วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

เพลงในความทรงจำ ร็อคบนดินและใต้ดินในยุคนั้น

ถ้าพูดถึงวงร็อคในช่วงสมัยผมเป็นวันรุ่นมีหลายวงที่มีฝีมือและมีเพลงความหมายดีๆ บางวงไม่อยู่ในกระแส เป็นวงใต้ดินบ้าง หรือมีสังกัดในบริษัทเพลงใหญ่บ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเพลงของพวกเขาถือว่าแปลกใหม่มากในยุคสมัยนั้น วงแรกคือซีเปีย อัลบั้มเกลียดตุ๊ด มีเพลงแรงแรงหลายเพลง เช่นเกลียดตุ๊ค และอื่นๆ เพลงที่ผมชอบคือ ballad of death เสียงกีตาร์เพราะเศร้าๆสออดคล้องกับเนื้อหาของเพลงที่พูดถึงความรักและกำลังจะมีการตัดสินใจทำบางสิ่งในสถานการณ์ที่รักไม่สมหวัง เพลงนี้ในแง่หนึ่งให้กำลังใจว่าเธอยังมีฉันอยู่ทั้งคนอย่าคิดทำอะไรอย่างนั้น







อีกวงหนึ่ง ไทร็อค วงนี้ก็มีความน่าสนใจที่นักร้องเสียงแหลมมาก มีเพลงเพราะๆเยอะเช่น แผ่นดิน ขอจง แบบสุขกึ๋น เพลงนี้ก็ค่อนข้างความหมายและดนตรีถือว่าทันสมัยถูกใจวัยรุ่นในยุคนั้น



อีกวงหนึ่งเป็นวงที่เนื้อหาของเพลงค่อนข้างแรง ในสมัยนั้นเราจะเจอคำว่าเพลงใต้ดิน ซึ่งแน่นนอนว่าวงนี้เป็นอีกวงหนึ่งที่มีฝีมือ เพลงของพวกเขาสะท้อนปัญหาและความคิดทางสังคม แต่ผมชอบเพลงแผ่นดินมากที่สุดครับ





อีกวงหนึ่งที่ผมพอจะจำได้ว่าเคยฟังเพลงของเขาแล้วก็มีความหมายดีคือ วุธ Heretic  เพลงต้องการใครสักคนไหม 




เพลงของนักดนตรีกลุ่มเมทัลอีกกลุ่มหนึ่งคือดอนผีบิน เพลงผ่านวัน ผมชอบเพลงนี้มากทั้งความหมายและดนตรีจังหวะหนักๆ





อีกคนคือ พราย ปฐมพร คนนี้ค่อนข้างจะออกแนวแหวกๆหน่อย แต่ผมก็ชอบที่เขามีความเป็นตัวของตัวเองสูง แก้ผ้าถ่ายปกร้องเพลง สัญลักษณ์ของเขาคือมีเส้นคาดเป็นแนวยาวผ่านจมูกใบหน้า นำ้เสียงแหบหน่อยแต่มีเสน่ห์มาก ผมชอบเพลงไม่ได้มามือเปล่า






คนสุดท้ายคือ ฤิทธิพร อินสว่าง อันนี้เพลงเพราะทุกเพลงออกแนวร็อคเพื่อชีวิต เพลงเด่นเช่น ธุลี ใบไม้ และเธอผู้ห่างไกล



Thee Chaiyadej



พอพูดถึงพี่โอ๋ ธีร์ ไชยเดช ทีไรนึกถึงน้ำเสียงทุ้มๆ ดูอบอุ่น ผมชอบเพลงของพี่โอ๋ในหลายๆอัลบั้ม ตั้งแต่อัลบั้มแรก ที่ชื่อว่า Why ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงภาษาอังกฤษเกือยทุกเพลง มีเพลงไทยไม่กี่เพลง เช่นเพลงรัก
"รักนั้นเป็นฉันใด ใครๆบ้างจะรู้ รักคือความเป็นอยู่ คู่ตรงกลางระหว่างหัวใจ  รักคือความใฝ่ฝัน ชั่ววันรักอาจร้างไกล รักแม้เกิดจากใคร...
หรือเพลง How can I Feel you ก็เพราะมาก  นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเพราะอีกหลายเพลงในหลายอัลบั้ม
   









อัลบั้มแรก Why
                                     เพลง If I die

    


วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ดิโอฬารโปรเจ็ค เพลงร็อคในตำนาน

วงดนตรีแนวร็อคเมทัลของไทยอีกวงหนึ่ง ที่ประกอบด้วยสมาชิกนักดนตรีที่มีฝีีมือ อย่างโอฬาร พรหมใจ  ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ พิทักษ์ ศรีสังข์ ซึ่งเพลงของพวกเขาหลายเพลงเป็นที่คุ้นหู ในอัลบั้มต่างๆ เช่นกุมภาพันธ์ 2528  ชุดหูเหล็ก ชุดลิขิตแห่งดวงดาว ชุดดิโอฬารโปรเจ็ค The Rain และมาโนช พุฒตาล จนกระทั่งมาถึงชุดดิโอฬารคลาสสิค
อัลบั้มที่ผมชอบคงจะเป็นอัลบั้มแรก กุมภาพันธ์ 2528 มีหลายเพลงใด เช่น อย่างหยุดยั้ง แทนความห่วงใย ไฟปรารถนา  หนทางของคุณ ซึ่งฟังทีไรรู้สึกถึงพลังและความหมายของเพลงเหล่านี้ โดยเฉพาะเสียงร้องของพี่โป่ง ปฐมพงษ์ ถือว่าสุดยอด ชุดต่อมาก็มีเพลงเพราะๆ เช่น เพราะรัก เหนือคำบรรยาย ลองฟังกันดูครับ

เพลงแทนความห่วงใย

"สุดไกลตาฟ้ากว้างใหญ่เพียงใด ส่งดวงใจถึงกัน  อยู่แห่งหนใดของเพียงบทเพลงนี้แทนถ้อยคำจากหัวใจ เพลงเอยเจ้าจงเป็นตัวแทนความห่วงใยนำไป ให้คนที่ไกลกัน ฝากความรักและความสุขบอกคิดถึงกัน..."








เพลงเหนือคำบรรยาย
"ยินเสียงเพลงกล่อม หยาดนมที่เคยลิ้ม ใครเล่าใครเลี้ยงดูเรามาจนโตใหญ่ หากแม้นสามารถเรียงร้อยดาวและเดือนด้วยสายรุ้งได้ดังใจเพื่อลูกทุกสิ่งมอบให้ ใครเล่าจะห่วงห่วงเราเท่าเทียมฟ้า ใครเล่าใครรักเรามากกว่าผืนนำ้ทะเลกว้างใหญ่ พระคุณพ่อคุณแม่ใหญ่หลวง ๆ ข้าเชิดชูเหนือคำบรรยายลูกกราบน้อมบูชา





เพลงอย่าหยุดยั้ง

"อย่าไปแคร์ถึงเรื่องราวในครังก่อน อย่ามัวนอนเศร้าโศกศัลย์เมื่อช้ำใจ ก็ลองคิดใคร่ครวญมันคุ้มกันหรือเปล่า ตัดอกตัดใจบ้างเถิดหนาคนดี แต่เธอบางคนยังยึดมั่นภายในใจ ซ่อนเก็บความเจ็บไว้มีใครบ้างไหมเข้าใจเธอ..."

