ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2024

แนวคิดเรื่อการร่ายกายกับการรับรู้ เชิงปรากฏการณ์วิทยา มองผ่านงาน เมอร์โล ปงตี (Merleau Ponty) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตอนที่ผมเรียน ป.เอก ในรายวิชา Medical Anthropology (มานุษยวิทยาการแพทย์) ตอนนั้นตื่นเต้นมาก เพราะไม่คิดว่าการแพทย์จะมองเรื่องอัตวิสัย การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วย ผมว่าตรงนี้มันเปลี่ยนมุมมองที่ผมเคยมองว่า การแพทย์มันลดทอนร่างกายมนุษย์ให้หลายเป็นวัตถุของความรู้และการรักษา มุมมองทางมานุษยวิทยามันช่วยเติมความเข้าใจเรื่องนี้ และผมเอามาพัฒนาต่อในรายวิชามานุษยวิทยา ว่าด้วยร่างกาย ภายใต้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยา และแนวคิด Embodiment ..ที่ผมสนใจ Maurice Merleau-Ponty (อ่านว่าเมอร์โล-ปงตี) เป็นนักปรัชญาฝรั่งเศสที่มีผลงานสำคัญในสาขาปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) มุมมองของเขาที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการพัฒนาแนวคิดเรื่องการรับรู้ การดำรงอยู่ และความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับโลกภายนอกมีดังนี้ 1. การรับรู้และร่างกาย (Perception and the Body) Merleau-Pontyมองว่าการรับรู้ไม่ใช่กระบวนการทางจิตที่แยกจากร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านร่างกาย การรับรู้ของเราต่อโลกภายนอกเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวและประสบการณ์ทางกายภาพ ร่างกายเป็นศูนย์กลางของการรับรู้และการอยู่ในโลก (being-in-the-world) ซึ...

การตายดี และการดูแล โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

The truth is, once you learn how to die, you learn how to live.” By Mitch Albom in Tuesdays with Morrie “ความจริงก็คือ เมื่อคุณเรียนรู้ที่จะตาย คุณจะได้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่” เราจะพบว่ามีงานวรรณกรรมจำนวนมากอธิบายถึงแนวทางเชิงบวกในการตาย ตัวอย่างเช่น ในเรื่อง “Tuesdays with Morrie ที่มิทช์ อัลบอมไปเยี่ยมอดีตศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาของเขาที่ชื่อ Morrie Schwartz ซึ่งได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับการยอมรับ การสื่อสาร และการให้ความรักท่ามกลางกระบวนการที่กำลังจะตายของตัวเขาเอง หรืองานอีกชิ้นอย่าง “Man’s Search for Meaning”ของ Viktor Frank ได้บรรยายประสบการณ์ในค่ายกักกันของนาซีที่นำไปสู่การค้นพบความหมายในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานและความตาย นอกจากนี้ ยังมีงานเรื่อง “The Last Lecture” ของ Randy Pausch ที่เขาพูดถึงเหตุการณ์หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม เขาตั้งคำถามกับตัวแองว่าจะใช้ชีวิตและยอมรับทุกช่วงเวลาอย่างแท้จริงได้อย่างไร “เมื่อเวลาคือสิ่งเดียวที่คุณมีและวันหนึ่งคุณอาจพบว่าคุณมีน้อยกว่าคุณคิด…” ซึ่งเป็นคำกล่าวสุนทรพจน์ในงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์...

แนวคิดปรากฏการณ์วิทยา ของ Maurice Merleau-Ponty โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Maurice Merleau-Ponty เป็นนักปรัชญาฝรั่งเศสที่มีผลงานสำคัญในสาขาปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) แนวคิดสำคัญของเขามีดังนี่ 1. การรับรู้และร่างกาย (Perception and the Body) เมอร์โล-ปงตีมองว่าการรับรู้ไม่ใช่กระบวนการทางจิตที่แยกจากร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านร่างกาย การรับรู้ของเราต่อโลกภายนอกเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวและประสบการณ์ทางกายภาพ ร่างกายเป็นศูนย์กลางของการรับรู้และการอยู่ในโลก (being-in-the-world) ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของเดส์การ์ตที่มองว่าจิตและร่างกายแยกกัน 2. โลกเป็นประสบการณ์ที่มีความหมาย (The World as Lived Experience) เมอร์โล-ปงตียืนยันว่าเราสัมผัสและเข้าใจโลกผ่านประสบการณ์ที่มีชีวิต (lived experience) มากกว่าการคิดแบบนามธรรม โลกไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เรามองเห็น แต่เป็นสิ่งที่เรารู้สึกและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านร่างกายของเรา 3. ความเป็นร่างเดียวของจิตและร่างกาย (Embodiment) ร่างกายไม่ใช่เพียงวัตถุที่เราครอบครอง แต่เป็นส่วนที่ทำให้เราเข้าใจและมีปฏิสัมพันธ์กับโลก การรับรู้ของเราเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสิ่งที่เราเห็นและสัมผัส ซึ่งทำให้เรามีมุมมองเฉพาะต่อโลก 4....

