วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

เรียนมหาวิทยาลัย(10)


พวกเราจะจะมีกิจกรรมร่วมกันตอนเช้าที่ศาลากลางหมู่บ้าน หลังจากแยกไปพักผ่อนตามบ้านของชาวบ้าน โดยจะมีอาหารให้เราเป็นถุง ประกอบด้วยกะหล่ำปลี ปลากระป๋อง วุ้นเส้น หอม กระทียม ไข่ ส่วนเครื่องปรุงซื้อเองตามร้านค้า อาหารนี้จะอยู่ได้ประมาณ3 วันจึงจะได้รับแจกอีกครั้ง เราไปออกค่ายกันประมาณ 7-9 วัน ในกระบวนการค่ายนอกจากการทำหน้าที่ในโครงงานต่างๆ ยังให้พวกเรามีการเขียนเฟรนด์ชิ๊ปให้กัน ทั้งให้กำลังใจ แซวกันหรือท้วงติงในพฤติกรรมของกันและกัน วันสุดท้ายเราจะมีการให้เราหยุดพักเรียนรู้ชีวิตกับชาวบ้าน เข้าป่า เที่ยวธรรมชาติ ตอนกลางคืนก็จะเป็นช่วงเปิดใจกัน ว่าใครเป็นยังไงในค่ายนี้ พูดกันตรงๆไม่มีโกรธกัน อะไรที่ดีไม่ดีเราก็บอกกันตามแบบพี่กับน้อง
ค่ายที่สองคือค่ายที่บ้านฟ้าประทาน บ้านสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เมื่อเราเดินทางไปที่อำเภอสังคมตามถนนมิตรภาพ เข้าไปที่แยกอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ เพื่อเข้าไปสู่อำเภอสังคม ที่จริงเรามีการสำรวจพื้นที่กันมาก่อน โดยวิธีการโบกรถไปเป็นสาย ผมจำได้ว่าผมไปสำรวจที่แรกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ที่อำเภอกุดบาก ซึ่งเป็นหมู่บ้านกันดาร สุดท้ายเมื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมก็ต้องตัดออกเนื่องจากไม่มีส้วม ส่วนทีมหนึ่งเสนอที่หนองคาย และได้ที่นี่เป็นพื้นที่ออกค่าย ผมและเพื่อนๆในคณะกรรมการชนพ.จึงต้องไปสำรวจอีกครั้งหนึ่ง พวกเราโบกรถไปเรื่อย จนใกล้ถึงหมู่บ้าน เราก็แวะซื้อกล้วย หน่อไม้ป่าและอาหารที่บริเวณน้ำตก เข้าไปกินในหมู่บ้าน วันนั้นโชคดีมีรถกระบะเข้าไปส่งเราที่หมู่บ้าน เนื่องจากเราบอกว่าเราเป็นนักศึกษาเข้ามาสำรวจหมู่บานเพื่อออกค่ายพัฒนา เขาจึงอาสามาส่ง ระหว่างทางเราเห็นแม่น้ำโขง และการปลูกกล้วยน้ำหว้าที่มีมากเหลือเกิน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของบ้านสังคม เรามาถึงหมู่บ้านคุยกับชาวบ้านและนอนพักกันที่วัด
ค่ายที่บ้านสังคม โครงงานต่างๆยังคงได้งบประมาณเหมือนเดิม แต่โครงงานพัฒนาได้น้อยลงเนื่องจากต้องเน้นที่ค่ายความคิดมากกว่าค่ายสร้าง แต่ก็ยังมีงบพอให้พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผมมีโอกาสได้เป็นหัวหน้าโครงงานศึกษา ซื้ออุปกรณ์การสอน แผนที่ สี ดินสอ สมุด ขอรับบริจาคหนังสือจากเพื่อนๆในหอต่างๆ และหาซื้อวัสดุจำพวกกระดาษสี กระดาษชาร์ต ลวดและกาว สำหรับทำโมบายแขวน ตอนเราไปถึงชาวบ้านเด็กๆมารอต้อนรับที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีดอกไม้สวยๆมามอบให้เราชาวนักศึกษาทุกคนที่ลงจากรถ จากนั้นเราก็มาจัดการแบ่งบ้านที่จะกระจายกันอยู่บ้านละ 3-4 คน เพื่อจะได้แจกถุงของกินให้ไปยังชีพในช่วงที่อยู่กับชาวบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...