ระหว่างทางกลับบ้าน…ใช้เวลาบนถนนสองสามชั่วโมง อ่านหนังสือ
ผมได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ กัลยาณมิตรทางปัญญา ที่ผมได้คุยกับท่านเมื่อวันก่อนบอกผมว่า อาจารย์ทำงานสายศิลปะและวัฒนธรรมลองอ่าน Geotheon Sciences ดูผมแนะนำครับ …
วันนี้ผมเลยลองไปค้นบทความรวมถึงหนังสือดู พบเนื้อหาที่น่าสนใจที่มีการอธิบายถึงยุคของปรัชญาแบบ DescartesและNewton ซึ่งเป็นยุคแห่งการตื่นรู้ (Enlightenment period) สภาพแวดล้อมทางสังคมในช่วงเวลานั้นตลบอบอวลไปด้วยพลังของการตื่นรู้จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ เช่น Isac Newton , Rene Descartes ,Francis BaconและJohn Lock เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์และหลักเหตุผล มีการแบ่งโลกออกเป็นอาณาจักรพืช อาณาจักรสัตว์ และอาณาจักรแร่ธาตุ ซึ่งเกอเธ่กล่าวว่าไม่เข้าใจการแบ่งแยกนี้เลย เนื่องจากเขามองไม่เห็นการแบ่งแยกระหว่าง 3 อาณาจักรสำคัญนั้น แต่ Johann Wolfgang von Geothe กลับมองว่าทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้แยกขาดหรือสามารถลดทอนมันได้
ภายใต้มุมมองแบบแยกส่วน เข่น คณิตศาสตร์ถูกเชื่อว่าคือเครื่องยืนยันความแน่นอน ส่วนประสาทสัมผัสของมนุษย์คือที่มาของความผิดพลาด ดังนั้นวิทยาศาสตร์แบบนิวตันจึงตัดความเป็นมนุษย์ออกจากการทดลอง
วิทยาศาสตร์แบบนิวตันยังแสวงหาทฤษฎีและตั้งคำถามกับธรรมชาติโดยการทดลอง ชั่ง ตวง วัด ซึ่งเกอเธ่บอกว่าสิ่งที่ศึกษานั้นเป็นธรรมชาติที่แข็งตัว ไม่มีชีวิต เป็นเพียงโครงกระดูกที่ไร่ขีวิตของธรรมชาติ และไม่สามารถเข้าถึงหัวใจที่สร้างสรรค์และมีชีวิตของธรรมชาติได้
วิทยาศาสตร์แบบนิวตันจึงแยกมนุษยชาติออกจากธรรมชาติ เป็นการครอบงำและบงการธรรมชาติ ที่มีอิทธิพลต่อโลกตะวันตกและแผ่ขยายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
แต่สำหรับกอเธ่แล้ว วัตถุทางธรรมชาติควรถูกสำรวจในฐานะที่เป็นตัวของมันเอง ไม่ใช่เอื้อต่อผู้สำรวจ แต่กระทำด้วยความเคารพในฐานะสิ่งมีชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ เกอเธ่เชื่อว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์คือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำที่สุด ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของเกอเธ่ใช้เพียงประสาทสัมผัส ทั้งหกตา หู จมูก ลิ้น กาย ญานทัศนะ ของมนุษยก็พอ
ดังนั้นวิทยาศาตร์แบบนิวตัน เป็นวิทยาศาสตร์แบบหยาง ส่วนวิทยาศาสต์แบบกอเธ่คือหยิน ที่ทั้งสองส่วนล้วนมีความสำคัญ เพราะกอเธ่ก็บอกว่าโลกที่มี2 ขั้ว เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้
แล้ววิทยาศาสตร์เกอเธ่คืออะไร?Johann Wolfgang von Goethe (1749–1832) เขามีความสนใจอย่างลึกซึ้งต่อคุณลักษณะของธรรมชาติและแนวทางที่ขัดแย้งในรูปแบบและวิธีการที่ตรงกันข้ามกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในยุคของเขา ซึ่งเขาวิจารณ์ว่าเป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านเดียวเท่านั้น