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

วงตาวัน


วงตาวัน




หุ่นกระบอก
ผมเขียนเขียนในต้นกับเพลงในความทรงจำ ที่พูดถึงวงตาวันที่่มีเพลงเนื้อหาดีๆหลายเพลง เช่นหุ่นกระบอก เมื่อชีวิตของเราถูกบงการด้วยโครงสร้างบางอย่างที่ทำไม่ให้เป็นตัวเรา หรือเพลงเพราะๆอย่างดูดาว .ฟ้าฟ้าบนฟ้านั้นมีแต่ดาวให้เรานั่งมอง  หรือเพลงเสียงกระซิบจากสายฝน "กระซิบเป็นเพลงลอยลมจากสายฝนพรำ เพื่อเตือนย้ำถึงรักของเรา หวานในเพลงทำนอง..." หรือเพลง ห่วงใย "หมดกำลังไร้เรี่ยวแรงเคยเข้มแข็ง..." หรือเพลง sweetness เสียงกีตาร์เพราะๆ ความหมายดีๆที่เกี่ยวกับชาวราศีพิจิก

ชุดแรก ที่มีเพลงหุ่นกระบอก 

เสียงกระซิบจากสายฝน
ดูดาว
มีเธอ


ชุดม๊อบ มีเพลงสมาคมคนว่างงาน โองการแช่งน้ำ กาม เพลงสะท้อนภาพสังคมในช่วงนั้นหลายเพลง

โองการแช่งน้ำ


ชุด 12 ราศรี เนื้อหาของเพลงแต่ละเพลงสัมพันธ์กับบุลิกลักษณะคนในราศีนั้นเพราะหลายเพลง เช่น เพลงห่วงใย กลับบ้าน sweetness ชน ข่าว ยุติธรรม บริสุทธิ์ นักคิด รักเกินใจ การเริ่มต้น  และอื่นๆ


ห่วงใย

sweetness

อัลบั้มที่รวมเพลงของตาวันในชุดที่ผ่านมาครับ

เจย์ซี เธอใช่ไหมและขาดใจ

ผมจำได้ว่าตอนอยู่มหาวิทยาลัย อัลบั้มเพลงแรกที่ผมตัดสินใจซื้อคือ อัลบั้มเจย์ซี ขาดใจ อัลบั้มนี้เพราะทุกเพลงและผมก็ยังคงฟังในปัจจุบัน โดยเฉพาะเพลงเธอใช่ไหม ซึ่งมีเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษชื่อเพลง along the way และในอัลบั้มนี้ทำออกมาในรูปออริจินัลและอคูสติก มีเพลงภาษาอังกฤษ 3 เพลง ส่วนเพลงเธอใช่ไหม ชอบมากครับ น้ำเสียงบาดใจ เหมือนคนร้องจะขาดใจจริงๆ ถ้าอารมณ์เหงาๆซึ้งๆโดนสุดๆ ลองฟังดูครับ



ปุ้มอรรถพงษ์ คงเป็นเธอและไม่ลืม

จำได้ว่าตอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นประมาณปีพ.ศ.2539 มีนักดนตรีคนหนึ่งได้มาเล่นในงานเฟรชชี่ ผมไม่รู้ว่าเขาเป็นใครเพราะไม่เคยได้ยินชื่อ  แต่เพื่อนผมรู้จักบอกว่าชื่อพี่ีปุ้มอรรถพงษ์ เป็นเด็กสาธิตใหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นผมก็เลยลองหาเทปพี่แกมาฟังแล้วก็ชื่นชอบหลายเพลง เพราะเขาเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ แต่งเองร้องเอง เพลงช้าๆหลายเพลงโดนมากในช่วงนั้น ลองฟังดูนะครับถ้าใครไม่รู้จัก เพลงคงเป็นเธอและไม่ลืมครับ
เพลงคงเป็นเธอสองเวอร์ชั่นครับออริจินัลกับอะคูสติกครับ
ก่อนเคยเงียบเหงาและหว้าเหว่ ก็ใครที่มีหายไป แต่มาบัดนี้เธอใช่ไหม ที่นำเอารักคืนมา ไม่เคยจะรู้ว่าเธออยู่ ปล่อยเธอไม่เคยสนใจ แต่มาบัดนี้ฉันเลยเข้าใจ จะลองลองรักดูสักครา ทะเลกว้างใหญ่สองเราข้ามไป เพราะมีสองใจร่วมกันฟันฝ่า ใช่เธอหรือเปล่าที่เดินเข้ามา แล้วพาความรักฉันไปพร้อมเธอ

หรือเพลงไม่ลืม .ความรักนั้นคือเรื่องราวด้วยหัวใจและยืนยัน ก็รักนั้นคือตะวันที่สาดแสงทั่วไป

พาราณศรี ออเครสต้า

พี่ตั้น พาราณสี แต่งเพลงเพราะๆหลายเพลงในอัลบั้มพาราณสี ออเครสต้า เพลง สายเกินไป คนดี และอื่นๆ ผมชอบเพลงสายเกินไป
ฉันพบเธอเมื่อสายเกินไป .... ลองฟังดูกันครับ เพลงชุดนี้สังกัดไมลสโตน ในช่วงนั้นค่ายเพลงนี้ค่อนข้างเป็นค่ายที่เปิดรับนักดนตรี แนวเพลงใหม่ๆครับ

ปล่่อยไปกับสายลม The Exiles

มีวงร็อคจากฝั่งลาววงหนึ่งที่อพยพไปอยู่ประเทศแคนาดา และเคยทำอัลบั้มที่แคนาดาแล้วมาจำหน่ายที่เมืองไทย สังกัดจีเอ็มเอ็ม ชื่อ The exiles วงร็อคเมทัล ที่มีเพลงดังหลายๆเพลง เช่นนาฬิกา ยอมจำนน หรือปล่อยไปกับสายลม ที่ผมชอบมากเพราะเป็น   เพลงร็อคแนวเศร้าๆเหงาๆ  ลองฟังเพลงนี้ดูครับ


มาโนช พุฒตาล ในทรรศนะของข้าพเจ้า


มาโนช พุฒตาล หรือพี่ซัน เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาเกิดในครอบครัวมุสลิม ผมรู้จักและได้ยินชื่อคุณมาโนช จากรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดนตรี ผมจำว่าคือรายการบันเทงคดี และได้เห็นผลงานเพลงของคุณมาโนช ในอัลบั้มดิโอฬารโปรเจ็ค และ The Rain จนกระทั่งอัลบั้มเดี่ยวของพี่ซัน ในทรรศนะของข้าพเจ้า  ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสกับเพลงในลักษณะมหากาพย์ เป็นแง่มุมทางปรัชญาและชีวิต มีหลายเพลงที่ผู้เขียนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น  สายน้ำและความหมาย หมอผีครองเมือง และลำธาร ซึ่งทั้งสามเพลงความหมายดีและเพราะมาก
ผมชอบหมอผีครองเมือง เพราะมันสะท้อนให้เห็นความจริงของสังคมในบ้านเมืองของเรา ณ ปัจจุบัน





เพลงของดอนผีบิน

ผมเคยได้เสนอเรื่องราวของวงดนตรี ดอนผีบินที่เป็นกลุ่มพี่น้องที่เล่นดนตรีแนเฮฟวี่เมทัลที่โด่งดังในยุคสมัยหนึ่ง เพลงของพวกเขาไม่ใช่เพลงรักของมนุษย์ปุถุชน แต่เป็นเพลงที่เกี่ยวกับสัจจะของชีวิตและความจริงของธรรมชาติ น่าฟังมากหลายเพลงโดยเฉพาะผมชอบเพลงช้าครับ อย่างเพลงไกลบ้าน
“ดวงตะวันถึงการจากลา เสียงนกกาถึงเวลาค่ำลง ส่งเสียงร้องกันขับขาน เตือนสัญญาณคืนวันใกล้จบ...
หรือเพลงลีลาลวง

ดินแดนใดสดใสสวยงาม ดินแดนใดสดใสเริงร่า ผ่านมาหาไม่มี ผ่านมาหาไม่เจอ ลองฟังกันดูสองเพลงครับ
เพลงไกลบ้าน
เพลงลีลาลวง

ต้นกับเพลงในความทรงจำ

มีศิลปินวงหนึ่งที่เคยจะเขียนเรื่องราวของเขา คือธิบดี วิชั่น ซึ่งเพลงของเขามีความน่าสนใจในแง่จังหวะดนตรีและน้ำเสียง  โดยเฉพาะในอัลบั้มที่มีเพลงเนื้อหาภาษาอังกฤษปนอยู่หลายเพลง รวมทั้งในยุคนั้นอัลบั้มของเขาถือว่าแนวมาก ถ้าเป็นซีดีก็จะเป็นกล่องเหล็ก ถ้าเป็นเทปก็จะเป็นกระดาษไขมันแบบด้านๆ ที่ถือว่าแปลกกว่าปกเทปคลาสเส็คทั่วไป
ผมชอบเพลงเขาหลายเพลง เช่น เพลงสายธารสะท้อนเงา
.สายธารใหญ่ ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ได้เห็นความจริงหลากหลาย สายธารใหญ่สะท้อนเงาตัวเองให้รู้ให้อยู่ต่อไป สู้อีกทีจะหลบหนีไปใย สู้อีกที...
หรือเพลงช้าช้าอย่างเพลง ดวงดาว ท้องฟ้าและสัญญา เป็นเพลงจังหวะช้าๆไม่กี่เพลงของธิบดี ที่เพราะมาก
.ค่ำคืนนี้มีดาวอยู่เต็มฟ้า ทอแสงประกายระัยับวาว ...
ลองฟังดูกันครับ



