วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

แนวคิดหลังมานุษยนิยม การศึกษาสิ่งที่พ้นมนุษย์ (Posthumanism) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

Posthumanism เชิงปรัชญาของ Francesca Ferrando เริ่มต้นด้วยการกล่าวอ้างอย่างท้าทายว่า 'ลัทธิหลังหลังมนุษย์คือปรัชญาสำคัญแห่งยุคสมัยของเรา' งานเขียนของเธอเริ่มต้นกับการตั้งคำถามง่ายๆ ในหลายประเด็น เช่น 'ลัทธิหลังมนุษย์หมายถึงอะไร'; 'ลัทธิหลังมนุษย์มาจากไหน?'; ไปจนถึง 'ชีวิตคืออะไร' และพหุภพ(มาจากคำว่า Multiverse คือแนวคิดที่มีสมมติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา) คืออะไร' เธอยืนยันถึงความเร่งด่วนของลัทธิหลังมนุษย์ที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อ การกำหนดนิยามใหม่อันสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ตามการพัฒนาทางพยาธิวิทยาทางการแพทย์ตลอดจนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพของศตวรรษที่20และ21เป็นต้นมา (2019, p.1) Ferrando มองว่าลัทธิหลังมนุษย์ในเชิงปรัชญาประกอบด้วยแนวคิดหลักสามประการ ได้แก่ ลัทธิหลังมนุษยนิยม(Post-humanism) ลัทธิหลังมานุษยวิทยา (Post-Anthropology) และหลังลัทธิทวิลักษณ์นิยม (Post-Dualism) ข้อโต้แย้งหลักของเธอเกี่ยวกับลัทธิหลังมนุษยนิยมคือว่าประสบการณ์ของมนุษย์ควรเข้าใจเป็นพหุนิยมมากกว่าในแง่ทั่วไปและเป็นสากล การลดทอนความเป็นมนุษย์โดยสัมพันธ์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นประเด็นหลักของลัทธิหลังมานุษยวิทยา Post-dualism มุ่งเน้นไปที่การทำลายความเป็นคู่ตรงกันข้ามที่เข้มงวด เด็ดขาด และสัมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปสู่แนวความคิดแบบการจัดลำดับชั้น เช่น มนุษย์/สัตว์ จิตใจ/ร่างกาย สำหรับ Ferrando แนวคิดทวิลักษณ์ดังกล่าวทำให้เกิดกระบวนการอื่นตามมาที่ปรากฏอยู่ในความคิดแบบตะวันตกจำนวนมากซึ่งส่งผลให้เกิดการครอบงำ... Ferrando มองว่าลัทธิหลังมนุษย์(Post-Human) มีความเชื่อมโยงกับความคิดแบบลัทธิหลังมานุษยวิทยา (Post-Anthropology )และเพิ่มแนวคิด Post-dualism เป็นแง่มุมทางปรัชญาที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย Ferrando เปิดเผยให้เห็นลำดับวงศ์ตระกูลหรือสาแหรกทางความรู้ของของลัทธิหลังมนุษย์ โดยระบุวิถีทางของมันผ่านลัทธิหลังสมัยใหม่(Post-Modern) ด้วยอิทธิพลของการศึกษาที่แตกต่างหลากหลาย อาทิเช่น สตรีนิยม ลัทธิหลังอาณานิคม ทฤษฎีเกี่ยวกับเชื้อชาติและเพศทางเลือก สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่ในการแยกแยะ การทำลาย'ศูนย์กลาง' ของวาทกรรมของตะวันตก ซึ่งลัทธิหลังมนุษย์สร้างขึ้นโดยการพยามรื้อ หรือละทิ้ง ความเป็นศูนย์กลางในรูปแบบเอกพจน์ หรือในรูปแบบความคิดแบบเจ้าโลกและสร้างแนวคิดแบบต่อต้าน ต้านทานกับศูนย์กลาง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีภาวะลื่นไหล มีภาวะชั่วคราว และมุมมองที่เป็นแบบพหุนิยม หลายชั้น และครอบคลุมมากที่สุด' (Ferrando, 2019, pp. 56-7) ข้อจำกัดของแนวความคิดของมนุษย์ในลัทธิหลังมนุษย์นิยมในเชิงปรัชญา ที่กล่าวอ้างถึงอุดมคติของมนุษยนิยม ที่มี “มนุษย์”เป็นศูนย์กลาง ได้สร้าง มาตรฐานแห่งอารยธรรมที่มีความพิเศษ ที่อ้างว่าตัวเองมีเอกสิทธิ์พิเศษในการเข้าถึงเหตุผลที่สะท้อนความเหนือกว่าในเผ่าพันธุ์มนุษย์ของตัวเอง โดยการหลอมรวมและมีเป้าหมายเพื่อเชืดชูวัฒนธรรมยุโรป อเมริกาโดยเฉพาะ การอธิบายแบบจำลองอารยธรรมนี้นำไปสู่แนวความคิดแบบอาณานิคมของยุโรปที่มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง อีกทั้ง Ferrando กล่าวอ้างถึงหลักฐานเขิงประจักษ์ของการเป็นทาส การกลายเป็นทรัพย์สิน การปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองของชาวอเมริกันในฐานะของผู้พิชิต รวมถึงกรณีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาและนาซีในฐานะผู้ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์อื่นๆ ผลกระทบที่เกิดจากมรดกทางความคิดแบบมนุษยนิยมที่โดดเด่นนี้ เป็นเสมือนแบรนด์หรือป้ายประกาศของลัทธิหลังมนุษย์นิยม ปรัชญา Posthumanism เป็นการเน้นย้ำถึงการวิพากษ์ การสืบค้นความรู้ภายใต้แนวคิดหลังมนุษยนิยม ผ่านการรวมเอาแนวคิดทางด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อพิจารณาวาทกรรมปรัชญามนุษยนิยมแบบตะวันตกก่อนหน้านี้ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง โดยตระหนักถึงข้อจำกัดของสมมติฐานที่เกี่ยวโยงกับมนุษยนิยมและแนวคิดแบบทวิลักษณ์นิยมที่แข็งตึง (Ferrando, 2019 หน้า 55) เช่นเดียวกับ Donna Haraway ซึ่งได้เคยกล่าวว่า แม้แต่เรื่องเพศ เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นแค่คำกริยา ไม่ใช่คำนาม (อ้างใน Ferrando, 2019, หน้า 68) ดังนั้นสำหรับ Ferrando ‘มนุษย์ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เป็นกระบวนการ…[หนึ่ง]ของการทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่ผ่านประสบการณ์ การขัดเกลาทางสังคม การยอมรับ และการรักษา (หรือการปฏิเสธ) มรดกที่เชิงบรรทัดฐานของมนุษย์ที่ถ่ายทอดทอดต่อกัน เฟอร์รันโด พิจารณาลัทธิข้ามเพศ ผ่านเรื่องของ Technogenesis ซึ่งเป็นวิวัฒนาการร่วมกันของการพัฒนามนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจของพวก posthumanists อย่างชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับการก่อตัวขึ้นของผู้คน เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการกำหนดนิยามใหม่ของมนุษย์ ซึ่งสำหรับ Ferrando นั้นมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี อยู่บนพื้นฐานของตำแหน่งแห่งที่ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและมีเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางด้วย (2019, p.38) เธอชี้ให้เห็นโอกาสที่มนุษย์ (บางคน) จะออกแบบระบบนิเวศทั่วโลกใหม่ ตามการรับรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงสัมพัทธ์และวัฒนธรรมเฉพาะ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เราควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองและความสนใจกับสายพันธุ์อื่น นอกจากสายพันธุ์ของมนุษย์ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งกว่า ลัทธิหลังมนุษย์ก้าวข้ามมุมมองทางญาณวิทยาผ่านการเคลื่อนไหวของแนวคิดสตรีนิยมในการระบุตัวตนของตนเอง และยอมรับว่าตนเองมีวความเป็นพหูพจน์และมีความหมายภายใต้มิติเชิงความสัมพันธ์ เธอเน้นย้ำว่า การเข้าถึงมุมมองที่ไม่ใช่มนุษย์นั้น หมายถึงการพิจารณาถึงการมีอยู่ของสายพันธุ์อื่น… มันหมายถึงการได้ยินเสียง สัญญะหรือข้อความของพวกเขาที่สื่อสารกับพวกเรา... นอกจากนี้ Ferrando กล่าวถึง 'ลัทธิหลังทวิลักษณ์นิยมที่สำคัญ…ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่มีที่ว่างให้กับสิ่งอื่น สำหรับการแยกอย่างเข้มงวดระหว่างความเป็นและความตาย หรือการจัดวางขอบเขตที่เข้มงวดตายตัวระหว่างสารอินทรีย์/อนินทรีย์ สิ่งที่เป็นชีวภาพ/สิ่งเทียม และความจริงทางกายภาพ/ความจริงเสมือน ที่ต้องได้รับการท้าทายและการสลายคู่ตรงกันข้าม การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน ***จริงๆยังมีประเด็นอีกมากมายที่มีข้อถกเถียงที่น่าสนใจคงต้องใช้เวลาที่จะอ่านทำความเข้าใจมากขึ้น...

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566

การประยุกต์ใช้ PDCA กับการพัฒนาตัวเอง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มันคือความท้าทายที่เราจะเรียนรู้อะไรบางอย่างจากเครื่องมือที่เรามี …ใช้มันอย่างเข้าใจ แปลงมันให้ง่ายและไม่ต้องซับซ้อนมากเกินไป ในขีวิตผมเมื่อเข้ามาเป็นอาจารย์ ผมอบรมหลายอย่าง ทั้งในเชิงเนื้อหา เชิงแนวคิด เชิงเครื่องมือ เพราะต้องดูแลเริ่องหลักสูตร การประกันคุณภาพ การเขียนหลักสูตรและโปรแกรมหลักสูตรให้สามารถตอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังได้ ที่นำไปออกแบบคอร์สรายวิชาให้สอดคล้อง ผมนึกถึงเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่ง่ายและกระบวนการไม่ได้ซับซ้อนมาก ก็คิอ PDCA และคิดว่าถ้าเราเอามาใข้กับการดํการเปลี่ยนแปลงของลูกเรา เราจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างไรบ้าง ใข้ได้จริงไหม มีประโยชน์ไหม คำว่า PDCA (Plan, Do, Check, Act.) คือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสามารถ การเปลี่ยนแปลงและการเติบโตในขณะที่ดำเนินการไปข้างหน้า คำถามสำคัญคือเราจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร ลูกของผมเริ่มเติบโต และเธอชอบที่จะวาดหรือเขียนสิ่งต่างๆ บันทึกสิ่งต่างๆได้แล้ว รวมถึงการทำสิ่งของต่างๆตามจินตนาการ ร แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้ผม ตั้งคำถามและสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการเล่น การทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆของเธอ ที่เอาของในบ้านมาตัด มาติด มาต่อ ทำให้เกิดงานต่างๆ เหล่านั้นว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่ พวกเขามีประโยชน์วนการสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอย่างไรบ้าง เมื่อลูกล้มเหลว ( ทำสไลม์ แล้วไม่เป็นใส่กาวเยอะไป แป้งน้อยเกินไป ) หรือประสบความสำเร็จ หรือต้องทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จเพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาอวดพ่อแม่ว่าใช้ได้จริง ไม่ต้องซื้อ และอื่นๆ เมื่อทำพลาดก็ลองทำใหม่ ไม่ต้องเสียดาย ไม่ต้องต่อว่า แต่ให้กำลังใจ ขวนทำใหม่อีดครั้ง ชวนดูคลิปที่เขาบอกขั้นตอน ส่วนผสมที่ชัดเจน แล้วลองทำดู สุดท้าย เธอพบว่าที่ลองทำตามสูตรมันแข็งไป ก็ลองใส่แชมพู น่ำยาล้างจาน ใส่กากเพชร มันก็ทำให้สวยและยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งก็เป็นการค้นพบศักยภาพจากการลงมือทำฝนกระบวนการเหล่านี้ นี่ก็อาจเป็นตัวอย่างที่ดีและชัดเจนถึงสิ่งที่เรียกว่า PDCA ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ก็คือการเอาชนะความท้าทายและความล้มเหลวอย่างสนุกสนานสร้างความรู้สึกมองโลกในแง่ดี รวมถึงความเชื่อ โยงกับระบบประสาทและความรู้สึกอารมณ์จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเราแก้ปัญหาได้ เราก็จะทำต่อไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นพวกเราจึงจำเป็นต้องปลูกฝังความรู้สึกเป็นอิสระในการเรียนรู้ให้กับเด็ก พยามอย่าพรากอิสระของพวกเขา(เด็ก)ไป...ยิ่งเราตีตราความล้มเหลวให้น้อยลง เราก็จะยิ่งส่งเสริมความเป็นอิสระและการมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ความเป็นอิสระและการมองโลกในแง่ดีทำให้เด็กกลายเป็นผู้เรียนที่ดีขึ้น การเป็นผู้ทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น และผู้ปฏิบัติงานที่ดีขึ้นด้วย ผมเชื่อแบบนั้น ผมเชื่อว่า PDCA ช่วยให้เราอยู่ในโหมดของความสามารถกระทำบางสิ่งบางอย่าง มันท้าทายให้เราแก้ปัญหาในส่วนที่ค่อนข้างเล็ก และทำให้เราประสบกับความล้มเหลวเล็กน้อยและสร้างประสบกับการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ แต่ต้องมองว่า คำว่า 'ล้มเหลว' ไม่ใช่คำที่ไม่ดี แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประสบการณ์ไม่มากพอ แต่ก็สามารถจัดการได้ การช่วยเติมประสบการณ์จะช่วยให้เราก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จได้ ในขณะที่ 'ความสำเร็จ' เป็นความรู้สึกที่วิเศษยอดเยี่ยมและต้องหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการทำที่ต่อเนื่อง ท้าทายและ พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง PDCA ช่วยให้เราประสบกับความสำเร็จและความล้มเหลวที่เราสามารถจัดการและควบคุมมันได้ และถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้เรารู้สึกว่าเรามีความสามารถ ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากประสบการณ์ของเราและความพยายามที่เราทุ่มเทให้กับ 'การทำ' สิ่งนี้เป็นเสมือนเชื้อเพลิงให้เราดำเนินการต่อ พยายามแก้ไข เปลี่ยนแปลง และเติบโตขึ้นอยู่ตลอดเวลา แน่นอน เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ที่เราไม่คุ้นเคย ทฤษฎีที่ดูเคร่งครัดและยากเกินไป แต่ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล เพราะเราแค่ต้องมีประสบการณ์ ที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการของเรา และปรับปรุงให้ดีขึ้น ประวบการณ์มาจากไหนก็อยู่ที่การลงมือทำ ทำซ้ำ ตรวจสอบซ้ำ สะท้อนย้อนมองบ่อยๆ และผมก็จะช่วยลูกมองและสรุปสิ่งที่เป็นข้อเรียนรู้ให้กับเขา ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้ PDCA สำหรับผมง่ายๆซึ่งอ้างจากการศึกษาของ Mike Langlois ที่บอกว่า 1.    อย่าลืมที่จะสนุกไปกับการเปลี่ยนแปลง เพราะความสนุกสนานช่วยให้ความรู้สึกต่อความล้มเหลวดีขึ้นและเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาในปัจจุบันและอนาคต 2.    เมื่อบางสิ่งน่าสนใจและมีประโยชน์ การแก้ปัญหาก็ง่ายขึ้นเช่นกันPDCA เป็นเหมือนจิ๊กซอว์สำคัญ ดังนั้น ควรมีความน่าสนใจและเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการจะทำ เช่นเดียวกับปริศนา เราต้องพยายามหาคำตอบหลายครั้งก่อนที่จะเข้าใจปริศนานนั้น 3.    ส่งเสริมการจัดการ การควบคุมและปกครองตนเอง เมื่อเราได้รับประสบการณ์จากความล้มเหลวและลองใหม่ (ตรวจสอบอีกครั้ง) เราก็จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและลองใหม่อีกครั้ง ในที่สุดเราอาจจะค้นพบว่าเราเก่งขึ้น เจ๋งกว่าในสิ่งที่ทำอยู่เดิมด้วยซ้ำ นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากใน PDCA การมีอิสระในการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการปรับตัว การดังนั้นเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นหากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้คิดด้วยตัวเอง ล้มเหลว ทำผิดพลาด และลองใหม่อีกครั้ง 4.    ยินดีต้อนรับความล้มเหลว และมองว่ามันเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ตงอย่าคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จตั้งแต่ขั้นตอนที่หนึ่ง แต่จงกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ และลองทำครั้งแล้วครั้งเล่า 5.    จัดการกับขั้นตอนเล็กๆ ทีละอย่าง ไม่จำเป็นต้องวางแผน ตรวจสอบ และดำเนินการในโครงการขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นวงจรที่ยาวนาน อาจเป็นกระบวนการประจำวันของการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ และลงมือทำ แบ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ออกเป็นงานที่เล็กลง หยิบทีละอันแล้วไปกับมัน 6.     กระบวนแม่ตรวจสอบ หมายถึงสื่อสาร พูดคุย ปรึกษาหารือถามว่าอะไรเป็นไปด้วยดีและเราทำอะไรที่แตกต่างออกไปได้บ้าง เราสามารถใช้การรวบรวมรายวันเพื่อตรวจสอบสิ่งนั้น 7.    ปลดปล่อยตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) ทำสิ่งเล็กๆ วันละหนึ่งอย่างเพื่อท้าทายตัวเอง ทำอะไรที่ไม่เกิดความรู้สึกอึดอัด ลองดู เรียนรู้และปรับตัวในวันถัดไป 8.    การเรียนรู้เป็นเส้นโค้ง ดังนั้นเราสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น การเติมทักษะเป็นสิ่งสำคัญ 9.    ชื่นชมความพยายามในการลงมือทำ การได้ลองทำ มีความสำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่ประสบความสำเร็จ จะทำให้มีกำลังใจ พลังใจในการลงมือทำซ้ำ ทำใหม่ ไม่หมดกำลังใจ 10. ทำให้มองเห็นภาพจองการเปลี่ยนแปลงให้ชัด เมื่อเรามองเห็นการเปลี่ยนแปลง มันจะเพิ่มความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนแปลงและดำเนินการต่อไป เพื่อให้เห็นภาพ เราทำได้หลากหลายวิธีอาจโดยใช้กระดาษโน้ตติดไว้บนกระดาน เรียกใช้กระบวนการ PDCA ด้วยภาพ และทำจนกว่าผู้คนจะมองไม่เห็นกระบวนการอีกต่อไป มันจะกลายเป็นสิ่งที่ทำโดยอัตโนมัติในเนื้อตัวร่างกายของคนคนนั้นในอนาคต

ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทางสังคม กับความเชื่อ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ความทุกข์ทรมานทางสังคม คือความเจ็บป่วยรูปแบบหนึ่ง และมันเชื่อมโยงกับการเยียวยาความเจ็บป่วยของตัวเองผ่านความเชื่อบางอย่าง… Paul Farmer แพทย์และนักมานุษวิทยา สนใจมองลงไปที่ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากตัวเชื้อโรค อย่างที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิงกายภาพและชีววิทยา พยายามอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ที่เรียกภาวะความผิดปกติ โดยมีเชื้อโรค ทั้งจากไวรัสและแบคทีเรีย เป็นตัวแปร สําคัญที่ทําให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว.... แต่ Paul Farmer กลับมองว่า สาเหตุของโรคภัยเจ็บที่มนุษย์กําลังเผชิญอยู่ มีนัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และเป็นสาเหตุ สําคัญที่ทําให้คนตกอยู่ในสภาวะผิดปกติ มีเชื้อโรคและเกิดภาวะที่เรียกว่าความ “เจ็บป่วย” ซึ่งถือเป็นการอธิบายความเจ็บป่วยที่มีมิติทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ........ Pual Farmer กล่าวว่า คนทุกคนบนโลกรู้ว่าความทุกข์ทรมานมีอยู่จริงในชีวิตประจําวันของเรา ตัวอย่างเช่น เวลาเราปวดท้องหรือปวดหัว จนแทบทําอะไรไม่ได้ อาการเหล่านี้ปรากฏให้เห็นทางร่างกาย ไม่ว่าการยืนทรงตัวไม่อยู่น้ำตาไหลพราก นอนบิดตัวไปมา ด้วยความรู้สึกปวดที่อยู่ข้างใน นอกจากนี้ยังมีทุกข์ทางจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่นการพลัดพรากจากคนที่เรารัก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือความ ทุกข์ทรมานที่มนุษย์ทุกคนล้วนต้องเผชิญ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าเราจะรู้ว่าความทุกข์ ทรมานมีอยู่และดํารงอยู่ในชีวิตของมนุษย์ แต่คําถามที่ยากจะตอบก็คือ เราจะนิยามมันอย่างไร ว่าความทุกข์ทรมานที่แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่ ในเมื่อแต่ละคนก็มีความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีสาเหตุเบื้องหลังของความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกันด้วย .... ในชุมชนต่างๆของประเทศที่กำลังพัฒนา ความเจ็บป่วยเป็นที่รับรู้กันว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เช่น สิ่งเหนือธรรมชาติ (เช่น พระเจ้า/ อัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพ วิญญาณธรรมชาติ และตัวแทนมนุษย์ของสิ่งเหนือธรรมชาติ) ธรรมชาติ (เช่น สุขอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางชีวภาพและจิตใจ) และสาเหตุทางสังคม ( เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ประสบการณ์ความรุนแรง การสนับสนุนและความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว และ การละเมิดข้อห้ามทางสังคม) ***มนต์ดำ สุขภาพจิต การเยียวยาและการรักษา*** การตีตราในทางสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมากเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานทางสังคม ในประเทศที่กำลังพัฒนา เข่น ในประเทศอินโดนีเซีย ตัวอย่างของความเชื่อทั่วไปในทางสังคม ว่าการประพฤตินอกรีต นอกกรอบมันส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ใกล้ชิดกับพระเจ้า หรือไม่ได้สวดอ้อนวอนพระเจ้าอย่างเพียงพอ ดังนั้นพวกเขาจึงถูกลงโทษเพราะบาปของพวกเขาเอง และนั่นคือสิ่งมี่ทำให้เขาทุกข์ทรมาน อดอยากและยากจน รวมถึงมุมมองอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ความเชื่อที่ว่าคนป่วยทางจิตถูกปีศาจเข้าสิงซึ่งทำให้พวกเขาเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ยินเสียง หรือประสบกับอาการประสาทหลอน หรือมีภาวะทางสุขภาพจิต ภายใต้คำอธิบายพื้นบ้านเกี่ยวกับมนต์ดำ ไสยศาสตร์ ที่เป็นคยรมเขื่อแบบดั้งเดิม หรือความเชื่อที่ถูกสร้างจึเนมาใหม่ เพื่อแก้ปัญหาให้กับคนยากจนและคนชายขอบ ที่มีความคิดและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ อาจส่งผลให้ผู้คนเหล่านี้ ถูกทำร้าย ถูกรังเกียจจากชุมชน และไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลตามอาการของพวกเขาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ โดยคนเหล่านี้ ผู้ที่มีประสบการณ์ควรมทุกข์ทรมาน จากโครงสร้างทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน การถูกเลือกปฏิบัต อาจได้รับการแนะนำจากเพื่อนและครอบครัวให้รู้จักกับ “หมอ” และหมอผี ซึ่งอ้างว่าสามารถรักษาหรือเยียวยาความทุกข์ทรมานของพวกเขาได้ การรักษาที่ได้รับการส่งเสริมโดยหมอผี โดยสิ่งหนือธรรมชาติเหล่านี้รวมถึงการปฏิบัติเช่นการดื่มสมุนไพรแบบดั้งเดิม การอาบน้ำที่ผสมด้วยดอกไม้ หรือการบำบัดด้วยธูปหรือการนวด รวสถึงการสวดมนต์อ้อนวอน การเซ่นสรวงบูชา และอื่นๆ บางคนถูกส่งไปหาผู้รักษาทางจิตวิญญาณ ซึ่งแนะนำให้อ่านตำราทางศาสนา อดอาหาร ตักบาตร หรือสวดมนต์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันเพื่อบรรเทาอาการความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ และสังคมที่เกิดขึ้น ในสังคมบ้านเรา ภาวะความเจ็บป่วย ทุกข์ทรมานทางสังคม เกิดขึ้นไก้กับคนทุกชนชั้น ไม่ว่จะร่ำรวยหรือยากจน คนเหล่านี้ต่างหันมาพึ่งพาไสยศาสตร์ มนต์ดำ และความเชื่อนอกกระแส (บางครั้งถูกมองว่านอกรีต) ไม่สนใจที่มา ไม่สนใจประวัติศาสตร์หรืออดีตของสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าตำนานจะแท้หรือจะเทียม เพราะพวกเขาสนใจปัจจุบัน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การให้ความหมาย และการประกอบสร้างสิ่งต่างๆให้เป็นอะไรก็ได้ อย่างครูกายแก้ว ที่ถูกสร้างความหมายอย่างหลากหลาย อสูรเทพ เทพกึ่งมนุษย์ บรมครูผู้เรืองเวท ผู้บำเพ็ญตบะกึ่งมนุษย์กึ่งนก พ่อใหญ่หรือเวตาล ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้คนเชื่อถึฃความพิเศษ เหนือธรรมชาติ เหนือคนธรรมดา ในสังคมที่เน้นความรวดเร็ว เร่งรีบ ของความร่ำรวย ความสำเร็จ เทพองค์แล้วองค์เล่า ยักษ์ตนแล้วตนเล่า เทวาดา หริอฤษีองค์แล้วองค์เล่า ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความสุขสบาย ความสำเร็จก็ยังไม่มา ป้ญหาแท้จริงไม่ใช่การที่คนเราไม่เชื่อศาสนา หรือภาวะความไร้เหตุผล ความงมงาย ความนิยมไสยศาสตร์และมนต์ดำ รสนิยมความชื่นชอบในสายมู แต่มันเป็นเรื่องของความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน ความอยากได้อยากมี ภายใต้ระบบทุนนิยมและปัญหาในทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสร้างปัญหามากกว่าที่ทำให้คนเราต้องหันมาเยียวยารักษาความเจ็บป่วยของตัวเองด้วยสิ่งเหล่านี้ ***สังคมเราก็เป็นแบบนี้ คนจนถูกใช้อำนาจ คนรวยมักจะเป็นผู้ใช้อำนาจ คนจนมักจะติดคุกเร็วกว่าคนรวย หากมีกรณีการกระทำความผิด ความรุนแรงของการกระทำความผิดก็ต่างกัน คนจนเท่านั้นที่ผิดแต่คนรวยบางคนรอดคุกหรือถูกชี้ว่าไม่ผิด ....เช่นเดียวกับความทุกข์ทรมานและความเจ็บป่วยของคนจน คนไร้อำนาจ ที่ถูกกระทำจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม และตอกย้ำโครงสร้างของความไม่เท่าเทียมแบบปกติ ที่ทำให้ผู้คนในสังคมมองเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นปกติ ไร้ความรู้สึก ไร้คำถาม ไร้การต่อสู้ต่อรองต่อเรื่องของอำนาจและความไม่เท่าเทียมในสังคม...ที่สำคัญทำอย่างไรเราจะมองคนให้เป็นคนที่เท่าเทียมกัน

Margaret Mead and Marijuana มุมมองกับกัญชากับนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

Margaret Mead and Marijuana มุมมองนักมานุษยวิทยาคลาสสิค ที่ศึกษาชนพื้นเมืองที่มีต่อเรื่องของกัญชา อย่างเช่น Margaret Mead เธอเป็นนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่เกิดในช่วงปี 1901 หนังสือชิ้นสำคัญของเธอคือ Coming of Age in Samoa งานชิ้นนี้มักถูกอ้างถึงว่ามีอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ในช่วงของการปฏิวัติเกี่ยวกับความรู้ทางเพศในทศวรรษ 1960 เธอสอนมานุษยวิทยาในสถาบันต่างๆ มากมาย และเป็นนักเขียนหรือผู้ร่วมเขียนหนังสือกว่า 40 เล่ม โดยเล่มที่มีชื่อเสียงจะเกี่ยวกับ ความเป็นผู้ใหญ่และการบรรลุนิติภาวะจองวัยรุ่นในซามัว นับตั้งแต่ตีพิมพ์แม้จะมีการโต้เถียงกันอยู่บ้างต่อกรณีดังกล่าว ในแวดวงวิชาการทางมานุษยวิทยาก็ยังคงถกเถียงและตั้งคำถามว่าคำอธิบายของ Mead เกี่ยวกับวัฒนธรรมซามัวนั้นถูกต้องแท้จริงหรือไม่ แต่ในช่วงต่อมา เธอได้กลายเป็นประธานสมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน ในช่วงทศวรรษที่ 60 เธอเป็นผู้นำสมาคม American Association for the Advancement of Science หนังสือเรื่อง Sex and Temperament in Three Primitive Societies ของ Mead ในปี 1935 อธิบายว่าพลวัตทางเพศและอำนาจของชนเผ่าพื้นเมืองในปาปัวนิวกินีขึ้นอยู่กับผู้หญิงในชนเผ่าแทนที่จะเป็นผู้ชาย เอกสารฉบับนี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อขบวนการสตรีนิยมทางตะวันตก ⠀⠀⠀⠀เมื่อมาพิจารณางานของเธอทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับชนพื้นเมืองที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับกัญชาอย่างไร? จุดเริ่มต้นมาจากการบอกเล่า ของมากาเร็ต มี้ด ที่ยอมรับว่าเธอได้ลองใช้กัญชาดังปรากฏในบทความของ Newsweek ในปี 1970 แม้ว่าเธอเองก็ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนก็ตาม เหตุผลที่ Mead กลายเป็นบุคคลผู้มีอิทธิพลในวัฒนธรรมกัญชานั้นเป็นเพราะถ้อยแถลงและคำให้การของเธอก่อนการประชุมในปี 1969 เมื่อเธอสนับสนุนให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา และเรื่องกฎหมายกัญชาเกิดขึ้นในอเมริกา มาร์กาเร็ต มี้ดระบุว่าการใช้กัญชาไม่เป็นอันตรายต่อสังคม เนื่องจากกัญชายังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายหรือถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งเสพติด อีกทั้งวาทกรรมเรื่องของยาที่เป็นเหมือนช่องทางเอื้อประโยชน์และในอีกด้านหนึ่งก็คือกระบวนการทำให้กัญชากลายเป็นอาชญากรของสังคม รวมถึงมองว่าเป็นอันตรายต่อสังคมมากกว่าที่จะพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการทำให้กัญชาถูกกฎหมาย มาร์กาเร็ต มี้ดโต้แย้งประเด็นนี้ว่ากัญชาสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นยารักษาโรคที่มีประโยชน์ได้ เธอทำการเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เมื่อพูดถึงการใช้กัญชาของวัยรุ่น เธอมองว่าเป็นมุมมองภายใต้ตำแหน่งที่ของคนรุ่นก่อน ไม่แตกต่างจากความชั่วร้ายของแอลกอฮอล์และบุหรี่ในยุคนั้น ดังนั้นการออกกฎหมายกัญชา ก็เกิดขึ้นภายใต้ความกลัวในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้จัก ที่แตกต่างจากรุ่นของตัวเอง คำกล่าวดังกล่าวได้รับการเยาะเย้ยจากผู้ว่าการรัฐ เธอถูกผู้ว่าการรัฐฟลอริดาตราหน้าว่าเป็นหญิงชราสกปรกและมีการล้อเลียนเป็นการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ ในรูปลักษณ์ที่เหมือนแม่มดของ Mead ตรงกันข้ามกับการรับรู้ของนักเคลื่อนไหวชาวฮิปปี้ที่มีผมยาวซึ่งท้าทายทัศนคติแบบเหมารวมและมีอคติของช่วงเวลา หลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2521 มี้ดได้รับรางวัลเหรียญแห่งอิสรภาพของประชาชน ถ้อยแถลงและคำให้การของเธอเป็นที่จดจำสำหรับจุดยืนที่ก้าวหน้าของเธอในการทำให้กัญชาถูกต้องตามกฎหมาย การสนับสนุนการนำไปใช้ในทางการแพทย์เกี่ยวกับกัญชา และความกล้าหาญของเธอที่จะท้าทายอนุสัญญาทางสังคมของคนรุ่นเธอ ส่งผลให้มีการทำให้กัญชามีความถูกต้องตามกฎหมายและกัญชาถูกใช้ในทางการแพทย์และแพร่หลายในส่วนต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา แคนาดา และทั่วโลก “ปัจจุบันเป็นความเห็นของฉันที่คิดว่ากัญชาไม่เป็นอันตรายเว้นแต่จะได้รับในปริมาณมหาศาลและมากเกินไป ฉันเชื่อว่าเรากำลังสร้างความเสียหายให้กับประเทศนี้ เราทำลายกฎหมายของเรา สถานการณ์บังคับใช้กฎหมายทั้งหมดของเรา ทำลายความไว้วางใจระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชนด้วยการห้าม และสิ่งนี้ร้ายแรงกว่าความเสียหายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บางคนมากกว่า เพราะคุณสามารถได้รับความเสียหายจากการใช้มากเกินไป” “บางครั้งเราพบสังคมที่จะปฏิเสธสิ่งใด ๆ ที่นำไปสู่สภาวะสุขสันต์หรือวิธีการของผู้คนที่เคยพยามหาทางหลุดพ้นจากตนเอง แต่โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์แสวงหาวิธีที่จะเปลี่ยนอารมณ์ของเขา ทำให้เขาสามารถทำงานได้นานกว่า เขาสามารถอยู่ได้นานกว่าที่เขาจะทำได้เพื่อผ่านการประชุมหรืองานที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เขาจะมีได้…. ใน West India ผู้คนสูบกัญชาเพื่อให้ตัวเองสามารถก้าวผ่านภาระงานอันหนักอึ้งได้ทั้งวันและหลังจากที่พวกเขาทำงานเสร็จแล้ว พวกเขาสูบกัญชาอีกเล็กน้อยเพื่อพักผ่อนและเพลิดเพลินกับยามเย็น” กัญชาเป็นพืชที่มีประวัติการใช้ทางการแพทย์ นันทนาการ อุตสาหกรรม และจิตวิญญาณ โดยเฉพาะงานศึกษาทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับพิธีกรรมการใช้ยาเสพติดซึ่งเป็นวิธีการใช้ที่ควบคุมโดยชุมชนที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ควบคุมตนเองและมีสุขภาพดีกับสารที่เป็นปัญหา นอกจากนี้ยังสำรวจวิธีการใช้กัญชาในการพัฒนาจิตวิญญาณและความรู้สึกของชุมชน พิธีกรรมการใช้กัญชาถูกกล่าวถึงในบริบทของนโยบายยาเสพติด ที่ผ่านมามีงานศึกษาทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาหลายชิ้นที่ใช้วิธีการวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยา เช่น งานภาคสนาม การสังเกตผู้เข้าร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ถูกนำมาใช้ในการวิจัยชุมชนปรากฏการณ์วิทยาในชนบทของแคว้นคาตาโลเนีย ซึ่งพืชออกฤทธิ์ทางจิตแบบโบราณ หรือ ancient psychoactive plants (APP) เช่น ayahuasca และ cannabis ที่สะท้อนว่าพืชตระกูลกัญชา ถูกนำมาใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันและในบริบทของพิธีกรรม กัญชามีประวัติการใช้ในพิธีกรรม ที่เชื่อมโยงกับการใช้มิติทางจิตวิญญาณมาอย่างยาวนาน และยังคงถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวในแคว้นคาตาโลเนีย พิธีกรรมเป็นเทคนิคการลดอันตรายที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับบุคคลและชุมชนได้ด้วยการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในชุมชน พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับ APP ถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติทางจิตวิญญาณหรือทางศาสนา ตลอดจนรูปแบบการดูแลตนเองและการดูแลชุมชน มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับการพึ่งพายาหรือการติดยา บทสรุป การใช้ APP ร่วมสมัยในสังคมตะวันตกกำลังได้รับความนิยม นโยบายยาระหว่างประเทศและกำหนดการควบคุมยาที่อ้างว่าอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่หลักฐานนี้มีจำกัด วิสัยทัศน์อันคับแคบของสังคมร่วมสมัยมุ่งเน้นไปที่เรื่องของความเสี่ยงและอันตรายของยา ทำให้มองข้ามความเป็นจริงที่สำคัญ เช่น ประโยชน์ของการใช้ยาที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา การละเว้นเหล่านี้บางส่วนสามารถแก้ไขได้โดยการพิจารณาผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนอกสาขา ทั้งจากสาขาชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับมิติทางจิตวิญญาณและชุมชนของการใช้ยา การใช้สารออกฤทธิ์ทางจิตเป็นสิ่งที่ถูกทำให้หยุดนิ่งคงที่ในสังคมมนุษย์ จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ทั่วโลก สังคมมีความแตกต่างกันในแง่ของสิ่งที่เป็นยาที่กำหนดว่าสามารถยอมรับได้ในขณะนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานและความสัมพันธ์เชิงอำนาจมากกว่าคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสาร(Kushner, 2010) โดยที่สถานะทางกฎหมายของสาร(substances ) ไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (GCDP, 2017) งานศึกษาจำนวนหนึ่ฃชี้ว่าการใช้สารเสพติดส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและมีผู้ใช้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ในทางที่ผิด (Aldridge et al., 2011; Cruz, 2015; GCDP, 2017; Hart, 2013; Keene, 2001; Nicholson et al., 2002; Nutt, 2012; Pallarés, 1996; Royal Society for the Encouragement of Arts, Manufactures & Commerce, 2007; Schlag, 2020; Soar et al., 2006) โดยทั่วไป การใช้ยาเป็นเพียงแง่มุมเดียวในชีวิตของผู้ใช้และพวกเขาควบคุมตนเองได้ (Castel & Coppel, 1991; Cohen, 1999; Percy, 2008; Rovira & Hidalgo, 2003) ในขณะที่งานศึกษาบางส่วนมองเรื่องประโยชน์และมีสุขภาพดี (Whiteacre & Pepinsky, 2002) และพบว่าผู้ใช้ยาส่วนใหญ่มีกลยุทธ์ในการควบคุมตนเอง ซึ่งจะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ (Grund et al., 1993) ตรงกันข้ามกับการเป็นตัวแทนที่โดดเด่น ว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายหรือการใช้ในทางที่ผิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น(World Drug Report, 2020) การเสพติดเป็นผลจากปัจจัยทางจิตวิทยา สังคม-เศรษฐกิจ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน (Hart, 2021) และปัจจัยเหล่านี้กำลังถูกตั้งคำถามไม่เพียงแต่ในสังคมศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงในชีวการแพทย์ด้วย (Alexander, 2008; Peele, 2007; Puerta & เปเดรโร, 2017). ความสามารถในการควบคุมการใช้ยาได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแบบ peer-based (กลุ่มเพื่อนฝูงใกล้ชิด)หรือ inter-generational (การส่งผ่านกันระหว่างรุ่น) และโดยการใช้พิธีกรรมและข้อบังคับ การใช้ที่ควบคุมเป็นผลจาก "วงจรตอบรับ" ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ พิธีกรรมและกฎเกณฑ์โครงสร้างชีวิต และความพร้อมของยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากอิทธิพลภายนอกอย่างต่อเนื่อง (Grund et al., 1993; Zinberg, 1984) พิธีกรรมมีการตั้งค่าที่ปลอดภัยสำหรับการใช้สารเสพติด (Grund, 1993; Mabit, 2016) นอกจากนี้ พิธีกรรมการใช้ยาเสพติดยังสามารถเสริมสร้างความผูกพันของชุมชนตามที่อธิบายไว้ในวรรณกรรมทางมานุษยวิทยา (Wadley, 2016) การใช้ APP เป็น (และยังคงเป็น) กิจกรรมทางสังคมที่เสริมสร้างความผูกพันทางสังคมและส่งผลให้เกิดเครือข่ายสังคมที่มีโครงสร้าง (Grund et al., 1993) เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ที่มีปัญหาคือผู้ใช้ที่ถูกบังคับใช้ทางกฎหมายและเป็นบุคคลที่แพทย์มักจะติดต่อด้วยและเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้นโยบายเกี่ยวกับยา ดังนั้น หน่วยงานระหว่างประเทศและรัฐบาลระดับประเทศกำลังวางแนวทางจัดการกับการใช้ยาเสพติดภายใต้กรอบการควบคุมยา ซึ่งถือว่าสารออกฤทธิ์ทางจิตเป็นอันตรายต่อบุคคลและสังคมโดยเนื้อแท้ ซึ่งถือเป็นการการลดทอนพืชแบบดั้งเดิมและพิธีกรรมที่มาพร้อมกับพวกเขา และมองเพียงสารประกอบที่มีผลทางจิตในแง่ของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความล้มเหลวในการพิจารณาผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นสำหรับบุคคลและชุมชน รวมถึงบทบาทของพวกเขาในฐานะผู้ส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน (Sánchez & Bouso, 2015) ความเป็นจริงเหล่านี้ยังคงไม่มีใครสังเกตเห็นและใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายยา เนื่องจากยาในทางชีวการแพทย์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นแหล่งหลักฐานที่ถูกต้องเพียงแหล่งเดียว เนื่องจากชีวการแพทย์มุ่งเน้นไปที่อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาในแง่ของการเสพติดและผลกระทบต่อต้นทุนทางสังคม ดังนั้นการเข้าใจวิถีชีวิต พฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ ผลกระทบของนโยบายยา และรูปแบบการใช้ยาตามปกติ มีคุณค่าในทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนานโยบายและสาธารณสุข การวิจัยชาติพันธุ์วิทยาสามารถมีบทบาทสำคัญในการสร้างหลักฐานที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุขและเมื่อตรวจสอบปรากฏการณ์ของการใช้ยาในบริบทที่กว้างขึ้นของสังคมโดยรวม (Babor et al., 2018) ในการพัฒนานโยบายด้านยาในอนาคต ควรคำนึงถึงการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่สร้างข้อมูลทาชาติพันธุ์วิทยาควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาชีวการแพทย์ตามที่หน่วยงานด้านสุขภาพระหว่างประเทศเน้นย้ำ เช่น WHO (Rootman et al., 1984) เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา ผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับสากลและระดับชาติควรรับทีาบเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้และตระหนักถึงแนวทางใหม่ เช่น การส่งเสริมการใช้ยาอย่างมีความรับผิดชอบ (Whiteacre & Pepinsky 2002) จำเป็นต้องมีการควบคุมทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคมควบคู่กันไปด้วย ดังเช่น ตัวอย่างการใช้ยาเสพติดที่ไม่เป็นปัญหาซึ่งพบเห็นได้ในชุมชนแห่งหนึ่งในแคว้นคาตาโลเนียของสเปน ซึ่งมีการใช้สารออกฤทธิ์ทางจิตที่หลากหลายในพิธีกรรม เราใช้คำว่า "พืชออกฤทธิ์ทางจิตประสาทโบราณ" (APP) เพื่ออ้างถึงพืชออกฤทธิ์ทางจิตที่มีประวัติการใช้ในพิธีกรรมหรือเป็นยาและได้รับการบูรณาการเข้ากับสังคมโดยมีความหมายเชิงสัญลักษณ์สำหรับบุคคลและมีหน้าที่ในการก่อสร้างความแข็งแกร่งภายในสังคมด้วย

ความเจ็บป่วย การดูแล และสุขภาวะทางปัญญา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