งานเขียนทางวิทยาศาสตร์ของเกอเธ่มีผู้เข้าใจน้อยคน และส่วนใหญ่ก็หลงลืมมันไป ในขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบลดทอนนั้นเติบโตไปในทิศทางที่ก้าวหน้า ใครจะเชื่อว่า 90 ปีต่อมา ความสำคัญของงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้รับการยอมรับและอธิบายว่าเป็นวิธีการเชิงญาณวิทยาที่มีความถูกต้องและมีความสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจ ชีวิต …โดยนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญารุ่นต่อมาอย่าง รูดอล์ฟ สไตเนอร์ มองว่าเกอเธ่กำลังพยายามทำสิ่งที่ค่อนข้างใหม่ทางวิทยาศาสตร์และอาจมีความสำคัญมากในอนาคต นั่นคือ การรู้จักโลกธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องสร้างหนทางให้มันเกิดขึ้น ภายใต้การคิดค้นจากวิชาฟิสิกส์ กลศาสตร์ และเคมี แต่เกอเธ่กำลังรู้จักโลกที่มีชีวิตในแบบที่มีชีวิตจริงๆ
Jochen Bockemuehl นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส อธิบายว่า "เกอเธ่เรียกร้องให้ดึงข้อมูลสำหรับการตัดสินบางสิ่งบางอย่างมาจากขอบเขตของปรากฏการณ์ ไม่ใช่จากปริมาณที่กำหนดโดยระบบแบบนิรนัย(deductive) เช่นวิธีกรรมองลงไปทางชีววิทยาของพวก Goethean ที่มองลึกลงไปในสิ่งมีชีวิตผ่านการใส่ใจในคุณสมบัติต่างๆ
Craig Holdrege อธิบายลักษณะของ “วิทยาศาสตร์เชิงปรากฏการณ์วิทยา”( phenomenological science) ของเขาว่าเป็น “บริบท คุณภาพ และองค์รวม” (contextual, qualitative and holistic ) ซึ่งล้อมรอบ เส้นทางแห่งการวิเคราะห์อันไม่สิ้นสุดที่นำเราไกลออกไปเรื่อยๆจากสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจสิ่งนี้ ให้พิจารณากระบวนการศึกษาช้างอย่างละเอียดและรอบคอบของโฮลเดรจ(Holdrege) โดยขั้นตอนแรกของโฮลเดรจคือการสังเกต การสังเกตอย่างละเอียด ตามข้อเท็จจริง และอิงความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ตามหลักกายวิภาค โดยมองว่า งวงของช้าง ส่วนหนึ่งคือจมูก ส่วนหนึ่งติดกับริมฝีปากบน และปราศจากกระดูกอ่อนตามแบบฉบับของจมูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ยกเว้นตรงที่งวงมาบรรจบกับกะโหลกศีรษะ) ..ปล่อยให้งวงเคลื่อนไหวไปทุกทิศทาง ตั้งแต่วงกลมเต็มไปจนถึงเกลียว .. มีลักษณะคล้ายมือ การสำรวจที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและท่าทางการเคลื่อนไหวแบบนี้ ทำให้เห็นการหยิบ นวด กลิ้ง ปอกเปลือก จับ ห่อหุ้ม…ยกและดึง…พ่นน้ำ โคลนหรือทราย กอดรัด ตบ...ส่งเสียงร้องดังเช่นแตร อวัยวะอเนกประสงค์อันสุดพิเศษนี้ช่วยให้ช้างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ตามพฤติกรรมแล้ว ช้างยังคงเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต สามารถกินอาหารได้หลากหลายของอาหารและมีความแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่มีมายาวนานและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ในตอนแรกของโฮลเดรจ ได้ทำการสังเกตอย่างแม่นยำ ขั้นตอนที่สองของเขาคือการรับรู้ เขารวบรวมข้อสังเกตที่ก่อให้เกิดรูปแบบต่างๆ รูปแบบเชิงคุณภาพอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อสังเกตข้างต้นคือความยืดหยุ่นของงวงช้าง อีกอย่างคือการพัฒนาที่แต่อเนื่อง