ชนเผ่ากำมุ (ขมุ) ชาติพันธุ์ในลาว

ชนเผ่าขมุ (Khamu) เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศลาว เป็นกลุ่มลาวเทิง หรือลาวที่อาศัยอยู่บนที่สูง ที่อาศัยอยู่บริเวณ มีภาษาจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติกสาขามอญ ในประเทศไทยเราก็มีกลุ่มชาติพันธ์ุนี้อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ เช่นจังหวัดน่าน

เออีซีกับอุดรธานี

แม้ว่าจังหวัดอุดรธานีจะไม่มีพรมแดนติดกับปรเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็เป็นเมืองที่มีรอยต่อกับจังหวัดหนองคายที่ติดกับประเทศลาวโดยมีแม่นำ้โขงเป็นเส้นแบ่ง แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนและแรงงานข้ามชาติเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก

เวียงจันทน์วันนี้



มองลาว การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ที่จะทำให้เราเข้าใจการเติบโตและพัฒนาการของประเทศเพื่อนบ้าน บ้านพี่เมืองน้องของไทย

อิทธิพลสื่อไทยกับพี่น้องลาว


การเคลื่อนไหวของเทคโนโลโยีข้อมูลข่าวสารในโลกยุคไร้พรมแดน ไม่เพียงแต่แค่เรื่องของวัตถุเท่านั้น แต่ยังเผยแพร่ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมข้ามแดนระหว่างกันด้วย

เปิดปม ธุรกิจขายบริการในจังหวัดอุดรธานี




สถานการณ์การค้ามนุษย์ตามจังหวดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่สัมพันธฺ์กับโลกาภิวัฒน์ และนโยบายอาเซียน ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คน รวมทั้งวิถีชีวิตมากขึ้น

การค้ามนุษย์ในลาว


วีดีโอชื้นนี้ นำเสนอภาพปัญหาการค้ามนุษย์และการต่ต้านการค้ามนุษย์ในประเทศลาว ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงและเด็กในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศโลกที่สาม

การลดความเปราะบางและการเพิ่มโอกาสให้กับผู้หญิงลาว

วีดีโอสารคดีชี้นนี้ ให้ภาพของผู้หญิงในสังคมลาวที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมถึงวัฒนธรรมและค่านิยมในสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการลดทอนความสามารถของผู้หญิง เพ่ืื่อให้เกิดความเข้าใจและมองถึงโอกาสของผู้หญิงลาวในสังคมในอนาคต ที่สำคัญคือเรื่องของโอกาสของผู้หญิงในเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะในชนบทเพราะโอกาสในการศึกษาสามารถทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในด้านต่างๆได้อย่างทัดเทียมกับผู้ชายมากขึ้น สารคดีชิ้นนี้จึงนำเสนอมุมมองของผู้หญิงลาว ความคาดหวังและสิ่งที่พวกเธอต้องการได้รับการสนับสนุนในสังคมลาวให้มากขึ้น

เพราะฉันเป็นผู้หญิง ภาพสะท้อนความคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงในสังคมลาว

วีดีโอชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นความเป็นผู้หญิงในสังคมลาว และค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ผู้หญิงลาวก็มีบทบาทที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้ชายที่สามารถสร้างความภูมิใจให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้หญิงในสังคมลาวเรียกร้องและต้องการสร้างค่านิยมใหม่ในสังคม
ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำให้เราเข้าใจมิติทางสังคมวัฒนธรรมของสังคมลาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

ปรัชญา (Philosohy)

ปรัชญา คือ ความรู้ และปัญญา  ความรู้หรือความรอบรู้ทำให้เราเราตั้งคำถามและชักนำเราให้ศึกษาหาความจริง ในแง่มุมต่างๆ
แง่มุมแรก ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงความรู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร ปัญญาในการหาความรู้ส่วนนี้ถูกเรียกว่า ญาณวิทยา (Epistemology)
แง่มุมที่สอง เกิดจากปัญหาทางปรัชญาว่าที่ว่าด้วยเรื่องของการดำรงอยู่หรือมีอยู่ของสรรพสิ่ง หรือในทางปรัชญาเรียกว่า ภววิทยา (ontology) ที่พูดถึงเรื่องของความมีอยู่ "Existence"  สรรพสิ่งหรือสิ่งที่ปรากฏมีอยู่เป็นอย่างไร แล้วสิ่งที่ไม่มีเป็นอย่างไร ความเท็จเป็นอย่างไร ความถูกต้องเป็นอย่างไร สิ่งใดมีอยู่สิ่งใดไม่มีอยู่ แล้วเรารู้ได้อย่างไรวามันมีอยู่หรือไม่มีอยู่ มีคำถามมากมายว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าหรือไม่?
พ้นเลยไปจากภววิทยา ก็จะมาถึงสิ่งที่เรียกว่าคุณวิทยา (Axiology) ที่ว่าด้วยปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของสรรพสิ่ง ทั้งในแง่ของความงาม (Beauty) และศีลธรรม (Moral) ซึ่งในยุคโบราณปรัชญาแนวนี้คือเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และแนวคิดว่าด้วยศีลธรรมหรือจริยศาสตร์ (Ethic)
เรามักจะตั้งคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นคืออะไร ธรรมชาติ โลก ชีวิต ความตาย หรือแม้แต่ตัวตนของเรา
คำถามสำคัญคือ ความรู้มาจากไหน และความรู้นั้นมีธรรมชาติของมันอย่างไร ผิดถูกอย่างไร หรือเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้าง จึงย้อนกลับมาที่เรื่องของสิ่งที่เรียกว่าญาณวิทยา หัวใจสำคัญของปัญหาในแนวคิดทางปรัชญานี้คือ
"ถ้าเราไม่รู้ว่าความรู้ได้มาอย่างไรแล้วเราจะเชื่อถือมันได้อย่างไร" กลับมาที่การค้นหาต้นตอหรือแหล่งกำเนิดของความรู้
เรามักมีคำตอบต่อคำถามว่าความรู้ของเรามาจากไหน โดยเรามักจะบอกว่าพ่อแม่ ครูอาจารย์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต สื่อต่างๆ  ถ้าเราตั้งคำถามต่อไปอีกสักนิด ว่า ครูของเรา พ่อแม่ของเรา สื่อต่างๆ เอาความรู้มาจา่กไหน เช่น ครูอาจได้มาจากตำรา ก็ต้องถามต่อว่า ตำราเกิดจากใคร คนเขียนตำราแล้วเขาได้ความรู้มาจากไหน  มาสอน มาบอก มาเผยแพร่กับเรา มันมาอย่างไร น้อยคนที่จะสามารถตอบได้ และน้อยคนที่จะคิดกับมันให้ลึกซึ้งลงไป
ดังนั้น ผู้แสวงหาความจริงย่อมต้องการความรู้อันเป็นสัจธรรม ต้องรู้ว่าความรู้มาจากไหน ได้มาอย่างไร
ครั้งต่อไปอาจจะเขียนถึงทฤษฎีเก่าๆที่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของความรู้ ว่าความรู้ได้มากจากไหน ตั้งแต่พระเจ้าจนถึงยุคของเหตุผล


แสงกับการมองเห็น

บางทีเราคิดว่า แสงสว่างทำให้เรามองเห็นทุกอย่างชัดเจนถูกต้อง
ยิ่งสว่างมาก ก็ยิ่งสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้มาก
แต่ในขณะเดียวกัน ยิ่งแสงสว่างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ตาของเราปวดแสบ พร่ามัว ได้เช่นเดียวกัน
ความสว่างจ้าจนพร่ามัวกับดวงตา มันทำให้เรามองเห็นบางสิ่งไม่ชัดเจน หรือบิดเบี้ยว
แม้ว่าเราคิดว่าแสงสว่างทำให้เรามองเห็น ทำให้เราเข้าใจสรรพสิ่งต่างๆ
ในความเป็นจริง เราอาจมองไม่เห็นหรือเข้าใจอะไรเลยก็ได้
บางครั้งความมืดหรือความสลัว ทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น คิดมากขึ้น และทำให้เราเก็บรักษาดวงตาของเรามากขึ้น
ต้นตะวันพันดาว

