วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองกับการจัดการพื้นที่บนฐานของความจริง?(5)


ลักษณะส่วนใหญ่ของพื้นที่รอบหนองหานกุมภวาปีเป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว มีลำห้วย หนองน้ำธรรมชาติ เช่น หนองหานกุมภวาปี ห้วยสามพาด ห้วยหิน ห้วยเก้าต่า ห้วยโพนไพร ห้วยน้ำเค็ม และอื่นๆ มีหนองน้ำสาธารณะของแต่ละหมู่บ้านสำหรับอุปโภคบริโภคและเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยโคกป่าสำหรับใช้ประโยชน์ ตัดฟืน เก็บเห็ด ไข่มดแดง ครั่งและหาของป่า แม้ว่าทรัพยากรดังกล่าวจะลดลง เนื่องจากการขยายพื้นที่ของการเพาะปลูกและสร้างที่อยู่อาศัย พื้นที่เหล่านี้จึงเป็นพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ ที่มีการจัดการนำเอา ป่าไม้ น้ำและแร่ธาตุขึ้นมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่บริเวณนี้ โดยมีคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ถึงการอพยพตั้งถิ่นฐานและการปะทะกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้การพัฒนาต่างๆในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมธรรมชาติไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมแบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ ว่า
หลังจากคนช่วงแรกได้เข้ามาอยู่ 15 ปี ก็มีการย้ายจากมหาสารคาม ตอนนั้นมีประมาณ 70 ครัวเรือน ตอนแม่มาก็ชื่อหมู่บ้านโนนสมบูรณ์แล้ว  ตั้งบ้านเรือนปี พ.. 2490 ตอนแรกมีครัวเรือน 30 ครัวเรือน มาจากบ้านงัวบา มหาสารคาม เลือดวาปีปทุม  อยู่ทางโน้นมันแห้งแล้ง ทำนาปลุกข้าว 3 ปีแล้ง 7 ปี พอได้ข้าวใส่เล้า ก็ขึ้นมาบ้านนี้เลย เอารถตัวไทยไม้มีห้อง บรรทุกเกวียนมา มากันประมาณ 6 ครัวเรือนที่มาด้วยกันกับแม่ พ่อมาดูบ้านใหม่ มาพบบ้านโนนสมบูรณ์ก็เลยขอซื้อ นาพ่อเนียม ชานนท์  ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านในราคา 10,000 บาท ช่วงนั้นใช้ไฟตะเกียง ไม้ตะบอง นาเมื่อก่อน 50 ไร่ มีแต่ไม่หลาย ติดบริเวณบ้านสังคม พ่อใหญ่เต้ นามสกุลดาวเรือง พ่อปู่ทหารบุญ พ่อปู่จ้ำสิงห์  เป็นคนมาตั้งบ้านเรือนก่อนแรกๆ[1]
 “ย้ายมารุ่นที่สาม ประมาณปี 2490 แม่ตัน วงษ์ใสษา อยู่บ้านหนองล่าม มาก่อนแม่ 2 ปี มากับครอบครัว แม่สม แม่บัว แม่ใหญ่จูม แม่กว้าง  พ่อบัวผัน แม่เผ้า แม่เป็นคนบ้านกอก มหาสารคาม  ตำบลบ้านเขื่อนใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม คนบ้านโนนสมบูรณ์อพยพมาจากบ้านหนองล่าม บ้านนหนองงัวบา บ้านกอก มาจาก 3 บ้านนี้หลายกว่า บ้านกอกสารคาม ต่อเขตขอนแก่น ย้ายมาเพราะน้ำท่วม พอทำเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนน้ำพอง เลยไม่ท่วม  สาเหตุที่ย้ายเพราะ มีไทบ้าน เทียวกันมาอยู่ก่อน ตอนนั้นเพิ่นเลยย้ายไปอยู่ทางกุดดินจี่  หนองบัวลำภู สมัยแต่ก่อนเป็นป่า ย่าซื้อที่ดินเขา  เมื่อก่อนเป็น บท.6 ปัจจุบันเป็นฉโนด นส3.