วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบบกูล่าริง (Kula ring) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล


วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบบกูล่าริง (Kula ring)
                                  ภาพ แผนที่ของหมูาเเกาะโทรเบียนและชุมชนที่อยู่รอบเกาะ
ภาพ  สร้อยจากเปลือกหอยสีแดงและกำไลข้อมือจากเปลือกหอยสีขาว

ภาพการแลกเปลี่ยนแบบKula

      ภาพ วงจรของการแลกเปลี่ยนแบบตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ของสร้อยและกำไลข้อมือ
                   
         กูล่าริงหรือวงแหวนของการแลกเปลี่ยนแบบกูล่า คือรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างคู่การค้าที่มีจำนวนมากมาย(many trading partners)ในหมู่เกาะโทรเบียนส์และในหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้ จุดเด่นของการแลกเปลี่ยนแบบนี้คือการใช้เปลือกหอยสีแดงกับเปลือกหอยสีขาวในการแลกเปลี่ยนในเชิงพีกรรมและพันธะสัญญาร่วมกันระหว่างเผ่า และทิศทางของการแลกเปลี่ยนของแต่ละแบบจะมีลักษณะตรงกันข้ามกันในเส้นทางของการเดินทางแลกเปลี่ยน ดังเช่นงานศึกษาของ Browlisnow Malinowski ที่ศึกษาชนเผ่าในหมู่เกาะโทรเบี้ยนได้แสดงให้เห็นระบบทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจนี้
                   โดยสร้อยคอที่ทำจากเปลือกหอยสีแดงที่เรียกว่า “Bagi or Soulava” หรือ Necklaces จะมีการแลกเปลี่ยนในลักษณะตามเข็นนาฬิกาจากหมู่เกาะโทรเบี้ยนไปยังหมู่เกาะอื่นๆ ในขณะที่สร้อยข้อมือที่ทำจากเปลือกหอยสีขาวที่เรียกว่า “Mwali” หรือ Arm Bracelets ที่จะมีลักษณะของการเดินเรือแลกเปลี่ยนแบบทวนเข็มนาฬิกา โดยการแลกเปลี่ยนเสมือนพิธีเฉลิมฉลอง(Ceremonial) โดยสิ่งของดังกล่าวไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเอง(intrinsic value) แต่เป็นสิ่งที่สังคมวัฒนธรรมได้ใส่คุณค่าและความหมายให้กับเปลือกหอบทั้งสองสีนั้นไว้ ระดับของการแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สัมพันธ์กับระดับของการเป็นศัตรูหรือพันธมิตรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าการแลกเปลี่ยนมีมากขึ้นพันธมิตรก็จะมาก ศัตรูก็จะน้อยลง ดังนั้นการแลกเปลี่ยนจึงเป็นสิ่งที่กระทำกับกลุ่มที่หลากหลายในหมู่เกาะต่างๆที่มีอยู่จำนวนมาก ดังนั้นการแลกเลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของที่สร้างขึ้นผ่านการแลกเปลี่ยนสำหรับทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สามารถจัดหาได้กับคนอื่นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อได้ของคุณก็ต้องนำไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่นๆต่อ สิ่งเหล่านี้ช่วยรักษาความมั่นคง ความเป็นปึกแผ่นและเป็นเครื่องมือของการจัดการการทะเลาะเบาะแว้งและความขัดแย้งได้ดีที่สุด
 
                   งานศึกษากูล่าริง อีกชิ้นหนึ่งของ I.M Lewis (1976) นักมานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropologist) ในมิติที่อ้างอิงงานของมาลีนอฟสกี้ ได้อ้างอิงเกี่ยวกับกูล่า(Kula ring) คือการแลกเปลี่ยนระหว่างชนเผ่าที่มีลักษณะกว้างขวาง(extensive inter-tribal character) มันคือสิ่งที่ยึดถืออย่างกว้างขวางในวงแหวนของเกาะที่ซึ่งถูกทำให้มีรูปแบบของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น
 