ความไม่แน่นอน

โลกที่เราดำรงอยู่ไม่มีอะไรแน่นอน
สิ่งที่มองเห็นด้วยตากับสิ่งที่เป็นจริง อาจต่างกันได้
แม้แต่สิ่งที่เราเรียนรู้ผ่านอายตนะทั้ง 5
สิ่งที่เราเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ ที่ทำให้เราคิดและเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
บางทีอาจจะไม่ใช่เสมอไป
ลมที่เราเชื่อว่าพัดพาความเย็น ความหนาว บางครั้งอาจพัดพาเอาไอร้อนมากระทบเราก็ได้
ท้องฟ้าที่มืดครึ้มไม่ได้หมายความว่าฝนจะต้องตกเสมอ
น้ำตกสูงมหึมาอาจไม่ได้เกิดจากสำธารหรือแม่นำ้สายใหญ่ แต่อาจจะเริ่มต้นจากตานำ้เล็กๆที่ผุดขึ้นมา
ดังนั้นในเมื่อสิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่เป็นมันอาจไม่เหมือนกัน  หรือไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ก็อย่าไปยึดติดหรือถือมั่น เชื่อมั่นว่ามันจะต้องเป็นอย่างนี้เสมอ เหตุอย่างนี้อาจจะไม่ให้ผลอย่างนี้ก็ได้ ....ต้นตะวัน


ความว่างเปล่า

ในความว่างเปล่า ไม่ใช่ความไม่มีอะไร
แต่ในความว่างเปล่า มันทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจ ให้เราคิดว่าเราจะเขียนหรือแต่งเติมความว่างเปล่าได้อย่างไร 
กระดาษเปล่าย่อมสร้างจินตนาการให้เราอยากจะเขียน อยากจะวาด หรือระบายอะไรลงไป
เราจะพบว่า ในความว่างเปล่า มันมีอะไรมากมายที่ทำให้เราได้ครุ่นคิด และเขียนถึงมันมากมาย
เรามักจะค้นพบสิ่งต่างๆในความว่างเปล่า  .............ต้นตะวันพันดาว


อดีต part2

มนุษย์เราส่วนหนึ่งมักจมอยู่กับอดีต
เพราะอดีตเป็นที่รวมของประสบการณ์และสิ่งที่เราพบเจอมาในชีวิต
อดีตจึงมีเรื่องราวให้เราคิดถึงมันมากมาย
อดีตจึงเป็นชิ้นส่วนของประสบการณ์ในชีวิตที่วางซ้อนทับและปะติดปะต่อกันอย่างหนาเตอะ
เราสามารถคิดได้กับอดีต แต่อย่าให้อดีตกลืนกินหรือดึงเราให้จมปลักอยู่กับเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว สิ่งที่ทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
ดังนั้นชีวิตของเราต้องก้าวเดินต่อไป และให้สิ่งดีๆในอดีตเป็นเครื่่องหล่อเลี้ยงและแต่งเติมชีวิตข้างหน้าของเรา
ต้ตะวันพันดาว กลางคืนฝนพรำ กรกฏาคม 2556

อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต Part 1

อดีตเป็นสิ่งที่เหนี่ยงรั้งอนาคต
อนาคตเป็นสิ่งที่ก้าวข้ามจากอดีต
ปัจจุบันทำให้เราอยู่กับสิ่งที่เป็นและสิ่งที่จริง
เราอาจมองย้อนหลัง หรือคิดออกไปในอนาคตได้ จากมุมที่ยืนอยู่ ณ ปัจจุบัน
แต่เราจะต้องรู้ตัวเสมอว่า ณ ตอนนี้ เรากำลังอยู่กับปัจจุบัน ....... ( ต้นตะวันพันดาว ณ กลางฤดูฝน   กรกฏาคม 56)


วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

5. แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ (Critical Medical Anthropology Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


                แนวคิดมานุษยวิทยาเชิงวิพากษ์ พัฒนามาจากการวิพากษ์จุดอ่อนของมานุษยวิทยาการตีความ ซึ่งเน้นอยู่ที่การมองระบบวัฒนธรรมสุขภาพในลักษณะดุลยภาพในองค์ประกอบที่ก่อร่างเป็นวัฒนธรรมสุขภาพ โดยละเลยความสัมพันธ์ในเชิงของอำนาจที่ดำรงอยู่ในความจริงทางการแพทย์ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมารวมทั้งขาดการพิจาณาการดำรงอยู่ของการครอบงำอุดมการณ์ทางการแพทย์ในสังคม เพราะอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบวัฒนธรรมสัมพันธ์กับโครงสร้างที่กำหนดให้กลุ่มหรือสถาบันในสังคมมีอำนาจแตกต่างกัน (โกมาตร,2549:27) ดังเช่นที่ Bear (1997) ยืนยันถึงการขาดความใส่ใจในการพิจารณาโครงสร้างเชิงสังคมของประสบการณ์และการตีความหมายที่เป็นปัญหาในการอธิบายของ Good การมองที่ยึดมั่นความเป็นองค์ประธานของความรู้ (Subject of Knowledge) มากกว่าที่จะมองว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างให้มีสถานะเป็นวัตถุแห่งความรู้ (Object of Knowledge)และขุมขังเอาไว้ในประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ทำให้การตีความการเจ็บป่วยมีลักษณะของประสบการณ์การตีความภายในตัวขององค์ประธานหรือตัวผู้ป่วยเอง(Inter-Subjectivity Interpreted Experience) ดังนั้นมุมมองเชิงวิพากษ์จึงมีความน่าสนใจในการเชื่อมโยงจุดบกพร่องของการศึกษาแนวการตีความและเน้นถึงบทบาทหรือพลังอำนาจทางสังคม และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจ การเมืองที่กำหนดความเป็นไปได้ต่างๆที่สร้างความหมาย และกำหนดเงื่อนไขให้กับประสบการณ์ร่วมของสมาชิกในสังคมในเรื่องสุขภาพ อนามัยและความเจ็บป่วย (พิมพวัลย์,2555:17)
                วิธีการแบบวิพากษ์ ในมานุษยวิทยาการแพทย์ถูกแนะนำโดย Sohier Morsy ในบทความของเขาเรื่อง “The Missing link in medical anthropology:the political Economy and health”ในช่วงปี 1979 ที่เป็นความพยายามเริ่มแรกในการนำการวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพไปยังมิติทางมานุษยวิทยา มานุษยวิทยาการแพทย์แนววิพากษ์ เน้นย้ำเกี่ยวกับการเชื่อมโยงประเด็นทางด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับกฏเกณฑ์ทางเศรษฐกิจและอิทธิพลทางสังคม(The economic Order and Social Force) รวมทั้งการเน้นย้ำอยู่บนปัจเจกบุคคล ที่เชื่อมโยงการกระทำของปัจเจกบุคคล (Individual Action) กับสังคมหรือโครงสร้าง (Social /Structural) เสมือนการถูกกำหนดทางวัฒนธรรมในปฎิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กระทำทางสังคม (Socail Actor)และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมือง (Morsy,1979:22) ดังนั้น วัฒนธรรมหรือค่านิยมที่สังคมสร้างขึ้นมีลักษณะในเชิงของอำนาจที่ซ่อนตัวอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนโดยมองว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา โดยไม่ถูกตั้งคำถามเช่นเดียวกับสุขภาพและความเจ็บป่วยที่ถูกทำให้เป็นปัญหาทางการแพทย์ (Medicalization) มากกว่าจะทำความเข้าใจเรื่องความไม่เป็นธรรม การกดขี่หรือความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง (โกมาตร,2545:30) มุมมองในเชิงวิพากษ์จึงเป็นมุมมองที่ต้องตั้งคำถามและสงสัยในอำนาจเหล่านี้ เพื่อให้เห็นประเด็นทางวัฒนธรรม การควบคุมเรื่องอำนาจ การต่อต้านขัดขืน และท้าทายประเด็นทางสุขภาพ ความเจ็บป่วยและการรักษาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ (Morsy,1979:23)
                Merrill Singer และ  Hans Baer  ได้ให้แนวคิดสำคัญเบื้องต้นในการนำมิติทางทฤษฎีมานุษยวิทยากรแพทย์เชิงวิพากษ์ไปใช้ ตรวจสอบความหมายดั้งเดิมในสังคมเกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วยทางสุขภาพ การวิเคราะห์โนโยบายด้านสุขภาพ การจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ และบทบาทของรัฐในเรื่องสุขภาพและการดูแลรักษาสุขภาพ  สำรวจความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างปฎิสัมพันธ์ของรูปแบบการแพทย์ในระดับชาติและระดับนานาชาติ  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระบบการแพทย์กับบริบททางเศรษฐกิจและการเมือง การค้นหาประสบการณ์ของผู้ทุกข์ทรมานภายในกรอบความคิดเกี่ยวกับการครอบงำและการต่อต้านขัดขืน (Singer and Baer,1995:61) โดยเขาเสนอการวิเคราะห์ในแบบมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ ที่เกี่ยวข้องกับระดับที่แตกต่างที่เริ่มจากระดับความสำนึกรู้ของคนไข้ (Consciousness of the patient) ระดับการจัดการของชุมชน (Community organization) ระดับขอบเขตทางเศรษฐกิจและการเมือง (regional political and economy) ระดับการรวมตัวของอำนาจในระดับสากล (International coporate power) ขยายความได้ว่าเขาเสนอให้พิจารณาผลกระทบของความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อบริการสุขภาพนั้นๆ ที่ดำรงอยู่ในระดับที่ต่างกันในสังคมทุนนิยมทั้งประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศสังคมนิยมก็ตาม  ซึ่งแต่ละระดับมีความแตกต่างกันตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล (Individual Level) เป็นเรื่องของผู้ป่วยและประสบการณ์ของผู้ป่วย ระดับจุลภาค (Micro-social level) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ระดับกลาง (Intermidiate-Social Level) คือบริบทของโรงพยาบาลและสถาบันทางการศึกษา และระดับมหภาค (Macro-Social Level) เป็นเรื่องของชนชั้น ระบบจักรวรรดินิยมและทุนนิยมโลก โดยที่ระดับต่างๆไม่ได้แยกขาดออกจากกันเด็ดขาดแต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะของอำนาจ ทั้งตัวของระบบทุนนิยมโลก โรงพยาบาล แพทย์และผู้ป่วยต่างสะท้อนให้เห็นการครอบงำของอำนาจและการต่อต้านขัดขืนต่อรองจากอำนาจระดับต่างๆดังกล่าว
                นอกจากนี้แนวคิดมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์ยังได้นำเอาแนวความคิดของ Michel Foucault มาใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับอำนาจและการต่อต้านอำนาจ เพราะอำนาจผลิตความรู้ ความจริง ดังนั้นหน้าที่ของเราคือการค้นหา และรื้อสร้าง ความไม่เท่าเทียม รวมถึงอำนาจหรือบรรทัดฐานบางอย่างที่มีเพียงมิติเดียวเพื่อให้เห็นความแตกต่างหลากหลายและความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ โดยเฉพาะความหลากหลายของวัฒนธรรมทางการแพทย์และสุขภาพที่มี การปะทะ ประสาน การต่อรอง และประนีประนอมระหว่างกันของระบบการแพทย์แบบต่างๆในสังคม





