของสัญญะ/สัญลักษณ์  ซึ่งเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องของความคิด(Concept) และจินตภาพแห่งเสียง(Sound-image)มากกว่า อันนำมาซึ่งปัญหาของสัญญะทางภาษาศาสตร์ กับความสัมพันธ์กับธรรมชาติของวัตถุ สถาบันทางสังคม วัฒนธรรมของชาติ และภูมิศาสตร์เชื้อชาติ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกภาษา

สัญวิทยาของโซซูร์ ได้แสดงให้เห็นว่า อะไรที่ประกอบสร้างสัญญะและอะไรที่เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมพวกเขา ซึ่งเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่อยู่ภายในภาษา(Internal Linguistic)  แม้ว่าเขาจะบอกว่า การศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ภายนอกภาษา(External Linguistic)  เป็นสิ่งทีมีความสมบูรณ์มากที่สุด แต่เขาก็ให้ความสำคัญและต้องการแยกการศึกษาเกี่ยวกับระบบภายในภาษาออกมาต่างหาก ดังที่เขากล่าวว่า
ฉันเชื่อว่า การศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ภายนอกภาษา เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด แต่กับการพูดว่า พวกเราไม่สามารถเข้าใจ การดำรงอยู่ของระบบภายในภาษา โดยปราศจากการศึกษาปรากฏการณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่ผิดพลาด การยึดจับเช่นเดียวกับ ตัวอย่างการขอยืมคำศัพท์จากต่างประเทศ  พวกเราสามารถสังเกตได้ในระยะเริ่มต้น ในการขอยืมคำศัพท์ เป็นสิ่งที่ไม่มีอำนาจพลังอย่างสม่ำเสมอในการดำรงอยู่ของภาษา ในหุบเขาที่ถูกแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว นั่นคือภาษาท้องถิ่นที่ไม่เคยจับยึดกับชุดคำที่ประดิษฐ์หรือเลียนแบบ จากภายนอก”(Saussure:1966,P.22)
             ภาษา ในทัศนะของโซซูร์  จึงเป็นเสมือนระบบที่จัดการตัวมันเอง เช่นเดียวกับ เกมส์หมากรุก(Chess) ซึ่งสามารถแยกความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นภายนอก ในความจริงทางประวัติศาสตร์ของเกมส์หมากรุกที่ส่งผ่านมาจากเปอร์เซียสู่ยุโรป และสิ่งที่เป็นภายใน  ในเรื่องของระบบและกฎเกณฑ์ของมัน ที่ทำให้การเล่มเกมส์หมากรุกสามารถดำเนินไปได้  ระบบไม่ใช่ ชนิดประเภทของวัสดุที่ทำตัวหมากรุกแต่ละตัว ไม่ว่าจะเป้น ไม้ เหล็ก พลาสติก งาช้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวัสดุดังกล่าวไม่มีผลต่อระบบ แต่ถ้ามีการลดหรือเพิ่มจำนวนของตัวหมากรุก  ย่อมมีผลกระทบต่อระบบกฎเกณฑ์ หรือไวยากรณ์(Grammar) ของเกมส์ที่ทำให้เกมส์สามารถดำเนินไปได้ ซึ่งสะท้อนว่า ภาษาเหมือนกับวัสดุหรือเครื่องมือทางความคิด ที่ซึ่งมันเป็นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารในสังคม  ก่อนที่เราจะเล่นเกมส์เราจึงต้องรู้และเข้าใจกติกาก่อนเราถึงจะเล่นมันได้  หมากรุก จึงเป็นเสมือนสัญญะ ที่เป็นเครืองหมาย หรือความสามารถของการยอมรับรูปแบบและแสดงความหมายจากส่วนประกอบที่แตกต่าง ความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับตัวขุนในเกมส์หมากรุกที่มาจากส่วนประกอบอื่นๆ เข่น ตัวโคน ตัวเบี้ย ตัวเรือ ตัวม้า  อันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของการอ้างอิงในความแตกต่างอย่างบริสุทธิ์ (Purely Differential) ในความคิดความรู้สึกทางลบ (Negative Sense)ซึ่งทำให้เราเข้าใจและตระหนักรู้การแสดงออกของมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...