ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักมานุษยวิทยา : วัฒนธรรม และมุมมองต่อเรื่องกัญชา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

เมื่อกัญชา กลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายมากขึ้นทั่วประเทศและทั่วโลก นั่นหมายความว่า เราก็ต้องอยู่ร่วมกับมันมากกว่าจะปฎิเสธหรือแยกขาดจากมันได้ ดังเช่นในทางมานุษยวิทยาที่ศึกษามนุษย์และวัฒนธรรม การทำความเข้าใจมนุษย์เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ที่นำไปสู่เครือข่ายของการถักทอความหมายร่วมกัน มนุษย์จึงต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับสายพันธุ์อื่นๆ บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือพืชชนิดอื่น ดังนั้นพวกเราทุกคนจะต้อง เตรียมพร้อมที่จะอยู่ในโลกที่กัญชาถูกกฎหมาย เราจะเข้าใจและฉลาดรู้ในการใช้มันอย่างไรเป็นคำถามที่ท้าทาย รวมทั้งเมื่อกัญชากลายเป็นสินค้าในโลกทุนนิยมเสรีที่ไม่ใช่เฉพาะการแพทย์และสุขภาพเราจะรับมือและจัดการกับมันอย่างไร นักมานุษยวิทยาได้นำมุมมองที่พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ รอบด้านและวิธีคิดแบบองค์รวมมาสู่การศึกษาเรื่องของการใช้พืชและกฎระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้องและการตีตราในสังคม เนื่องจากระเบียบวิธีการศึกษาได้ยกระดับสมมติฐานและความเชื่อทั่วไปในสังคมว่า "มนุษย์ทำให้สิ่งแปลก ๆกลายเป็นสิ่งคุ้นเคยและทำให้สิ่งที่คุ้นเคยนั้นกลายเป็นสิ่งแปลกก็ได้" สิ่งที่เรามองว่าเป็นประเด็นสำคัญและน่าตื่นเต้นที่สุดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังเช่นการให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องพืชออกฤทธิ์ แอลกอฮอล์และยาเสพติดที่สามารถนำเสนอต่อมานุษยวิทยาทางการแพทย์ มานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรม การวิจัยสหวิทยาการและสหสาขาวิชาชีพและขยายขอบเขตไปสู่เรื่องของนโยบายสาธารณะและการปฏิบัติ การเรียกร้องให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยนักมานุษยวิทยาเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ในส่วนต่างๆ ของโลก ไม่ว่าการศึกษาดังกล่าวจะอยู่ภายในมานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรม หรือมานุษยวิทยาทางการแพทย์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่าประเด็นของพืชและสารออกฤทธิ์เหล่านี้จำนวนมากได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อยจากนักมานุษยวิทยาจนถึงปัจจุบัน ทั้งที่มีปัญหาค่อนข้างโดดเด่น ดังเช่นในกรณีของกัญชาและยาบ้า การมีส่วนร่วมของมานุษยวิทยาในการแทรกแซงและสนับสนุนทางด้านสาธารณสุขและงานนโยบายในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมดังกล่าวแสดงให้เห็นการนำทฤษฎีทางมานุษยวิทยาการแพทย์ (โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และมุมมองวัฒนธรรมสุขภาพ) มาใช้เสริมสร้างคุณค่าของชุดเครื่องมือและระเบียบวิธีการศึกษา รวมถึงรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลที่นักมานุษยวิทยามาใช้ ที่ยืนยันว่าการมีส่วนร่วมในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพดังกล่าวและการทำงานเชิงประยุกต์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางทฤษฎีในการศึกษาเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ แอลกอฮอล์และยาเสพติด เนื่องจากทฤษฎีในสังคมศาสตร์ไม่ได้ผูกติดอยู่กับแนวทางรเบียบวิธีวิจัยรูปแบบเดียว แต่เน้นความเป็นพหุลักษณ์ การร่วมมือแบบข้ามศาสตร์ ดังนั้นเราจึงเห็นการสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบ "พลังไฮบริด" ในพื้นที่ของการศึกษาปรากฏการณ์ที่พิเศษนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มานุษยวิทยาเกี่ยวกับการใช้ยาได้เติบโตขึ้นและมีความหลากหลายตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์และยาเสพติดในหลากหลายสาขาวิชา และมีการพัฒนาไปไกลกว่าแบบจำลองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อรวบรวมรูปแบบชีวิตของผู้คน ทั้งแง่มุมของมานุษยวิทยาทางการแพทย์ที่สำคัญ และแบบจำลองการอธิบายเชิงประสบการณ์ การวิจัยทางมานุษยวิทยาได้ช่วยกำหนดขอบเขตของการศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยา ที่แสดงให้เห็นว่าโลกที่มีชีวิตและตัวตนของผู้ใช้ยา มีระเบียบแบบแผนทางวัฒนธรรมและวัตถุประสงค์และความหมายที่ถูกสร้างขึ้นในสังคม และการวิจัยในเรื่องของประสบการณ์เฉพาะบุคคล ที่เป็นเสมือนการยืนยัน การสร้างสรรค์ การตอบโต้ในระดับโครงสร้างและระดับปัจเจกบุคคล ในช่วงศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 20 เราได้เห็นการสลายตัวของแนวทางการศึกษาและวิเคราะห์ที่เป็นหนึ่งเดียวในการทำความเข้าใจสภาวะของของมนุษย์ การใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมือง การศึกษาสังคมมนุษย์ในวงกว้างมาช่วยมองปรากฏการณ์ มากกว่าการมองแบบแยกส่วนออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ ที่อิงตามระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยแต่ละสาขาจะเน้นไปที่ขอบเขตการวิจัยเฉพาะทางแคบๆ ตัวอย่างเช่น เรื่องยาซึ่งเคยเกี่ยวข้องกับสุขภาพในบริบททางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ได้จำกัดการเน้นไปที่ระดับจุลภาพ และเพื่อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของเชื้อโรคและโครงสร้างของระบบอวัยวะที่สั่นคลอน ในทำนองเดียวกัน มานุษยวิทยาซึ่งยังคงเน้นย้ำเรื่องของความเป็นองค์รวม ถอยห่างจากการศึกษาวัฒนธรรมที่ละเอียดประณีตของประสบการณ์มนุษย์ที่มีความเฉพาะซับซ้อน ในอีกด้านหนึ่ง และการวิเคราะห์ทางชีววิทยาและพฤติกรรมทางชีวภาพที่มีความเชี่ยวชาญสูงเฉพาะก็หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการสัมผัสต่อข้อกังวลต่อเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและในประเด็นอื่นๆ ดังนั้นการแยกส่วนของการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม โอกาสในการทำความเข้าใจแบบบูรณาการเกี่ยวกับสภาพของมนุษย์จะหายไปในกระบวนการ เมื่อเราเข้าใกล้ศตวรรษที่ 21 มากขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการที่รู้สึกถึงการบูรณาการสหวิทยาการและสหสาขาวิชาชีพกลับเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งขึ้น แนวโน้มนี้ปรากฏให้เห็นมากขึ้นในด้านการศึกษาแอลกอฮอล์ ยาสูบ และยา และชี้ให้เห็นถึงสนามทางมานุษยวิทยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ในแง่นี้การใช้แบบจำลองทางชีววัฒนธรรมแบบจำลอง การผสมผสานเศรษฐศาสตร์การเมืองของพฤติกรรมเสี่ยง การตรวจสอบความเข้าใจแบบคนในในเชิงชาติพันธุ์วิทยา การทำความเข้าใจระบบความหมายและพฤติกรรม และการวิเคราะห์ทางชีววิทยาของประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และอื่นๆ ล้วนเชื่อมโยงกับงานทางมานุษยวิทยามากขึ้น ดังเช่นการใช้มุมมองมองเชิงมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์มาช่วยมองกรณีพืชกัญชา ตัวอย่างของ Cannabis saliva เป็นพืชที่มีประวัติการใช้ในด้านอาหารและยามาอย่างยาวนานและเป็นประเด็นถกเถียงกันทั่วโลกในปัจจุบัน เมื่อเราพิจารณาบริบทข้ามวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม จากการค้นพบที่ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และความสนใจของบริษัทยา โดยเฉพาะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดและภาวะสุขภาพอื่นๆ งานศึกษาของ Conrad ( 1977 )ได้กล่าวถึงการแพทย์โบราณ สูตรที่ใช้เมล็ดและยอดดอก ส่วนประกอบของพืชกัญชงและกัญชาได้รับคำแนะนำให้ใช้กับผู้คนที่เผชิญภาวะการคลอดบุตรยาก ปวดประจำเดือน โรคไขข้อ ชัก ปวดหู ไข้ โรคบิด โรคลมบ้าหมูและอาการนอนไม่หลับรวมทั้งการบรรเทาความตึงเครียดของระบบประสาท กระตุ้นความอยากอาหารและทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวดและยาโป้ว การใช้กัญชาที่เก่าแก่ที่สุดได้รับการยืนยันในประเทศจีนในช่วงโบราณ โดยนักปรัชญาและเกษตรกรชาวจีนที่ชื่อ Shen Nung ได้ผลิตตำหรับยาเริ่มแรกที่ชื่อ Pen Ta’ao ที่บอกว่ากัญชาเป็นยาอายุวัฒนะที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ โดยเชื่อว่าพืชเพศเมียมีพลังงานหยิน ในขณะที่พืชเพศผู้มีพลังงานหยาง จึงได้รับคำแนะนำสำหรับความอ่อนแอของผู้หญิง ทั้งโรคไขข้อ เหน็บชาไข้มาลาเรีย ท้องผูก โรคเกาต์ อาการขาดสติรวมทั้งอาการป่วยอื่นๆHempseed ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับภาษาจีนในสมัยศตวรรษที่16 เช่นเดียวกับตำรายาชื่อ Pen T’sao kang Mu ของ Li Shin -Chen ที่อธิบายความสามารถของเมล็ดพืชในการเพิ่มพลังชี่ ชะลอความแก่ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันความเสื่อมของน้ำเหลือง เพิ่มการไหลของน้ำนมในมารดาที่ให้น้ำนมบุตร รวมทั้งบดอัมพาตและเร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม ในศตวรรษที่2 ก่อนคริสตกาล เม็ดกัญชาถูกใช้ในการรักษาอาหารท้องผูก เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวดหู และแผลไฟไหม้ จนมาถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและยุคมืด การใช้และการศึกษาHemp (กัญชง)ถูกสั่งห้าม ระงับ และสอบสวน การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และยาสมุนไพรในยุโรปเพื่อสนับสนุนคริสตจักรในยุคกลาง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เวทมนต์และการล่าแม่มด ในขณะเดียวกันกัญชาและกัญชงถูกใช้ในยาอายุรเวชเพื่อบรรเทาอาการปวดหัว ไมเกรน และอาการบีบรัดของกระเพาะอาหาร เป็นยาระงับปวด แก้กระสับกระส่าย ส่งเสริมการย่อยอาหาร การไหลเวียนของปัสสาวะ อินเดียใช้อย่างแพร่หลายในทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ นักบวชและโยคีใช้ Ganja เพื่อกระตุ้นการทำสมาธิ เป็นต้น ในปัจจุบันเราได้เห็นอุตสาหกรรมกัญชาที่ถูกกฎหมายที่กำลังเกิดขึ้นใหม่และเติบโต ซึ่งมีบทบาทในการสร้างข้อจำกัดสำหรับผู้ผลิตรายย่อย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเหลือการดำรงชีวิตของคนจนและคนส่วนใหญ่ในวงกว้าง นอกจากนี้ การจำกัดการผลิตกัญชาตามกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่รวมถึงกิจกรรมการผลิตของผู้ผลิตรายย่อยที่มีอยู่หลายราย นอกจากนี้คนบางกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากการปฏิรูปกฏหมาย ในขณะที่กิจกรรมของผู้ผลิตรายย่อยยังคงผิดกฎหมายและถูกระงับ การทำให้การผลิตกัญชาถูกกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การสร้างความมั่นใจและความรู้ที่ถกต้องกับประชาชนทั่วไปก็สำคัญและรวมถึงผู้ผลิตที่มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่รัฐอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่บริษัทจะเข้ายึดอุตสาหกรรมนี้ไป รวมถึงการให้ความรู้กับผู้คนที่ใช้กัญชาให้มีความฉลาดรู้ในการใช้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน.. *****เรื่องราวรื่องนี้สนุกมาก เนื้อหาสำหรับเตรียมการสอนวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เกิดมีนักศึกษาสนใจประเด็นนี้สักคน จะรับเป็นที่ปรึกษาเลย # ว่างๆอย่าหยุดเขียน เราเขียนเพื่อพัฒนาตัวเรา นั่งรถเมลล์ เข้าห้องน้ำก็เขียนได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...