คนที่เป็นหมอ พยาบาล ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาคนไข้ คนไข้ที่ไม่ใช่ญาติ เป็นผู้มารับการรักษา มารับบริการ ในระบบสุขภาพ เป็นคนไข้ ลูกค้าของโรงพยาบาล เป็นการรักษาตามอาการ ตามหน้าที่ที่กำหนด ในขณะที่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็นสามีภรรยา เป็นญาติพี่น้อง ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย เป็นการดูแลผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ตามหน้าที่ แต่เป็นความรักและความปรารถนาดีต่อผู้ใกล้ชิดหรือคนที่ตัวเองรัก ทั้งสองกรณี เขื่อมกับแนวคิดเรื่อง การดูแลและการรักษา Cure and Care ซึ่งก็น่าสนใจที่จะวิเคราะห์ต่อ เพราะคำว่า Cure คือการรักษาตามแบบ ตามระบบมีสิ่งที่กำกับภายใต้มาตรฐาน Standardization คนไข้มาต้องได้รับการรักษา1,2,3,4 เพื่อให้หายจากโรค หรือประคับประคอง บรรเทาอาการเจ็บป่วย หากรักษาตามขั้นตอนที่กำหนด ส่วนคำว่าว่า care มันคือการดูแล ที่ต้องเอาใจใส่ ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ข้างใน ต้องมองมากกว่าร่างกายของผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การดูแลรักษา แต่ต้องให้ผู้ป่วยมีความสุข มีความรู้สึกสบายด้วย อันนี้เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับเรื่องของจิตวิญาณ ที่สร้างการตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของคนอื่น มีความปรารถนาที่อยากจะให้คนที่ดูแลได้หายจากโรคหรือความเจ็บป่วย และมีความสุขในการใช้ชีวิตไปพร้อมกันด้วย การให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเรากำลังพูดถึงมนุษย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงการมองมนุษย์ ที่เป็นวัตุของความรู้ วัตถุของการถูกจ้องมองตรวจสอบ ถูกศึกษา วัตถุของการรักษา ไปสู่การให้ความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิด ต่อเนื้อตัวร่างกายที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้สึก ไม่ใช่เครื่องจักร … มันคิอความท้าทายที่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีสมัยมใหม่ กับเครื่องจักร มันไม่เกิดการลดทอนคุณค่าซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็น อวัยวะเทียม แขนขนาเทียม เครื่องพยุงขีพ เครื่องงฟอกไต ถุงปัสสาวะ บริเงณหน้าท้อง การเจาะช่องคอและการใส่ท่อที่คอ และอื่นๆ …ทำอย่างไรจะทำให้มีการดูแลจิตวิญญาณ อารมณ์ ความรู้สึก มากกว่าจะแค่ดูแลร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น โลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคทุนนิยมตอนปลายในแบบที่แอนโทรนี่ กิดเด้น นักสังคมวิทยา ได้เคยบอกไว้ ว่าระบบการผลิตเปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้า ไปสู่เริ่องของการบริการมากขึ้น ผู้ผลิตไม่ได้ผลิตหรือขายสินค้าอย่างเดียว แต่ยังเน้นการขายปฏิสัมพันธ์กับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการด้วย เหมือนผู้ป่วยไม่ได้ต้องการแค่ยาในการรักษส แต่ต้องการการแนะนำ การดูแล จะใช้ยาอย่างไร จะรักษาอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไร รวมถึงคำถามที่ไกลมากกว่านั้นก็คิอ ฉันจะมีชีวิตที่มีความสุขอย่างไร กับความเจ็บป่วยและการรักษาที่ต้องเผชิญอยู่ ที่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ(Spiritual) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปฎิบัติการหรือคนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการจะต้องเข้าใจและใส่ใจ เมื่อหันกลับมามองวิชาการทางมานุษยวิทยา ที่หัวใจของวิขานี้เน้นที่เรื่องของการศึกษามานุษย์ในทุกมิติ เพิ่อทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น ในทางมานุษยวิทยาหัวใจสำคัญคือมนุษย์ มนุษย์ที่มีตัวตน มีความรู้สึก มีความคิด มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมและเงิ่อนไขส่วนบุคคล ดังนั้น ในฐานะที่พวกเราเป็นนักวิชาการด้านนี้ การให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ภายใน เนื้อตัวร่างกายของมนุษย์จึงเป็นประเด็นสำคัญ เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย การเคารพในความเป็นมนุษย์ และการมองความเชื่อมโยงแบบองค์รวม การมีสภาวะแบบรู้ร้อนรู้หนาว ช่างสังเกต มีความอ่อนไหว และความรวดเร็วต่ออารมณ์ คงามรู้สึก ความเปราะบางของผู้คน การเคารพในความแตกต่างหลากหลายของผู้คน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มันก็คือแขนงความรู้หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการบ่มเพาะหรือพัฒนาทางจิตวิญญาณ ให้เราได้สะท้อนย้อนคิด ย้อนมองตัวเองและคนอื่น การให้คุณค่ากับคนอื่น รับฟัง และเคารพคนอื่น เรื่องสุขภาวะทางปัญญา หรือจิตวิญญาณเป็นเรื่องความรู้เฉพาะตัว และเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง การสร้างนิยามและสร้างความเข้าใจให้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้จริง รวมทั้งต้องทำให้จิตวิญญาณมันจับต้องได้ ไม่ล่องลอย เพ้อฝัน การจับต้องสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ได้จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังเช่น การรับรู้ถึงการเกิดสุขภาวะทางปัญญา หรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณขั้้นสูง แม้ว่าเราจะเจริญสติ ปฏิบัติสมาธิ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุขภาวะทางปัญญาได้เกิดขึ้นกับตัวเรา และมันเกิดขึ้นจริงโดยที่เราไม่มโนไปเอง แม้ว่าเราจะบอกว่าสุขภาวะทางปัญญามันเป็นความรู้เฉพาะตังที่เกิดจากการปฏิบัติ มันต้องมีมาตรวัดอะไร ที่ทำให้เห็นภาวะดังกล่าว เช่น การฝึกสมาธิเป็นระยะเวลานานมันส่งผลต่อภาวะความเครียด ความดันที่ลดลง หรือ ลดการหลั่งสารบางอย่างที่คุกคามหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือ การสร้างสุขภาวะทางปัญญาในโรงเรียน มันช่วยลดอัตรการฆ่าตัวตายในโรงเรียน เด็กมีรอยยิ้มมากขึ้น จัดการกับปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการวัดในระดับพฤติกรรม หรือทัศนคติ หรือ ไปไกลมากกว่านั้นคือ การวัดที่ฮอร์โมน การทำงานของระบบประสาท ส่วนหลัง ส่วนหน้า ซึ่งในต่างประเทศก็มีการทำการวิจัยเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นสิ่งที่น่าจะเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้คือ การเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับปัญหา และใช้สิ่งเหล่านี้ในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ดังนั้นจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญามันสะท้อนมุมุมองและวิธีการแก้ไขปัญหา ว่าเรามองตัวเอง มองคนอื่น มองสังคมและมองปัญหานี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเราแก้ปัญหาโดยการฆ่าตัวตาย การหันหาความเชื่อที่ไร้เหตุผล นั่นคือภาพสะท้อนถึงการปราศจากสุขภาวะทางปัญญา และเมื่อมีตัวอย่างที่สะท้อนความสำเร็จของการแก้ไขปัญหา เราก็จะสามารถนำตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ใช้ได้จริง มาเผยแพร่สู่สาธารณะ ให้กลายเป็นความรู้ที่จับต้องได้ และท้ายที่สุดก็สามารถนำมาวางเป็นนโยบายสาธารณะของสังคมได้ ที่สำคัญก็คือการทำให้มิติทางจิตวิญาณ และสุขภาวะทางปัญญาอยู่ในเนื้อตัวร่างกายของมนุษย์ทุกคน ให้ทุกคนตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นพื้นฐานของทุกคน เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ในแวดวงการแพทย์หรือศาสนา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เติบโต งอกงามจากภายใน การมองตัวเอง มองคนอื่น มองสิ่งรอบตัวที่มีความสัมพันธ์แบบเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน เห็นคุณค่า สร้างความเป็นธรรม และความเท่าเทียมในสังคมและระบบสุขภาพและสร้างความสุขที่สมดุล อาจสรุปได้ว่า สุขภาวะทางปัญญา คือ ความสุขที่เกิดขึ้นจากเรารู้จักตัวเอง การมองเห็นความเชื่อมโยงของเรา ผู้คน สังคม และธรรมชาติ ดังนั้น เวลามองความเจ็บป่วย มองการเป็นโรค หรือมองความทุกข์ทรมานของผู้คนต่อความเจ็บป่วย มันมองได้หลากมิติ ไม่ได้มองแค่การอธิบายเชื้อโรคการติดเชื้อแบบวิทยาศาสตร์ แต่เรามองความรู้สึกต่อภาวะความเจ็บป่วย ประสบการณ์ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการบ่มเพาะและสร้างประสบการณ์ของความเจ็บป่วยและความทุกข์ทนที่มีบริบทที่เฉพาะ ที่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ที่ทำให้เรามองความเจ็บป่วย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลเท่านั้น แต่ยังอาจรวมถึงความเจ็บป่วยในทางสังคมด้วย..หรือระบบสุขภาพที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน จากการเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ การรอคอยจากระบบบริการสุขภาพ ความเหลื่อมล้ำ การถูกเลือกปฏิบัติ รวมถึงจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย ภาวะสมองไหล การออกนอกระบบสุขภาพของแพทย์จบใหม่ และอื่นๆที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วย นี่คือ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นความพร่องทางจิตวิญญาณ และการไร้ซึ่งสุขภาวะทางปัญญา …ผมจึงมองว่า การสร้างคุณค่าของคนทำงาน หรือองค์กรทางการแพทย์สำคัญ สร้างให้เห็นคุณค่าของตัวเอง ของผู้อื่น ของสังคม ในขณะเดียวกัน ระบบสุขภาพ โครงสร้างขององค์กร ก็ต้องเอื้อกับการสร้างคุณค่าเหล่านี้ให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นคือเรากำลังพูดถึงระบบสุขภาพที่มีจิตวิญญาณ (spiritual health care) และการให้คุณค่ากับคนไข้ คืนความหมายให้กับคนไข้ มองภาวะความเจ็บป่วยของคน ในแง่มุมชีวิตของคนคนหนึ่ง(one’s of living ) ไม่ใช่เป็นวัตถุของการรักษา… ดังนั้นแม้ว่าสุขภาวะทางปัญญาจะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคล แต่สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญา …ตัวอย่างเช่น ถ้าครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูด้วยความรักความเข้าใจ ลูกมีภูมิคุ้มกัน การจัดการปัญหาจึงไม่ใช่การคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ใช้สติในการแก้ไขปัญหา มีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้กับปัญหา ที่สะท้อนสุขภาวะทางปัญญา และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีครอบครัวสนับสนุน เป็นต้น ผมว่าเป้าหมายของการเยียวยาความเจ็บป่วย คือการมองเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน การคืนคุณค่าให้กับชีวิต ทั้งคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ คุณค่าของผู้ป่วย รวมทั้งความสุขที่เกิดขึ้นจากการตระหนักหรือมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และผู้อื่น ให้สิทธิในการดูแลจัดการตัวเอง การเลือกหนทางของการรักษา การตายดี ผมว่านี่คือสิ่งที่สะท้อนเรื่องของสุขภาวะทางปัญญาที่งอกงามและพัฒนาในตัวมนุษย์ ขอบคุณเวทีนี้ที่ทำให้ผมค้นพบความงอกงามบางอย่าง และกลับมาทบทวนเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของมนุษย์ที่เติบโตจากภายใน และเชื่อมโยงจากภายนอก จาก IDG (Inner development growth ) สู่SDG ( sustainable development growth)

เวทมนตร์ขาวและเวทมนต์ดำ( White and Black Magic) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ความแตกต่างระหว่างเวทมนตร์ขาวและเวทมนต์ดำ( White and Black Magic) แม็กซ์ เวเบอร์( Max Weber )ใช้คำว่า “เวทมนตร์” (Magic) เพื่อหมายถึงการกระทำทางศาสนาที่เชื่อกันว่าจะมีประสิทธิผลโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเห็นผลในเชิงประจักษ์หรือเห็นได้ด้วยตาหรือไม่ก็ตาม ส่วนมาลินอฟสกี้ (Malinowski ) นิยามเวทมนตร์ว่าเป็นการใช้วิธีเหนือธรรมชาติ(Supernatural) เพื่อพยายามบรรลุผลบางอย่าง และเขาแยกระหว่าง "เวทมนตร์" (Magic) ออกจาก”ศาสนา”(Religion) มนต์ขาว(White Magic) ใช้เพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล สังคมหลายแห่งมีพิธีกรรมมหัศจรรย์ที่ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าพืชผลดี การได้มาซึ่งสัตว์ป่าที่ล่า ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์เลี้ยง และการหลีกเลี่ยงจากโรคภัยและรักษาโรคในมนุษย์ ดังที่เราพบว่าหมอผีและหมอผีในหมู่จวงแห่งโอริสสา(Juang of Orissa ) มักจะใช้เวทมนตร์เพื่อรักษาโรค ส่วนชาวเกาะ Trobriand ถือว่าเวทมนตร์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการตกปลาในทะเลลึก ซึ่งมีความเสี่ยงทั้งในแง่ที่ว่าชีวิตอาจล้มตายหรือสูญหาย และในแง่ที่ว่าการเดินทางตกปลาที่มีราคาแพงอาจไม่กลับมาพร้อมกับปลาจำนวนมาก แต่ชาวเกาะไม่ได้ใช้เวทย์มนตร์ในการตกปลาน้ำจืด ซึ่งไม่มีความเสี่ยงใดๆ ในทางกลับกัน มนต์ดำเชื่อกันเสมอว่าก่อให้เกิดอันตรายและมักมุ่งเป้าไปที่บุคคลในสังคมที่เป็นผู้ใช้เวทมนต์เอง ดังนั้นคาถาอาคมที่ทำให้เกิดโรคจึงเป็น "มนต์ดำ" (Black Magic) แบบหนึ่ง เวทมนตร์ขาวได้รับการอนุมัติและอนุญาตอยู่เสมอ ในขณะที่มนต์ดำบางครั้งก็ไม่ได้รับการอนุมัติหรืออนุญาตให้ทำ บางครั้งก็ได้รับการอนุมัติหรืออนุญาต ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในบรรดาชาวโดบวนในแปซิฟิกตะวันตก( Dobuans of the Western Pacific )มนต์ดำถูกใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินและด้วยเหตุนี้จึงลงโทษพวกหัวขโมย
 นอกจากนี้ สังคมจำนวนมากยังเชื่อว่ามนุษย์บางคนมีอำนาจทำลายล้างผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ และบ่อยครั้งก็พวกเขาก็ไม่รู้ว่าพวกเขาได้ทำสิ่งนั้นลงไป โดยสามารถทำได้โดยรูปแบบของคำพูดสาปแช่งหรือการจ้องมองที่มีพลังทำลายล้าง ในกรณีที่มีสายตามุ่งร้าย ลักษณะนี้กลายเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็น 'ดวงตาปีศาจ'(the evil eye) การคุ้มครองและการเยียวยาของผู้คนในสังคมส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของการต่อต้านเวทมนตร์ รวมถึงการสวมเครื่องราง เครื่องราง และเครื่องราง การสวดมนต์และคาถา การถวายเครื่องบูชาและการแสวงบุญ และการขับไล่ภูติผี ในช่วงยุคเรอเนซองส์ การปฏิบัติทางเวทมนตร์และพิธีกรรมหลายอย่างถือเป็นสิ่งชั่วร้ายหรือไม่เกี่ยวกับศาสนา และหากขยายออกไปจะเรียกว่า "มนต์ดำ" ในความหมายกว้างๆ การศึกษาเรื่องเวทมนตร์และการศึกษาเรื่องลึกลับที่ไม่ใช่กระแสหลัก แต่กลายเป็นสิ่งต้องห้ามและตกเป็นเป้าหมายของการสืบสวนสอบสวน ในส่วนของเวทย์มนตร์ "สีขาว" ถูกกำหนดให้เป็นส่วนที่ดี และเวทมนตร์ "สีดำ" ในอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนที่มืด แต่นี่ไม่ใช่กฎสากล ในเมโสโปเตเมียโบราณ เวทมนตร์เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติและดีอย่างลึกซึ้ง และอาจเป็นอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน โดยการแบ่งแยกความดีและความชั่วมาพร้อมกับลัทธิโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซีย ในข่วง 2-3 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช ชาวเปอร์เซียได้นิยามพระเจ้าสูงสุดของเขาคือ Ahura Mazda ซึ่งรวมเอาสิ่งดีๆ ไว้ในตัวเขาเอง สมมุติว่าเขาเหนือกว่า Angra Mainyu ที่เป็นแฝดผู้ชั่วร้ายของเขา แนวคิดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสถาบันศาสนา และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินคดีกับ “คนนอกรีต” ด้วยระบบที่จัดตั้งขึ้น นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสอย่าง Marcel Mauss กล่าวว่าเวทมนตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน เวทมนตร์เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมส่วนบุคคลซึ่งส่วนใหญ่สามารถพบได้ในทุกสังคมที่ ทุกเวลา เขาเชื่อมโยงเวทมนตร์เข้ากับพลังทางสังคม นอกจากนี้เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของพิธีกรรมจากมุมมองของคนรอบข้างผู้ประกอบพิธีกรรม แน่นอนว่าทุกสังคมต้องรับมือกับความไม่แน่นอน ภายใต้ความจริงที่ว่าอนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ และพวกเขาต้องรับผิดชอบต่อความโชคร้ายในอดีต โดยทั่วไปทฤษฎีมานุษยวิทยาให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน โดยให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งขัดขวางระเบียบสังคมค่อนข้างน้อย ประเด็นของความไม่มั่นคง ความไม่แน่นอน ความเสี่ยง ความคลุมเครือ ความสับสน และความสับสนที่ผสมกับความสับสน โอกาสที่เป็นไปได้น้อย คำว่าความไม่แน่นอนโดยทั่วไปหมายถึงอุบัติเหตุ การที่โชคร้ายเข้ามา การเจ็บป่วยสาหัส การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้หรืออยู่ในขอบเขตการควบคุม เรารวมความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ และสุขภาพที่ถูกคุกคาม การจัดการกับความไม่แน่นอนยังกลายเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาทางสังคมวิทยามานุษยวิทยาเกี่ยวกับสังคมที่รับความเสี่ยง นักมานุษยวิทยาหลายคนยืนยันว่าศาสนาและพิธีกรรมทำหน้าที่สากลในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินหรือความเปราะบางของชีวิตมนุษย์ แนวคิดทางศาสนาเป็นกรอบการอธิบายสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน แนวคิดที่ว่าเหตุการณ์และการกระทำของมนุษย์เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ และเสนอกลยุทธ์เชิงปฏิบัติในการจัดการกับความไม่แน่นอน ทั้งทางศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นในอาณาจักรเหนือธรรมชาติของเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆทั้งด้านดีและด้านชั่วร้าย นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้คนตระหนักดีถึงความไม่แน่นอนในชีวิตของตนเองและพวกเขาพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการกับสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

ชาติพันธุ์พม่าและการศึกษากะเหรี่ยง ของ Mikael Gravers โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

