วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติเมืองอุดรธานี(ตอน1)


ประวัติเมืองอุดรธานี

พื้นที่ในเขตจังหวัดอุดรธานี ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่คนหลายพวกหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่อย่างหนาแน่นมาช้านาน จากหลักฐานที่ขุดค้นและหลักฐานที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นเสมาหิน  ปราสาทเจดีย์ โบราณสถาน พระพุทธรูปหินทราย ถ้วยชาม หม้อดินเผา เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องในยุคสมัยต่างๆตั้งแต่ยุคสมัยทวารวดี ลพบุรี ซึ่งเป็นอารยะธรรมของขอม มาจนถึงล้านช้าง(ศรีสัตนาคนหุต) เป็นช่วงที่คนลาวได้เข้าตั้งแว่นแคว้นล้านช้างหรือลาวเวียงขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รวมถึงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เป็นอารยะธรรมในช่วง 5,000 ปี มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง[1]  อำเภอหนองหาน และบ้านนาดี ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี (อ้างจากศรีศักร ธ.ค.2525-มิ.ย.2526:20-33)

เมืองอุดรธานี มีเมืองเก่าตั้งแต่ครั้งโบราณสองเมือง[2] คือ เมืองหนองบัวลำภูหรือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และเมืองหนองหารน้อย (ปัจจุบันเป็นอำเภอกุมภวาปี) เดิมเคยเป็นเมืองของเจ้าคำแดง หลานพระยาขอม ต่อมาพระยานาคบันดาลให้บ้านเมืองเกิดล่มจมน้ำจึงเป็นเมืองร้างมาช้านานดังที่ปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ อาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลของขอมและลาวแผ่ขยายเข้ามาบริเวณต่างๆในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่16-18 ก่อนที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่19-23 อาณาจักรศรีอยุธยาสามารถรวมเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นอาณาจักรเดียวกันได้เรียกว่าอาณาจักรสยาม และอาณาจักรสยามก็รวมรวมเอาอาณาจักรล้านนาและล้านช้างเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเมื่อปี พ..2436  ได้ทำให้ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงซึ่งก็คือภาคอีสานซึ่งเคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับลาวทางฝั่งซ้ายต้องแยกออกจากกัน จนเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ลาวฝั่งซ้ายจึงได้รับเอกราช และตั้งขึ้นเป็นประเทศลาวในปัจจุบัน ดังนั้นบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นเขตสะสม (ศรีศักร วัลิโภดม2522:29) ที่เป็นบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยให้คนหลากหลายกลุ่มหลากหลายชาติพันธุ์มาตั้งหลักแหล่งอยู่ใกล้หรือปะปนกัน ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นจะอยู่ในเขตแนวชายแดนของบ้านเมืองหรืออาณาจักรที่โดดเดี่ยวจากการควบคุมทางการเมือง  ดังนั้นอุดรธานี  จึงเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่อดีต และมีผู้คนอพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายยุคหลายสมัย หลายชาติพันธุ์ทั้งชนชาติเขมรและลาวในบริเวณนี้

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตอีสานเหนือ[3]บริเวณแอ่งสกลนครซึ่งมีเทือกเขาภูพานกั้นแบ่งพื้นที่ภาคอีสานออกเป็นสองส่วนคือ แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อีสานเหนือและอีสานใต้ และให้กำเนิดลุ่มน้ำสำคัญหลายสายในภาคอีสานคือลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มน้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูล ที่มีความสำคัญกับพื้นที่เกษตรกรรม และเกี่ยวข้องกับตำนานนาคผู้สร้างแม่น้ำ ตามเส้นทางที่นาคเดินทางผ่าน โดยดั้นพื้นดินกลายเป็นแม่น้ำขนาดสั้นและยาวในพื้นที่ภาคอีสาน สำหรับเมืองอุดรธานีนั้น คำว่าอุดรธานี หมายถึง เมืองในทิศเหนือ เมืองในทิศอุดร  ในอดีตเมืองอุดรธานีเป็นบ้านร้างเมืองร้าง แต่เดิมเรียกว่าบ้านหมากแข้งเพราะมีต้นมะเขือพวงใหญ่  (อีสานเรียกว่าหมากแข้ง) ดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ(รศ.113)[4]ได้ทรงบันทึกไว้ว่า
                “บ้านเดื่อหมากแข้งเปนแขวงเมืองหนองคาย มีเรือน (..109) ไม่เกิน 200 หลังคา เปนบ้านอยู่ในที่ราบชายเนิน ด้านตวันออกเปนที่ทุ่งนาใหญ่ตลอดมาต่อทุ่งหนองหาร เปนต้นทางร่วมที่มาจากเมืองใกล้เคียง แต่เปนบ้านป่าขับขันกันดานต้องอาไสรยเสบียงอาหารจากเมืองหนองคายและเมืองสกลนคร
ในช่วงสมัยนั้นยังไม่เป็นเมืองอุดรธานี เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งในแขวงเมืองหนองคาย ในเขตเมืองอุดรธานี มีเมืองเก่าตั้งแต่โบราณสองเมืองคือ เมืองหนองหารน้อย ปัจจุบันเป็นอำเภอกุมภวาปี[5] เดิมเคยเป็นเมืองของเจ้าคำแดง หลานพระยาขอม ต่อมาพญานาคดลบันดาลให้บ้านเมืองล่มจมน้ำ ตามตำนานอุรังคธาตุ จึงกลายเป็นเมืองร้างมาช้านาน  อีกเมืองคือหนองบัวลุ่มภู  (เมืองหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) ซึ่งพระวอพระตาเคยมาตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วโบราณเป็นราชธานีอิสระอยู่  เมืองอุดรธานีเป็นเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงรัชกาลที่ที่ได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่างพระเนตรพระกัณห์ นำกองทัพใหญ่ไปปราบฮ่อที่ก่อความไม่สงบในมลฑลลาวพวน
โดยที่มณฑลลาวพวนในขณะนั้นถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นเมืองชายแดน เมืองที่มีความสำคัญในมลฑลลาวพวนคือเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทาไสย หล่มศักดิ์ สกลนคร โดยเฉพาะเมืองหนองหาร[6]และเมืองกุมภวาปี ที่ปัจจุบันกลายเป็นอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานี  ในช่วงปี พ..2436 (..112) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งบัญชาการมณฑลลาวพรวน ได้มีหนังสือขอย้ายที่บัญชาการจากบ้านหนองคายมาตั้งที่บ้านหมากแข้ง เนื่องจากในช่วงนั้นไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส  และไทยได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ที่กำหนดไม่ให้ไทยมีกำลังทหารในรัศมี 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาทางฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง 
ในช่วงปี พ..2441 ข้าหลวงเทศาภิบาลยกฐานะบ้านหมากแข้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ  และ พ..2442 เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ ในช่วงปี พ..2443 มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัดเช่น ขอนแก่น สกลนคร นครพนม หนองคาย และนครพนมจนกระทั่งปี พ..2450 ได้มีท้องตราประกาศยกบ้านหมากแข้งเป็นเมืองอุดรธานี และปี2489 ก็ล้มเลิกการปกครองแบบมณฑลมาเป็นจังหวัด เหตุการณ์ที่สำคัญในจังหวัดคือการเกิดเพลิงไหม้จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ..2506 และในปี พ..2510 เริ่มทำการสำรวจและวางผังเมืองจังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของจังหวัดอุดรธานีในอนาคต ที่เห็นได้ชัดคือช่วงหลังสงครามเวียดนาม ที่มีการตั้งฐานทัพของทหารอเมริกันในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งทำให้เมืองอุดรธานีเจริญเติบโตเร็วมาก มีโรงพยาบาล วิทยาลัยเทคนิคที่สอนวิชาช่าง มีค่ายทหารใหญ่สองแห่งคือค่ายรามสูรและค่ายเปอร์ไกเดอร์ รวมถึงการมีสนามบินอุดรธานี เป็นต้น


