วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตเอ็นจีโอ(1)


 ยื่นหนังสือ ล่าลายเซ็น การศึกษาดูงานกรณีปัญหา บ่อนอก หินกูด น้ำพอง
วิธีการต่างๆในการเคลื่อนไหวต่อสู้และต่อรองกับอำนาจ มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือ การล่ารายชื่อชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆรอบโครงการเพื่อแสดงการคัดค้าน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดมนการเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชน ไปจนถึงการชุมนุมเรียกร้อง เพี่อต่อรองกับรัฐบาล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งในหลายกรณีนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตาม ตรวจสอบปัญหา ร่วมกับทางหน่วยงานราชการ รัฐบาล อย่างกรณีปากมูลมีคณะกรรมการเป็นร้อยชุด อย่างกรณีเหมืองแร่โปแตชก็มี10-20 ชุด ซึ่งการตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมอาจจะไม่ใช่หนทางที่นำไปสู่ข้อยุติ แต่ก็เป็นเสมือนกับเครื่องถ่วงดุล ตรวจสอบอำนาจและทำให้การเกิดขึ้นของโครงการชะงักงัน หรือเลื่อนออกไป การเกิดขึ้นของคณะทำงานศึกษาในกรณีปัญหา เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอและนับรู้ปัญหา
ดังเช่นตอนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานและประสานกับทางจังหวัด กับชาวบ้านเรื่องกำหนดการประชุม ได้เห็นความตื่นตัวของชาวบ้าน เมื่อหลังจากได้เข้ารับฟังและร่วมประชุมแล้ว ก็จะจัดประชุมในหมู่บ้าน เพื่อรายงานให้พี่น้องทราบความคืบหน้าในอีกด้านหนึ่งก็เป็นเครื่องยืนยันสถานะตำแหน่งและการทำบทบาทหน้าที่ของตนเองในคณะกรรมการชุดนั้น และสะท้อนให้เห็นการตื่นตัวของการเมืองภาคประชาชนในระดับรากหญ้า แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของคณะกรรมการอย่างกรณีเหมืองแร่โปแตช นำไปสู่การตรวจสอบในเชิงของนโยบาย ในระดับประเทศ เช่นเรื่องของกฎหมายแร่ การจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญปี2540 พรบ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือแม้แต่สัญญาที่บริษัทข้ามชาติได้ทำกับรัฐบาลไทย ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น
 แม้ว่า กฎหมายแร่จะผ่านแต่บริษัทก็ต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ตามกฎหมายแร่ใหม่และรัฐธรรมนูญปี2540 ที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการต่อสู้ผลักดันของประชาชนในระดับรากหญ้าทั้งสิ้น ซึ่งต้องผ่านการยื่นหนังสือ การชุมนุมประท้วง เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง และสะท้อนเสียงเหล่านี้ให้รัฐบาลได้ยินและลงมาดูแลและสั่งการตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่สิ่งที่สะท้อนได้ชัดก็คือแม้ว่าประชาชนจะสามารถสะท้อนเสียงตนเองไปยังผู้มีอำนาจและสร้างอำนาจในการต่อรองให้เกิดขึ้น แต่ชัยชนะที่เกิดเป็นชัยชนะในระดับแรกเริ่มเท่านั้น ยังไม่ใช่ชัยชนะในระดับปลายสุด ที่จะสามารถนำไปสู่การล้มเลิกโครงการ แม้แต่องค์กรอิสระต่างๆก็ไม่อาจอยู่ข้างประชาชนบนฐานของความถูกต้องชอบธรรมตามความต้องการของมนุษย์ตามธรรมชาติที่อยากจะให้เป็น แต่เป็นการตัดสินโดยอ้างเหตุผลตามตัวบทกฎหมาย
ในกรณีของโครงการเหมืองแร่โปแตช แม้จะมีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายแร่ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ในเรื่องของแดนกรรมสิทธิ์ การจำกัดสิทธิ์และลิดรอนเสรีภาพของประชาชน แต่ท้ายที่สุดก็กลับตัดสินว่ากฎหมายแร่ดังกล่าวไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือในตัวอย่างเรื่องสัญญา ตัวสัญญาก็ไม่ได้มีการยกเลิกเพียงแต่ให้บริษัททรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าโครงการเหมืองแร่โปแตชยังเป็นหนังเรื่องยาวที่ชาวบ้านจะต้องต่อสู้กับอำนาจการตัดสินใจภายใต้เงาของรัฐบาลและกลุ่มทุนข้ามชาติที่จะเข้ามากอบโกยทรัพยากรใต้พื้นดินอีสาน เพราะประชาชนยังไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหรือตัดสินอนาคตของตนเองที่แท้จริงแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...