นักมานุษยวิทยา Mikael Gravers ผู้เชี่ยวชาญด้านลัทธิชาตินิยม ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ และสันติภาพและการปรองดอง ผู้มีประสบการณ์มากมายในการทำงานกับชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและเมียนมาร์ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพม่ทหรือเมียนมาร์หลายเล่ม เข่น Where Now?, Exploring Ethnic Diversity in Burma และ Nationalism as Political Paranoia in Burma นอกจากนี้เขายังเป็นนักวิจัยในโครงการ “Everyday Justice and Security in the Myanmar Transition” อีกด้วย เขาเล่าถึงความสนใจของเขาสนการศึกษากลุ่มชนกะเหรี่ยงในไทยและพม่าว่า “ใช่ จริงๆ แล้วฉันกำลังอ่าน Political Systems of Highland Burma ของ Edmund Leach ในขณะที่ฉันกำลังเตรียมตัวสำหรับงานภาคสนาม และนั่นเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันมากจนตัดสินใจว่าอยากจะทำงานภาคสนามที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ในพม่าในเวลานั้น ฉันอยู่ที่พม่าในปี 1972 แต่นี่เป็นช่วงปีของการครอบครองอำนาจของนายพลเนวินและมันค่อนข้างยากมากกับการทำงานต่างๆ ฉันไปพบกับชาวกะเหรี่ยงโปว์คริสเตียนและเพียงไม่กี่นาทีต่อมา เจ้าหน้าที่ MI (หน่วยข่าวกรองทหาร) บนรถบัสก็หยุดฉันไว้ ฉันไม่คิดว่าจะมีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้นกับกะเหรี่ยงโปว์คนนี้ เพราะเจ้าหน้าที่ MI ก็ไม่เคยถามฉันเกี่ยวกับการมาเยือนครั้งนี้ แต่ฉันตระหนักได้ว่าฉันไม่สามารถทำงานภาคสนามที่เหมาะสมได้ที่นี่ในปี 1972 แต่ฉันยังได้ลงพื้นที่ศึกษาเรื่องกะเหรี่ยงในภาคตะวันตกของประเทศไทยที่อุทัยธานี เมื่อปี พ.ศ. 2513-2515 กับเพื่อนร่วมงานชาวเดนมาร์กสองคนที่เป็นจุดแรก และที่สังขละบุรีที่ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และมีค่ายพักแรมของอูนู ( U Nu )โดยใช้เวลาเดินทางกว่า 12 ชั่วโมงโดยเรือจนไปถึงสถานที่นั้น เราเห็นช้างป่าลงมาที่แม่น้ำแควเพื่อดื่มน้ำ ฉันไปเยี่ยมคณะเผยแผ่แบ๊บติสต์ และมิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อ Emilie Ballard ซึ่งถูกเน วินขับไล่ออกจากพม่าในปี 2505 ได้มอบสื่อภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่ยอดเยี่ยมของเธอให้กับเรา ครูคือซอท่าดิน (Saw Tha Din ) ที่เป็นอดีตประธานองค์การกลางกะเหรี่ยง(Karen Central Organization ) จนกระทั่ง พ.ศ. 2490 จึงได้จัดตั้งเป็นสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ต่อมาเขาได้ลาออก เพราะเขาตระหนักว่าเขาไม่สามารถหยุดนักรบหนุ่มชาวกะเหรี่ยงได้ เขาต้องการเจรจา แต่เขาเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจึงก้าวลงจากตำแหน่ง เขาถูกส่งตัวเข้าคุกเป็นเวลา 4 ปีโดยอูนูและเนวิน เมื่อออกมาก็ไปสังขละบุรีและทำงานเป็นผู้สอนศาสนา ดังนั้นเขาและภรรยาเป็นครูของผม และนี่คือจุดเริ่มต้นของงานของผมจริงๆ เพราะหลังจากเรียนภาษาแล้ว เขาได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับการเมืองกะเหรี่ยงและลัทธิชาตินิยมกะเหรี่ยงกับผมด้วย” Emilie Ballard อธิบายว่าเหตุใดจึงมีลัทธิชาตินิยมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เข้มแข็งมากเช่นนี้ เขาอธิบายว่าศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาใหม่ แต่ความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่พวกเขาสูญเสียความรู้ และศาสนาไปในอดีต นั่นคือ “พี่ชายที่เป็นคนขาว”(white brother) ที่มาในรูปของมิชชันนารีแบ๊บติสต์ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้คืน 'หนังสือที่หายไป' ผู้เฒ่าคาเรนเชื่อเรื่องเหล่านี้อย่างมาก ดังนั้นเขาจึงกล่าวถึงและอ้างถึงบทนี้ว่าหนังสือที่หายไปที่พบคืออะไร? โดยมิชชันนารีได้สร้างเอกสารเกี่ยวกับกะเหรี่ยงขึ้นมาสองฉบับในช่วงทศวรรษที่ 1840 แล้วเขาก็บอกว่า "ถ้าอยากรู้เรื่องชาตินิยมกะเหรี่ยงก็ไปห้องสมุดอังกฤษ หรือไปที่ห้องสมุดสำนักงานในอินเดีย เขาบอก Gravers ว่าเขาทำเอกสารทั้งหมดหายในปี พ.ศ. 2492 แต่เขาอยู่ในคณะผู้แทนกะเหรี่ยงไปลอนดอนในปี พ.ศ. 2489 และพวกเขาก็แจกอนุสรณ์และจุลสารให้กับรัฐสภา เอกสารเหล่านี้ไม่ได้เห็นมานานแล้ว Gravers จึงตัดสินใจค้นหาเอกสาร โดยได้รับเงินสนับสนุนจำนวนหนึ่งในปี 1988 จากสภาวิจัยเดนมาร์ก และหลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาก็พบเอกสารเหล่านี้ รวมทั้งหนังสือของ ซอ โพธิ์จิต (Saw Po Chit’ ) เกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมกะเหรี่ยง เขาคิดว่าสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญที่จะเข้าใจและอธิบายความคาดหวังของชาวกะเหรี่ยงในขณะนั้น (ตอนสิ้นสุดของจักรวรรดิอังกฤษ) ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากเชื่อว่าอังกฤษจะมาช่วยต่อสู้เพื่อรัฐเอกราชของพวกเขา Gravers บอกว่าเขากำลังคิดจะพิมพ์เอกสารฉบับหนึ่งอีกครั้งในเล่มแก้ไขเกี่ยวกับการสิ้นสุดของจักรวรรดิในพม่าที่กำลังจะมีขึ้น โดยใช้เค้าโครงจากจุลสารในบทความเรื่อง “กะเหรี่ยงสร้างชาติ” (The Karen Making of the Nation) เมื่อปี 2539 (ค.ศ.1996) และการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของ KNU นั้นก็ไม่สมจริงเลยจริงๆ เพราะพวกเขาอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตกของประเทศไทยด้วย เพราะพวกเขากล่าวว่าพื้นที่ชายแดนก็เป็นดินแดนกะเหรี่ยงเช่นกันและอาจรวมได้เนื่องจากรัฐบาลไทยสนับสนุนญี่ปุ่นในช่วงเริ่มต้นของสงคราม โดยKNU กล่าวถึงแม่สอดและพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ พวกเขาเชื่อว่าจังหวัดสังขละบุรีและตากเป็นจังหวัดกะเหรี่ยงเก่าแก่ ในอดีตกษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งผู้ดูแลหัวเมืองในแถบนี้ ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงในบริเวณชายแดนเมื่อราวปี พ.ศ. 2343 โดยมีหน้าที่เฝ้าชายแดนเพื่อป้องกันการรุกรานของพม่า ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากกลายเป็นพันธมิตรกับกษัตริย์ไทยหลังจากที่พระเจ้าอลองพระยาพิชิตอาณาจักรมอญในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755 ) ซึ่งรวมถึงรัฐกะเหรี่ยงในปัจจุบันด้วย คำกล่าวอ้างของ KNU นั้นไม่สมจริงและมีเหตุผลเพียงพอ อีกทั้งก็ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาลอังกฤษ เพราะรัฐบาลอังกฤษมองว่าคำกล่าวอ้างของกะเหรี่ยงนี้อยู่ไกลจากความเป็นจริงเกินไป ต่อมาGravers ก็ได้ให้สำเนาหนังสือเล่มนี้แก่ลูกสาวของซอท่าดิน(Saw Tha Din ) ในระหว่างการเยือนสังขละบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996 ) ซอท่าดินเสียชีวิตก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์กะเหรี่ยง เราจะเห็นข้อมูลในเอกสารสำคัญว่าชาวกะเหรี่ยงคริสเตียนและชาวพุทธมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับรัฐภายในหรือภายนอกสหภาพ และการแบ่งแยกนี้ก็แพร่หลายและสำคัญมากเช่นกันในปี พ.ศ. 2488(ค.ศ.1945) โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ได้มีองค์กรพุทธแห่งชาติกะเหรี่ยง Burma Karen National Association (BKNA) ที่ไม่เห็นด้วยกับสมาคมแห่งชาติกะเหรี่ยงคริสเตียน (Christian Karen National Association ) พวกเขาต้องการเจรจากับอูนุ และเราได้เห็นการแบ่งแยกนี้หลายครั้งในประวัติศาสตร์ ล่าสุดเกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2537-2538 (ค.ศ. 1994-95 ) เมื่อมีการก่อตั้งองค์กรและกองทัพกะเหรี่ยงประชาธิปไตย (Democratic Karen Buddhist Organization and Army ) และแยกตัวออกจาก KNU Gravers มองว่ามันเป็นความแตกแยก/ความขัดแย้งทางศาสนาจริงๆ หรือเกี่ยวข้องกับทรัพยากรและอำนาจทางการเมืองที่กลุ่มต่างๆ มีมากกว่า ดังนั้นคำถามที่น่าคิดก็คือ ศาสนามีความสำคัญแค่ไหนในความแตกแยกนี้? เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างที่สำคัญของอัตลักษณ์ภายในกลุ่มกะเหรี่ยง แน่นอนว่ามีความขัดแย้งทางการเมือง และความแตกแยกในปี 1994 เมื่อ DKBA ก่อตั้งขึ้น จริงๆ แล้วความแตกแยกนั้นก็เกี่ยวกับชนชั้น และการศึกษาด้วย ทหารแนวหน้าทั้งหมดส่วนใหญ่ยากจน มีการศึกษาน้อย มักเป็นชาวกะเหรี่ยงพุทธ ในขณะที่ผู้นำของ KNU เกือบทั้งหมดเป็นชาวคริสต์ ชนชั้นสูงที่เป็นคริสเตียนสามารถเข้าถึงการศึกษาและโรงพยาบาลในประเทศไทย พวกเขาค่อนข้างมีฐานะดีและส่งลูกไปเรียนที่กรุงเทพ และขณะนี้ก็มีการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงติดอาวุธด้วย พวกเราคิดว่ายังคงมีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือไม่ที่มีการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากร เช่น การเข้าถึงทุนการศึกษาและทรัพยากรอื่นๆ ระหว่างชาวกะเหรี่ยงที่เป็นคริสเตียนและพุทธ? ใช่แล้ว ยังคงมีความขัดแย้งที่ยืดเยื้ออยู่ ดังเช่นเหตุการณ์การสร้างเจดีย์เล็กๆ ใกล้โบสถ์คริสต์และมัสยิดของชาวมุสลิม มันไม่ใช่แค่เรื่องศาสนาเท่านั้น นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับชนชั้น เศรษฐกิจ และความขัดแย้งทางการเมืองด้วย รวมถึงบทบาทของผู้บริจาคจากต่างประเทศด้วย เพราะเห็นได้ชัดว่ากลุ่มคริสเตียนบางกลุ่มสามารถให้ทุนการศึกษาได้เนื่องจากได้รับเงินบริจาคจากกลุ่มต่างประเทศ ภายใต้แนวคิดส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการบริจาคทุนการศึกษาและความช่วยเหลือ นี้เป็นการรักษาขอบเขตความแตกต่างระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงเหล่านี้ ระหว่างกะเหรี่ยงคริสเตียนกับกะเหรี่ยงชาวพุทธ นอกจากนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีความเชื่อมโยงกับนักธุรกิจชาวไทย ในขณะที่ผู้นำของ KNU มีการติดต่อกับบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่น เป็นต้น บริษัทต่างชาติต้องการโครงการพัฒนาต่างๆ ในรัฐกะเหรี่ยง และเราได้เห็นแนวโน้มเดียวกันในพื้นที่ขัดแย้ง (อื่นๆ) ของพม่า ซึ่งถูกเรียกว่า "ทุนนิยมหยุดยิง" (Ceasefire Capitalism ) เมื่อเจ้าหน้าที่กลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ ดังนั้น คำว่า “ระบบทุนนิยมหยุดยิง” (Ceasefire Capitalism ) เป็นคำที่ริเริ่มโดย Kevin Woods ผู้เขียนเกี่ยวกับรัฐคะฉิ่น ตัวอย่างเช่น การตัดไม้และการค้าไม้อย่างผิดกฎหมาย การทำเหมืองแร่ การทำเหมืองทองแดง รวมทั้งการทำสวนยางโดยกองทัพพม่า และโดยบริษัทต่างชาติด้วย และนี่เป็นสิ่งที่แย่มากในสายอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะสิ่งนี้อาจสร้างความเสียหายอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติ.นอกจากนี้ยังอาจขัดขวางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเหมาะสมและส่งผลให้มีการยึดครองและขยายที่ดินอย่างกว้างขวางในรัฐกะเหรี่ยงของพม่า ที่ร้ายไปกว่านั้นผู้นำกะเหรี่ยงคนใหม่ก็ปฏิบัติ 'ทุนนิยมหยุดยิง' ด้วยเช่นกัน จากข้อมูลฃฃในเมียนมาร์ กลุ่มติดอาวุธกะเหรี่ยงทั้งหมดมีส่วนร่วมในธุรกิจดังกล่าว และพวกเรายังสามารถเห็นกลุ่มแตกแยกบางกลุ่ม เช่น สภาสันติภาพกะเหรี่ยง และกองกำลังสันติภาพกะเหรี่ยงที่ลงนามในข้อตกลง และได้รับใบอนุญาตสำหรับการเพาะปลูกและเหมืองแร่ หรือใบอนุญาตการค้าจากกองทัพเมียนมาร์ พวกเขาตั้งรกรากอยู่ที่นั่นพูดได้ว่าครึ่งกองพัน รวมถึง DKBA ก็เข้ายึดที่ดินด้วย และเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น Border Guard Force (BGF) สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป เจ้าหน้าที่กะเหรี่ยงบางคนมีฐานะร่ำรวย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ชั้นนำใน BGF, DKBA และ KNU มีส่วนร่วมในธุรกิจ เชื่อกันว่าบางส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด บ้างก็มีสวนยางพารา ดังนั้น นี่อาจพูดได้ว่าสิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างผู้ประกอบการทางทหารเหล่านี้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการยึดครองที่ดินและความไม่เป็นธรรม ผมคิดว่ากะเหรี่ยงที่อยู่ในไทย กะเหรี่ยงที่อยู่ในพม่าแบะอพยพโยกย้ายมาเป็นแรงงานในไทย และกองกำลังกะเหรี่ยงในพม่า ล้วนมีความคิดที่แตกต่างกันในทางการเมืองแบะความเชื่อ แต่พวกันก็มีอุดมการ๊์เป้าหมายร่วมกันถึงอิสระเสรีภาพและประชาธิปไตย

วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงในพม่า โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

กะเหรี่ยงในพม่า **ข้าวและอาหาร** ในวิถีของชาวกะเหรี่ยงในพม่า นอกจากข้าวที่ใช้ประกอบอาหารธรรมดาแล้ว ยังมีข้าวเหนียวอีกหลายชนิดที่หุงหรือนึ่งบนเตาสำหรับเป็นอาหารมื้อเช้าหรือในงานฉลองพิเศษ หม้อนึ่งนั้นทำเหมือนหม้อพม่า แต่มีรูเล็กๆ อยู่จำนวนหนึ่งที่ก้น สิ่งเหล่านี้จะถูกวางไว้เหนือภาชนะที่มีน้ำเดือด ซึ่งไอน้ำจะลอยขึ้นมาผ่านช่องเปิดและแทรกซึมเข้าไปในเมล็ดพืช มีคนบอกมาว่าข้าวก็จะถูกนึ่งบนภาชนะที่ใช้ต้มไก่ และข้าวก็ปรุงรสด้วยไก่ นอกจากนี้ข้าวเหนียวนึ่งบางครั้งผสมกับเมล็ดงาและโขลกในครกไม้จนกลายเป็นเนื้อเหนียว ส่วนผสมนี้เรียกว่าโตมีโตปี "to me to pi" พวกเขาหุงข้าวโดยใช้บ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ อย่างไรก็ตาม นี่คือการปฏิบัติในปัจจุบันของพวกเขาเมื่ออยู่ในป่า นายพรานหรือนักเดินทางในป่าจะนำข้าวใส่ในลำไม้ไผ่ขนาดใหญ่ โดยยืนที่ขอบกองไฟเล็กน้อยจนข้าวเดือดพอประมาณ เปลือกไม้ไผ่แข็งที่ทนทานต่อความร้อนในการปรุงอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อใช้แล้ว ข้อต่อก็จะถูกทิ้งไป เนื่องจากมีอีกหลายส่วนให้ตัดตามความต้องการในโอกาสต่างๆ บางครั้งข้าวที่หุงสุกสำหรับการเดินทางก็จะถูกขนไปในข้อเดียวกับที่ต้ม ไม้ไผ่บางชนิด เช่น พันธุ์หนาม "wa hsgu" ซึ่งเติบโตในพื้นที่ต่ำ จะให้รสชาติพิเศษแก่ข้าวที่หุงในนั้น ข้าวที่ได้รสชาติจากต้นไผ่มีหนามถือเป็นข้าวที่อร่อยที่สุดชนิดหนึ่ง และข้าวจากไผ่ที่เรียกว่า "มีตอ" เมื่อไผ่บางชนิดออกผลเป็นระยะเวลานาน เมล็ดของพวกมันมักจะสุกและกินแทนข้าว ***บ้านไม้ไผ่ และการอพยพโยกยย้าย*** เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในบ้านไม้ไผ่ ผู้อยู่อาศัยจะไม่ถูกกักตัวไว้ที่นั่น บ้านในหมู่บ้านกะเหรี่ยงสามารถอยู่อาศัยได้เพียงปีหรือสองปีเท่านั้น สร้างขึ้นด้วยความพยายามร่วมกันของคนในชุมชนเล็กๆ จากวัสดุที่มีเพียงพอ และสามารถเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นไม้ไผ่ ดังนั้นเมื่อโรคเริ่มแพร่กระจายไปยังครอบครัวที่อยู่ติดกัน พวกเขาก็จะเตรียมการอพยพออกไปพร้อมกับข้าวของที่จำเป็นที่สุด ในไม่ช้าพวกเขาก็รวมตัวกันและสร้างหมู่บ้านอื่นบนพื้นที่ใหม่ และเมื่อกำจัดสมบัติสุดท้ายออกจากโครงสร้างเก่าที่ติดเชื้อแล้ว ปล่อยให้มันเน่าเปื่อยหรือจุดไฟเผา เมื่อชุมชนหมู่บ้านถูกย้ายออกจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ผู้หญิงก็จะเตรียมอาหารและสุราสำหรับการเดินทาง และเก็บของของใช้ที่จำเป็น บางส่วนอาจจะทิ้งไว้ในป่าใกล้ทาง หากไม่ต้องการแบกถือพวกเขาไปยังที่ใหม่ทันที และสุดท้ายก่อนจะอพยพออกไป พวกเขาก็จะต้องเตรียมเครื่องบูชาที่จะทิ้งไว้เบื้องหลัง เครื่องบูชาเหล่านี้ประกอบด้วยข้าวหุงสุกสี่ก้อน ก้อนหนึ่งเป็นสีขาว อีกก้อนหนึ่งทำให้เป็นสีดำโดยการผสมกับถ่าน และอีกสองก้อนมีสีแดงและสีเหลือง ตามลำดับ โดยผสมผงสีต่างๆ ลูกบอลเหล่านี้วางอยู่บนตะแกรงฝัดขนาดใหญ่ที่ผู้หญิงถักทอเพื่อจุดประสงค์สุดท้าย ถาดนี้และเครื่องบูชาจะถูกยกไปที่ส่วนกลางของบ้าน ซึ่งเป็นที่ที่สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านมาเยี่ยมและถ่มน้ำลายใส่ จากนั้นให้กล่าวคำพูดว่า “ขอให้โรคภัยไข้เจ็บจงหมดไป หมดโรคภัย ความป่วยไข้ด้วยเถิด ไปกินข้าวดำข้าวแดงซะ ไปกินพลูและใบของมันซะ ไปกินข้าวกับภรรยาและลูก ๆ ของคุณ ไปอยู่ในบ้านของคุณเถอะ” หลังจากจัดการกับวิญญาณเหล่านี้แล้ว ชาวบ้านก็จะตีกลองและฆ้อง และออกเดินทางจากหมู่บ้านเดิมสู่ที่อยู่แห่งใหม่ เมื่อมาถึงบ้านใหม่ พวกเขาจะไม่เข้าไปในบ้านทันที แต่รอจนกว่าจะมีคนเด็ดกิ่งเจ็ดกิ่งที่ขึ้นตรงจากต้นไม้ที่อยู่ติดกัน แล้วกวาดห้องออกไปด้วยสิ่งเหล่านี้ ขณะที่คนกวาดเข้าไปในบ้าน เขาก็ร่ายมนต์ซ้ำดังนี้ “ไปให้พ้น วิญญาณชั่วร้ายทั้งหลาย ลาก่อน เหล่าปีศาจทั้งหลาย เราและลูก ๆ ของเราจะอยู่ที่นี่ อย่าอยู่ใกล้ๆ ไป ไป ออกไป " สมาชิกของแต่ละครอบครัวจะทำหน้าที่ต่างๆ ในครัวเรือน รวมถึงการสร้างเตาผิงด้วย หากไม่เสร็จสิ้นในคืนเดียวกัน พวกเขาจะผูกข้อมือเพื่อป้องกันไม่ให้ "k'las" เร่ร่อนออกไปและทำเสร็จในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งทำกันในหมู่ชาวกะเหรี่ยงในพม่าและในสยามในข่วงสมัยนั้น บ้านไม้ไผ่กะเหรี่ยงซึ่งตั้งอยู่ในสภาพอากาศแบบเขตร้อนนั้นให้ความสะดวกสบายทางร่างกายในระดับหนึ่ง สายลมพัดผ่านผนังโปร่ง และอาจนั่งเล่นพูดคุกันภายในช่วงที่อากาศร้อนจัด และไม่ถูกกดขี่มากนัก ในเวลากลางคืน เมื่ออากาศเย็นเริ่มรู้สึก แสงไฟที่เปิดกว้างพร้อมเปลวไฟอันร่าเริงดึงดูดผู้เล่านิทาน ในขณะที่คู่รักวัยเยาว์ดีดพิณอยู่ในเงามืด เด็กๆ และสุนัขก็เล่นกันอย่างเงียบสงบไม่ ไปรบกวนผู้อาวุโสของพวกเขา ทุกที่ที่ชาวกะเหรี่ยงเลี้ยงสุนัขทั่วไป เหล่านี้เป็นสุนัขพาเรียห์ฮาวด์ขนเรียบธรรมดาที่นักเดินทางคุ้นเคยในทุกส่วนของคาบสมุทร นอกจากนี้ยังมีสุนัขล่าสัตว์ที่เป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์และตกปลา สำหรับชาวกะเหรี่ยงแล้ว บ้านถือเป็นศูนย์กลางของชีวิตในบ้านและการสักการะของพวกเขา และด้วยเหตุนี้จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ในระดับหนึ่ง **การเลี้ยงสัตว์** ในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์ ในอดีตมีการเลี้ยงหมูและไก่เป็นสัตว์เลี้ยงที่พบมากที่สุดในหมู่ชาวกะเหรี่ยง สัตว์เหล่านี้จะถูกใข้ในพิธีกรรมต่าง เช่นพิธีกรรมความตาย เมื่อผู้หญิงผู้ชายคนหนึ่งตาย หมูของพวกเขาจะถูกฆ่าเพื่อที่ "กะล่า" (k'las ) ของพวกมันจะได้ติดตามเธอไปสู่โลกหน้า ไก่ป่ามีความหลากหลายไม่ต่างจากไก่ป่าที่พบได้ทั่วประเทศ บนที่ราบลุ่ม สัตว์จำพวกวัวควายได้รับการเพาะพันธุ์อย่างกว้างขวางเพื่อใช้เป็นสัตว์กินเนื้อและใช้เป็นแรงงานในนาข้าว เนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์ที่เดินช้า ควายและวัวพื้นเมืองตัวเล็ก ๆ วัวในทุ่งตองอูถูกใช้เป็นสัตว์ที่ขนส่งสิ่นค้าในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนเผ่าปากู ทั้งชาวปากูและเพื่อนบ้านอย่างเมาเนปกาเลี้ยงแพะสองสามตัว ในขณะที่กะเหรี่ยงแดงเป็นผู้ผสมพันธุ์ม้าอยู่บ้าง ***กำไลห่วงและต่างหู** ในบรรดาชนเผ่ากะเหรี่ยงบางเผ่าไปทางทิศตะวันออก ทองเหลืองหรือห่วงลวดอื่นๆ จะสวมที่ขา ตั้งแต่ข้อเท้าขึ้นไปเหนือน่อง หรือตั้งแต่เข่าจนถึงต้นขา หรือมีห่วงเพียง 1 หรือ 2 ห่วงที่กลับหัวที่ขา แขนยังเต็มไปด้วยวงกลมทองเหลืองไม่มากก็น้อย ดังที่เห็นได้จากคำอธิบายของสก็อตต์ ดังนี้ ต่างหูสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิงชาวกะเหรี่ยง แต่มักจะอยู่ในรูปสิ่งที่เสียบแทนที่จะเป็นวงแหวน ตุ้มหูสีเงินของ Sgaw มีลักษณะคล้ายหลอดด้ายโดยปลายด้านหนึ่งยื่นออกมากว้างกว่าอีกด้านหนึ่ง ปลายที่ใหญ่กว่าอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 2 นิ้วที่ขอบ และเรียวลงไปเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 นิ้วเล็กน้อย โดยจะเชื่อมกับส่วนทรงกระบอกซึ่งพอดีกับรูในติ่งหู บางครั้งที่รูหูที่เจาะมักจะแทรกใบไม้หรือดอกไม้ผ่านช่องเปิดเหล่านี้ บางครั้งวัสดุที่เสียบอาจทำด้วยใบตาลม้วนมาอุดรูในติ่งหู ซึ่งรูเหล่านี้แทบจะไม่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกินหนึ่งนิ้วเลย เมื่อรูสำหรับอุดหูกำลังขยายให้ใหญ่ขึ้น ใบตาลม้วนเล็กๆ จะถูกห่อให้แน่นและใหญ่ที่สุดเมื่อสอดเข้าไป จากนั้นพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะคลายตัวและยืดกลีบออก ส่วนของก้านไม้ไผ่บางครั้งกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะสวมไว้ที่ติ่งหูหรืออาจปล่อยโล่งโดยไม่มีสิ่งอื่นใดเลยก็ได้ แค่บางครั้งก็เอาดอกไม้มาเสียบแทน เช่น กล้วยไม้หรือดอกไม้อื่น ๆ ที่พบในป่า ชาวกะเหรี่ยงทุกคนจะถือหรือสะพายกระเป๋าย่าม ("hteu") สะพายไหล่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกาย มันคือกระเป๋าหรือถุงผ้าของเขา ซึ่งเขาขนทุกอย่างตั้งแต่เงินไปจนถึงสัตว์เล็กๆ ที่เขายิงได้ กระเป๋าสานเป็นสองส่วน สายหนึ่งซึ่งประกอบเป็นสายรัดประกอบด้วยแถบกว้างสี่ถึงหกนิ้วและยาวห้าหรือหกฟุต ปลายทั้งสองข้างทำเส้นด้ายห้อยเป็นฝอย อีกชิ้นหนึ่งกว้างหกถึงแปดนิ้วและยาวสองถึงสามฟุต ปลายแต่ละด้านของชิ้นยาวพับตามยาวตรงกลางแล้วเย็บติดกันจนกลายเป็นมุมของกระเป๋า ชิ้นสั้นพับตามขวางตรงกลางแล้วเย็บเข้ามุมหรือปลายเหล่านี้ จึงเป็นด้านข้างของกระเป๋า เย็บริมส่วนสั้นจากขอบปากกระเป๋า ผ้าที่ทอสำหรับกระเป๋าเหล่านี้มักเป็นสีแดงและมีแถบยาวเป็นสีขาว เหลือง หรือดำ ชนเผ่าต่างๆ มีลวดลายและเฉดสีที่แตกต่างกัน ***ย่ามและเครื่องประดับ*** ชาวกะเหรี่ยงไม่ได้ตกแต่งกระเป๋าของตนให้สูงส่งเช่นเดียวกับชนเผ่าคะฉิ่นในพม่าตอนบน หญิงและเด็กสาวชาวกะเหรี่ยงทุกคนจะมีสร้อยคอแบบหนึ่ง อาจเป็นเมล็ดพืชสองสามเมล็ดร้อยเข้าด้วยกัน หรือลูกปัดแก้วที่ซื้อมาจากพ่อค้าเร่เร่ร่อน หรือลูกปัดเงินที่ผลิตโดยช่างเงินชาวพม่าที่มาเยือนหมู่บ้านกะเหรี่ยงในช่วงฤดูแล้งเพื่อรับงานทำลูกปัดประเภทต่างๆ โดยทั่วไปจะทำโดยการทุบแผ่นเงิน ให้มีรูปร่างกลม ที่ทำเสร็จแล้วบางส่วนมีความยาวหนึ่งนิ้วและมีเส้นผ่านศูนย์กลางครึ่งนิ้วตรงกลาง และเรียวลงไปเกือบถึงปลาย เมื่อร้อยเชือก บางครั้งพวกมันจะพันกันเป็นโซ่ยาวจนพันคอหลาย ๆ ครั้งแล้วห้อยลงมาที่อก กำไลเงินจะถูกทุบด้วยเหรียญ สำหรับเด็กผู้หญิงและหญิงสาว แม้แต่เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ บางครั้งก็สวมกำไลเงินและกำไลข้อเท้า เงินซึ่งทำให้เป็นรูปนกยูง ช้าง และรูปอื่นๆ ของชาวกะเหรี่ยงในพม่า มักปรากฏพบเห็นจากสิ่งที่ห้อยคอเด็กที่ร้อยเงินเข้ากับเชือก คำถามที่น่าสนใจคือนอกจากใช้ในขีวิตประจำวัน ยังถูกใข้ในด้านเวทมนตร์เช่นกันหรือไม่ ในบรรดาชนเผ่ากะเหรี่ยงทั้งหมด เครื่องประดับที่แปลกที่สุดคือของสตรีผาด่อง สิ่งเหล่านี้คือวงแหวนลวดทองเหลืองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งในสามนิ้ว สวมรอบคอเพื่อจุดประสงค์ในการบังคับคางและทำให้ส่วนประกอบนั้นยาวขึ้น เนื่องจากกระบวนการยืดตัวนั้นช้า ในตอนแรกจะใช้วงแหวนเพียงไม่กี่วงเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการเพิ่มส่วนอื่นๆ เข้าไปอีก จนกระทั่งคอโลหะสูงนั้นประกอบขึ้นด้วยวงแหวนตั้งแต่ยี่สิบถึงยี่สิบห้าห่วง ยิ่งคอยาวเท่าไรก็ยิ่งสวยงามมากขึ้นเท่านั้น รูปร่างหน้าตาของผู้หญิงเหล่านี้ดูแปลกประหลาด เนื่องจากศีรษะของพวกเธอดูเล็กผิดปกติเหนือคอยาว และร่างกายของพวกเขาซึ่งพันเสื้อผ้าหลวมๆ อยู่รอบๆ ก็ดูไม่สมส่วนด้วย พวกเขาสามารถนอนได้เฉพาะโดยให้ศีรษะห้อยอยู่เหนือหมอนไม้ไผ่ทรงสูงสำหรับวางคอที่หุ้มเกราะทองเหลืองไว้ แหวนเหล่านี้เหมือนกับแหวนที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องรัดตัวทองเหลืองที่สวมใส่โดยสตรีชาวอิบันแห่งเกาะบอร์เนียว มีเพียงวงหลังเท่านั้นที่สวมลงต่ำลง ***การทอผ้า*** การแต่งกายของผู้หญิงแตกต่างกันไปในแต่ละชนเผ่า และในบางกรณีแต่ละหมู่บ้านก็จะมีการทอผ้าที่แตกต่างกันออกไป มีความคล้ายคลึงกันโดยทั่วไปมากกับการออกแบบของชาวกะเหรี่ยงกับชนพื้นเมืองในประเทศมาเลย์ ชนพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว และชนพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ แต่การออกแบบของชาวกะเหรี่ยงโดยเฉพาะในหมู่สาวสะกอก็มีความเชื่อมโยงมาจากตำนานเริ่องงูหลาม เรื่องราวมีอยู่ว่า "นอว์มูอี" หนึ่งในตัวละครในตำนานสมัยโบราณ ถูกงูหลามขาวลักพาตัวและถูกนำตัวไปที่ถ้ำของเขา ต่อมาสามีของนางทราบเรื่องแล้วจึงมาช่วยนางโดยถวายตัวที่ปากถ้ำ แล้วนางก็ถูกปล่อยและกลับคืนสู่เบื้องบนได้ มีเรื่องราวต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือเธอถูกงูหลามบังคับให้เธอทอลวดลายบนผิวหนังของมันที่ยังหลงเหลืออยู่ แต่เมื่อได้รับการปล่อยตัว กลับแสดงความรังเกียจด้วยการทอกระโปรงให้ตัวเองเป็นลวดลายเดียวกันจึงเป็นเสมือนการดูถูกที่ร้ายแรงที่สุดที่เธอสามารถทำได้ ในไม่ช้ารูปแบบนี้ก็เริ่มแพร่หลายในหมู่ผู้หญิงกะเหรี่ยง จริงๆมีตำนานเกี่ยวกับการมอผ้าถูกบอกเล่ามากมาย เช่น ตำนานเวือสมิงกับกระสวยทอผ้า

