วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับเพศ (Sexual story telling) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Sexual Story Telling)
          Ken Plummer ให้ความสนใจกับภาวะความทันสมัย(modernity)และแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม โดยเน้นไปที่บทบาทที่สำคัญของเรื่องเล่า คำพรรณนา(stories and narrative)ที่เกิดขึ้นในช่วงทันสมัย(modern)และทันสมัยตอนปลาย(late modern)ที่ชี้ให้เห็นบทบาทของเรื่องเล่าและวาทกรรมที่สร้างความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถี(Plumme,1995:12) ในการสร้างรูปแบบและแบบแผนเกี่ยวกับเรื่องชีวิตทางเพศ(the forms and patterns of sexual life) สภาวะที่มนุษย์เป็นมนุษย์ผู้เล่าเรื่อง(story-telling beings) ที่เรื่องราวที่เราสร้างนำไปสู่การสร้างโลกของเรา โดยเรื่องราวทางเพศ(the sexual story) ที่ถูกบอกเล่ามีความเกี่ยวข้องอย่างลึกในการเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมและการเมือง และการก้าวข้ามเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตน(self) และอัตลักษณ์(identity) ที่นำไปสู่ศักยภาพและความสามรถในการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางสังคม เรื่องราวที่หลากหลายที่ผู้คนต่างๆบอกเล่า ได้ทำหน้าที่เปิดเผย และสร้างความหลากหลายของโครงการใหม่(new project) สิทธิของประชาชนใหม่ (new constituencies) ความเป็นไปได้ใหม่สำหรับอนาคต(new possiblilities for the future) โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับหนทางที่เป็นไปได้ในชีวิตของมนุษย์(human life chances) ที่เกี่ยวกับอารมณ์และประชาธิปไตยทางเพศ (emotional and sexual democracy) ในงานของ Ken Plummer เขาใช้คำว่าพลเมืองของความผูกพัน ( Intimate citizenship) โดยมองว่ามันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความผูกพันใกล้ชิด ความปรารถนา ความพึงพอใจและวิถีทางของการดำรงอยู่ในโลกของเราในสังคมสมัยใหม่ ที่ได้สร้างให้เกิดพื้นที่ใหม่ ข้อถกเถียงใหม่และเรื่องราวใหม่ ที่ปะทะประสานทั้งการควบคุม (Control)ที่อยู่เหนือร่างกาย ความรู้สึกและความสัมพันธ์ ความสามรถในการเข้าถึง (Access) ภายใต้การเป็นตัวแทน ความสัมพันธ์และพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งทางเลือกที่ถูกจัดวางจากพื้นฐานทางสังคม (Socially grounded choice) ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ ประสบการณ์ทางเพศสภาพ(Gender experience )และประสบการณ์เชิงกามรมณ์ (Erotic experience) ที่จัดวางเกี่ยวกับเรื่องเล่าของปัจเจกบุคคลที่อาจจะบอกเล่าเกี่ยวกับความผูกพันใกล้ชิดที่เกิดขึ้น เรื่องเล่าที่จะแนะนำเกี่ยวกับชีวิตใหม่ ครอบครัวใหม่ วิถีทางของการคิดใหม่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ร่างกาย การแสดงออกและอัตลักษณ์ รวมทั้งรูปแบบใหม่ของความอีโรติก (New mode of erotic) ที่เราจะสามารถมองเห็นความหลากหลายของเรื่องเล่าในอดีตของปัจจุบัน อีกทั้งความประสานสอดคล้องกลมกลืนและความขัดแย้ง ซึ่งทุกๆเรื่องเล่าใหม่มันเป็นสิ่งที่ต่อสู้กับสิ่งเก่าอยู่ตลอดเวลา เช่นเรื่องเล่าเกี่ยวกับร่างกายใหม่ (tales of new bodies)  เป็นสิ่งที่ต่อต้านกับค่านิยมแบบจารีตและความเป็นธรรมชาติ หรือเรื่องเล่าใหม่ของเพศวิถีส่งผลให้เกิดความเคร่งเครียดอย่างเข้มข้นกับมาตรฐานดั้งเดิมของเพศวิถี เป็นต้น นี่คือการเมืองของเรื่องเล่า ( Plummer,2003:39)
            สิ่งที่น่าสนใจคือการทำความเข้าใจเพศวิถีในปัจจุบัน พวกเราจะต้องทำความเข้าใจบริบทที่มีความหลากหลายที่ซึ่งความหมาย(meaning)เป็นสิ่งที่ถูกแจกจ่ายไปยังเรื่องของความผูกพัน(intimacy)และเรื่องของกามรมณ์(Erotic)และความซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ซึ่งให้ภาพของวัฒนธรรมอีโรติกของสังคมที่แตกต่าง (Jeffrey week ,2003:6) เพศวิถีเป็นสิ่งที่ถูกจัดการและถูกทำให้เป็นเรื่องของวัฒนธรรมในวิถีทางที่แตกต่างรวมทั้งสร้างแบบแผนที่เป็นระบบให้กับความเป็นอัตวิสัยของมนุษย์ ภายใต้วิถีทางที่มนุษย์จัดการความรู้สึกของเราเองเกี่ยวกับความปรารถนา ความต้องการและการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศ สิ่งที่น่าสนใจคือ การสะท้อนเรื่องเล่าทางเพศ (Sexual Stories) ซึ่งสะท้อนให้เห็นการสร้างองค์ประธานในเรื่องเพศใหม่ (New sexual subject)
            สังคมสมัยใหม่ทำให้เกิดเรื่องราวของเพศวิถีที่มีความหลากหลาย ทั้งลักษณะของการสร้างการมณ์ด้วยตนเอง(autoeroticism)ที่สัมพันธ์กับการเติบโตของธุรกิจหนังโป๊ วีดีโอโป๊ ภาพโป๊เปลือยต่างรวมถึง sex toy การเกิดขึ้นของ cybersex ผ่านการแชท ไลน์ การสนทนาในเรื่องเพศผ่านพื้นที่ออนไลน์ การเขียนประสบการณ์ ความตื่นเต้น(excitement)และการผจญภัย(adventure)ในชีวิตทางเพศของตัวเอง รวมถึงการซื้อขายบริการทางเพศทางออนไลน์ หรือการใช้ mobile-eroticism ในกิจกรรมทางเพศเช่น เซ็กส์โฟน หรือการแชร์ภาพ กดไลค์ เขียนเล่าประสบการณ์ ส่งสติ๊กเกอร์ และแสดงอารมณ์ทางเพศวิถีผ่านพื้นที่เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมทั้งการเติบโตของเพศเชิงพาณิชย์ (commercial sex) ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตทางเพศของผู้คนในสังคม และการปฏิบัติในแง่ของความสุขเพลิดเพลิน (hedonistic)และความเร่าร้อน (passion)  ในเรื่องของเพศวิถีที่ได้สร้างประสบการณ์ทั้งที่แท้จริง (authentic)และไม่จริง(unreal) กระแสของโพสต์โมเดิร์น เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับเพศวิถีในลักษณะของการเป็นผัสสะที่ล่องลอยอย่างอิสระ(free-floating sensation) ที่สามารถจะเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงได้อย่างง่ายดายกับเรื่องราว วัตถุ สสาร ร่างกาย กิจกรรมและอารมณ์ที่หลากหลาย (Bauman 1991:26) สิ่งเหล่านี้ได้สร้างให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆและเรื่องเล่าใหม่ๆในวิถีชีวิตของผู้คนเกี่ยวกับเรื่องของเพศวิถี ที่มีทางเลือก(choice) ความหลากหลาย(variety) ภาวะชั่วคราว(transient) ที่นำไปสู่ความพึงพอใจที่สามารถเกิดขึ้นได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา (renewable pleasure)
            เรื่องเล่าสมัยใหม่เกี่ยวกับเพศวิถี (Modern narrative of sexuality) ที่อยู่บนความเป็นเหตุเป็นผล (causal) ความต่อเนื่องเป็นเส้นตรง (linear) ที่สร้างเรื่องของเซ็กส์เช่นเดียวกับประเภทของความจริงที่ชัดเจนที่แน่นอนตายตัวและรอการค้นพบ  (Plummer,1995:132) แต่สำหรับเรื่องเล่าแบบโพสต์โมเดิร์น (Postmodern narrative)  เรื่องของเพศวิถีถูกเชื่อมโยงสัมพันธ์กับความไม่แน่นอน (uncertainly) มากกว่า มีลักษณะของการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (variable)และเป็นวิถีทางของการสำนึกรู้ด้วยตัวเอง (self-conscious way) ซึ่งพึ่งพาอยู่บนการหยิบยืม (borrowing ) จากสื่อต่าง (Mass media) ที่แสดงออกมาอย่างหลากหลายผ่านสื่อและวิธีการสื่อสารรูปแบบต่าง

