วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ผังเมืองกับการจัดการพื้นที่บนฐานของความจริง?(2)

พื้นที่จังหวัดอุดรธานีอยู่ในเขตลุ่มน้ำใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ 1)ลุ่มน้ำชี  บริเวณต้นน้ำพองและต้นน้ำชี ในพื้นที่เขต อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ และอำเภอวังสามหมอ ซึ่งบริเวณนี้จะมีลำห้วยสาขาของลำน้ำปาวซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากหนองหานน้อย และลำน้ำพอง สำน้ำสาขาที่สำคัญ คือห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้อง ห้วยไพจาน ลำพันชาด และลำปาว และ2)ลุ่มน้ำโขง ในเขตพื้นทีอำเภอเมือง อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอนายูง อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน กิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอไชยวาน และอำเภอทุ่งฝน ซึ่งบริเวณนี้มีลำห้วยที่สำคัญคือห้วยหลวง ห้วยน้ำโสม ห้วยน้ำสวยและแม่น้ำสงคราม
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น สลับที่นา มีที่ราบลุ่มบางส่วนเป็นเนินเตี้ย บางแห่งมีเทือกเขาสูงสลับ มีลำน้ำสำคัญหลายสาย ที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเนื่องจากมีแม่น้ำหลายไหลผ่าน บางแห่งถูกพัฒนาภายใต้ระบบชลประทาน โครงการสำคัญเช่นโครงการโขง ชีมูล ฝายและเขื่อนที่สำคัญในจังหวัดอุดรธานีคือ ฝายกุมภวาปีและเขื่อนห้วยหลวง
อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้คือ
ทิศเหนือ  จดเขตอำเภอท่าบ่อ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย ของจังหวัดหนองคาย มีลำห้วยทวน ลำห้วยสวย ลำห้วยหลวง และลำห้วยเจียมกั้นเป็นเขต
ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอวานรนิวาส อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอวาริชภูมิของจังหวัดสกลนคร มีลำน้ำสงคราม ห้วยพันชาติ ภูเขาเหล็กกั้นเป็นเขต
ทิศใต้ จดเขตอำเภอน้ำพอง อำเภอเวียงของจังหวัดขอนแก่น มีลำน้ำพองกั้นเป็นเขต และจดเขตอำเภอ สหัสขันธ์ของจังหวัดมหาสารคาม มีลำปาวกั้นเป็นเขต
ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอเชียงคาน อำเภอวังสะพุง ของจังหวัดเลย มีภูเขาฟ้า ภูเขาหลวงและหนองไผ่กั้นเป็นเขต และจังหวัดหนองบัวลำภู
สำหรับพื้นที่โดยรอบโครงการโครงการเหมืองแร่โพแทชอุดรธานี มีหมู่บ้านรอบโครงการทั้งสิ้น 63 หมู่บ้าน 4 อำเภอ และ1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอหนองแสง  และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม[1]  โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมืองและกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม เป็นพื้นที่หลักในโครงการเหมืองแร่โพแทชอุดรธานี  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงงานและอยู่ในเขตของการขุดเจาะแร่ใต้ดินที่เรียกว่า     แหล่งสมบูรณ์ หรือ แหล่งอุดรใต้ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่คือ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ข้าวโพดและปอ ที่ทางราชการนำมาส่งเสริม รวมถึงพันธุ์ข้าวเกษตรกข.ต่างๆ ที่เข้ามาแทนที่พันธุ์ข้าวพื้นเมือง  พร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีชลประทานและการสร้างฝายเก็บน้ำ ที่ทำให้ชาวบ้านบางพื้นที่สามารถทำนาได้ปีละ2 ครั้งทั้งแบบนาปีและนาปรังแต่โดยส่วนใหญ่แล้วยังทำการเพาะปลูกเพียงปีละครั้งโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้ชาวบ้านในบางพื้นที่ ใช้เวลาว่างในช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ทำการต้มเกลือเพื่อบริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกับหมู่บานอื่นๆ เกลือและข้าวจึงมีความสัมพันธ์กันในแง่ของกิจกรรมการผลิตและพิธีกรรมของชุมชนในรอบปี


[1] พื้นที่กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคมมีสามตำบล คือ ตำบลห้วยสามพาด ตำบลนาม่วงมี14 หมู่บ้าน บ้านดอนค้อ  บ้านนาม่วง บ้านดอนม่วง บ้านโคกกลาง บ้านหนองลุมพุก บ้านเชียงกรม บ้านโนนทรายฟอง บ้านโนนแสวง บ้านโนนสา บ้านหนองหญ้าม้า และบ้านหนองลุมพุก มีประชากรทั้งสิ้น7,207 คน ตำบลอุ่มจานมี14 หมู้บาน คือ ดอนกลาง ดอนคง เมืองปัง หนองเม็ก โพนทอง ลานเต อุ่มจาน น้ำเที่ยง  มีประชากร 6,635 คน และตำบลห้วยสามพาด  มี13 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านสังคม บ้านวังขอนกว้าง บ้านโคกสง่า บ้านหนองแก บ้านป่าก้าว บ้านอีทุย บ้านโนนคำมี บ้านอนามัยไทยเจริญ บ้านสะอาดนามูล บ้านห้วยสามพาด และบ้านหนองแวงเหนือ มีประชากรทั้งสิ้น 4,780 คน สำหรับตำบลห้วยสามพาด แต่เดิมขึ้นอยู่กับตำบลอุ่มจาน  อำเภอกุมภวาปี และแยกออกมาเป็นตำบลห้วยสามพาด เมือปี 2505 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2540 มหาดไทยแบ่งเขตท้องที่อำเภอกุมภวาปี ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม (สำนักงานจงหวัดอุดรธานี ,2547)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...