An Anthropology of Disappearance มานุษยวิทยาว่าด้วยการหายตัวหรือการไม่ปรากฏ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

An Anthropology of Disappearance ผู้คนทั่วโลกหายไปจากครอบครัว ชุมชน และการจ้องมองของรัฐ ในฐานะเหยื่อของระบอบการปกครองที่กดขี่ หรือขณะอพยพไปตามเส้นทางลับ หนังสือเล่มนี้รวบรวมนักวิชาการที่มีส่วนร่วมทางชาติพันธุ์วิทยากับการหายตัวไปดังกล่าวในบริบททางวัฒนธรรม สังคม และการเมืองที่หลากหลาย ใช้มุมมองทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับคำถามเกี่ยวกับชีวิตและความตายของมนุษย์ การหายไปและการปรากฏ พิธีกรรมและการไว้ทุกข์ ความจำกัดและโครงสร้าง ความเป็นพลเมืองและความเป็นบุคคล ตลอดจนสิทธิ์เสรีและอำนาจ บทต่างๆ เหล่านี้จะสำรวจมิติทางการเมืองของการหายตัวไป และกล่าวถึงความท้าทายด้านระเบียบวิธี ญาณวิทยา และจริยธรรมในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการหายตัวไปและการหายตัวไป มีงานของนักมานุษยวิทยาที่น่าสนใจหลายคน โดยเฉพาะนักมานุษยวิทยาเหล่านี้ ล้วนอยู่ในบริบทของประเทศที่ถูกกดขี่ และมีประสบการณ์ที่ถูกดขี่ และสัมผัสกับการสูญหายของผู้คน เช่น Laura Huttunen เป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัย Tampere ประเทศฟินแลนด์ ในปี 2556-2557 เธอดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นไปที่คำถามเกี่ยวกับบุคคลสูญหายและหายตัวไปในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ในปี 2561-2565 เธอเป็นผู้นำโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่การหายตัวไปในบริบทการย้ายถิ่น หรืองานศึกษาของ Gerhild Perl เธอเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี ผลงานของเธอได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เช่น วารสารมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม และ วารสารการศึกษาระหว่างวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเธอเกี่ยวกับความตายระหว่างการอพยพข้ามทะเลสเปน-โมร็อกโก ได้รับรางวัล Maria Ioannis Baganha Award และรางวัลวิทยานิพนธ์จากสมาคมมานุษยวิทยาเยอรมัน แม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่แแน่นอนที่ถูกยอมรับร่วมกันเพราะความสูญหายขึ้นอยู่กับบริบทในปต่ละสังคมวัฒนธรรม แต่คำว่า บุคคลที่สูญหาย มักจะเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบุคคลภายใต้สถานการณ์ที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตาม ผู้สูญหายยังรวมถึงบุคคลที่ไม่ทราบที่อยู่แต่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลนั้นด้วย ตามคำกล่าวของ Hirschel และ Lab คำว่าบุคคลหายควรใช้กับการหายตัวไปทั้งหมด ทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ หรือบังคับให้สูญหาย เนื่องจากมีบ่อยครั้งที่เราไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองสถานการณ์นี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้สูญหายอาจรวมถึงบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง การหักหลัง คนที่มีอำนาจทางการเมือง กฏหมาย เช่น ผู้สูญหายจากอาชญากรรมทางการเมืองในยุคเผด็จการของบราซิล ผู้สูญหายจากการต่อต้านการพัฒนา รวมถึงบุคคลที่ไม่ทราบแหล่งที่อยู่แน่นอน ติดต่อไม่ได้ หรือบุคคลที่หายตัวไปโดยความสมัครใจของตนเอง หน่วยงานตำรวจและสถาบันอื่นๆ ต่างมีหลักเกณฑ์ในการจำแนกรายงานผู้สูญหายเป็นของตนเอง ซึ่งต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน และในแต่ละประเทศ กรณีงานขาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยการสูญหาย ผมนึกถึงงานศึกษาในแคชเมียร์ เรื่อง Resisting Disappearance : Military Occupation and Women's Activism in Kashmi ของ Ather Zia ที่บรรยายว่า “ในฤดูหนาวอันหนาวเหน็บของแคชเมียร์ ผู้หญิงคนหนึ่งเปิดประตูทิ้งไว้เพื่อรอการกลับมาของลูกชายคนเดียวของเธอ ทุกเดือนในสวนสาธารณะในศรีนาการ์ เด็กจะระลึกถึงพ่อของเธอขณะที่เธอร่วมไว้ทุกข์ร่วมกับแม่ นักเคลื่อนไหวหญิงที่ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองของผู้สูญหาย (APDP) มุ่งความสนใจของสาธารณชนไปที่ชายชาวแคชเมียร์ 8,000 ถึง 10,000 คนซึ่งกองกำลังรัฐบาลอินเดียมีส่วนในการหายตัวไปตั้งแต่ปี 1989 การเคลื่อนไหวผ่านสื่อของเธอ ถูกรายล้อมไปด้วยกองทหารอินเดีย ช่างภาพข่าวจากต่างประเทศ และผู้สังเกตการณ์ที่อยากรู้อยากเห็น นักเคลื่อนไหวกลุ่ม APDP ร้องไห้ คร่ำครวญ และร้องเพลง ขณะถือรูปถ่ายและไฟล์บันทึกชีวิตของคนที่ตนรักซึ่งหายตัวไป ในการละทิ้งพิธีกรรมไว้ทุกข์ตามประเพณีอย่างสุดโต่งนี้ พวกเขาสร้างปรากฏการณ์แห่งการไว้ทุกข์ที่ต่อสู้กับความเงียบข่มขู่ของรัฐบาลเกี่ยวกับชะตากรรมของลูกชาย สามี และพ่อของพวกเขา Ather Zia ในฐานะนักมานุษยวิทยาและเพื่อนนักเคลื่อนไหวชาวแคชเมียร์ ที่ต่อต้านการหายตัวไป (Resisting Disappearance ) พวกเขาติดตามบรรดาพ่อแม่ที่สูญเสีย และหญิงม่าย พวกเขาเดินทางไปก้าวสู่ศาล ค่ายทหาร และบางคนเข้าสู่ห้องดับจิตอย่างกล้าหาญเพื่อค้นหาญาติที่หายไปของพวกเขา Zia ให้ความกระจ่างว่าพลวัตของเพศและความบอบช้ำทางจิตใจในแคชเมียร์ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งที่ดำเนินมายาวนานที่สุดของเอเชียใต้ผ่านการผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์วรรณนา กวีนิพนธ์ และภาพถ่าย โดยให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดว่าผู้หญิงและผู้ชายชาวแคชเมียร์มีส่วนร่วมกับการเมืองแห่งการต่อต้านอย่างไร รวมทั้งการเผชิญกับความรุนแรงทางทหารภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลอินเดียที่เพิ่มขึ้นด้วย หรืองานของ Paul Sant Cassia เรื่อง Bodies of the Evidence ที่มีการวิเคราะห์การใช้และการละเมิดต่อผู้เสียชีวิต ชาวไซปรัสกรีกและตุรกีที่เสียชีวิตจากความรุนแรงระหว่างชุมชนระหว่างปี 1963-74 โดยนักการเมืองต่อสู้เพื่อผลประโยชน์โดยการควบคุมทั้งซากศพและวิธีที่ผู้สูญเสียจะคิดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น แต่ในที่สุด ผู้หญิงบางคนก็กบฏและทำลายห่วงโซ่แห่งการหลอกลวง เขาได้พรรณนาถึงกลยุทธ์การทำลายล้างที่หน่วยงานทางการเมืองต่างๆ ใช้การแบ่งแยกทางชาติพันธุ์เพื่อเปลี่ยนผู้ที่หายตัวไปให้เป็นตัวแทนของจินตนาการทางการเมือง ความกลัว ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดในระหว่างการสู้รบระหว่างชาวไซปรัสกรีกและตุรกีระหว่างปี 1963 ถึง 1974 ผู้คนกว่า 2,000 คน ทั้งชาวไซปรัสกรีกและตุรกี ได้ "สูญหาย" ในไซปรัส ซึ่งเป็นเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่มีการกระจายประชากรเป็นชาวกรีก 80% และชาวเติร์ก 18% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญสำหรับประชากรเพียง 600,000 คน ที่มีการค้นพบศพเพียงไม่กี่ศพ ส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่ ทุกคนยังคงโศกเศร้าจากเพื่อนและญาติที่รอดชีวิต ความขัดแย้งยังไม่ได้รับการแก้ไขและความทรงจำอันแสนเจ็บปวดยังคงมีอยู่กับผู้มีชีวิต ในทุกวันคนสูญหายไปจำนวนมาก ทั้งสมัครหรือไม่สมัครใจ ทั้งถูกกระทำจากอำนาจมืด อำนาจรัฐ จากสงครามความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะแรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานประมง ผู้อพยพ เด็ก ผู้หญิง คนไร้บ้าน และอื่นๆ .. ความสูญหายยังรวมไปถึงคนบางกลุ่มที่สูญหายไปจากความคิดของเรา หรือเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในความคิดของเรา แม้ตัวตนของเขาจะปรากฏหรือดำรงอยู่ แต่ก็สูญหายจากการรับรู้ และการมองเห็นคุณค่าของพวกเขา บางครั้งการทำให้เขามีขีวิต มีเสียงตลอดเวลา จะทำให้เขาไม่สูญหายไป และประกาศก้องถึงความรุนแรง การกดขี่และความไม่ยุติธรรมในทางสังคม

