วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ชีวิตเอ็นจีโอ(5)


ธงเขียว ขึ้นป้าย พื้นที่ของพรมแดนแห่งการสร้างความเป็นอื่น คู่ตรงกันข้าม
       ธงเขียวสีใบตองอ่อนคือสัญลักษณ์ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำได้ว่า สัญลักษณ์ของกลุ่มพี่สุวิทย์ให้น้องที่รู้จักเป็นคนออกแบบ เพราะจะต้องใช้ครั้งแรกในช่วงของบุญกุ้มข้าวใหญ่ครั้งที่1 เพราะจ้ะองระดมทุนเพื่อการเคลื่อนไหว การทำผ้าป่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งในซองผ้าป่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าวใหญ่ ผู้เขียนเป็นคนเรียบเรียงข้อความ และเขียนสโลแกนในซองผ้าป่าว่า ข้าวคือชีวิต คือวิถีชีวิตเกษตรกรรม ต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องเกลือเข้าไป
นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าว ความสำคัญของวิถีชีวิตชาวนาที่สัมพันธ์กับเรื่องของที่ดิน ผลกระทบจากโครงการขุดเจาะเกลือและโพแทชที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตการเกษตร การทำบุญกุ้มข้าว นอกจากจะเป็นการรื้อฟื้นและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ต้องการสร้างความสามัคคีการร่วมกันเสียสละข้าวเปลือกแล้ว ยังเพื่อใช้ในงานบุญของวัดและ ของหมู่บ้าน และส่วนหนึ่งทางวัดก็จะขายเป็นเงินเพื่อนำไปพัฒนาวัดและหมู่บ้านต่อไป โลโก้รูปข้าว น้ำและปลาที่แสดงถึงกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี  จึงเป็นสิ่งที่จะต้องถูกประทับไว้ในซอง ก่อนที่ในปีต่อๆมารูปแบบโลโก้จะเปลี่ยนไปและไม่ได้ใช้ตราประทับแต่พิมพ์ไว้ในแผ่นพับที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ของบุญกุ้มช้าว และรายชื่อของเจ้าภาพผ้าป่า จากหมู่บ้านต่างๆ สัญลักษณ์ของกลุ่มดังกล่าวปรากฏผ่านธงเขียวที่จะติดไว้ที่หน้าบ้านของแต่ละคนใน หมู่บ้านต่างๆที่เข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
        นอกจากนี้ ยังมีการเขียนป้ายโดยผมกับน้องที่เป็นนักพัฒนาเอกชนในองค์กรเดียวกัน และกลุ่มเยาวชน ที่ไปขอผ้าฝ้ายดิบที่ไม่ใช้แล้วจากวัด ซื้อพู่กันและสีเอามาเขียนป้าย โดยคิดคำต่างๆที่ง่ายๆ กินใจ  และรุนแรง เช่น โปแตชมาปูปลาตายหมด โปแตชออกไปจากชุมชน  เราไม่เอาเหมืองแร่โปแตช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...