วิทยาศาสตร์แบบกอเธ่ (Geotheon Sciences) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างทางกลับบ้าน…ใช้เวลาบนถนนสองสามชั่วโมง อ่านหนังสือ ผมได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ กัลยาณมิตรทางปัญญา ที่ผมได้คุยกับท่านเมื่อวันก่อนบอกผมว่า อาจารย์ทำงานสายศิลปะและวัฒนธรรมลองอ่าน Geotheon Sciences ดูผมแนะนำครับ … วันนี้ผมเลยลองไปค้นบทความรวมถึงหนังสือดู พบเนื้อหาที่น่าสนใจที่มีการอธิบายถึงยุคของปรัชญาแบบ DescartesและNewton ซึ่งเป็นยุคแห่งการตื่นรู้ (Enlightenment period) สภาพแวดล้อมทางสังคมในช่วงเวลานั้นตลบอบอวลไปด้วยพลังของการตื่นรู้จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ เช่น Isac Newton , Rene Descartes ,Francis BaconและJohn Lock เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์และหลักเหตุผล มีการแบ่งโลกออกเป็นอาณาจักรพืช อาณาจักรสัตว์ และอาณาจักรแร่ธาตุ ซึ่งเกอเธ่กล่าวว่าไม่เข้าใจการแบ่งแยกนี้เลย เนื่องจากเขามองไม่เห็นการแบ่งแยกระหว่าง 3 อาณาจักรสำคัญนั้น แต่ Johann Wolfgang von Geothe กลับมองว่าทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้แยกขาดหรือสามารถลดทอนมันได้ ภายใต้มุมมองแบบแยกส่วน เข่น คณิตศาสตร์ถูกเชื่อว่าคือเครื่องยืนยันความแน่นอน ส่วนประสาทสัมผัสของมนุษย์คือที่มาของความผิดพลา...

พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (Rites of Passage) ของ Arnold. Van Gennep โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Arnold Van Gennep เป็นนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงจากการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ พิธีกรรมการเปลี่ยนผ่าน (Rites of Passage) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของเขา โดยในงานของเขา Les Rites de Passage (1909) Van Gennep ได้เสนอกรอบทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของมนุษย์ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม สาระสำคัญและแนวคิดหลักของ Arnold Van Gennep มีดังนี้ 1. แนวคิดพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่าน (Rites of Passage) นั้น Van Gennep ได้อธิบายว่าพิธีกรรมหลายอย่างในสังคมมนุษย์เป็นการแสดงออกถึงการเปลี่ยนสถานะของบุคคลในสังคม จากสภาวะหนึ่งไปยังสภาวะใหม่ เช่น การเปลี่ยนจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ หรือจากการเป็นคนโสดไปเป็นผู้แต่งงาน เขาแบ่งพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่านออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. 1 Separation (การแยกตัว) การแยกออกจากสถานะหรือสภาพเดิม เช่น การแยกออกจากครอบครัวในพิธีแต่งงาน หรือพิธีบวช เป็นต้น 1.2. Transition (การเปลี่ยนผ่าน) ช่วงเวลาที่บุคคลอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านสถานะ โดยมักจะมีความไม่แน่นอนและอยู่ในสถานะที่ยังไม่ชัดเจน เช่น ช่วงระหว่างการฝึกในพิธีกรรมของการบวช หรือช่ว...

Digital Bodies มุมมองร่างกาย การแพทย์และเทคโนโลยี โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Digital Bodies: Healthcare, Technoscience, and the Virtual Human เป็นแนวคิดที่เจาะลึกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการการแพทย์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมนุษย์จากมุมมองดิจิทัล และบทบาทของเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ แนวคิดหลักที่น่าสนใจคือ 1. ร่างกายเสมือนและเทคโนโลยีสุขภาพ หนังสือเน้นถึงการเกิดขึ้นของ "ร่างกายเสมือน" (Virtual Human) ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีในการสร้างแบบจำลองร่างกายมนุษย์ผ่านสื่อดิจิทัล ตัวอย่างเช่น การสร้างอวตารที่จำลองจากข้อมูลทางกายภาพ เพื่อใช้ในการรักษาหรือศึกษาโรคโดยไม่มีการสัมผัสทางกายภาพจริง 2. การแพทย์แบบดิจิทัล แนวคิดที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เช่น การใช้ AI ในการวินิจฉัย การใช้ VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) ในการจำลองการผ่าตัด และการใช้ข้อมูลทางสุขภาพดิจิทัลเพื่อติดตามพฤติกรรมและสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว 3. การเปลี่ยนแปลงของการดูแลสุขภาพและบทบาทของผู้ป่วย ด้วยการแพทย์ดิจิทัล ผู้ป่วยมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการสุขภาพของตนเอง ข้อมูลสุขภาพที่สามารถติดต...