            เรื่องเล่าได้กลายเป็นสิ่งที่คลุมเครือไม่ชัดเจน (blur) ระหว่างความเป็นเรื่องจริง (fact) กับเรื่องแต่ง (fiction) ความเป็นส่วนตัว (private) กับสาธารณะ (public) และระหว่างของจริง(the real) กับภาพตัวแทน (the representation) ที่ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนหรือแยกกันได้อย่างเด็ดขาด (Plummer,1995:137) ภายใต้สภาวะของความยุ่งเหยิงและสับสนของเรื่องเล่า ที่เกิดขึ้นในมิติของพื้นที่ เวลา ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เครือข่ายทางสังคม ความผูกพันใกล้ชิด และความสัมพันธ์ระหว่างความจริงกับภาพตัวแทน (Plummer,1995:161) ซึ่งเชื่อมโยงความเป็นปัจเจกของบุคคลที่เพิ่มขึ้นในสังคมปัจจุบันผ่านการเชื่อมโยงเพศวิถีแบบพลาสติก (plastic sexuality) ได้ชื้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลไปมาของอัตลักษณ์(Gidden,1992:58) ซึ่งเรื่องของเซ็กส์กลายเป็นคำถามที่เกี่ยวกับข้องกับความปรารถนาของปัจเจกบุคคล (individual desire) ความเป็นฉากหรือตอนคล้ายบทละคร(episode)และเป็นเรื่องเล่าของตัวเอง (self-narration) โดยเพศวิถีไม่มีจุดศูนย์กลาง(discentered) ไม่อยู่กับที่ (dislocated) ที่ทำให้มีสถานะที่ไม่มั่นคงของความหมายทางสังคมและบุคคล (social and personal meaning)


อ้างอิง
Plummer,Ken. (1995). Telling Sexual Storries, Power,Change and Social Worlds.London : Routedge.
 Plummer,Ken.    (2003). Intimate Citizenship. University of Washington Press.pp.192.
Week ,Jeffrey (2003). Sexualities and Society A reader .UK : Polity Press.

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...