อาวุธของผู้อ่อนแอ weapon of the weak มุมมองต่อปรากฏการณ์การต่อสู้ของคนเล็กคนน้อย โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Weapons of the Weak เป็นงานชาติพันธุ์วรรณาที่เขียนโดย James C. Scott ที่ศึกษาผลกระทบของการปฏิวัติเขียวในชนบทของมาเลเซีย วัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งของการศึกษาวิจัยนี้คือการโต้แย้งว่าแนวคิดเรื่องจิตสำนึกที่ผิดพลาด( false consciousness ) และการครองอำนาจนำ(hegemony ) ของลัทธิมาร์กเซียน(Marxian )และพวกกรัมเซียน (Gramscian ) นั้นไม่ถูกต้อง เขาพัฒนาข้อสรุปนี้ตลอดหนังสือทั้งเล่ม ผ่านสถานการณ์และตัวละครต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เขาทำงานภาคสนามในหมู่บ้านในมาเลเซีย ภายใต้ระยะเวลาการทำงานภาคสนามของเขาเป็นเวลา 2 ปี (ค.ศ. 1978-1980) ในชุมชนเกษตรกรรมทำนาขนาดเล็กที่มี 70 ครัวเรือนในพื้นที่ปลูกข้าวหลักของรัฐเกดาห์ในมาเลเซีย ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติเขียวในปี ค.ศ.1976 ที่ได้ขจัดโอกาสในการรับค่าจ้างสำหรับเกษตรกรรายย่อยและแรงงานที่ไม่มีที่ดินถึง 2/3 ส่วน ที่นำไปสู่การต่อสู้ทางชนชั้นที่ตามมา โดยผูเขียนวิเคราะห์ว่าเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ในหมู่บ้านและแนวปฏิบัติในการต่อต้านซึ่งประกอบด้วย การอู้งาน การหลอกลวง การทอดทิ้งงาน การไม่ยอมตาม การฉกฉวย การแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น การใส่ร้าย การปล้น การวางเพลิง และการก่อวินาศกรรม คนรวยและคนจนมีส่วนร่วมในการต่อสู้อย่างเงียบๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงในการถือครองที่ดิน เครื่องจักร และการจ้างงานเพื่อพัฒนาผลประโยชน์ของตนเอง และใช้ค่านิยมที่พวกเขาแบ่งปันเพื่อควบคุมการกระจายสถานะ ที่ดิน งาน และธัญพืช เป็นต้น ตัวอย่างเข่น การแกล้งป่วยเพื่อไม่ยอมทำงานรับใช้เจ้าของที่ดิน หรือการขอตัวไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ เพื่อให้เวลาในการทำงานน้อยลงหริอ การเกี่ยวข้าวแรงๆเพื่อให้เมล็ดข้าวร่วง เพื่อตะได้แอบไปเก็บเมล็ดข้าวจากที่ดินของนายจ้างในตอนกลางคืน เป็นต้น การต่อสู้เหล่านี้คืออาวุธของคนจนคนไร้อำนาจ ที่มีเพียงร่างกายในการต่อสู้.. คำถามสำคัญในปัจจุบันคือ ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อการล่มสลายของระบอบการปกครองที่ดูเลวร้ายตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์? พวกเขา(คนตัวเล็กคนน้อย ไร้อำนาจ) ล้วนเป็น “ผู้กล้าหาญ” (brave) และเป็นผู้เห็นต่างที่มีจำนวนไม่มากที่สามารถพบได้ในทุกระบบการเมือง พวกเขาอาจจะต่อต้านอย่างเปิดเผย ขณะเดียวกันการเปิดเผยก็เสี่ยงอันตรายต่อตนเอง บ่อยครั้งถึงชีวิตด้วยซ้ำ แต่พวกเขาต้องต่อสู้ เพราะพวกเขาเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตอยู่กับคำโกหก ปลิ้นปล้อนของชนชั้นปกครอง ? หรือพวกเขาค่อนข้างจะทำตัวเหมือน "คนขี้ขลาด"( cowards) หรือแกล้งที่จะเป็นอย่างนั้น ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ใช้ต่อต้านกับผู้ทีอำนาจมากกว่าโดยที่ตัวเองไม่ต้องเสี่ยง พลเมืองหลายล้านคนที่อยากจะต่อต้าน แม้จะไม่เต็มใจที่จะเสี่ยงชีวิตแต่กลับมีส่วนร่วมในการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวันแต่มีสติอย่างเต็มที่ นี่คือข้อสะท้อนของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เจมส์ สก็อตต์ ในทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับ "อาวุธของผู้อ่อนแอ" ซึ่งสะท่อนสิ่งที่เป็นศูนย์กลางของความคิดของเขา นั่นคือวัฒนธรรมของการต่อต้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจทุกๆวันของชีวิตประจำวันมนุษย์ทั่วไป ตัวอย่าง การหัวเราะหรือการพูดเรื่องลามก เรื่องเพศหรือ สิ่งที่ตลกขบขันเท่ากับการรักษาบำบัดความตึงเครียด (Healing) การหัวเราะหรือการใช้คำพูดลามก การพูดเรื่องเพศซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน คือการล้อเลียนเสียดสีทางการเมือง การเมืองของรัฐศีลธรรม รัฐที่พยามบอกว่าเราคือประชาธิปไตย การหัวเราะ การพูดเรื่องลามก เรื่องเพศ เป็นรูปแบบของการใช้สติปัญญาหรือไหวพริบ ในการตอบโต้กับบางสิ่งบางอย่าง บางครั้งใข้ตอบโต้กับการถูกกดขี่ ควบคุม เสรีภาพในเนื้อตัวร่างกาย ความตึงเครียดในทางสังคม สิ่งเหล่านี้คือรูปแบบของการนอกกรอบ ชวนให้ถกคิด ตั้งคำถาม หรือการขบถต่อบางสิ่ง เป็นต้น หากจะถามต่อว่า ทำไมสิ่งดังกล่าวข้างต้น มันกลายเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะมันถูกเชื่อมโยงกับกาละและเทศะ (พื้นที่และเวลา) มันถูกเชื่อมโยงกับบุคคลและสถานภาพของบุคคล คนจน คนไร้การศึกษาหรือแม้แต่ความเป็นคนในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แน่นอน เพราะการใข้ภาษาที่ง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ใช่ภาษากวีที่ใช้เปรียบเปรย เข่น การใช้แท่งหยก แทนอวัยวะเพศชาย หรือวงแหวนมังกร แทนอวัยวะผู้หญิง ที่ปรากฏในคัมภีร์เต๋า หรือในใช้ลึงค์ กับโยนี ที่แทนเทพผู้ชายผู้หญิงอันศักดิ์สิทธิ์ นี่ยังไม่นับคำเรียกอวัยวะของการสืบพันธุ์ที่หลากหลายในหลายวัฒนธรรม ทั้งไส้กรอก มะเขือ กุนเชียง ปลาชะโด หอยกาบ หอยเป๋าฮื้อ หรือการเรียกอัณฑะ ทั้งลูกนัท (อังกฤษ) พวงไข่ (ไทย) อโวคาโด (เม็กซิกัน) …มันคือเรื่องของภาษาและวัฒนธรรม การแสดงออกถึงสิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยเฉพาะการหัวเราะ การพูดเรื่องลามก เรื่องเพศ การพูดหยาบคาย ได้กลายเป็นสิ่งที่บ่อนเซาะแบบแผนของมาารยาทที่ถูกกำหนด บ่อนเซาะรัฐแห่งศีลธรรมที่ต้องสร้างความสะอาด ความบริสุทธิ์ กลายเป็นสิ่งที่บ่อนเซาะกับความซีเรียส เคร่งขรึมจริงจัง ในสิ่งที่ถูกมองว่าคือความไร้สาระหรือไม่จริงจังของมนุษย์ ทั้งที่มันเป็นด้านธรรมขาติของมนุษย์ กิน ขี้ ปี้ นอน..ดังนั้นการซุกซ่อนของสิ่งเหล่านี้ในพิ้นที่ทางสังคม รายการทีวีรอบดึก ช่องทางออนไลน์ที่ควบคุมไม่ได้ นิทาน ภาพยตร์ เพลง และอื่นๆ ล้วนสะท้อนความปรารถนาที่อยู่ภายในของมนุษย์ ดังนั้น ระบบทุนนิยมและโลกสมัยใหม่ไม่ชอบให้มีการหัวเราะ พูดเรื่องเพศ หรือแสดงออกซึ่งสิ่งลามกมากเกินไป เพราะเวลาของการทำสิ่งเหล่านี้ ควรจะต้องถูกนำมาใช้ในการทำงานสร้างผลผลิตในทางเศรษฐกิจมากกว่า …ทั้งที่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้มันสามารถทำให้เป็นเรื่องเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมความบันเทิงได้เข่นเดียวกัน หากเราลองมองย้อนกลับไปดูในยุคกลางของตะวันตก ในหนังสือเรื่อง Carnival ของมิคาเอล บัคติน นักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซีย คำว่าคาร์นิวัล (Carnival) ของบักตินคือการล้อเลียน ลักษณะกลับหัวกลับหาง หรือการกระทำอะไรก็ตามที่ตรงกันข้ามกับระเบียบของศาสนา เป็นการปลดปล่อยมนุษย์เพียงชั่วคราวในงานพิธีกรรม ก่อนที่ระเบียบที่เคร่งครัดจะกลับมา ที่ได้เชื่อมโยงให้เห็นบทสนทนาของการตอบโต้กับความเคร่งเครียดของคริสต์ศาสนากับพื้นที่ของการระบายของชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ในช่วงยุคกลาง งานคาร์นิวัลจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นการระบายความอัดอั้นอันมากล้นของมนุษย์ที่ถูกกดขี่ ทั้งการดื่มกิน เต้น ถ่มน้ำลาย พูดหยาบคาย หัวเราะขบขัน เยาะเย้ยถากถางกัน แสดงออกเรื่องเพศกัน การตด การเรอ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ในแง่หนึ่งก็เป็นการแต่งตัว การสร้างหุ่นขนาดมหึมาตัวอ้วนกลมในขบวนแห่หรือขบวนพาเหรด ที่ทำให้เห็นความต้องการที่มากมาย ล้นเหลือของมนุษย์ ในอีกด้านหนึ่งผมมองว่า Carnival ของบักติน ไม่ใช่แค่การดำรงอยู่แบบชั่วคราวของเสรีภาพที่จะต้องกลับมาสู่ระเบียบหลังงานคาร์นิวัลสิ้นสุด แต่มันได้สร้างสภาวะของการกลายเป็น (Becoming) ที่วิถีชีวิต การมองโลก สิ่งที่เป็นเสรีภาพที่แท้จริงจะเข้ามาแทนที่สิ่งที่เป็นอยู่เดิม ภาวะของการหัวเราะ การล้อเลียนเสียดสี การพูดเริ่องเพศ เรื่องลามกที่เกิดขึ้นที่นำไปสู่ความหมายใหม่ๆ ผมนึกถึงงานวรรณกรรมแนวล้อเลียนเสียดสี ที่ใช้การล้อเลียนเพื่อสร้างเสียงหัวเราะ หรือมีเรื่องเพศซุกซ่อนอยู่ เช่น นิทานก้อมหรือนิทานขนาดสั้นของอีสาน ที่เป็นเรื่องเพศที่ไร้กรอบ ลูกเขยแม่ยาย คนแก่กับเด็ก พ่อผัวลูกสะใภ้เป็นต้น หรือมรสพพื้นบ้านอย่างหมอลำ ที่มีการดึงเอาเรื่องเพศมาใช้ในกลอนลำ เนื้อเพลง หรือการสอย ให้ทั้งหมอลำ หางเครื่อง นักดนตรี หมอแคน รวมถึงผู้ชม ปลดปล่อยจินตนาการทางเพศของตัวเอง และระบายเสรีภาพของตัวเองที่ถูกกฏเกณฑ์ทางสังคมควบคุม แม้จะชั่วคราวก็ตาม ซึ่งเราพบเห็นได้ในพิธีกรรมของชาวอีสานที่มีเรื่องเพศ ที่เป็นเรื่องของความอุดมสมบูรณืเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งตุ๊กตาบักแด่น ตุ๊กตาร่วมเพศ ปลัดขิก ในบุญบั้งไฟ ผีตาโขน ...ผมชอบงานของบัคตินซึ่งเป็นแรงบันดาลใจจากงานคนซิ่งอีสาน ร่างกายอัตลักษณ์และกามรมณ์ที่ผมเป็นผู้ช่วยวิจัย อ.ดร.พัฒนา กิติอาษาและอ.สุริยา สมุทคุปติ์ งานของบัคตินเป็นสิ่งที่ขยายพรมแดนทางความคิด มุมมองของมนุษย์ต่อตัวเอง โลกและจักรวาลที่จะนำไปสู่คุณค่าใหม่และการเรียนรู้ของมนุษย์ การมองปรากฏการณ์อย่างเข้าใจ เข้าบริบท เข้าใจคน และไม่มีอคติหรือความเกลียดชัง ใช้สิ่งเหล่านี้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง มองอย่างรอบด้าน

อาหารกับเพศ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

การค้นพบอาหารใหม่ๆ เป็นความสุขแก่มนุษยชาติทั้งปวงยิ่งกว่าการค้นพบดวงดาวเสียอีก" Brillât Savarin ในหนังสือ The Physiology of Taste หรือสรีระแห่งรส ความสนใจเรื่องอาหารกับเพศ มันเกิดจากบทสนทนาที่ถามนักศึกษาในห้องเรียนวิชา Anthropology of Sex and Sexuality… ที่ผมถามว่าอยากเรียนประเด็นอะไรเพิ่มเติมบ้างจากคอร์สรายวิชาที่วางเอาไว้เบื้องต้น นักศึกษาหลายคนตอบว่าเรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย เฟมมินิสต์ เควียร์ เพศวิถีออนไลน์ บลา บลา บลา จมกระทั่งนักศึกษาคนหนึ่งที่ชื่อสิทธิ ที่เธอชอบนั่งหน้าห้องและถามเป็นประจำ ตอบผมว่า ผมสนใจเรื่องอาหารครับ...ผมตอบว่าโอเคเดี๋ยวอาจารย์จะแทรกเรื่องนี้เข้าไปและพิจารณาดูว่ามีประเด็นอะไรที่จะเกี่ยวข้องบ้าง และอาจเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาหรือเขียนตำราเรื่องนี้ในอนาคต ผมเลยพยามค้นหางานและหนังสือที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีงานของคาโรล คูนิฮาน และ สตีเวน แคปแลน เรื่อง Food and Gender: Identity and Power (เล่มนี้ผู้เขียนพยามตรวจสอบความสำคัญของกิจกรรมที่เน้นอาหารเป็นหลัก ที่เชื่อมโยงต่อความสัมพันธ์ทางเพศและการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศข้ามในวัฒนธรรม โดยพิจารณาว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศแต่ละเพศกับอาหารอาจเอื้อต่อการเคารพซึ่งกันและกันหรือสร้างลำดับชั้นทางเพศได้อย่างไร ความสัมพันธ์นี้ได้รับการพิจารณาจากคำถามหลักสองข้อ: การควบคุมการผลิต การกระจาย และการบริโภคอาหารมีส่วนทำให้เกิดอำนาจของผู้ชายและผู้หญิงและตำแหน่งทางสังคมอย่างไร และอาหารเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นชายและความเป็นหญิงและสร้างคุณค่าทางสังคมของชายและหญิงได้อย่างไร? ประเด็นอื่นๆ ที่กล่าวถึง ได้แก่ ทัศนคติของผู้ชายและผู้หญิงที่มีต่อร่างกายและความชอบธรรมของความต้องการและอยากอาหาร เป็นต้น) หรืองานของMarilyn Morgan เรื่อง Gender, Food and Culture in American History หรือหนังสือชื่อ The anthropology of food and body : Gender, Meaning and Power โดย คาโรล คูนิฮาน (มานุษยวิทยาแห่งอาหารและร่างกายสำรวจวิธีการทำ การกิน และการคิดเกี่ยวกับอาหารเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทางเพศและเพศที่ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมในสังคมที่หลากหลาย หนังสือเล่มนี้นำทฤษฎีสตรีนิยมและมานุษยวิทยามาใช้กับประเด็นที่นำไปสู่การตั้งคำถามที่ท้าทายเหล่านี้ และจะสนใจทุกคนที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอาหาร ร่างกาย และแนวคิดทางวัฒนธรรมเรื่องเพศ) อาหารเป็นมากกว่าเครื่องยังชีพ อาหารเป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรม สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากมาย ทั้งรูปร่างและสะท้อนอัตลักษณ์ทางเพศ บรรทัดฐาน และวิถีความเป็นอยู่ในเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังสำรวจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและมักขัดแย้งกันของเพศและอาหารในปริมณฑลหรือขอบเขตเชิงร่างกาย สังคม-วัฒนธรรม และวัตถุ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาของนักคิดแนวสตรีนิยม สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และการเมือง หลักสูตรนี้พิจารณาว่าแนวคิดเรื่องความเป็นชายและความเป็นผู้หญิงมีความเกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การจำหน่ายและการบริโภคอาหารในอดีตและในสังคมร่วมสมัยอย่างไร การตรวจสอบเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปของอาหารอันเนื่องมาจากกระบวนการของอุตสาหกรรม โลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนจากอาณานิคมไปสู่ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมใหม่ และยังครอบคลุมรวมไปถึงกรอบวัฒนธรรมของ "ความอ้วน" และบทบาทของสื่อในการกำหนดรสนิยมทางเพศและนิสัยการกิน การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และแนวปฏิบัติในการเลี้ยงลูกและเลี้ยงดูครอบครัว ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอาหารทั่วโลกและภายในประเทศ ความสัมพันธ์ในการทำงานของแม่ครัว พ่อครัวในบ้านและในร้านอาหารที่ได้รับค่าจ้าง อาหารที่ถูกยกระดับจากท้องถิ่นไปสู่คุณค่าระดับโลกและการแบ่งแยกเพศของแรงงานที่เชื่อมโยงบรรจบกับลำดับชั้นทางเชื้อชาติ ระดับชาติ และระดับชนชั้น และความพยายามที่จะบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าผ่านการมีส่วนร่วมกับระบบอาหาร ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการมองอาหารให้มากกว่าอาหารและครอบคลุมทุกมิติทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา ชาติพันธุ์ เพศและสุขภาพ... หากมองอาหารกับเพศวิถี หรือเพศสัมพันธ์ ผมนึกถึงคำที่นักโภชนาการหรือพวกวิทยศาสตร์อาหารพูดถึงคำว่า Anhordisiacs หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นความต้องการทางเพศหรือเซ็กส์ แต่ถ้าแปลให้เป็นคำที่ดูดีตามแบบฉบับผมก็น่าจะแปลได้อีดคำว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารกระตุ้นทางเพศ ความเชื่อพวกนี้ไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เกิดมานานแล้ว และผูกโยงกับภาพลักษณ์ของอาหาร กับความคิดในเรื่องเพศ เช่น กล้วยหอม หอยนางรม หัวหอม แอสปารากัส (หน่อไม้ฝรั่ง) แตงกวา มะเขือยาว จะช่วยเสริ่มสร้างพลังหรือความต้องการทางเพศ ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์และโภชนาการสมัยใหม่ก็จะสนใจในเรื่องของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุของอาหารที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นหรือสร้างความต้องการในทางเพศหรือกระตุ้นกามรมณ์ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียมและธาตุสังกะสี รวมถึงพืชสมุนไพรหลายๆตัว เช่น ผักชี กระเทียม สะระแหน่ รวมถึงโสม (Ginnseng) จิงโกะ (Gingko) และซาร์ซาปารีลล่า (Sarsaparilla) ที่ช่วยกระตุ้นและบำรุงกำลังทางเพศ หากพิจารณาในเชิงภาษาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชื่ออาหาร ยิ่งเห็นความน่าสนใจในการเชื่อมโยงกับเรื่องเพศ ในสังคมไทยมีการเปรียบเทียบอาหารกับผู้หญิงเยอะพอสมควร อย่างเช่นในวรรณกรรมขุนช้างคุณแผน เคยกล่าวถึงนางพิมไว้ว่า “ให้ทูนหัวผัวพิมมาสมสู่ อย่าหักก้านพลูพิมนี้แห้งเหี่ยว...” ที่แทนอวัยวะเพศของนางพิมกับใบพลู หรือในต่างประเทศอย่างเช่นอเมริกาคำว่าTomato หรือมะเขือเทศใช้แทนหญิงสาว หรือผู้หญิงที่สวยมากว่าเหมือน Cheese Cake ที่อยากจะจีบอย่างมาก หรือคำว่าBeefcakeที่ใช้อธิบายชายหล้ามใหญ่ ที่เปลือยท่อนบนอวดสรีระ และมักใข้กับผู้ชายที่รูปร่างดี มีแรงดึงดูดทางเพศสูง หรือคนที่ใส่ใจออกกำลังร่างกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและสุขภาพดี อย่างยกน้ำหนัก เพาะกาย เล่นฟิตเนส เป็นต้น บางครั้งใช้เป็นคำแสลงว่า สวยหล่อจนน่าเคี้ยว แต่ส่วนมากใช้กับผู้หญิง น่าสนใจว่าอาหารหรือของน่ากินมักจะเปรียบเทียบกับเนื้อหนัง สรีระของผู้หญิง รวมถึงลักษณะของอาหารร้อนเย็น เช่นเวลาดราพูดถึงคำว่าHot มันคือร้อน ความร้อนแรงหรืออาหารรุ่มร้อนทางเพศ ดังเช่นคำที่มักพูดกันว่า “เธอดูร้อนแรงมาก” นอกจากนี้คำบางคำใช้เปรียบเทียบกับความบริสุทธิ์ของผู้หญิง หากใครยังVirgin บริสุทธิ์ หรือยังพรหมจารีอยู่ก็มักจะถูกเปรียบเปรยว่าเป็น เชอร์รี่ ที่นอกจากจะเป็นชื่อผลไม้ ยังหมายถึงเยื่อพรหมจรรย์ด้วย ในขณะเดียวกันผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์แล้วและมีความสัมพันธ์กับผู้ชายจำนวนมากก็จะเปรียบเทียบกับขนมทาร์ต (Tart ) ที่เป็นขนมทำด้วยแป้งมีไส้ไข่หรือเนยแล้วอบจนไหม้และแยมหรือไข่เยิ้มออกมา ในบางสังคมเช่นคนอเมริกันแอฟริกัน ก็จะเปรียบเทียบผู้หญิงกับอาหารบางอย่าง เช่น สวยเหมือนบาร์บีคิว หรือคนผิวผสมแต่ไม่ดำสนิทก็จะเรียกว่า Banana หรือกล้วยสีเหลืองทอง รวมถึงในเรือนจำหรือคุกจะเรียกนักโทษที่เข้าคุกใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นชินกับระบบการลงโทษในคุกว่า Fresh Fish หรือปลาสด รวมถึงการขาดประสบการณ์เรื่องเพซ การไม่เคยทดลองการมีเซ็กส์ในคุกมาก่อน นี่ยังไม่นับคำเรียกอวัยวะของการสืบพันธุ์ที่หลากหลายในหลายวัฒนธรรม ทั้งไส้กรอก มะเขือ กุนเชียง ปลาชะโด หอยกาบ หอยเป๋าฮื้อ หรือการเรียกอัณฑะ ทั้งลูกนัท (อังกฤษ) พวงไข่ (ไทย) อโวคาโด (เม็กซิกัน) คำบางคำสามารถศึกษาในเชิงนิรุกติศาสตร์ เช่น คำว่า ไข่ หรือEgg ในภาษาอังกฤษ มันมีรากความหมายมาจากสิ่งที่อธิบายต้นกำเนิดแรกของชีวิต บางครั้งใช้คำนี้เรียกโลกและจักรวาล โลกยุคหลังโคลัมบัสก็บอกว่าโลกหน้าตารูปร่างเป็นทรงเหมือนไข่ หรือมนุษย์เกิดมาจากไข่และสเปิร์ม บางสังคมเปรียบเทียบว่า คนดีคือ Good Egg คนเลวคือ Bad Egg หรือคำว่าFig ที่เป็นพืชตระกูลมะเดื่อ คำว่า Figue, Figo, Fico ถูกแปลว่า ช่องสังวาสทางปาก ในกรีกในโรมันก็ใช้ความหมายนี้ ต่อมาตอนหลังกลายเป็นศัพท์ดูถูกเหยียดหยาม หากพูดคำนี้แล้วเอานิ้วโป้งใส่ใต้นิ้วสองนิ้ว จะหมายถึงการขอร่วมเพศด้วย ต่อมาคำว่าFig หรือ Frig ก็ถูกใช้เป็นศัพท์แสลงมา แปลว่าการสมสู่ การช่วยตัวเอง และบางครั้งอาจเชื่อมโยงกับคำว่าFuckในปัจจุบันตามที่นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์บางคนกล่าวอ้าง... นี่ผมพูดแค่ในส่วนของวัฒนธรรมในแง่ภาษา รูปสัญญะ และความหมายสัญญะที่เกาะเกี่ยว ยังไม่ได้ลงประเด็นอื่นๆที่มีมากมายเกี่ยวกับอาหารและเพศ ก็มีความน่าสนใจและกระตุ้นให้ค้นคว้า อ่าน หาข้อมูลต่อไปเรื่อยๆจนตกผลึกทางความคิดและงานแบบนี้ไม่มค่อยมีในประเทศไทย แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อน เพราะต้องเตรียมไปทำงานสนาม..แต่เติมสมองยามเช้า..