พิธีกรรมวิเคราะห์ มองผ่านงานของVictor Turner โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

นักเรียนมานุษยวิทยา ต้องเคยอ่านงานของ Victor Turner ในงานวิเคราะห์พิธีกรรมและสัญลักษณ์ของเขา ใน หนังสือ Ritual Process กับ Forest Symbol..ผมรู้จักครั้งแรกในงานของ อ.พัฒนา กิติอาษา และอาจารย์ สุริยา สมุทคุปติ์ ในเรื่อง บุญบุ่้งไฟ และเรื่องอื่นๆของอาจารย์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรม งานบุญในอีสาน จนกระทั่งมาเรียนต่อป.โท สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ธรรมศาสตร์ ได้อ่านเรื้องนี้อีกครั้ง และชื่นชอบวิธีคิดขอฃTurner มาก โดยเฉพาะเล่มที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ หนังสือเรื่อง The Forest of Symbols: Aspects of Ndembu Ritual (1967) โดย Victor Turner เป็นหนังสือที่ศึกษาพิธีกรรมและสัญลักษณ์ในวัฒนธรรมของชาว Ndembu ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ชนกลุ่มย่อยในประเทศแซมเบีย โดย Turner ใช้แนวคิด "การวิเคราะห์เชิงสัญลักษณ์" (symbolic analysis) เพื่อทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของชาว Ndembu ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานะทางสังคม (rites of passage) เช่น พิธีเข้าสู่วัยหนุ่มสาวหรือพิธีเปลี่ยนผ่านในชีวิตที่สำคัญ สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ที่มีความน่าสนใจ เช่น 1....

มานุษยวิทยาการแพทย์ มุมมองผ่านเรื่องโควิด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

โควิด 19 กับมุมมองมานุษยวิทยาการแพทย์ การตรวจสอบผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเป็นสิ่งที่ติดตามมา ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างกว้างขวาง เราจะเห็นกระบวนการไกล่เกลี่ยและแก้ปัญหาภายใต้ภาวะของการระบาดใหญ่ ทั้งการปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ การยกเลิกการประชุมใหญ่ๆในโรงแรมและใช้การประชุมย่อยในรูปแบบออนไลน์ที่เฉพาะ รวมทั้งการสูญเสียรายได้สำหรับผู้ที่ทำงานรับจ้างในภาคเอกชน การทำงานแผงลอยและบริการข้างถนนทั้งร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม และผู้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบต่างๆเช่น ผู้ขายบริการทางเพศ คนไร้บ้านเร่ร่อน แรงงานข้ามชาติ แรงงานผลัดถิ่นที่ผิดกฏหมาย ผู้นำและผู้จัดการทางการเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล เนื่องจากพวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะเปิดอะไรต่อไป อะไรยังจะต้องปิดเพื่อควบคุมความปลอดภัย พนักงานคนใดควรเก็บไว้ และใครและเมื่อใดควรเลิกจ้างเพื่อรักษาเสถียรภาพของโรงงานและบริษัทในภาวะโควิด รวมทั้งภาวะของความกลัวและความตื่นตระหนกมาจากความเสี่ยงของการติดเชื้อน้อยลงและมากขึ้นที่เกิดขึ้นจากสื่อสารมวลชนและการรายงานตัวเลขในจอโทรทัศน์ นักมานุ...

สุขคือแฟนแขกคือเงิน มองปรากฏการณ์อารมณ์ของsex worker ข้ามแดน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ในช่วงเดือนกันยายน 2017 เป็นวันที่ผมสอบเล่มจบป.เอก ผ่านไป 6 ปีแล้ว (ไม่นับเรียน ก็เกือบ 10ปี) วิทยานิพนธ์ของผมก็เป็นเรื่องของอารมณ์ เพศ การต่อรองและสุขภาพทางเพศ ผมใช้เป็นพื้นฐานของการสอนเรื่องเพศวิถีด้วย รวมถึงเปิดโลกให้ผมได้อ่านหนังสือหลายเล่มมากๆ ที่ผมใช้ในการเขียนบทความเพื่อนำเสนอหลายเวที.. “สุขคือแฟนแขกคือเงิน”: อารมณ์ ความผูกพันและอำนาจในธุรกิจขายบริการทางเพศ อาชีพการขายบริการทางเพศมีลักษณะเหมือนกับงานบริการประเภทอื่นๆที่ต้องใช้อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเพื่อให้บริการกับลูกค้า โดยพนักงานบริการต้องทําให้ตัวเองรักในงาน (love the job) การเป็นส่วนหนึ่งของงาน (part of job) และความพยายามที่จะรักในงานนั้นอย่างแท้จริง (trying to love it) พร้อมไปกับการพยายามมีความสุขไปพร้อมกับลูกค้า(to enjoy the customer) (Hochschild,1983:7) ภายใต้กฏเกณฑ์ของความรู้สึก(Feeling Rules) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนคู่มือและเครื่องชี้นำของอารมณ์ในการทำงาน ในสิ่งที่ต้องรู้สึก ความพยายามที่จะรู้สึกหรือนึกถึงสิ่งที่ควรจะต้องรู้สึกต่องานที่ตัวเองทำ เช่นการนึกถึงบทบาทของการเป็นลูกสาวในครอบครัว การต้อนรับแขกท...