[1] แนวความคิดเรื่องแกนสัญลักษณ์ (Core Symbol)ของ Byron Good คล้ายกับคำอธิบายของวิกเตอร์ เทอเนอร์ (Victor Turner) ที่พูดถึงสัญลักษณ์หลัก (Dominant Symbol) ที่จัดการความหมายของพิธีกรรมในสังคมก่อนอุตสาหกรรม

4.แนวคิดทฤษฎีมานุษยวิทยาการตีความหมาย (Interpretive Anthrolology Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


                แนวคิดมานุษยวิทยาระลึกรู้เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์และความคิดของมนุษย์ (พิมพวัลย์,2555) ในขณะเดียวกันนักมานุษยวิทยากลุ่มหนึ่งสนใจสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์และการตีความหมายที่สะท้อนให้เห็นความสนใจศึกษาวัฒนธรรมในความหมายที่มากกว่าการเป็นวัตถุของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ให้ความสำคัญกับความคิดและมุมมองของผู้คน ในทัศนะแบบคนใน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจระบบความคิด การให้ความหมายต่อผู้คน สุขภาพและความเจ็บป่วยในวัฒนธรรมต่างๆ ในฐานะที่สุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่วัฒนธรรมไม่ได้เป็นแค่ความคิดที่อยู่ในหัวของมนุษย์แต่แทรกตัวอยู่ในสัญลักษณ์ต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ Clifford Geertz ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ว่า สัญลักษณ์คืออะไรก็ตาม การกระทำ เหตุการณ์คุณลักษณะหรือความสัมพันธ์ ที่ใช้เป็นสื่อแนวความคิด (Conception) ซึ่งแนวความคิดคือ ความหมายของสัญลักษณ์ (อคิน,2551:77) ดังนั้นสัญลักษณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในทางสังคมทุกรูปแบบ  เพราะเป็นรูปแบบของความคิดที่สัมผัสได้ เป็นข้อสรุปของประสบการณ์ที่เรามองเห็น เป็นรูปธรรมของความคิด ทัศนะในการตัดสินใจ ความปรารถนาและความเชื่อของมนุษย์ ทำให้ความหมายของสัญลักษณ์มีลักษณะเป็นส่วนรวม ที่คนในสังคมรับรู้ร่วมกัน และใช้สัญลักษณ์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน รวมทั้งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการสั่งสมและการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดประสบการณ์ในชีวิตมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์เป็นตัวกลางในการส่งผ่านความหมาย การกระทำระหว่างคนในสังคม สัญลักษณ์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ดังนั้นวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความหมายและการปฎิบัติเกี่ยวกับโรค
                Clifford Geertz ได้นำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจ 2 ประเด็น อย่างแรกคือ เรื่องแบบแผนของวัฒนธรรม (Cultural Pattern) หรือชุดของสัญลักษณ์ (Set of Symbol) ที่มีสองประเภทคือ ตัวแบบของ (Model of) และตัวแบบสำหรับ (Model for) ตัวแบบของ คือ การสร้างโครงสร้างของสัญลักษณ์ขึ้นมาเลียนแบบสิ่งที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ซึ่งอาจจะหมายถึงสิ่งที่เป็นจริง (Model of Reality) ดังนั้นสัญลักษณ์ถูกสร้างขึ้นมาจากความจริงหรือจำลองความจริงขึ้นมา เพื่อให้เรารู้จักหรือเข้าใจความจริง ดังนั้นหน้าที่ของนักมานุษยวิทยาคือการแยกระหว่างความจริงกับสิ่งที่คนให้ความหมายต่อความจริงนั้น Greetz อธิบายว่า แบบแผนทางวัฒนธรรมมีลักษณะสองด้านคือ การให้ความหมายแก่สิ่งที่เป็นจริงทางสังคมและทางกายภาพโดยปรับรูปร่างของตัวแบบให้เหมือนสิ่งที่เป็นจริง “Model of” กับ การปรับรูปร่างของสิ่งที่เป็นจริงให้เหมือนตัวแบบ “Model For”(อคิน,2551:81) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สิ่งที่สำคัญในการทำความเข้าใจระบบสัญลักษณ์คือการทำความเข้าใจความคิดของมนุษย์ที่สร้างรูปแบบจำลองหรือสัญลักษณ์ขึ้นมาโดยเลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริง ในขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นจริงก็ถูกสร้างภายใต้ตัวแบบที่มนุษย์คิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า ตัวแบบคือสิ่งที่วางแนวทางหรือความสัมพันธ์ทางกายภาพและทางสังคมของมนุษย์   อย่างที่สอง คือ เรื่องทัศนะคนในและคนนอก ซึ่งGreetz กล่าวถึงแประสบการณ์ไกลตัวและประสบการณ์ใกล้ตัว ที่แบ่งแยกระหว่างประสบการณ์ใกล้ตัวที่เป็นประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลที่นิยามสิ่งที่ตัวเขาเองหรือคนในสังคมเขามองเห็น รู้สึกอย่างเดียวกัน และประสบการณ์ไกลตัวซึ่งเป็นประสบการณ์ของเราในฐานะผู้ศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ Greetz เน้นย้ำให้เราวิเคราะห์ เสาะหารูปแบบของสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด รูปจำลอง สถาบันและพฤติกรรม การกระทำ เพื่อทำความเข้าใจว่าพวกเขาในแต่ละแห่งมีการมองตัวเองและนำเสนอตัวตนของตัวเองต่อคนอื่น รวมทั้งตัวตนของเขาในสังคมเป็นอย่างไร
                โลกของความจริงสัมพันธ์กับโลกของภาษาหรือความหมายที่เป็นการประกอบสร้างทางสังคม บางครั้งสังคมสร้างความหมายและความจริงให้กับสรรพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ผ่านระบบภาษาและสัญลักษณ์  ในประเด็นทางด้านสุขภาพและความเจ็บป่วย การทำความเข้าใจหรือการมองคน มองความเจ็บป่วยเปลี่ยนผ่านจากเรื่องของโครงสร้างมาสู่เรื่องของประสบการณ์ของความเจ็บป่วยที่นำไปสู่การอธิบายและวิธีการรักษาที่มีความเฉพาะ ความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพจึงมีพื้นฐานจากความแตกต่างของวิธีคิด โครงสร้างทางความคิดที่เป็นตัวกำกับ สิ่งที่เป็นนามธรรมนี้จะสะท้อนให้เห็นผ่านสัญลักษณ์และภาษา เช่น การให้ชื่อโรค การจัดกลุ่มโรค ที่สร้างความหมายและสถาปนาความจริงแก่สิ่งเหล่านั้น นักมานุษยวิทยาที่มีบทบาทสำคัญคือ Artur Khlienman ที่เสนอว่าระบบการแพทย์เป็นระบบวัฒนธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีสัญลักษณ์ ความหมายและตรรกะภายในตัวเอง (โกมาตร,2545: 8) Klienman กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบของการอธิบาย (Explanatory Model/EM) ที่ได้ให้โครงสร้างความคิดภายในตัวของปัจเจกบุคคลที่จำแนกแยกประเภทปัญหาทางสุขภาพและความเข้าใจในความเจ็บป่วย การบาดเจ็บและความพิการของพวกเขาออกมา (Veena,2007:2) โดยเขาได้จำแนกแยกแยะระหว่างโรค (Disease) ที่เป็นความผิดปกติของกระบวนการและกลไกลทางร่างกายของผู้ป่วย(Explantory Model ของแพทย์) และความเจ็บป่วย (Illness) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการรับรู้หรือประสบการณ์ความเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยตีความเอง (Explanatory Model ของผู้ป่วย) เช่นเดียวกับงานของ Byron Good ที่พูดถึงโครงสร้างเครือข่ายความหมายและสัญลักษณ์ของความเจ็บป่วย (Semantic Illness Network)ที่หมายถึงเครือข่ายของคำศัพท์ (Word) สถานการณ์ (Situation) การบ่งชี้อาการของโรค (Symptom)และความรู้สึก (Feeling) ที่สัมพันธ์กับความเจ็บป่วยและการให้ความหมายของผู้ป่วยหรือ”The Sufferer” (Good,1977:40) โดยให้ความสำคัญกับระบบสัญลักษณ์หลัก (Core System)[1] ในการให้ความหมายเกี่ยวกับโรคหัวใจอ่อนแรง (Hearth Distrees)ในวัฒนธรรมของชาวอิหร่าน ที่สัมพันธ์กับระบบสัญลักษณ์และการให้ความหมายแบบอิสลาม (Islamic)ซึ่งเป็นความจริงในวัฒนธรรมสุขภาพของสังคมชาวอิหร่าน สิ่งที่สอดคล้องกันระหว่าง Klieman และ Good คือ โรคภัยไข้เจ็บ (Disease) คือสิ่งที่ไม่ได้ดำรงอยู่จริงแต่มีอยู่จริงในรูปแบบของการอธิบาย (Klieman 1973 quoted by Good 1994:53) ดังนั้นโรคและความเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไม่ใช่แค่เพียงการแสดงออกซึ่งความเจ็บป่วยเท่านั้นแต่มันคือสิ่งที่สะท้อนความหมายและความจริงของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้น แน่นอนว่าความจริงดังกล่าวเป็นความจริงที่หลากหลาย การทำความเข้าใจความหมายและการตีความสุขภาพและความเจ็บป่วยก็ต้องมีมิติ มุมมองที่หลากหลาย การทำความเข้าใจสัญลักษณ์และความหมายเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วยในฐานะส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ทำให้เราเข้าใจการพิจารณาความเจ็บป่วยว่า สาเหตุของความเจ็บป่วยเกิดจากอะไร และเมื่อรับรู้แบบนี้เขาทำอะไรหรือไปหาใครเพื่อเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้นให้หายไป ดังที่ Kleinman บอกว่าโรคหรือความเจ็บป่วยเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่สะท้อนความหมายและความจริงของมนุษย์เกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วย ถือว่าเป็นสิ่งสร้างทางวัฒนธรรมซึ่งแตกต่างกับการประกอบสร้างความจริงเกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วยทางการแพทย์หรือทางคลินิก