มานุษยวิทยาเมือง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

“ถ้านายรักฉัน ..นายไม่ต้องทำอะไร …นายทำงาน" (อ.ศิลป์ พีระศรี) ประเด็นเรื่องของมานุษยวิทยาเมือง (วิชาการเปลี่บนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ตัวเองหันมาสนใจอยากทำความเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ว่าเรานักมานุษยวิทยาจะศึกษาเมืองอย่างไรและเราจะทำงานในแนวข้ามศาสตร์ ร่วมศาสตร์อย่างไรในการแก้ปัญหาเมืองหรือออกแบบเมือง ภายใต้จุดแข็งของเรา ทศวรรษ 1960s - 1970s โดยมานุษยวิทยาเมืองนั้นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการศึกษาทางสังคมวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันสังคมวิทยาเมืองแห่งชิคาโก (Chicago School of Urban Sociology) ที่ทำให้เกิดความแตกต่างพื้นฐานระหว่างวิชาการทางสังคมวิทยากับมานุษยวิทยาคือ การมองว่าสังคมวิทยานั้นศึกษาสังคมอารยะ (Civilization คือ สังคมเมือง) ส่วนมานุษยวิทยาศึกษากลุ่มคนไร้อารยะ หรือกลุ่มคนพื้นเมือง Primitive หรือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท (Rural) สังคมชาวไร่นา สิ่งหนึ่งที่เห็นพัฒนาการของการศึกษามานุษยวิทยาเมืองก็คือ ความคิดของการแบ่งแนวทางการศึกษาระหว่างมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การศึกษาเกี่ยวกับ “อารยธรรมตะวันตก” และโลกอุตสาหกรรม หรือโลกสมัยใหม่ถูกสงวนไว้สำหรับสาขาสังคมวิทยาในขณะที่การวิเคราะห์ "วัฒนธรรมดั้งเดิม วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์" ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่นิ่งอยู่กับที่พื้นที่และเวลา จ้องยกให้กับวิชาการทางด้านมานุษยวิทยา โดยความคิดเดิมเกี่ยวกับการศึกษาชุมชนในชนบทหรือหมู่บ้านถูกทิ้งไว้ในสาขามานุษยวิทยา หลังของศตวรรษที่ 20 เมื่อนักมานุษยวิทยา เริ่มหันมาสนใจชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองและความเป็นพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภายใต้อิทธิพลของสำนักหลังโครงสร้างนิยม Post–Structuralism หรือหลังสมัยนิยม Post-modernism กระแสของการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ ในเมือง เพศสภาพ คนกลุ่มย่อยๆต่างๆ ในสังคม เช่นกลุ่มอาชีพ ผู้หญิง คนเร่ร่อน ไร้บ้าน คนขายบริการทางเพศ การแย่งชิงการให้ความหมายของพื้นที่ ที่สัมพันธ์กับเรื่องการใช้ชีวิต การเข้าถึงทรัพยากรและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเหล่านั้นในเมือง โดยเฉพาะปรากฎการณ์ของการพัฒนาอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆที่ก้าวหน้ามากขึ้น พร้อมกับการปรากฎตัวขึ้นของบุคคลชายขอบในสังคม ที่เกิดจากสภาวะแรงขับและปัญหาของสังคมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดการเติบโตของการวิจัยในด้านของการเหยียดเชื้อชาติ การอพยพย้ายถิ่นของผู้คน แรงงานข้ามชาติ การศึกษาหลังโครงสร้างนิยม หลังทันสมัยนิยม ประเด็นของความขัดแย้งและการต่อสู้ต่อรองของผู้คน รวมการวิพากษ์วิจารณ์สถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง ความเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ของผู้คนกับกระบวนการทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจตลอดจนความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้สภาพแวดล้อมในเมือง มันนำไปสู่ใหม่ๆ ของการศึกษาเรื่องเมืองทางมานุษยวิทยา ได้แก่ การศึกษาการใช้พื้นที่และเวลาของผู้คนในเมือง ความรู้เกี่ยวกับเมือง (Urban Anthropology หรือ The Anthropology of Cities) และงานชาติพันธุ์วิทยาในเมือง ทั้งการใช้ชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเมือง การศึกษาเรื่องของการเดินเที่ยวตามท้องถนน การใช้เวลาว่างของคนเมือง เป็นต้น ภายใต้สมมติฐานในปัจจุบันที่ว่าวิถีชีวิตคนเมืองถูกประกอบสร้างภายใต้ความเจริญก้าวหน้าทางอารยธรรม พร้อมไปกับความเสื่อมถอยของคุณค่าทางศีลธรรม รวมถึงความไม่เท่าเทียมและความขัดแย้งในการดำรงชีวิตของกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย หากย้อนกลับไปการศึกษาแบบนี้ก็มีมานานแล้ว อย่างานที่ศึกษาสภาพชีวิตของชนชั้นแรงงานในเมืองแมนเชสเตอร์และเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ ซึ่ง Engels ได้เข้ามาอยู่อาศัยและสังเกตเห็นชีวิตทุกข์ยากและความเจ็บป่วยของแรงงานเผชิญหน้ากับผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรืองานเรื่องฆ่าตัวตายของEmile Durkheim ที่อธิบายถึงสภาพชีวิตเมืองสมัยใหม่ที่คนแต่ละคนอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้างและเผชิญกับปัญหาสังคมมากมาย จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นวิชาการทางมานุษยวิทยายุคแรกจะเน้นศึกษาสังคมชนเผ่าหรือชุมชนหมู่บ้านในขณะที่ละเลยเมืองเป็นสาขาการวิจัย ดังนั้นการวิจัยในพื้นที่เมืองจึงเป็นที่ยอมรับในบางสาขาวิชา โดยเฉพาะทางสถาปัตยกรรม ทางสังคมวิทยา แต่มานุษยวิทยาก็พยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้สถานะดังกล่าว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมืองได้กระตุ้นนักมานุษยวิทยาให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการกลายเป็นเมืองของสังคมแบบล่าสัตว์หาของป่า สังคมชาวไร่นา รวมทั้งกระบวนการของการทำให้เป็นเมืองในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย มันจึงเป็นภาระหน้าที่และความจำเป็นของนักมานุษยวิทยาในภารกิจนี้ ลองคิดดูว่าถ้าหากเรามองการออกแบบเมือง เปรียบกับการออกแบบเก้าอี้ การทำเก้าอี้ที่ง่ายที่สุดคือแบบสี่ขาและมีเบาะนั่ง การออกแบบนี้เป็นสิ่งที่ให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอสำหรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ยกเว้นว่าจะมีการออกแบบเพิ่มเติมอื่นๆ เช่นที่พักแขน มีการเคลื่อนไหวได้ หรือการปรับเอน โดยมีเป้าหมายที่จะทำเป็นโครงสร้างที่ใช้งานได้จริงสอดรับกับสรีระรูปร่างของมนุษย์และความต้องการความสะดวกสบายที่สุด เมืองไม่ต่างจากเก้าอี้ สิ่งที่น่าสนใจ หากเราเปรียบกับกรณีข้างต้น เมืองต่างๆ ที่มนุษย์ดำรงอยู่โดยไม่มีเก้าอี้มานับพันปี จนกระทั่งมนุษย์เราก็มาคิดที่จะตั้งรกราก (ซึ่งต่างจากการเป็นกลุ่มล่าสัตว์หาของป่า กลุ่มคนเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน) เราจึงได้คิดสร้างเมืองที่เหมาะกับรูปร่างของเราในฐานะของความเป็นมนุษย์ที่ก้าวหน้า เมืองต่างๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เกิดความรู้สึกคุ้นเคย และสะดวกสบาย .. ดังนั้นในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เมื่อเวลาผ่านไป เรารับกระบวนการขัดเกลา การเรียนรู้และการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการและความสะดวกสบายของตัวเอง จนกระทั่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้นำพาเราไปสู่ความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน เนื่องจากเมืองต่างๆในโลก มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานเชิงพื้นที่ มีการเพิ่มจำนวนขนาดประชากรอยู่ตลอดเวลา จึงมีเหตุผลว่าจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น เมืองในอนาคตจะต้องถูกจับตามองอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งในด้านความเร็วและระดับของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่บางครั้งเราจินตนาการไปไม่ถึง ถ้าเราไม่ทำเก้าอี้ให้พอดีกับหลังของเรา การออกแบบเมืองก็เช่นกัน ทุกวันนี้ นักมานุษยวิทยาจำนวนมากขึ้นทำการวิจัยในเมืองต่างๆ ด้วยครึ่งหนึ่งของมนุษยชาติอาศัยอยู่ในเมืองและเมืองต่างๆ อยู่แล้ว โดยเติบโตขึ้นเป็น 2 ใน3 ในอีก 50 ปีข้างหน้า ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวิจัยในเขตเมืองเป็นเรื่องเฉพาะและจำเป็นเนื่องจากสังคมตะวันตกและนอกตะวันตกกำลังกลายเป็นเมืองหรือเมืองขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว และต้องการมุมมองในทางมานุษยวิทยา ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึง สถาปัตยกรรมกับมานุษยวิทยา ดูเหมือนจะมีประเด็นให้พูดกันมากมาย โดยส่วนใหญ่ งานทางสถาปัตยกรรมมีความพึงพอใจกับภาพหรือแนวทางการทำงานทางมานุษยวิทยาในเรื่องของประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิดของสิ่งก่อสร้าง (มักจะเกี่ยวข้องกับกระท่อมโบราณดั้งเดิมของชนพื้นเมือง ในขณะที่มานุษยวิทยาก็แสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในเรื่องสถาปัตยกรรม ทั้งที่การออกแบบและการจัดการของบ้านเรือน เป็นมิติที่เชื่อมโยงการแสดงทางวัตถุที่สำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน คำถามที่ท้าทายคือทำอย่างไรเราจะใช้มุมมองของศาสตร์ที่แตกต่างมาเติมเต็มงานของตัวเองให้สมบูรณ์มากขึ้น นักมานุษยวิทยาเมืองน่าจะให้ "มุมมองของคนนอก" กับสาขาหรือศาสตร์ที่โดดเด่นของการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ทั้งการวางผังเมืองและการออกแบบ สมองของนักมานุษยวิทยาเป็นสมองที่มองปัจจุบันผ่านส่วนโค้งยาวของอดีตอันยาวนานของมนุษยชาติ พวกเขาเห็นผู้คน เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นการให้ความหมาย การปฏิบัติความต้องการของมนุษย์ในบริบททางวัฒนธรรมที่เฉพาะ สิ่งนี้จะนำไปสู่การยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาได้ฝังผู้วิจัยหรือนักมานุษยวิทยาเข้าไปในวัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อยของผู้คนหรือแม้แต่สถานที่ (สาธารณะหรือส่วนตัว) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมมากขึ้น เพราะเมืองไม่ใช่เรื่องแผนที่ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในทางการเมือง เศรษฐกิจ สาธารณูปโภคพื้นฐาน แต่เกี่ยวโยงกับภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความคิดและปฎิบัติการในชีวิตประจำวันของผู้คนในพื้นที่เมืองด้วย มานุษยวิทยาเมืองคือการศึกษาระบบวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในเมืองต่างๆ ตลอดจนพลังทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบและกระบวนการของเมือง มานุษยวิทยาของเมืองเป็นสาขาที่ศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมในเมืองผ่านเลนส์มานุษยวิทยา เนื่องจากปัจจุบันประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง การทำความเข้าใจวิธีที่ผู้คนโต้ตอบและกำหนดรูปแบบสภาพแวดล้อมในเมืองจึงมีความสำคัญมากขึ้นโดยมานุษยวิทยาของเมืองให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในหัวข้อต่างๆ เช่น เอกลักษณ์ของเมือง การสร้างสถานที่ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และพลวัตทางสังคมในสภาพแวดล้อมของเมือง ด้วยการศึกษาเมืองต่างๆ จากมุมมองแบบองค์รวมโดยคำนึงถึงมิติทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ มานุษยวิทยาของเมืองสามารถช่วยให้เราเข้าใจโลกที่ซับซ้อนของเมืองและการเชื่อมโยงถึงกันระหว่างเมืองและผู้คนมากขึ้น มานุษยวิทยาของเมืองเป็นสาขาย่อยของมานุษยวิทยาที่มุ่งเน้นการศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมในเมือง ขอบเขตประกอบด้วยหัวข้อที่หลากหลาย รวมถึงมิติทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของชีวิตในเมือง นักมานุษยวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านนี้ใช้วิธีการที่หลากหลายในการรวบรวมข้อมูล เช่น ชาติพันธุ์วิทยา การสังเกตผู้เข้าร่วม การสัมภาษณ์ และการวิจัยเอกสารสำคัญ มานุษยวิทยาของเมืองแตกต่างจากสาขาอื่นๆ เช่น การวางผังเมืองหรือสถาปัตยกรรมในหลายประการ แม้ว่าสาขาเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบและกำหนดสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นหลัก แต่มานุษยวิทยาของเมืองก็ใช้แนวทางแบบองค์รวมมากขึ้นโดยตรวจสอบว่าผู้คนมีปฏิสัมพันธ์และกำหนดรูปแบบสภาพแวดล้อมในเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่อย่างไร การศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมในเมืองผ่านเลนส์มานุษยวิทยามีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้เข้าใจมิติทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนของชีวิตในเมืองได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น มานุษยวิทยาของเมืองตระหนักดีว่าเมืองไม่ได้เป็นเพียงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมจากปฏิสัมพันธ์และการปฏิบัติของมนุษย์ ด้วยการศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมในเมืองผ่านเลนส์มานุษยวิทยา เราจะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าในหัวข้อต่างๆ เช่น เอกลักษณ์ของเมือง การสร้างสถานที่ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และพลวัตทางสังคมในการตั้งค่าเมือง ตัวอย่างเช่น นักมานุษยวิทยาได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มต่างๆ ในเมืองต่างๆ อาจมีการรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่และสถานที่ที่แตกต่างกันอย่างไร โดยพิจารณาจากภูมิหลังหรือประสบการณ์ทางวัฒนธรรมของพวกเขา พวกเขายังได้สำรวจว่าสภาพแวดล้อมในเมืองสามารถสะท้อนและกำหนดรูปแบบความไม่เท่าเทียมทางสังคมได้อย่างไร มานุษยวิทยาของเมืองยังเน้นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจปัจจัยทางประวัติศาสตร์และบริบทที่กำหนดรูปแบบพื้นที่และวัฒนธรรมของเมือง ด้วยการตรวจสอบวิธีการที่เมืองต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เราจะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเมืองเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากพลังทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในวงกว้างอย่างไร โดยรวมแล้วมานุษยวิทยาเมือง คือการศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมในเมืองผ่านเลนส์มานุษยวิทยาสามารถให้ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความซับซ้อนของชีวิตในเมืองร่วมสมัย สามารถช่วยให้เราพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ความไม่เท่าเทียมกัน การพลัดถิ่น การแบ่งพื้นที่ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในเมืองต่างๆ ทั่วโลก แนวคิดหลักทางมานุษยวิทยาของเมือง ช่วยให้เราเข้าใจพลวัตที่ซับซ้อนได้ดีขึ้นภายในสภาพแวดล้อมในเมือง และให้ข้อมูลเชิงลึกว่าเหตุใดแนวทางปฏิบัติและพฤติกรรมทางสังคมบางอย่างจึงยังคงอยู่ในบริบทที่เฉพาะเจาะจงอย่างเข่นเมือง แนวคิดที่น่าสนใจ อาทิ 1.การสร้างสถานที่ (place Making) คือการสร้างสถานที่หมายถึงวิธีที่ผู้คนสร้างและกำหนดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของตนเพื่อให้มีความหมายและความสำคัญ โดยเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติที่หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบอาคารและพื้นที่สาธารณะไปจนถึงการสร้างกิจกรรมทางวัฒนธรรมหรือพิธีกรรม เป็นสิ่งสำคัญเพราะมันช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้คนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของพวกเขาอย่างไร และพวกเขาสร้างความรู้สึกถึงตัวตนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาได้อย่างไร 2.อัตลักษณ์ของเมือง(Urban identity) คือสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับวิธีที่ผู้คนระบุหรือรู้สึกเชื่อมโยงกับเมืองในฐานะสถานที่ อัตลักษณ์ของเมืองสามารถกำหนดได้จากปัจจัยหลายประการ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา ชาติพันธุ์ ชนชั้น หรือเพศ การทำความเข้าใจอัตลักษณ์ของเมืองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันช่วยให้เราเข้าใจว่าเหตุใดผู้คนจึงเห็นคุณค่าของชีวิตในเมืองบางแง่มุมมากกว่าคนอื่นๆ และคุณค่าเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเขาในเมืองอย่างไร 3.ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (Cultural Landscapes) คือภูมิทัศน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่วัฒนธรรมของมนุษย์ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ธรรมชาติให้กลายเป็นสถานที่ที่มีความหมายผ่านการปฏิบัติ เช่น เกษตรกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปะ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากสะท้อนถึงประวัติศาสตร์และประเพณีที่หลากหลายซึ่งหล่อหลอมภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก 4.ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม (Social inequality) คือแนวคิดนี้หมายถึงความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรหรือโอกาสโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น เชื้อชาติ ชนชั้น เพศ หรือเรื่องเพศ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเป็นประเด็นสำคัญในมานุษยวิทยาของเมือง เนื่องจากเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการพัฒนาเมือง และส่งผลต่อประสบการณ์ชีวิตในเมืองของกลุ่มต่างๆ การเคลื่อนย้าย (Mobility) คือการเคลื่อนย้ายหมายถึงการเคลื่อนไหวภายในและระหว่างพื้นที่ในเมืองโดยบุคคลหรือกลุ่มเพื่อการทำงาน การพักผ่อน หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ นี่เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิทยาของเมือง เพราะมันส่งผลต่อวิธีที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันและกับสภาพแวดล้อมภายในเมือง การศึกษามานุษยวิทยาของเมืองใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อศึกษาพื้นที่และวัฒนธรรมของเมือง วิธีการทั่วไปบางประการ ได้แก่ ชาติพันธุ์วิทยา การสังเกตผู้เข้าร่วม การสัมภาษณ์ การวิจัยเอกสารสำคัญ และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยรวมแล้ว วิธีการเหล่านี้ช่วยให้มานุษยวิทยาของนักวิจัยในเมืองมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่และวัฒนธรรมในเมือง โดยการตรวจสอบและสืบค้นจากมุมมองที่หลากหลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างผู้คนและสภาพแวดล้อมภายในเมืองด้วย การศึกษาเมืองในเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ทั้งนี้กลุ่มชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวข้องกับงานภาคสนามที่นักมานุษยวิทยาศึกษาและการสังเกตกลุ่มชาติพันธุ์ในเมืองที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ วิธีการนี้ช่วยให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเมืองได้อย่างลึกซึ้ง ตัวอย่างเช่น Sharon Zukin ใช้วิธีการทางชาติพันธุ์วิทยาเพื่อศึกษาภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของ SoHo ในนิวยอร์กซิตี้ โดยตรวจสอบว่าศิลปิน นักพัฒนา และผู้อยู่อาศัยมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม คือการเข้าร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรมของชุมชนหรือกลุ่ม ในขณะเดียวกันก็ทำการสังเกตเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านั้นด้วย วิธีนี้ช่วยให้นักวิจัยได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของชาวเมือง เพื่อเป็นตัวอย่าง Setha Low ใช้การสังเกตของผู้เข้าใบ้พื้นที่ในเมืองเพื่อศึกษาพื้นที่สาธารณะใน Tompkins Square Park ในนิวยอร์กซิตี้ในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 การสัมภาษณ์ คือการสัมภาษณ์เกี่ยวข้องกับการถามคำถามบุคคลหรือกลุ่มเกี่ยวกับประสบการณ์และมุมมองในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง วิธีนี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับทัศนคติของผู้คนต่อพื้นที่และวัฒนธรรมในเมือง Aihwa Ong ใช้การสัมภาษณ์เพื่อสำรวจว่าแรงงานข้ามชาติในสิงคโปร์ดำเนินชีวิตประจำวันภายในเมืองอย่างไร การวิจัยเอกสารสำคัญ คือการวิจัยเอกสารสำคัญเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น หนังสือพิมพ์ แผนที่ ภาพถ่าย และบันทึกของรัฐบาล เพื่อทำความเข้าใจว่าพื้นที่ในเมืองเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร วิธีการนี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจที่หล่อหลอมเมืองต่างๆ Thomas Sugrue ใช้การวิจัยจดหมายเหตุเพื่อตรวจสอบว่ามีการบังคับใช้การแบ่งแยกทางเชื้อชาติผ่านนโยบายที่อยู่อาศัยในดีทรอยต์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 อย่างไร การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ คือการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (GIS) หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อสร้างแผนผังรูปแบบของการพัฒนาเมืองหรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเมื่อเวลาผ่านไป วิธีการนี้สามารถช่วยให้นักวิจัยระบุแนวโน้มหรือรูปแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในทันทีผ่านวิธีการอื่น ตัวอย่างเช่น David Harvey ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อศึกษารูปแบบการแบ่งพื้นที่ในเมืองต่างๆ ทั่วโลก