หมดแล้ว  ซื้อ1,000 บาท ทั้งหมด 20 ไร่ เป็นป่าเกือบทั้งหมด ตอนแรกมีบ้านประมาณ  50 ครัวเรือน เมื่อก่อนบ้านอีทุย และบ้านโนนสมบูรณ์อยู่ด้วยกัน  เพราะอยู่ใกล้กัน ต่อมาบ้านอีทุยก็ขยับขยายออกไปมากขึ้น  มีวัดเป็นของตนเอง บ้านป่าก้าว เป็นบ้านน้อย ใช้วัดกับบ้านหนองแวง บ้านตั้งมาพร้อมๆกัน เมื่อก่อนก็บ้านโคกสง่า สะอาดนามูล ดงหมากไฟ บ้านโป่งคอมวังแสง  บ้านป่าจิกเหี่ยนโนนแสวง ส่วนบ้านอีทุย บ้านป่าก้าว เกิดขึ้นช่วงหลัง[2]
 “ปี2484 ตังบ้านโนนสมบูรณ์ขึ้น พอปี2485 คนก็อพยพเข้ามามากขึ้น ในบริเวณนี้บ้านไผ่ บ้านหนองตะไกร้เกิดก่อน เมื่อก่อนบ้านโนนสมบูรณ์ เป็นหมู่ที่25 อยู่ตำบลอุ่มจาน  พวกพ่อมาจากบรบือ  สาเหตุที่อพยพ ข้าวบ่งาม บ่มีเขื่อน อึดข้าวอึดน้ำ เลยมาเบิ่งหาบ้านใหม่ มาเจาะโคกเจาะดง มาจับจองแถวโรงเรียนบ้านห้วยสามพาด ส่วนอีกพวกหนึ่งมาจากโกสุมพิสัย หนีน้ำท่วม น้ำชี มันเป็นทาม ตอนนั้นยังบ่ไดสร้างเขือนอุบลรัตน์..พ่อทหารบุญ อ้อมนอ พ่อสิงห์ คำจันทร์ พ่อเนียม ชานนท์ พ่อผ่าน ดาวเรือง เข้ามาช่วงแรกๆ ต่อมาก็อพยพมาหลายรุ่น...”[3]
การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรในชุมชนเกิดจากกระแสการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่ง โดยการทำรางรถไฟ เพื่อใช้ในการขนถ่ายสินค้าและการเชื่อมต่อระหว่างเมืองและภาคต่างๆ รวมถึงยุทธโธปกรณ์ทางการทหารในสมัยสงครามเวียดนาม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ค่ายเปปเปอร์ไกรเดอร์ ค่ายรามสูร ที่เป็นฐานทัพให้กับอเมริกันในสมัยสงครามเวียดนาม รวมถึงการสร้างถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่คนอุดรธานี และประเทศไทยได้รับจากการเป็นพันธมิตรของสหรัฐ เพื่อสกัดกั้นภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์  ดังที่ชาวบ้านในชุมชนต่างๆเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานว่า
การตั้งบ้านไม่ชัดเมื่อใด พ่อเข้ามาทีแรก พ.. 2493 แต่ก่อนเป็นบ้านวังแสง ผู้ใหญ่บุญมา  เป็นตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเงินเดือน เป็นได้ 30 ปี ต่อมาก็เป็นพ่อบุญธรรม วัยวรณ์คือตัวพ่อ เป็นลูกชายและผู้ใหญ่บ้านต่อ จนปลดเกษียณ 60 ปี เป็นตั้งแต่อายุ 20 กว่าปี แต่ก่อนเรียกว่าบ้านหนองจิก  มาเป็นโป่งคอม เรียกว่าบ้านหนองจิก-โป่งคอม  มันเป็นโป่งมีคอมอยู่นั้น ต้นหมากคอม  โป่ง คือดินเค็ม เกลือ แต่ก่อนเป็นป่าหลาย ป่าจิก ป่ารัง ป่ากรุง แต่พ่อมาแรกๆ มี 40 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นคนมาจากร้อยเอ็ด แต่พ่อเป็นคนกุมภวาปี[4]
