วันนี้เคลียร์เอกสารสิ่งที่ต้องทำเสร็จไป รายงานโครงการชิ้นสุดท้าย ประเมินบทความ และงานเอกสารบันทึกในเรื่องต่างๆที่ต้องส่ง ผมไม่เคยตั้งเป้าเลยว่าจะทำเมื่อไหร่ ตอนไหน แต่จะมีขอบเขตของเวลากว้างๆว่าทำได้เต็มที่ช่วงไหน คือถ้าเสร็จก็คือเสร็จ ไม่ต้องกดดันตัวเอง
ผมคิดถึงงานชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับวิวาทะชีวิตที่ไร้สาระและมีสาระ …ชีวิตมีความหมายและไร้ความหมาย อย่างไหนมันดีกว่ากัน …
แนวคิด Absurdism ของ Albert Camus อธิบายถึงความพยายามในการค้นหาเป้าหมายของชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่ไร้สาระ เสียเวลาและน่าขบขัน เพราะความหมายเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งสมมติ ไม่มีอยู่จริง เสียเวลาและเปล่าประโยชน์ แค่ปล่อยชีวิตไปแบบไม่ต้องตั้งเป้าอะไร …อยากมีความสุข ก็ไม่ต้องพยามหาว่าความสุขคืออะไร หรือถ้าเรามัวแต่ไปคิด ไปตั้งคำถาม และหาความหมายของชีวิต เราอาจจะลืมว่าต้องใช้ชีวิต ใช้มันไป ใช้แล้วมีความสุข …บางเรื่องไม่ต้องไปค้นหาอะไรมันมาก ทำตามที่ใจเราอยากจะทำ…
แนวคิดของกามูว์ได้รับการพัฒนาและนำเสนออย่างเด่นชัดในหนังสือของเขาที่ชื่อ The Myth of Sisyphus" (ตำนานของซิซีฟัส) ซึ่งเป็นงานเขียนเชิงปรัชญาที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากในศตวรรษที่ 20
จุดเริ่มต้นของแนวความคิดนี้ปรากฏในงานของอาลแบร์ กามูว์ เช่น นวนิยายเรื่อง The Stranger" (L'Étranger) (1942) นวนิยายเรื่องนี้เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Camus ซึ่งสำรวจแนวคิดของความไร้สาระ และปรัชญาแบบ Absurdism ผ่านตัวละครหลัก Meursault ที่แสดงความเฉยเมยต่อสังคมและชีวิต ตัวละครนี้แสดงถึงการมีชีวิตอยู่โดยไม่ยึดติดกับความหมายหรืออุดมการณ์ใด ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Absurdism ของ Camus หรือนวนิยายเรื่อง The Plague" (La Peste) (1947) ซึ่ง นวนิยายที่กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโรคระบาดในเมือง Oran ประเทศแอลจีเรีย นวนิยายนี้ใช้โรคระบาดเป็นสัญลักษณ์เพื่อสำรวจแนวคิดเรื่องความไร้สาระ ความทุกข์ทรมาน และการร่วมมือกันของมนุษย์ในการเผชิญหน้ากับวิกฤต หรือหนังสือชื่อ The Rebel (L'Homme Révolté) (1951) ซึ่ฃเป็นหนังสือเชิงปรัชญาที่วิเคราะห์การกบฏของมนุษย์ต่อความไร้สาระของชีวิต และเสนอว่าแม้ชีวิตจะไร้ความหมาย แต่การกบฏต่อนั้นสามารถสร้างความหมายให้กับชีวิตได้ Camus สำรวจประเด็นเกี่ยวกับการปฏิวัติ ความยุติธรรม และเสรีภาพ เช่นเดียวกับ งานที่มีชื่อเสียงอักเช่มของกามูว์ เรื่อง The Myth of Sisyphus" (Le Mythe de Sisyphe) (1942) โดยงานเขียนเชิงปรัชญาเล่มนี้เป็นที่มาของแนวคิด Absurdism ของ Camus เขาใช้ตำนานของซิซีฟัสเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของชีวิตมนุษย์ และเสนอให้ยอมรับและดำรงชีวิตต่อไป แม้จะรู้ว่าชีวิตนั้นไม่มีความหมายที่แท้จริง
สาระสำคัญของแนวคิด Absurdism
1. การยอมรับความไร้เหตุผลของชีวิต
Absurdism เป็นแนวคิดที่ชี้ให้เห็นถึงความไร้เหตุผลของการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์ต้องการค้นหาความหมายและเหตุผลในชีวิต แต่โลกกลับไม่มีคำตอบที่ชัดเจนหรือให้ความหมายที่ตรงกัน นี่จึงทำให้เกิดภาวะของ"ความไร้สาระ" (the absurd) ขึ้นมา
2. การเผชิญหน้ากับ Absurd
กามูร์เชื่อว่าเมื่อมนุษย์เผชิญหน้ากับการไร้เป้าหมายและความไร้สาระนี้ มี 3 วิธีที่มนุษย์ใช้ในการตอบสนอง ได้แก่ 1 การฆ่าตัวตาย 2.การเชื่อในศาสนา (หรือแนวคิดอื่นๆ ที่ให้ความหมายกับชีวิต) หรือ 3.การยอมรับและใช้ชีวิตต่อไปท่ามกลางความไม่ชัดเจนและไร้เหตุผลนี้ กามูร์แนะนำให้มนุษย์เลือกทางที่สามคือการยอมรับความไร้เหตุผล ไร้ความหมาย ไม่ต้อง Fix และดำรงชีวิตอย่างเต็มที่ แม้จะไม่มีความหมายที่แท้จริงปรากฏเลยก็ตาม