[1] บ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญของจังหวัดอุดรธานี มีการขุดค้นพบหลักฐานที่เชื่อว่า บริเวณนี้เคยเป็นชุมชนใหญ่ ในยุคของมนุษย์สมัยหินใหม่ ถึงยุคโลหะ จากการขุดค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี และโลหะที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับจำนวนมาก เชื่อว่าบริเวณนี้เป็นชุมชนที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ และรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องใช้ด้วยตัวเอง มีการฝังศพพร้อมๆกับเครื่องประดับและเครื่องใช้  และเป็นการผังศพครั้งเดียวในหลุมที่ร่างกายนอนเหยียดยาวพร้อมกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประดับต่างๆ
[2] อ้างจากนิวัฒน์ พูนศรี เรื่องไทยลาว-อีสาน  ,ภาคอีสานอุดรธานี, 2512
[3] เขตอีสานเหนือ คือบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ฝั่งเหนือของลำน้ำชี ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนครและอุดรธานี อาจกล่าวได้ว่า เขตอีสานเหนืออยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและโขง ส่วนอีสานใต้ก็คือแถบลุ่มแม่น้ำมูล ตั้งแต่เขตจังหวัดศรีษะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร บุรีรัมย์ นครราชสีมา
[4] เอกสารที่๔๑๔/๑๘๑๑๑ วันที่๑๘ พฤศจิกายน ร..๑๑๓ บันทึกมุมเอกสารว่า คัดสำเนาส่งกรมประจักษ์กับพระราชหัตถ์
[5] กุมภวาปี เป็นเมืองเก่า ความเป็นมาของเมืองมีหลายสำนวน บ้างว่าเป็นเมืองแม่น้ำแห่งจระเข้ กุมภี กับวาปี เพราะชาวบ้านเล่าว่าในอดีตที่ลงหาปลาในหนองหานพบเห็นจระเข้จำนวนมาก แต่ปัจจุบันหายไปหมดแล้ว ชาวบ้านบอกว่าพวกมันหนีลงแม่น้ำปาวหรือลำปาวหมด เนื่องจากคนมาอยู่หนาแน่นขึ้น  บ้างก็ว่าเป็นหมู่บ้านตีหม้อเก่า คำว่า กุมภะ ก็คือหม้อในภาษาสันสฤต ปัจจุบันยังมีหมู่บ้านหนึ่งที่ประกอบอาชีพปั้นหม้ออยู่บริเวณหนองหาน
[6] เมืองหนองหาร ตั้งอยู่ที่หนองหารน้อย เป็นหัวเมืองชั้นนอกซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 ในช่วงที่เวียงจันทน์เป็นเมืองประเทศราชขึ้นอยู่กับกรุงเทพฯ (อ้างจากหนังสือพงศาวดาร ของหม่อนราชวงศ์วิจิตร (ถม คเนจร ณ อยุธยา) พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดารภาค4 ) จนกระทั้งเกิดเหตุการณ์ปราบกบฏเวียงจันทน์(พระเจ้าอนุวงศ์)ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้ตั้งเมืองชั้นนอกขึ้นขึ้นอีก 19 เมือง และในสมัยรัชกาลที่4 ก็ได้ตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอีสานขึ้นอีกหลายเมือง ในสมัยรัชกาลที่5 เมืองในมณฑลอุดรมี9เมือง รวมถึงกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และเมืองในมณฑลอีสานอีก 23 เมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...