แต่ก่อนเป็นทับฟืน เขามาตั้งทับตัดฟืน ทำไม้หมอนรางรถไฟ ต่อมาก็มีคนมาอยู่ แต่ก่อนมีแต่ป่าก้าว บ้านอีทุยกับบ้านป่าก้าว เกิดมาพร้อมๆกัน แต่ก่อนยังไม่มาอยู่เพิ่ม มาตั้งทับฟืน บ้านอีทุย มีแค่ 3-4 หลัง ต่อมาก็เริ่มใหญ่ขึ้น ก็ตั้งพร้อมๆกันกับบ้านป่าก้าว คนที่มาตัดฟืนก็มาทำบ้านเรือนน้อยอยู่ แรกๆมีแค่สามหลัง แม่อยู่ทางกาฬสินธุ์ คนมาจากเมืองพลก็มีบ้านนี้ แต่ก่อนมีแต่ป่าก้าว ป่าหวายมั่ง คนมาตัดฟืนรับจ้างตัดฟืนก็มาตั้งถิ่นฐานเรื่อยๆ...”[5]            
พ่อใหญ่ยาว พ่อใหญ่ปี อพยพมาปี พ.. 2494 พ่อจูม  นิคำ พ่อยาว นิมาลา พ่อใหญ่ชาย แสงโทโป มาตั้งบ้านอยู่ก่อน มีขอนไม้ ป่าหวาย ป่าเพ็ก ป่ากรุง แต่ก่อนเป็นป่ารก มีหมี แต่ก่อนเลยเรียกบ้านโนนหรือดอนหมี ต่อมาเลยเปลี่ยนมาเป็นบ้านสังคม คุ้มเอะอะ...”[6]          
บ้านตั้งปี 2490 ผู้ใหญ่คนแรกนายจันทร์ บาริศรี คนที่สอง นายประวรณ์ สุวรรณศรี คนที่มาตั้งบ้านอีทุยคือ นายนา โคตรตระมา นายทน จันทรพิทักษ์ นายชาย แสนนำพล แต่ก่อนใช้กับหมู่บ้านโนนสมบูรณ์ ชาวบ้านอพยพมาจากบ้านพังทุย จังหวัดมหาสารคาม พ่อดร มาอยู่ พ.. 2505 แต่ก่อนบ้านโนนสมบูรณ์ อยู่ตำบลอุ่มจาน[7]
ประวัติบ้านหนองแวงเหนือ เฒ่าคำมี เฒ่าอุ้ย เฒ่าทอน มาตั้งก่อนเฮือนอื่นๆ เข้าอยู่ตายเกือบหมด เหลืออยู่แค่สามคน เพราะแต่ก่อนมีดงช้าง ดงม้า ฟันต้นไม้ต้นหนึ่งก็ตาย มาจากบ้านฝาง ก็มาอยู่กุมภวาปี เห็นหมู่เขาถางทาง  รถไฟก็มาถึงนี่ มาอยู่นี่ แม่อายุ 80 ปี มาอยู่ตั้งแต่อายุ 11 ปี มีแต่ป่าเปือย ป่าแดง ป่ายาง  ต้นใหญ่ ชาวบ้านตัดทำบ้านเรือน ทำไม้หมอนรางรถไฟ คนมาอยู่ทีหลังได้เห็นอยู่  มันมีหนองและมีป่าแวง หนองน้ำก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมันเป็นภูมิ ก็คือหนองแวง ปัจจุบัน  ทำเป็นบ่อน้ำสาธารณะประโยชน์ก็ทำดอนปู่ตา มี 24 ไร่อยู่กลางป่า  มีดอนปู่ตา ติดวัดสร้างใหม่ ประมาณ 50 ไร่  ป่าไม่ให้ตัด เป็นป่าอนุรักษ์ของชาวบ้าน ผู้ใดตัดก็ปวดหัว เจ็บท้องตาย ต้องเอาไปปลูกแทน ทุกวันนี้ไปตัดไม้ก็ให้อยู่แต่ต้องขออนุญาตเอา ขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปู่ในป่า คล้ายๆ คำชะโนด ทุกวันนี้ก็ไปเลี้ยงไก่เลี้ยงหมู ดอนปู่ตา เลี้ยงเดือน เดือนหก ตอนมาอยู่ยังไม่มีไฟฟ้า ใช้แต่ตะบอง แถวนี้มีแต่กระดุกคน แต่ก่อนผู้ใด๋ไปไม่ไหว ก็เอาเรือนทับ เฮือนฟากเรือนไม้ไผ่เอาไปไม่ไหว ต้องออกจากหมู่บ้านนี้ไปตั้งหมู่บ้านแพงกับสร้างก่อ อ.โพนพิสัย และบ้านสวนพลู เขาไปได้ทำนาเขาก็ไป อยู่ตรงนี้มีคนจากหลายแห่งมาอยู่ร่วมกัน แต่ก่อนช่วงแรกๆอยู่เฉยๆ ไม่มีผู้นำ ใช้ฟังความกัน โจรขโมยก็ไม่มี บ้านโนนสมบูรณ์ ก็มีหมู่บ้านอยู่โรงเรียนโนนสมบูรณ์ปัจจุบัน เรียกกันว่า บ้านโสกหมีหรือโนนกระติ๊บ ก็อพยพออกไปทางบ้านโนนสมบูรณ์ สังคมปัจจุบัน บ้านหนองแวงเหนือมีอยู่ก่อนบ้านโนนสมบูรณ์  แต่บ้านโนนสมบูรณ์มีบ้านคนหลายกว่า แต่ก่อนก็มีลำห้วยหินนี้ผ่านหมู่บ้าน  มีป่าจิก ดอกกระเจียว หมากส้มมอ มีอยู่มากตามบ้านคน  และมีหมาจิ้งจอกมากด้วย แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วมันกลัวคน ไฟฟ้าก็เข้ามาประมาณปี 2526  แต่ก่อนปลูกผัก เก็บผักก็เอาไปขายตลาดบ้านห้วยสามพาด กับบ้านหนองตะไกร้ แต่ก่อนบ้านหนองตะไกร้มีโรงเรื่อย พ่อก็ไปขับรถบรรทุกไม้ ตั้งแต่ภูทอก บ้านทับกุง มีแต่ไม้เกือบทั้งนั้น[8]