[1] แนวความคิดเรื่องแกนสัญลักษณ์ (Core Symbol)ของ Byron Good คล้ายกับคำอธิบายของวิกเตอร์ เทอเนอร์ (Victor Turner) ที่พูดถึงสัญลักษณ์หลัก (Dominant Symbol) ที่จัดการความหมายของพิธีกรรมในสังคมก่อนอุตสาหกรรม

3. แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองด้านสุขภาพ (Political Economy of Health) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพ เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคมระดับมหภาคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพิจารณาถึงโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของการผลิตทางสังคมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย (The social production of disease)  Morgan นิยาม แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพว่าคือการวิเคราะห์ระดับมหภาค การวิพากษ์และมุมมองทางประวัติศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระจายของโรคและการบริการทางสุขภาพ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย พร้อมกับเน้นย้ำเกี่ยวกับผลกระทบของการแบ่งชนชั้นทางสังคม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ภายในระบบเศรษฐกิจโลก (Morgan,1984:132 อ้างในพิมพวัลย์ บุญมงคล 2555:12)  แม้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมืองของสุขภาพ จะเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจ  กระบวนการพัฒนาและการแผ่ขยายของระบบทุนนิยมโลก และแนวทางของแพทย์แบบชีวะ(Biomedicine) ที่ดำเนินการภายในบริบทเหล่านี้ ดังที่ Baer (1997:28) ได้กล่าวว่า ผลกำไรสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการแพทย์แบบชีวะ ไปยังระบบทุนนิยมแบบเข้มข้น พร้อมความพยายามอย่างหนักในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีชั้นสูง การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับยาจำนวนมหาศาล และความเข้มข้นของบริการในทางการแพทย์ที่ซับซ้อน
แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองด้านสุขภาพ อยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ 3 แนว แนวคิดแรก คือ แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ ที่มองว่าระบบทุนนิยมดำเนินการได้ด้วยการสะสมทุน การเอารัดเอาเปรียบชนชั้นแรงงานที่เป็นผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ดังเช่น ความสัมพันธ์เชิงมหภาคในเรื่องของการพัฒนาระบบแพทย์เชิงพาณิชย์ กับเชิงจุลภาคคือความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในบริบทของการรักษาและสุขภาพ
แนวคิดที่สอง คือแนวคิดเชิงวิพากษ์วัฒนธรรม ที่มองว่าวัฒนธรรมไม่ใช่ระบบความหมายที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจและอธิบายโลกของตนเองเท่านั้น แต่วัฒนธรรมยังมีระบบคิดและอุดมการณ์ที่ ซ่อนเร้น ปิดปัง และซุกซ่อนความจริงทางเศรษฐกิจการเมืองเอาไว้  ดังนั้นวัฒนธรรมจึงเป็นทั้งสายใยของความหมายที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นเรื่องเร้นลับ และอำพรางความจริงของสังคมเอาไว้ด้วย ในการนำแนวความคิดนี้มาอธิบายการแพทย์และการสาธารณสุข จึงสามารถนำมาอธิบายได้ว่า การแพทย์และการสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในระบบทุนนิยมสิ่งเหล่านี้ถูกทำให้กลายเป็นสินค้า อีกทั้งคุณค่าและมูลค่าของการบริการสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล รวมทั้งก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม ซึ่งโครงสร้างและสถาบันทางสังคมได้สร้างและผลักดันให้ความยากจนและความมีอภิสิทธิ์อยู่อย่างมั่นคงถาวร ดังนั้นคนที่เสียเปรียบในสังคมก็ยังคงเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทั้งผู้หญิง ชนชั้นกรรมกร คนยากจน ชาวนา และคนกลุ่มน้อย
แนวคิดที่สามคือ แนวคิดเชิงทฤษฎีการพึ่งพิงหรือเรียกว่า World System Theory ที่เน้นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับปะเทศด้อยพัฒนา จักรวรรดินิยมกับอาณานิคม แนวคิดนี้มองว่าการแทรกแซงของระบบทุนนิยมในสังคมเป็นตัวกำหนดความเจ็บป่วย โรค ความยากจนและการด้อยพัฒนาของผู้คนในสังคม (Morgan ,1987 อ้างในพิมพวัลย์,2555:หน้า 11-12)
แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นที่นิยมในช่วงปีค.ศ.1978-1990 ที่มองว่า การมีสุขภาพที่ดี การเจ็บป่วยและการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของบุคคลต่างๆในสังคมที่เป็นอยู่ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่บุคคลกลุ่มต่างๆจะเข้าถึง ควบคุม แย่งชิงและดูดซับทรัพยากรได้หรือไม่และในระดับใดเท่านั้นเอง รวมถึงการมีสถาบันทางการแพทย์เพื่อเป็นหลักประกันความมีสุขภาพอนามัยที่ดีอย่างเหมาะสมเพียงพอสำหรับประชาชน  และการสร้างผลผลิตให้กับสังคมในฐานะของผู้ผลิตและผู้บริโภค และความไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับคนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและไม่สามารถกลับมาเป็นแรงงานในระบบตลาดได้ เช่น ผู้ป่วย คนชรา คนพิการ การแพทย์ได้ทำให้ความเหลือมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น สุขภาพกลายเป็นเรื่องของการต่อสู้แย่งชิง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระบบบริการสุขภาพในระบบทุนนิยมที่ไร้ประสิทธิภาพ ราคาแพง และควบคุมไม่ได้ รวมทั้งสร้างความไม่เท่าเทียมให้เกิดขึ้น การมุ่งรักษาโรคเฉียบพลันด้วยการใช้ยาและเทคโนโลยีมากกว่าการป้องกันหรือการรักษาสุขภาพให้ดีของประชาชน ดังนั้นสาเหตุของความเจ็บป่วยจึงเกิดขึ้นและสัมพันธ์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อันเนื่องมาจากระบบการผลิตแบบทุนนิยม เช่น การผลิตอุตสาหกรรมเคมีแบบเครื่องจักร และระบบสายพานอุตสาหกรรม ที่ขึ้นอยู่กับเวลา ปริมาณของผลผลิต ทำให้เกิดมลภาวะ การความเครียด ความแปลกแยกและอันตรายจากการทำงาน อีกทั้งความล้มเหลวของรัฐที่จะแก้ไข ควบคุมกิจกรรมของบริษัทหรือกลุ่มทุนข้ามชาติ  การควบคุม การผลิต การกระจายและตลาด รวมถึงการโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นเหล้าบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก  การเกิดขึ้นของความสัมพันธ์ของระบบทุนนิยมและระบบสาธารณสุขที่สร้างความต้องการทางสุขภาพ แต่ละเลยหรือมองข้ามสาเหตุที่แท้จริงของโรคทำให้เกิดความต้องการบริโภคบริการทางสุขภาพที่เป็นสินค้าเพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์ของระบบสุขภาพกับระบบทุนนิยม
โดยสรุปก็คือ แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองมองว่า สถาบันทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางธุรกิจและการตัดสินใจทางการเมืองไม่เพียงส่งผลต่อความเจ็บป่วยของบุคคลและการเข้าถึงทรัพยากรทางสุขภาพเท่านั้นแต่ยังผลิตหรือสร้างความเจ็บป่วยที่นำไปสู่ความแปดเปื้อนและความเสี่ยงอื่นๆ โดยสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพที่นำไปสู่การผลิตความเครียดที่สัมพันธ์กับการไม่ทำหน้าที่ทางกายภาพ (Physical Dyfunction) ที่ลดทอนกับการต้านทานความเจ็บป่วย ในทางตรงกันข้ามการจัดการของสังคมและชุมชนสามารถต่อสู้กับภาวะความเสี่ยงและสนับสนุนการสร้างโอกาสในการดูแลฟื้นฟูสุขภาพด้วย (Winkleman,2009:296)

2. แนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecological Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


                แนวคิดเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองเข้าใจว่าถูกใช้แรกเริ่มโดย Turshen ในบทความของเขาชื่อ The political ecological of disease ในปีค.ศ. 1997 ที่ได้วางรากฐานทางความคิดในการทำงานที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บในแทนซาเนีย ในทางตรงกันข้ามความคิดดังกล่าวถูกโต้แย้งโดย Grossman (1981) ที่บอกว่าคำว่า นิเวศวิทยาการเมืองถูกผลิตในปีค.ศ.1980 โดยสาระสำคัญของนิเวศวิทยาการเมืองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างนิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเขาต้องการหาคำตอบของคำถามว่า อะไรเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพและการเชื่อมโยงอย่างสำคัญระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตแบบพอยังชีพไปยังระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตรา ปัจจัยที่เขานำมาพิจารณาก็คือบทบาทเชิงนโยบายของอาณานิคมในการเปลี่ยนแปลงการเกษตรภายใต้กรอบความคิดแบบนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ดังนั้นจุดเน้นคือการวิเคราะห์บริบททางสังคม และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันระดับท้องถิ่น (Local) สู่ระดับโลก (Global) รวมถึงลักษณะสำคัญอื่นๆเช่น การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น ผลกระทบของนโยบายรัฐและกิจกรรมในระดับของท้องถิ่น และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมบนโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Mayer,1996:446-447)
การเกิดขึ้นของแนวคิดนิเวศวิทยากรเมืองเกิดขึ้นจากจุดอ่อนของทฤษฎีนิเวศวิทยาทางการแพทย์ ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองทางวัฒนธรรมน้อย มองประเด็นความเจ็บป่วยและทางการแพทย์ที่ติดอยู่กับแนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ เชื้อโรคที่คุกคามและเข้ามาทำลายชีวิตของมนุษย์ ทั้งที่ในความเป็นจริงมานุษยวิทยาการแพทย์ไม่สามารถหลีกหนีออกจากอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจไปได้ เนื่องจากประเด็นทางด้านการเมืองมีผลต่อการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายสุขภาพของประชาชน (Bear,Singer and Susser,1977 อ้างใน พิมพวัลย์,2555:14) เช่นการจัดการปัญหาชาวพื้นเมืองของคนอังกฤษ หากวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีนิเวศวิทยาการเมืองก็จะเห็นว่า  ชาวอังกฤษเลือกใช้แนวคิดทางสังคมแบบลัทธิดาวินนิสต์ (Socail Darwinism) ที่มองว่าตัวเองเข้มแข็ง ฉลาดกว่าและเหนือกว่า ดังนั้นพวกเขาสามารถทำความรุนแรงกับชาวพื้นเมืองได้อย่างชอบธรรม โดยมองข้ามความโหดร้ายและความไร้มนุษยธรรมของตัวเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีคิดทางด้านการปรับตัวให้ชีวิตอยู่รอดของชาวอังกฤษที่ไม่ใช่ด้านบวกแต่เป็นด้านลบเนื่องจากการปรับตัวรวมเข้ากับความเป็นชาตินิยม หรือประเด็นในเรื่องของโรคเอดส์ที่ข้อมูลวิทยาศาสตร์การแพทย์บ่งชี้ถึงความสำเร็จของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ติดเชื้อเฉพาะคน ช่วยลดการแพร่เชื้อเอชไอวีจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่กลับถูกตั้งคำถามของนักการเมืองและนักปกครองถึงความคุ้นค่าที่จะนำงบประมาณมาใช้ในด้านสาธารณสุขนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า งานทางการแพทย์และงานทางด้านสาธารณสุขไม่สามารถหลุดออกจากประเด็นทางการเมืองได้
หัวใจของแนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์เน้นย้ำและอธิบายเกี่ยวกับโรค (Disease) และตัวปัจเจกบุคคล มีเพียงแนวคิดทางด้านนิเวศวิทยาเท่านั้นที่ครอบคลุมถึงประเด็นทางชีววิทยา (Biological)และปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural Factor) ที่นำมาอธิบายเรื่องโรคภัยไข้เจ็บภายในกรอบความคิดเรื่องการกระตุ้น(Stimulas) และการตอบสนอง (Response) แต่ในขณะเดียวกัน นิเวศวิทยาการแพทย์ก็ไม่ได้เตรียมตัวกับการต่อสู้กับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่กว้างขวางเช่นความสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมที่แผ่ขยายในโลก ดังเช่น งานศึกษาของHuge and Hunter เรื่อง โรคกับการพัฒนา (Disease and Development) ในแอฟริกา โดยใช้แนวความคิดเรื่องนิเวศวิทยาและบริบทของโครงการพัฒนาในแอฟริกา ที่ชี้ให้เห็นภาวะสุขภาพของประเทศด้อยพัฒนา ภายในประเด็นทางภูมิศาสตร์การแพทย์  ความเป็นอาณานิคม เงื่อนไขทางสังคม โภชนาการ การส่งออกเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพและการเมืองของโลก (Greenberg and Park,1994:5) ดังนั้น นิเวศวิทยาการเมืองมีความสัมพันธ์กับมิติทางสังคมระดับมหาภาค(Macrosociological perspective)ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่แตกต่าง ชนชั้นและเชื่อชาติที่เฉพาะที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยที่มีผลกระทบอยู่บนเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงทรัพยากร (Michael Winkelman,2009:266)
ลักษณะที่น่าสนใจและเป็นจุดแข็งของนิเวศวิทยาการเมือง คือการรวมเอานิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับเศรษฐศาสตร์การเมืองเข้าไว้ด้วยกันภายใต้กรอบการวิเคราะห์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน  โดยความสำคัญของประเด็นเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองได้นำมาสู่การต่อสู้เคลื่อนไหวภาคประชาชนในประเด็นด้านสุขภาพ เช่นความหลากหลายทางชีวีภาพ การเคลื่อนไหวของแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก รวมทั้งการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในการอ้างถึงสิทธิในที่ดินและภูมิปัญญาในการจัดการป่า ถือเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับแนวความคิดนิเวศวิทยาการเมืองในปัจจุบัน
ื่

