วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตเอ็นจีโอ(2)


หลากวิธีในการเคลื่อนไหว หาข้าวหาปลาไปกินเอง เบียดเสียดกันไปเพราะความอยากรู้
การที่ผมต้องรับผิดชอบในการที่จะต้องตระเวนถามบรรดาแกนนำว่าใครจะลงไปกรุงเทพฯเพื่อยื่นหนังสือ หรือชุมนุมบ้าง เป็นช่วงที่เหนื่อยและปวดหัวมากที่สุด ทั้งเรื่องรถที่ต้องไปติดต่อ บางครั้งก็รถตู้รถเมลล์ รถสองแถว หรือรถกระบะของแกนนำ หรือเรื่องของคนที่จะไป เพราะบางครั้งรถก็มีจำกัดอย่างรถตู้ 1 คัน นั่งได้10-12 ที่นั่ง หากไปเกินทุกคนก็ต้องนั่งเบียดเสียดกัน โดยเฉพาะคนแก่ที่อยากไปผมสงสารมาก เพราะต้องเดินทางไกลต้องเบียดกันเหยียดแข้งขาไม่สะดวก กลัวว่าจะปวดขาตอนหลังๆจึงมักจะได้เป็นกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาวมากกว่า เมื่อได้คนครบตามจำนวน ก็จะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดการเตรียมตัวในการเดินทาง การเตรียมข้าวสารไปหุงไปนึ่ง ที่มอส.(มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม)ซึ่งจะที่เป็นทั้งที่พักหลับนอนและเป็นครัวสำหรับทำกับข้าว บางครั้งก็ซื้ออาหารไปทำซื้อปลาทู ซื้อมะเขือ เพราะอาหารที่ทำส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกทอดปลาทู และซุปมะเขือ ส่วนอาหารอย่างอื่นก็มีพวกแจ่วบอง บองปลาแดก บางครั้งถ้าชุมนุมใหญ่ ผมกับพ่อเบี้ยวซึ่งเป็นแกนนำบ้านโนนสมบูรณ์เคยเป็นเด็กบัสรถและรู้จักคนมาก แกก็จะไปขอหมูที่ฟาร์มหมูบ้านหนองไผ่ ฟาร์ม999 ซึ่งอนุเคราะห์ให้หมูมาทั้งแบบเป็นตัวและแบบเนื้อชำแหละแล้ว พอได้มาก็จะทำตากแดด ช่วยกันกับกลุ่มผู้หญิง และห่อใส่ถุงเพื่อเอาไว้แจกให้พี่น้องที่ร่วมไปชุมนุม 
ในช่วงแรกๆผู้เขียนรู้สึกอายบ้างที่ต้องไปขอทั้งจากบริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อเป็นเงินทุนในการต่อสู้เคลื่อนไหว เพราะยอมรับว่าสงสารชาวบ้าน ซึ่งปกติเขาก็ไม่ค่อยซื้อของฟุ่มเฟือย จะกินจะใช้ต้องประหยัดบางทีไปเดินรณรงค์บางคนก็ห่อมะม่วงสุข ปลาร้า ปลากระป๋อง ส้มตำมากิน ซึ่งเป็นอาหารง่ายๆ ที่หากินได้ราคาไม่แพง  ผู้เขียนจำได้ว่าผู้เขียนชอบไปกินข้าวที่บ้านโคกสี ปลาร้าตัวใหญ่ๆอร่อยมากและกินกันหลายๆคนก็สนุกดี ผู้เขียนก็ตระเวนไปกินวงนั้นวงนี้บ้าง ทำให้รู้ว่าคนแต่ละคนรู้สึกยังไง เหนื่อยไหม ไปบ้านนั้นคนเขาว่ายังไง เขาสนใจเรื่องโครงการไหม บางคนบอกผมว่า หัวหน้าต้น ผมได้ชื่อคนมาเป็นอบต.เขาสนใจอยากให้เราไปคุยและเปิดประชุมบ้านเขาซึ่งทำให้ผมได้ข้อมูลเวลาไปติดต่อประสานงานประชุมเดี๋ยวเรื่องเดินรณรงค์ผมจะกล่าวถึงเฉพาะในหัวข้อต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...