สำนักแฟรงเฟิร์ต กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

สำนักแฟรงเฟิร์ต กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล “กิจกรรมของคนงานก็ไม่ใช่กิจกรรมของเขาเช่นกัน กิจกรรมที่ดูราวกับว่าเกิดขึ้นเอง แท้จริงมันเป็นของคนอื่น มันเป็นการสูญเสียตัวตนของเขา ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ (คนงาน) จะรู้สึกเพียงแต่ว่าตัวเองกระตือรือร้นอย่างอิสระในหน้าที่แห่งสัตว์ของเขา เช่น การกิน การดื่ม การสืบพันธุ์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในที่อยู่อาศัยและการแต่งตัวของเขา ฯลฯ และในหน้าที่ของมนุษย์ เขาก็จะไม่อีกต่อไป รู้สึกว่าตัวเองเป็นอะไรก็ได้.. สิ่งที่เป็นสัตว์กลายเป็นมนุษย์ และสิ่งที่เป็นมนุษย์กลายเป็นสัตว์”(Adorno and Horkheimer) ในยุค "Fordism" ที่สร้างระบบการผลิตจำนวนมากพร้อมๆกับการก่อตัวของระบอบการปกครองที่เป็นเนื้อเดียวกันกับทุนซึ่งต้องการผลิตความปรารถนา รสนิยม และพฤติกรรมของมวลชน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นยุคของการผลิตและการบริโภคจำนวนมากที่โดดเด่นด้วยความสม่ำเสมอของความต้องการ ความคิด และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดสังคมมวลชน และสิ่งที่สำนักแฟรงก์เฟิร์ตอธิบายว่าเป็น "จุดจบของปัจเจกบุคคล" ความคิดและการกระทำของแต่ละบุคคลไม่ได้เป็นกลไกขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรมอีกต่อไป สำนักคิดแฟรงก์เฟิร์ต(The Frankfurt School ) หมายถึงกลุ่มนักทฤษฎีชาวเยอรมัน-อเมริกันที่ได้พัฒนาการวิเคราะห์อันทรงพลังที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมทุนนิยมตะวันตกที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่การก่อตัวของทฤษฎีคลาสสิกของ คาร์ล มาร์กซ์ และเริ่่มต้นทำงานที่ Institut fur Sozialforschung ในแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 และต้นทศวรรษ 1930 โดยนักทฤษฎีที่สำคัญ เช่น Max Horkheimer, T.W. Adorno, Herbert Marcuse, Leo Lowenthal และ Erich Fromm ได้ก่อร่างสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับความสำคัญของวัฒนธรรมมวลชนและการสื่อสารในการผลิตซ้ำและการครอบงำทางสังคม ที่สำคัญสำนักแฟรงก์เฟิร์ตยังสร้างแบบจำลองแรกๆ ของการศึกษาวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ที่เน้นวิเคราะห์กระบวนการผลิตทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจการเมือง แและการเมืองของวัฒนธรรม ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและการใช้สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม (Kellner 1989 และ 1995) การเคลื่อนย้ายจากเยอรมนีไปยังสหรัฐอเมริกา ทำให้สำนักแฟรงก์เฟิร์ตมีประสบการณ์โดยตรงในการเพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมสื่อที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ ดนตรียอดนิยม วิทยุ โทรทัศน์ และวัฒนธรรมมวลชนรูปแบบอื่นๆ (Wiggershaus 1994) ในสหรัฐอเมริกา ที่สะท้อนว่าการผลิตสื่อถือเป็นความบันเทิงเชิงพาณิชย์รูปแบบหนึ่งซึ่งควบคุมโดยองค์กรขนาดใหญ่ โดยนักทฤษฎีคนสำคัญสองคนคือ Max Horkheimer และ T.W. Adorno ได้จัดทำเรื่องราวของ "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" ( the culture industry ) เพื่อเรียกร้องความสนใจไปที่การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและการค้าขายแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์แบบทุนนิยมของการผลิต สถานการณ์นี้เด่นชัดที่สุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งรัฐแทบไม่ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ และที่ซึ่งวัฒนธรรมมวลชนเชิงพาณิชย์อย่างเข้มข้นได้ถือกำเนิดขึ้นจนกลายเป็นลักษณะเด่นของสังคมทุนนิยมและเป็นจุดสนใจของการศึกษาวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 สำนักแฟรงก์เฟิร์ตได้พัฒนาแนวทางเชิงวิพากษ์และการศึกษาแบบสหวิทยาการในการศึกษาวัฒนธรรมและการสื่อสาร โดยผสมผสานเศรษฐศาสตร์การเมือง การวิเคราะห์ข้อความจากสื่อ และการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและอุดมการณ์ พวกเขาได้บัญญัติศัพท์คำว่า "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" เพื่อสื่อถึงกระบวนการทำให้วัฒนธรรมที่ผลิตในปริมาณมากกลายเป็นอุตสาหกรรมและความจำเป็นทางการค้าที่ขับเคลื่อนระบบ นักทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์ได้วิเคราะห์สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่ใช้สื่อกลางทั้งหมดภายในบริบทของการผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมแสดงคุณลักษณะเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการผลิตจำนวนมาก( ( mass production ) การทำให้กลายเป็นสินค้า (commodification.) การทำให้เป็นมาตรฐาน(standardization ) และการทำให้เป็นอุตสาหกรรมวัฒนธรรมมวลชน ( massification) มีหน้าที่เฉพาะในการรองรับความชอบธรรมทางอุดมการณ์ของสังคมทุนนิยมที่มีอยู่ และในการบูรณาการชีวิตของปัจเจกบุคคลเข้ากับวิถีการผลิตแบบทุนนิยม การวิเคราะห์ของ Adorno มีความเกี่ยวข้องกับดนตรียอดนิยม รายการโทรทัศน์ และปรากฏการณ์อื่นๆ ตั้งแต่คอลัมน์เกี่ยวกับโหราศาสตร์ไปจนถึงคำประกาศสุนทรพจน์ของฟาสซิสต์ (1991, 1994), การศึกษาวรรณกรรมและนิตยสารยอดนิยมของ Lowenthal (1961) การศึกษาละครวิทยุของ Herzog (1941) และมุมมองและการวิพากษ์วิจารณ์ ของวัฒนธรรมมวลชนที่พัฒนาขึ้นในการศึกษาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของ Horkheimer และ Adorno (1972 และ Adorno 1991) ได้ให้ตัวอย่างมากมายของแนวทางของสำนักคิดแฟรงก์เฟิร์ต นอกจากนี้ ในทฤษฎีของพวกเขาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการวิจารณ์วัฒนธรรมมวลชน พวกเขาเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีสังคมกลุ่มแรกๆ ที่มีความสำคัญในการผลิตซ้ำของสังคมร่วมสมัย ในมุมมองของพวกเขา วัฒนธรรมมวลชนและการสื่อสารยืนอยู่ในศูนย์กลางของกิจกรรมยามว่าง เป็นตัวแทนที่สำคัญของการขัดเกลาทางสังคม เป็นสื่อกลางของความเป็นจริงทางการเมือง และด้วยเหตุนี้จึงควรถูกมองว่าพวกมันเป็นสถาบันหลักของสังคมร่วมสมัยที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและสังคมที่หลากหลาย นอกจากนี้ นักทฤษฎีแนววิพากษ์ได้สำรวจอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในบริบททางการเมืองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการบูรณาการของชนชั้นแรงงานเข้ากับสังคมทุนนิยม นักทฤษฎีของสำนักแฟรงก์เฟิร์ตเป็นหนึ่งในกลุ่มนีโอมาร์กเซียนกลุ่มแรกๆ ที่ศึกษาผลกระทบของวัฒนธรรมมวลชนและการผงาดขึ้นมาของสังคมผู้บริโภคที่มีผลกระทบต่อชนชั้นแรงงานซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิวัติตามแนวทางของพวกมาร์กเซียนยุคคลาสสิก พวกเขายังได้วิเคราะห์วิธีการที่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสังคมผู้บริโภคพยามรักษาเสถียรภาพของระบบทุนนิยมร่วมสมัย และแสวงหากลยุทธ์ใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หน่วยในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และแบบจำลองสำหรับการปลดปล่อยทางการเมืองที่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานของการวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมและเป้าหมายสำหรับการต่อสู้ทางการเมือง จำเป็นต้องทบทวนทฤษฎีมาร์กเซียนใหม่ และก่อให้เกิดคุณูปการที่สำคัญมากมาย สำนักแฟรงก์เฟิร์ตจึงมุ่งเน้นไปที่เรื่องเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอย่างตั้งใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกลายเป็นทั้งกำลังสำคัญในการผลิตและรูปแบบการจัดองค์กรและการควบคุมทางสังคมได้อย่างไร ในบทความปี 1941 เรื่อง "Some Social Implications of Modern Technology หรือ”ผลกระทบทางสังคมบางประการของเทคโนโลยีสมัยใหม่" ที่เขียนโดยเฮอร์เบิร์ต มาร์คิวส์ แย้งว่าเทคโนโลยีในยุคร่วมสมัยถือเป็น "รูปแบบการจัดระเบียบและการคงอยู่ (หรือการเปลี่ยนแปลง) ความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด การแสดงออกซึ่งรูปแบบความคิดและพฤติกรรมที่แพร่หลาย ซึ่งเป็นเครื่องมือ เพื่อการควบคุมและการครอบงำ ในขอบเขตของวัฒนธรรม เทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมมวลชนที่ทำให้ปัจเจกบุคคลต้องปฏิบัติตามรูปแบบความคิดและพฤติกรรมที่โดดเด่น และด้วยเหตุนี้ จึงต้องจัดเตรียมเครื่องมืออันทรงพลังในการควบคุมและการครอบงำทางสังคม ดังกรณีของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของลัทธิฟาสซิสต์ในยุโรป ที่สำนักแฟรงก์เฟิร์ตได้สัมผัสกับวิธีการที่พวกนาซีใช้เครื่องมือของวัฒนธรรมมวลชนเพื่อสร้างการยอมจำนนต่อวัฒนธรรมและสังคมของฟาสซิสต์ ขณะเดียวกันการลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาของพวกเขา ก็ทำให้สำนักแฟรงก์เฟิร์ตเชื่อว่า "วัฒนธรรมสมัยนิยม" (popular culture ) ของอเมริกานั้นมีอุดมการณ์สูงและทำงานเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของระบบทุนนิยมอเมริกัน อุตสาหกรรมวัฒนธรรมถูกควบคุมโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ ตามข้อจำกัดของการผลิตจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำนวนมากซึ่งสร้างระบบวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ในระดับสูง ซึ่งขายคุณค่า รูปแบบชีวิต และสถาบันของวิถีชีวิตแบบอเมริกัน งานของสำนักคิดแฟรงก์เฟิร์ต สอดคล้องกับสิ่งที่ Paul Lazarsfeld (1942) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการศึกษาด้านการสื่อสารมวลชนสมัยใหม่ เรียกว่าแนวทางเชิงวิพากษ์ Walter Benjamin เขียนงานในปารีสในช่วงทศวรรษที่ 1930 มองเห็นแง่มุมที่ก้าวหน้าในเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตเชิงวัฒนธรรม เช่น การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ และวิทยุ ในงานชื่อ The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก(1969) เบนจามินตั้งข้อสังเกตว่าสื่อมวลชนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมรูปแบบเก่าๆ ได้อย่างไร โดยการผลิตซ้ำภาพถ่าย ภาพยนตร์ การบันทึก และสิ่งพิมพ์จำนวนมากเข้ามาแทนที่การเน้นที่ความคิดริเริ่มและออร่า (aura ) ของงานศิลปะในสมัยก่อน เบนจามินปลดแอกตัวเองให้เป็นอิสระจากความลึกลับหรือมนต์ขลังของวัฒนธรรมชั้นสูง( mystification of high culture ) เชื่อว่าวัฒนธรรมสื่อสารมวลชนสามารถปลูกฝังให้บุคคลมีวิจารณญาณมากขึ้นให้สามารถตัดสินและวิเคราะห์วัฒนธรรมของตนได้ เช่นเดียวกับที่แฟนกีฬาสามารถวิเคราะห์และประเมินกิจกรรมกีฬาได้ นอกจากนี้ เบนจามินเชื่อว่าการประมวลผลภาพที่เร่งรีบของภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นนั้น บุคคลสามารถหลีกเลี่ยงและเข้าใจความผันแปรและความปั่นป่วนของประสบการณ์ในสังคมอุตสาหกรรมและสังคมเมืองได้ดีขึ้นด้วย เบนจามินเป็นผู้ร่วมงานกับศิลปินชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียงเช่น Bertolt Brecht โดยเบนจามินทำงานร่วมกับเบรชต์ในการทำภาพยนตร์ การสร้างละครวิทยุ และพยายามใช้สื่อเป็นเครื่องมือของความก้าวหน้าทางสังคม ในบทความเรื่อง "The Artist as Producer" (1999 [1934]) เบนจามินแย้งว่าผู้สร้างวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าควรปรับเปลี่ยนเครื่องมือการผลิตทางวัฒนธรรม เปลี่ยนโรงละครและภาพยนตร์ ให้เป็นเวทีแห่งการรู้แจ้งและการอภิปรายทางการเมือง มากกว่าที่จะสื่อถึงความเพลิดเพลิน ความสุข ความพึงพอใจของผู้ชมในการทำอาหาร ทั้ง Brecht และ Benjamin เขียนบทละครวิทยุและมีความสนใจในภาพยนตร์ในฐานะเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ก้าวหน้า ในบทความเกี่ยวกับทฤษฎีวิทยุ เบรชต์คาดการณ์ว่าอินเทอร์เน็ตจะต้องสร้างอุปกรณ์การแพร่ภาพกระจายเสียงขึ้นมาใหม่จากการส่งสัญญาณทางเดียวไปเป็นรูปแบบการสื่อสารสองทางหรือหลายช่องทางที่มีการโต้ตอบมากขึ้น (Silberman 2000) และมันเกิดขึ้นครั้งแรกในการออกอากาศวิทยุ CB และการสื่อสารคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ เบนจามินปรารถนาที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงและการเมืองของสื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกัน แต่เขาตระหนักดีว่าสื่อเช่นภาพยนตร์อาจมีผลกระทบในรูปแบบเชิงอนุรักษ์นิยม ในขณะเดียวกันเขาคิดว่าผลงานที่ผลิตจำนวนมากนั้นได้สูญเสียสิ่งที่เรียกว่า "ออร่า" (Aura) ซึ่งเป็นพลังดุจเวทย์มนตร์ในผลงานของพวกเขา และเปิดเผยให้เห็นสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการอภิปรายถกเถียงเชิงวิพากษ์วิจารณ์และทางการเมืองมากขึ้น เขาตระหนักดีว่าภาพยนตร์สามารถสร้างเวทมนตร์เชิงอุดมการณ์รูปแบบใหม่ผ่านลัทธิของ ผู้มีชื่อเสียงและเทคนิคต่างๆ เช่น ภาพโคลสอัพที่ดึงดูดดาราหรือภาพบางภาพผ่านเทคโนโลยีของภาพยนตร์ เบนจามินจึงเป็นหนึ่งในนักวิจารณ์วัฒนธรรมหัวรุนแรงกลุ่มแรกๆ ที่พิจารณารูปแบบและเทคโนโลยีของวัฒนธรรมสื่ออย่างรอบคอบในการประเมินธรรมชาติและผลกระทบของวัฒนธรรมที่ซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น เขาได้พัฒนาแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกที่ยั่งยืนที่สุดของเขา ต่อมา Max Horkheimer และ T.W. Adorno ได้ใช้ฐานความรู้ของเบนจามินในการวิเคราะห์ วิพากษ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลอย่างมาก ซึ่งพวกเขาตีพิมพ์หนังสือชื่อ Dialectic of Enlightenment ของพวกเขา นปี 1948 และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1972 พวกเขาแย้งว่าระบบการผลิตทางวัฒนธรรมถูกครอบงำโดยภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกควบคุมโดยการโฆษณาและความจำเป็นทางการค้า และที่สำคัญพวกมันบังทำหน้าที่สร้างการยอมจำนนของผู้บริโภคต่อระบบทุนนิยมการบริโภค วิธีการที่อุตสาหกรรมสื่อใช้อำนาจเหนือผู้ชม และช่วยสร้างความคิดและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่มีอยู่ Adorno และ Horkheimer มองผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ได้มุ่งหมายเพียงเพื่อผลกำไรเท่านั้น (ดึงดูดใจตัวส่วนร่วมที่ต่ำที่สุด) แต่ยังผลิตผู้บริโภคที่ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของระบบทุนนิยมอีกด้วย รวมทั้งเป้าหมายเดียวของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมคือการสร้างรูปแบบของวัฒนธรรมที่เข้ากันได้กับเป้าหมายของระบบทุนนิยม นอกจากนี้สำนักแฟรงก์เฟิร์ตยังให้มุมมองทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมดั้งเดิมและความทันสมัยในศิลปะไปสู่สื่อที่ผลิตจำนวนมากและสังคมผู้บริโภค ในหนังสือของ Jergen Habermas เรื่อง The Structural Transformation of the Public Sphere เจอร์เก้น ฮาเบอร์มาสได้เล่าเรื่องราวการวิเคราะห์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมของ Adorno และ Horkheimer โดยเขากล่าวถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชัยชนะของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยตั้งข้อสังเกตว่าสังคมกระฎุมพีในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และ 19 มีความโดดเด่นจากการเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะที่ยืนหยัดระหว่างภาคประชาสังคมและรัฐ และใช่้พื้นที่เหล่านี้เป็นสื่อกลางระหว่างผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่บุคคลและกลุ่มสามารถกำหนดความคิดเห็นของตัวเอง โดยแสดงออกถึงความต้องการและความสนใจของตนโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติทางการเมือง พื้นที่สาธารณะของชนชั้นกระฎุมพีทำให้เป็นไปได้ที่จะสร้างขอบเขตความคิดเห็นสาธารณะที่ต่อต้านอำนาจรัฐและผลประโยชน์อันทรงพลังที่กำลังเข้ามาหล่อหลอมสังคมชนชั้นกระฎุมพี ฮาเบอร์มาสตั้งข้อสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงจากขอบเขตสาธารณะแบบเสรีนิยมซึ่งมีต้นกำเนิดในการยุครู้แจ้งและการปฏิวัติในอเมริกาและฝรั่งเศส นำไปสู่ขอบเขตสาธารณะที่ถูกครอบงำโดยสื่อในยุคปัจจุบันของสิ่งที่เขาเรียกว่า "ระบบทุนนิยมของรัฐสวัสดิการและประชาธิปไตยมวลชน" (welfare state capitalism and mass democracy) การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์นี้มีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมของ Horkheimer และ Adorno ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ได้เข้ายึดครองพื้นที่สาธารณะและเปลี่ยนจากสถานที่ที่มีการถกเถียงอย่างมีเหตุผล ให้กลายมาเป็นการบริโภคแบบบิดเบือนและความเฉยเมย ในการเปลี่ยนแปลงนี้ "ความคิดเห็นสาธารณะ" (public opinion ) จะเปลี่ยนจากฉันทามติที่มีเหตุผลที่เกิดขึ้นจากการถกเถียง การอภิปราย และการไตร่ตรองไปเป็นความคิดเห็นที่สร้างขึ้นจากการสำรวจความคิดเห็นหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ สำหรับฮาเบอร์มาส ความเชื่อมโยงระหว่างขอบเขตของการดีเบตในที่สาธารณะและการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคลจึงถูกแยกออกและแปรเปลี่ยนไปสู่ขอบเขตของการบิดเบือนและการแสดงทางการเมือง ซึ่งผู้บริโภคที่เป็นพลเมืองจะซึมซับและดูดซับความบันเทิงและข้อมูลอย่างไม่โต้ตอบ "พลเมือง" จึงกลายเป็นผู้ชมการนำเสนอและวาทกรรมของสื่อซึ่งชี้ขาดการอภิปรายสาธารณะ และลดผู้ชมให้หันไปสนใจข่าวสาร ข้อมูล และกิจการสาธารณะ ดังที่ Walter Benjamin ชี้ให้เห็น (1969) อุตสาหกรรมวัฒนธรรมยังสร้างผู้บริโภคที่มีเหตุผลและวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งสามารถแยกแยะและแยกแยะระหว่างข้อความทางวัฒนธรรมและการแสดงได้ เช่นเดียวกับแฟนกีฬาเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์การแข่งขันกีฬาเช่นกัน อ้างอิง Adorno, T.W. (1991) The Culture Industry. London: Routledge. __________ (1994) The Stars Down to Earth and Other Essays on the Irrational in Culture. London: Routledge. Benjamin, Walter (1969) Illuminations. New York: Shocken. _______________ (1999) "The Artist as Producer," in Walter Benjamin, Collected Writings, Volume II. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. _______________ (2000) The Arcades Project. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. Buck-Morss, Susan (1989) The Dialectics of Seeing. Cambridge, Mass.: MIT Press. Calhoun, Craig (1992), ed. Habermas and the Public Sphere. Cambridge: The MIT Press. Habermas, Jurgen (1989a) Structural Transformation of the Public Sphere. Cambridge, Mass: MIT Press. Hertog, Herta (1941), "On Borrowed Experience. An Analysis of Listening to Daytime Sketches," Studies in Philosophy and Social Science, Vol. IX, No. 1: 65-95. Hilferding, Rudolf (1981 [1910]) Finance Capital. London: Routledge and Kegan Paul. Horkheimer, Max and T.W. Adorno (1972) Dialectic of Enlightenment. New York: Herder and Herder. Kellner, Douglas (1989) Critical Theory, Marxism, and Modernity. Cambridge and Baltimore: Polity and John Hopkins University Press. ______________ (1995) Media Culture. Cultural Studies, Identity, and Politics Between the Modern and the Postmodern. London and New York: Routledge. ____________ (2000) "Habermas, the Public Sphere, and Democracy: A Critical Intervention," in Perspectives on Habermas, edited by Lewis Hahn. Open Court Press. Lazarsfeld, Paul (1941) "Administrative and Critical Comunications Research," Studies in Philosophy and Social Science, Vol. IX, No. 1: 2-16. Lowenthal, Leo (1961) Literature, Popular Culture and Society. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall. Marcuse, Herbert (1941) Studies in Philosophy and Social Science, Vol. IX, No. 1: 414-439. Silberman, Marc (2000) Bertolt Brecht on Film and Radio. London: Metheun. Wiggershaus, Rolf (1994), The Frankfurt School. Cambridge, UK: Polity Press.

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...