3. ตำนานของซิซีฟัส
Camus ใช้ตำนานของซิซีฟัส (Sisyphus) ในเทพนิยายกรีกเป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดนี้ ซิซีฟัสถูกลงโทษให้กลิ้งก้อนหินขึ้นไปบนยอดเขา แต่ก้อนหินจะกลิ้งลงมาเมื่อถึงยอดเขา ทำให้เขาต้องทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กามูร์เปรียบการกระทำของซิซีฟัสกับชีวิตมนุษย์ที่ต้องเผชิญหน้ากับความไร้สาระอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขายังเสนอให้เราจินตนาการว่าซิซีฟัสมีความสุข เพราะแม้จะไม่มีความหมาย แต่ซิซีฟัสก็ยังเลือกที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
4. ความไร้เหตุผลของชีวิต (The Absurd)
แนวคิด Absurdism เน้นที่ความขัดแย้งระหว่างความปรารถนาของมนุษย์ที่จะค้นหาความหมายของชีวิตและจักรวาลที่ไร้ความหมายหรือคำตอบที่ชัดเจน ความไร้เหตุผลนี้เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เผชิญกับข้อเท็จจริงว่าชีวิตไม่มีความหมายที่แท้จริงในตัวเอง แต่พวกเขายังคงพยายามหาความหมายเหล่านั้นอยู่เสมอ
5.การเผชิญหน้ากับความไร้สาระ
เมื่อมนุษย์ตระหนักถึงความไร้เหตุผลของชีวิต พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกที่ท้าทาย: การปฏิเสธชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย, การยอมรับความหมายที่สร้างขึ้น (เช่น ศาสนาหรือแนวคิดปรัชญาที่เสนอความหมายให้กับชีวิต), หรือการยอมรับความไร้เหตุผลและยังคงมีชีวิตต่อไป Camus เชื่อว่าการยอมรับความไร้สาระและดำรงชีวิตต่อไปเป็นทางเลือกที่มีเกียรติที่สุด
6. เสรีภาพและการท้าทาย (Revolt)
Camus เสนอว่าแม้ชีวิตจะไม่มีความหมายแท้จริง แต่มนุษย์ยังคงสามารถสร้างความหมายให้กับชีวิตได้ผ่านการกระทำ การเผชิญหน้ากับความไร้สาระอย่างมีเสรีภาพคือการกบฏต่อความไร้เหตุผลโดยไม่หวังหาคำตอบสำเร็จรูป การกบฏนี้ไม่ใช่การพยายามเอาชนะความไร้เหตุผล แต่เป็นการยอมรับและใช้ชีวิตให้เต็มที่ในสภาพที่รู้ว่าชีวิตนั้นไร้เหตุผล
7.ความสุขในความไร้สาระ
Camus ให้ภาพของซิซีฟัส (Sisyphus) ซึ่งถูกลงโทษให้กลิ้งก้อนหินขึ้นยอดเขาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดว่าเขาสามารถหาความสุขในงานที่ไร้ความหมายนั้นได้ ในทำนองเดียวกัน มนุษย์สามารถหาความสุขได้ในการใช้ชีวิตที่ไร้เหตุผลถ้าพวกเขายอมรับความไร้สาระนั้นและดำรงชีวิตอย่างเต็มที่
โดยสรุป แนวคิด Absurdism ของ Camus เน้นที่การยอมรับความไร้เหตุผลของชีวิต การเผชิญหน้ากับมันอย่างกล้าหาญ และการดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีเสรีภาพและความสุข แม้จะไม่มีความหมายหรือจุดหมายที่แน่นอน
ผมชอบงานเรื่อง The Rebel (L'Homme Révolté) เป็นหนังสือปรัชญาที่สำคัญของ Albert Camus ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1951 หนังสือเล่มนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการกบฏและการปฏิวัติ โดยเชื่อมโยงกับแนวคิด Absurdism ของ Camus ที่บอกเราว่า แม้ว่าชีวิตนั้นไร้ความหมายและไร้เหตุผล แต่อย่างไรก็ตาม แทนที่จะยอมจำนนต่อความไร้สาระนี้ มนุษย์สามารถ "กบฏ" หรือ “ขบถ” เพื่อสร้างความหมายและคุณค่าให้กับชีวิตของตนเอง ผลงานของ Camus ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงแนวคิดทางปรัชญาที่เขาพัฒนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอิทธิพลต่อวรรณกรรมและปรัชญาในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น