ถ้าเราดูนักวิทยาศาสตร์สไตล์เกอเธ่ทำงาน เราจะพบว่าพวกเขาใช้ประสาทสัมผัสในวงกว้าง นักวิทยาศาสตร์ของเกอเธ่รวบรวมข้อมูลจากการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรส และการสัมผัส ตราบใดที่ประสาทสัมผัสทั้งหมดนำพาเราไปสู่คุณภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราไม่สามารถกำหนดกลิ่นหรือรสในเชิงปริมาณได้ เราไม่สามารถแปลงคุณภาพของสีใดสีหนึ่งได้ เช่น สีเทาอ่อนสีเขียวของตะบองเพชรแห่งทะเลทราย หรือสีเขียวเหลืองอ่อนที่สดใสของต้นวิลโลว์เมื่อใบไม้ร่วงครั้งแรก ให้เป็นเชิงปริมาณโดยไม่สูญเสียบางสิ่งที่สำคัญไป ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เมื่อเรายืนกรานเฉพาะสิ่งที่สามารถกำหนดลักษณะเชิงปริมาณได้ เราก็จะละเลยข้อมูลจำนวนมาก แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในสาขาที่ใช้งานได้จริง เช่น การออกแบบ แสงบนเวที การผลิตน้ำหอม หรือการผลิตไวน์ ยังคงพึ่งพาการใช้ชีวิตในความแตกต่างเชิงคุณภาพอันละเอียดอ่อนดังกล่าว
คุณสมบัติต่างๆ ได้รับการตัดสินและถูกเนรเทศออกจากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เมื่อกว่าสี่ร้อยปีก่อนดังเช่น กาลิเลโอ กาลิเลอี (1564–1642) เขาแย้งว่าหลักฐานจากประสาทสัมผัสที่เป็น “อัตวิสัย” เช่น การมองเห็นสี การสัมผัส หรือการดมกลิ่น ทำให้เรารู้สึกถึงคุณสมบัติต่างๆ แต่คุณสมบัตินั้นไม่พบในโลกภายนอก เฉพาะการสังเกตที่สามารถวัดผล ชั่งน้ำหนัก และนับได้เท่านั้นที่เป็นสิ่งที่แท้จริง การปฏิเสธคุณสมบัติเชิงคุณภาพนี้ถูกรวมเข้าด้วยกันใน 50 ปีต่อมาโดยนักปรัชญาและแพทย์ชาวอังกฤษที่ชื่อ จอห์น ล็อค (ค.ศ. 1632–1704) ผู้ซึ่งแยกแยะ "คุณสมบัติหลัก" จาก "คุณสมบัติรอง" โดย“คุณสมบัติหลัก” คือปริมาณที่ถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติของสสาร โดยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของเรา เช่น ขนาด การเคลื่อนไหว (ความเร็ว) รูปร่าง จำนวน น้ำหนัก
จอห์น ล็อคยืนยันว่าวัตถุภายนอกมีเพียงคุณสมบัติหลักเท่านั้น และทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ใน ตัวเราที่มีคุณสมบัติรอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของความรู้สึกเท่านั้น
วิทยาศาสตร์ของเกอเธ่ไม่เพียงอาศัยความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังต้องทดสอบความจริงของสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ด้วย
ผมว่าสนุกดีหากเราย้อนคิดถึงเรื่องนี้ในแวดวงทางด้านวิชาการ เรากำลังอยู่ในยุคที่วัดคุณค่าสิ่งต่างๆในเขิงปริมาณ จนละเลยด้านคุณภาพไป …
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น