ปี2496 บ้านโคกสี ตั้งมาตั้งแต่ก่อน คนที่นี่เป็นคนบ้านไผ่ ขอนแก่นและ   บรบือจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่มาจากขอนแก่น เกิดมาพร้อมๆกับบ้านโคกสง่า วังแสง  แต่ก่อนมี 30 หลังคาเรือน แต่แห้งแล้ง ไม่มีน้ำใช้ บ้านโคกสง่าเขาเจาะน้ำออก จึงเหลือประมาณ 17 ครัวเรือน พื้นที่ตั้งบ้านประมาณ 20 กว่าไร่ นับตั้งแต่ห้วยมาสุดหนทาง มีโฉนด แต่ก่อนเป็นป่าทั้งหมด มีป่าจิก ป่าหวาย เจาะถนนหนทางเข้าไปถนนใหญ่ มีแต่ห้วยวังแสง มีป่าโคก ผีป่าช้า หาเก็บเห็ด ฟืนเขาห้ามตัดเพราะมันหมด เหลือแต่ต้นน้อย พ่อชาดา สุมิงเกษตร เป็นคนตั้งชื่อบ้านโคกสี ใช้วัดกับบ้านโคกสง่า และผู้ใหญ่บ้านกับโคกสง่า ไฟฟ้าเข้ามาปี2535 ประปาเข้ามาปี2540”[9]
นายคำปิ คำมี เข้ามาก่อนหมู่ เป็นคนมหาสารคาม สมัยนั้นเป็นป่ามีไข้มาเลเรียก็หลาย เหมือนมาเจาะดงอยู่ ก็เลยเคลื่อนไปอยู่ห้วยสามพาดมีประมาณ 30 หลังคาเรือน คนตายหลาย ไม่มีหมอยา มีบ้านหนองแวง ชื่อมาจากหนองน้ำ มาตั้งนี่ ตอนแรกเป็นบ้านดงลิง เพราะลิงมันหลาย ป่าช้าง ป่าเสือ ต่อมาเห็นหนองก็เลยตั้งบ้านหนองแวง ตั้งก่อนหมู่เลย ก็เลยเอาบ้านนี้เป็นหลัก พอแยกตำบลห้วยสามพาด ก็เอาผู้ใหญ่เต้ ดาวเรือง แยกออกจากตำบลอุ่มจาน ก็กำนัน พินิจ จันทรเสนา[10]
บ้านโนนทรายฟอง เดิมเรียกว่า ดอนคอกควาย คำว่าทรายมาจากผู้ตั้งหมู่บ้าน พ่อใหญ่ทราย  แต่คำว่าฟองไม่รู้ว่ามาจากไหน ไม่ทราบที่มา แต่เดิมชาวบ้านโคกสำราญ ทุ่งยั้ง ดอนยาง เดินต้อนวัว ต้อนควาย มาที่ดอนนี้ เพื่อหนีจากโรคห่าและถากถางจับจองพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย ตอนแรกมีไม่ถึง 20 หลังคาเรือน เป็นพื้นที่ป่า ชาวบ้านไล่ล่าหาสัตว์ พวกกระต่าย บริเวณบ้าน โฉนดที่ดินเป็นภบท.5 ไม่มีโฉนด คนมาอยู่เริ่มแรกเป็นคนมาจากจังหวัดนครราชสีมา เอาวัวเอาควายมาลงที่โนนนี่[11]


[1]  สัมภาษณ์แม่บุญล้อม อ้อมนอก อายุ 56 ปี ชาวบ้านโนนสมบูรณ์ 14 สิงหาคม 2546
[2] สัมภาษณ์แม่สา ดวงปาโคตร  อายุ 73 ปี ชาวบ้านโนนสมบูรณ์
[3] สัมภาษณ์พ่อบุญมา บาริศรี 3 ธันวาคม 2549
[4] สัมภาษณ์พ่อบุญธรรม วัยวรณ์ อายุ 80 ปี บ้านวังแสง
[5]สัมภาษณ์แม่ผม ชาวบ้านป่าก้าว
[6] สัมภาษณ์แม่มณี บุญรอด อบต.บ้านสังคม หมู่ที่11
[7] สัมภาษณ์พ่ออุดร สุวรรณศรี บ้านหนองแวงเหนือ
[8] สัมภาษณ์แม่สม พูดเพราะ อายุ 80 ปี ชาวบ้านหนองแวงเหนือ
[9] สัมภาษณ์พี่หนูเพียร โคชารี ชาวบ้านโคกสี
[10] สัมภาษณ์นายคำปิ คำมี ชาวบ้านบ้านหนองแวงเหนือ
[11]  สัมภาษณ์อบต.บุญมี ราชพลแสน ชาวบ้านโทรายฟอง วันที่ 20 ตุลาคม 2545

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...