1.แนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาการแพทย์ ( Medical Ecological Approach) นัฐวุฒิ สิงห์กุล


แนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์มองความสัมพันธ์ของระบบสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและระบบสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการที่หลากหลายที่ใช้ในทางมานุษยวิทยาการแพทย์ในการศึกษาปัญหาสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ที่ถักทอ 3 ระเบียบวิธีการศึกษาเข้าด้วยกันคือ มานุษยวิทยา นิเวศวิทยาและการแพทย์ (McElroy and Townsend,1996:7) โดยแนวความคิดนิเวศวิทยาการแพทย์เป็นแนวความคิดที่เน้นเรื่องการปรับตัว (Conception of Adaptative) เป็นหลัก โดยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมหรือชีวิภาพในระดับปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเป็นการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด โดยระดับสุขภาพของกลุ่มคนในสังคมสะท้อให้เห็นความสัมพันธ์ทางธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของกลุ่ม ความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา พืช สัตว์  สุขภาพและอนามัยเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จของการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม โรคภัยไข้เจ็บ (disease) คือความล้มเหลวของมนุษย์ในการปรับตัว ดังนั้นสุขภาพคือเครื่องมือทางวัฒนธรรมต่อความสำเร็จในการปรับตัว ( McElroy and Townsen, 1996: p.12 อ้างในพิมพวัลย์,2545:12-13) นอกจากนี้ McElroy และ Townsend ได้กล่าวไว้ในหนังสือซึ่งพิมพ์ครั้งที่4 ชื่อ Medical Anthropology in Ecological Perspective (2004) ว่า สิ่งที่เขาเน้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการแพทย์และนิเวศวิทยา คือการอธิบายวิวัฒนาการ (Evolution) และการปรับตัว (Adaptation) ทางพันธุกรรม(Genetic) ทางกายภาพ (Physiological) ทางวัฒนธรรม (Cultural) และทางจิตวิทยา (Psychological) เข้าด้วยกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ มานุษยวิทยาการแพทย์ ได้รวมเอาเทคนิค แนวคิดและทฤษฎีของการวิจัยจาก 4 สาขาย่อยของวิชาทางมานุษยวิทยาคือ มานุษยวิทยากายภาพ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน ที่ทำให้เกิด 3 สนามหลักในมานุษยวิทยาการแพทย์ คือชีววิทยาการแพทย์ (Biomediac) ที่ศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ ชาติพันธุ์ทางการแพทย์ (Ethnomedical) ที่ศึกษาสุขภาพและการรักษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และมานุษยวิทยาประยุกต์ทางการแพทย์ (Applied Medical Anthropology) ที่นำเอาแนวคิดและวิธีการทางมานุษยวิทยาไปใช้ในงานทางการแพทย์และสาธารณสุข
แนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์ มองภาวะสุขภาพตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่วัดในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาการปรับตัวของชาว Mano ในประเทศไลบีเรีย ที่โรคมาลาเรียทำให้ผู้คนชนเผ่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมากมาเป็นเวลาตั้งแต่หลายร้อยปี โดยในตัวของชาวMano ได้มีการปรับตัวด้านชีววิทยาเกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ (Gene Mutation) มีการปรับตัวด้านเม็ดเลือดที่ทำให้สามารถป้องกันเชื้อ Plasmodium Malaria ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถถ่ายทอดทางยีนส์จากพ่อแม่ เมื่อเป็นมาลาเรียก็จะไม่ถึงกับป่วยหนักหรือเสียชีวิตเหมือนในอดีต ในขณะเดียวกันแนวคิดนิเวศวิทยาการแพทย์ยังมองถึงความซับซ้อนทางวัฒนธรรมที่มีส่วนในการกำหนดระบบสุขภาพของผู้คนในสังคม ที่เรียกว่ากลยุทธ์ปรับตัวทางวัฒนธรรมในสังคม  เช่น การพัฒนาแว่นตาของชนพื้นเมืองแถวอาร์กติกเพื่อป้องกันสายตาของพวกเขาจากแสงที่ตกกระทบน้ำแข็งและหิมะ เป็นต้น
สิ่งที่ทฤษฎีนี้ให้ความสนใจคือเรื่องของการปรับตัว (Adaptation) ที่เป็นเหมือนการเปลี่ยนแปลง (Change) และการดัดแปลง (Modification) ที่เป็นความสามารถของบุคคลหรือกลุ่มกับการดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนด ซึ่งถือเป็นแกนหลักของทฤษฎีที่สร้างสนามทางนิเวศวิทยาการแพทย์ โดยมองว่าเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่น นอกจากมนุษย์จะสามารถปรับตัวไปสู่ความหลากหลายของกลไกลทางชีววิทยา (Biological Mechanism) และยุทธศาสตร์ทางพฤติกรรม (Behavioral Strategies) แต่พวกเขายังพึ่งพาแบบแผนทางวัฒนธรรมของการปรับตัวมากกว่าสปีชี่ส์อื่นๆ มนุษย์ใช้กลไกลการปรับตัวด้านวัฒนธรรมในการผูกโยงและประสานพวกเขาเข้าด้วยกันในความพยายามกับการได้มาซึ่งอาหาร การปกป้องพวกเขาจากสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเลี้ยงดูและการฝึกสอนลูกหลานของพวกเขาในสังคม
McElroy และ Townsend (1996:24-27) ได้เสนอโมเดลของนิเวศวิทยาและสุขภาพ ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อมนุษย์สามารถที่จะแยกออกมาได้ แยกออกมาได้ 3 ส่วนคือ 1.สิ่งมีชีวิตทางกายภาพ (Physical) ที่พิจารณาจากตัวประชากรมนุษย์ (Human Population) ลงมาที่ระดับอินทรีย์ของปัจเจกบุคคล (Individual Organism) และลงมาถึงระบบเนื้อเยื่อและเซลล์ (Tissue and Cells)  2. สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic) ที่ประกอบด้วย สสารต่างๆ สภาพอากาศ และพลังงาน 3. สิ่งแวดล้อม ที่แยกออกมาเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ( The Biotic Environment) เช่น ผู้ล่า (Predator) สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย (Vector) และตัวทำให้เกิดโรค (Pathogen) และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (The Cultural Environment) ที่ประกอบด้วยอุดมการณ์ความคิด การจัดระเบียบทางสังคมและเทคโนโลยี ทั้งหมดทุกส่วนล้วนพึ่งพาระหว่างกันและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวแปรอื่นๆ

โมเดลดังกล่าวเมื่อถูกนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์กับระบบการแพทย์และสาธารณสุข จะประกอบด้วย ตัวแปรทางประชากร ปัจจัยทางด้านการถ่ายทอดพันธุ์ ภูมิต้านทางโรคและปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ ลักษณะของโรควัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคหรือพาหะนำโรค ลักษณะสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม แบบแผนทางความคิด ขนบประเพณีปัจจัยทางด้านการรับรู้และความเข้าใจ องค์กรทางสังคมและการเมือง เทคโนโลยีและการปรับตัวทางสภาพแวดล้อม ทั้งหมดจะสะท้อนความสัมพันธ์ของสุขภาพอนามัยและการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นการปรับตัวทางชีวะวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ดังกรณีของปัญหาเรื่องความเครียดที่ McElroy and Townsend (1996:239-241) ให้ความหมายต่อความเครียดว่า  เป็นกระบวนการตอบสนองของประสาทสรีระวิทยา (Neurophysiologically)ต่อสิ่งแวดล้อม(Environmental)ในการถูกคุกคามการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเครียด (Stressor) ที่มีระดับที่เข้มข้นและการคุกคามที่มากขึ้น ดังเช่นกรณีของความเครียดที่เป็นลักษณะ Acute Stress ตัวอย่าง น้ำท่วม พายุเฮอริเคนหรือสงคามกลางเมือง ซึ่งความกดดันทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะทำให้เกิดภาวะความเครียดเรื้อรัง(Chronic Stress) ได้ โดยตัวแปรทางด้านบุคคลและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับการทนทานต่อความเครียดและการจัดการความเครียด (Toterance and Cope of Stress) ดังนั้นความเครียดและการปรับตัวจึงเป็นแนวคิดที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน 

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...