รูปแบบของประเพณีการแลกเปลี่ยน
การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกลุ่มคู่ค้า ที่สิ่งของจะมีสองสิ่งที่แลกเปลี่ยนกันเป็นพิธีกรรมคือ สร้อยคอที่ทำจากเปลือกหอยสีแดงและกำไลที่ทำจากเปลือกหอยสีขาว รวมถึงการแลกเปลี่ยนสิ่งของอื่นๆที่ต่อเนื่องกัน โดยสร้อยคอจากเปลือกหอยสีแดง ชาวเกาะแล่นเรือเพื่อแลกเปลี่ยนกับกับคนเผ่าอื่นโดยใช้การเดินทางไปตามเข็มนาฬิกา ส่วนกำไลจากเปลือกหอยสีขาว จะแลกเปลี่ยนระหว่างเกาะโดยการแล่นเรือหมุนรอบในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา การแลกของจะกระทำกันไปตามเกาะต่างๆและหมุนเป็นวงกลม การแลกเปลี่ยนลักษณะนี้จึงเรียกว่าจึงเรียกว่า Kula Ring
ใครมีสิทธิ์ในการแลกเปลี่ยน
ผู้ชาย ที่มีสถานภาพสูงทางสังคม ที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาและมารยาทในพีการแลกเปลี่ยน รวมทั้งต้องได้รับสิ่งของที่จะมาใช้แลกด้วย ดังนั้นชายหนุ่มจะได้รับการอบรมสั่งสอนไสยศาสตร์และมารยาทจากบิดาหรือพี่ชายของแม่ พวกเขาจะได้รับกุลาหรือของ มีคู่แรกในสังคมหรือเกาะอื่นๆซึ่งมักจะเป็นคู่หรือคนที่ผู้เป็นพ่อเคยแลกกุลามาก่อน โดยคู่ของการแลกเปลี่ยนจะมีจำนวนแตกต่างกันโดยผู้เป็นหัวหน้าจะมีคู่แลกมากมาย ในขณะที่คนธรรมดามีเพียง2-3ราย เมื่อใครคนใดคนหนึ่งได้รับกุลาแล้วจะไม่เก็บไว้แล้วนำไปแลกกับคนอื่นต่อ กุลาจึงเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปยังคนหนึ่งหรืออาจจะกลับมาจุดเริ่มแรกอีกเป็นวงกลม
สร้อยคอหรือกำไลของมือ เป็นสิ่งมีค่า คนจะไม่นิยมสวม เพราะถือเป็นของมีค่าจะใส่เมื่อมีพิธีกรรม เต้นรำ กุลาถือเป็นทรัพย์สมบัติของผู้ชาย บางครั้งกุลาอันหนึ่งใช้เวลา2-10ปีจึงจะมาถึงจุดเริ่มต้นอีกครั้ง การแลกเปลี่ยนกุลาไม่สนใจเรื่องของการต่อรองราคาแต่สนใจการแลกเปลี่ยน แต่การแลกเปลี่ยนอย่างอื่นถือว่าไม่มีราคาค่างวดอะไรเช่น มะพร้าว สาคู ปลา กระบุง สื่อ ไม้พลอง และหินต่างๆ อาจมีการต่อรองในเรื่องของเวลา กุลาเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีคุณค่าทางเวทมนต์ คาถาและกิจกรรมทางพิธีการ รวมทั้งสถานภาพของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น  การแลกเปลี่ยนแบบกุลาทำให้เกิดเสถียรภาพทางสังคม  เกิดบูรณาการทางสังคม ในการแลกเปลี่ยนที่ส่งต่อกันเป็นวงกลม มีความมั่นคงและรวมกันเหนียวแน่น
การแลกเปลี่ยนของชาวโทรเบียน ในเกาะมาเลนีเซีย
ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์คือการแลกเปลี่ยนของที่ระลึกระหว่างกัน การใช้สิ่งของเครื่องประดับให้กับคนอื่น เพื่อแสดงความทักทาย สร้างมิตรภาพและความคุ้นเคยกัน ผู้รับก็จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะนำของมีค่าเท่ากันหรือมากกว่ามาให้เป็นการตอบแทน โดยกระบวนการแลกของระหว่างกันนั้นจะประกอบไปด้วยพิธีการและคำกล่าวที่เป็นทางการระหว่างผู้ให้และผู้รับ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการแลกเปลี่ยนอื่นๆที่น่าสนใจของชาวโทรเบียน คือการกระจายสมบัติ ที่ส่วนมากจะเป็นอาหาร มันมือเสือ มะพร้าว ปลาและเครื่องใช้ในบ้าน ถูกนำมามอบที่ส่วนกลางก่อนจะนำมาแจกจ่ายให้กับสมาชิก
ในโทรเบียนมีธรรมเนียมและหน้าที่ว่าผู้ชายจะต้องเอาสิ่งของไปให้กับครอบครัวของน้องสาวตัวเองที่แต่งงานไปแล้ว แม้ว่าโรเบียนจะมีระบบผัวเดียวเมียเดียวแต่หัวหน้าเผ่าอาจมีภรรยาได้มากถึง60คน  หัวหน้าเผ่าจึงมักได้ของขวัญจากพี่เขย และสามารถจัดพิธีเลี้ยงลุกบ้านและแขกที่มาเยี่ยมเยียนได้ทั้งปี ดังนั้นทรัพย์สมบัติจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับอำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...