****บ้าน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์****
ส่วนแรก: สำรวจมโนทัศน์ว่าด้วยบ้านในสังคมต่างๆทั่วโลก
เมื่อนึกถึงการสร้างบ้ทนของชาวกะเหรี่ยง ผมนึกถึงหนังสือที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์และการสร้างบ้านในทางมานุษยวิทยา ที่ชื่อ Shelter, Sign & Symbol เขียน โดย Paul Oliver หนังสือเล่มนี้ศึกษาเกี่ยวกับบ้านและที่อยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ โดยเน้นความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการสร้างบ้านกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
หนังสือ Shelter, Sign & Symbol โดย Paul Oliver ที่เน้นการศึกษาเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงรูปแบบของบ้านกับสัญลักษณ์และความหมายที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษานี้ครอบคลุมถึงสถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่สะท้อนถึงความเชื่อทางศาสนา วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของผู้คนในแต่ละพื้นที่ สาระสำคัญของหนังสือที่พอสรุปได้คือ
1. การสร้างบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย โดย Oliver แสดงให้เห็นว่าบ้านไม่ใช่เพียงแค่โครงสร้างทางกายภาพ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความเชื่อ ความเป็นอยู่ และอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
2. ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม Oliver สำรวจลักษณะของบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ภูเขา ทะเลทราย ไปจนถึงเขตร้อน โดยสะท้อนความแตกต่างในวิถีชีวิต ความเชื่อ และสภาพแวดล้อม
3.การสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ ซึ่งรูปแบบของบ้านมักมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะทางสังคม ศาสนา หรือความเชื่อเฉพาะของกลุ่มคน เช่น การใช้วัสดุที่แตกต่างกันหรือการตกแต่งบ้าน
4. การเชื่อมโยงบ้านกับวิถีชีวิต โดยบ้านเป็นตัวกลางที่แสดงถึงวิธีที่มนุษย์จัดการกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และการปรับตัวตามบริบททางสังคมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์
ตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้
1. บ้านของชาว Berber ในโมร็อกโก
Oliver วิเคราะห์การใช้ดินและหินในการสร้างบ้านของชาว Berber ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทะเลทราย และการออกแบบบ้านที่เรียบง่ายแต่สามารถป้องกันความร้อนและความเย็นได้อย่างดีเยี่ยม
2. สถาปัตยกรรมพื้นบ้านในแอฟริกาตะวันตก
Oliver แสดงตัวอย่างบ้านในภูมิภาคนี้ที่สร้างจากดินเหนียวและฟาง ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อในเรื่องของการป้องกันพลังวิญญาณ และการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อสร้างบ้านที่ปรับเข้ากับสภาพอากาศและสังคม
3. บ้านไม้ของชาวสแกนดิเนเวีย
Oliver อธิบายถึงการสร้างบ้านไม้ในเขตหนาวของสแกนดิเนเวีย โดยเชื่อมโยงกับประเพณีและวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การสร้างบ้านด้วยไม้ซุงไม่เพียงแต่ทนทานต่อความหนาวเย็น แต่ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
4.บ้านของชาว Dogon ในมาลี
บ้านของชาว Dogon มีลักษณะเป็นกระท่อมที่ทำจากโคลนและฟาง มีหลังคาทรงกรวย การออกแบบนี้ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงความต้องการด้านการอยู่รอดในสภาพภูมิประเทศแห้งแล้ง แต่ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับจักรวาลวิทยาและความเชื่อของพวกเขา เช่น การแบ่งแยกพื้นที่ภายในบ้านระหว่างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับบรรพบุรุษและพื้นที่สำหรับสมาชิกครอบครัวในชีวิตประจำวัน
5. บ้านดินของชาวอิหร่านใน Yazd
บ้านดินในเมือง Yazd ประเทศอิหร่าน มีลักษณะการสร้างที่สอดคล้องกับสภาพอากาศทะเลทราย โดยมีระบบการระบายอากาศธรรมชาติที่เรียกว่า "Badgir" (หอคอยลม) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องปรับอากาศ นอกจากการตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศแล้ว การออกแบบบ้านยังสะท้อนถึงระบบความเชื่อทางศาสนาอิสลาม ซึ่งเน้นความเป็นส่วนตัวของครอบครัว
6. บ้านยกพื้นของชาวบาหลีในอินโดนีเซีย
บ้านของชาวบาหลีมีลักษณะเป็นบ้านยกพื้น และมีโครงสร้างแบบเปิดที่ใช้ไม้และฟางเป็นวัสดุหลัก บ้านถูกสร้างขึ้นในบริบททางศาสนาและความเชื่อในเรื่องการอยู่ร่วมกับเทพเจ้า ชาวบาหลีเชื่อว่าบ้านเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และต้องจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับตำแหน่งของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ (Gunung Agung) โดยการออกแบบบ้านยังสะท้อนถึงแนวคิดเรื่องสามภพ (Tri Hita Karana) ที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ เทพเจ้า และธรรมชาติ
7. กระท่อมแบบ yurt ของชาวมองโกเลีย
Yurt หรือ "เกอร์" เป็นบ้านเคลื่อนที่ของชาวเร่ร่อนในมองโกเลีย มีลักษณะเป็นโครงไม้กลมที่คลุมด้วยผ้าและหนังสัตว์ บ้านแบบ yurt สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายและสภาพอากาศที่หลากหลายของทุ่งหญ้าสเตปป์ การออกแบบวงกลมของบ้านสะท้อนถึงความเชื่อในเรื่องจักรวาลวิทยา ซึ่งวงกลมเป็นสัญลักษณ์ของความสมดุลและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ
8. บ้านไม้แบบ Iroquois Longhouse ในอเมริกาเหนือ
บ้านยาว (Longhouse) ของชาว Iroquois ในอเมริกาเหนือมีลักษณะเป็นโครงสร้างไม้ยาวที่ใช้สำหรับอยู่อาศัยร่วมกันของครอบครัวขยายหลายครอบครัว การออกแบบบ้านที่ยาวและแบ่งพื้นที่ภายในเป็นส่วน ๆ สะท้อนถึงระบบสังคมของพวกเขา ที่เน้นความสัมพันธ์ของเครือญาติและการร่วมกันในชุมชน บ้านแบบนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าพันธุ์และกลุ่มคนในสังคม Iroquois
Paul Oliver ใช้ตัวอย่างจากทั่วโลกในการอธิบายว่ารูปแบบของการสร้างบ้านนั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าการเป็นที่อยู่อาศัย บ้านยังเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วโลก
ส่วนที่สอง : แนวคิดว่าด้วยการสร้างบ้านและบ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงในไทย
บ้านเรือนและสถาปัตยกรรมของชุมชนกะเหรี่ยงมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายนำมาใช้เป็นโครงสร้างของบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคา รวมถึงบันได และพื้นบ้าน ในขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกบ้าน หรือการปลูกบ้านก็จะต้องเสี่ยงทายโดยการบอกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เช่นเดียวกับการหาพื้นที่เพาะปลูก..
ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์มิติทางจิตวิญญาณกับธรรมชาติ ชาวกะเหรี่ยงมีวิธีการเลือกพื้นที่ปลูกบ้านที่เชื่อมโยงกับความอ่อนน้อมถ่อมตนของพวกเขาต่อธรรมชาติ การเลือกทำเลตั้งบ้านหรือเพาะปลูกขึ้นอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติยินยอมหรืออนุญาต มากกว่าที่ตัวเองจะสามารถกำหนดได้เอง การเลือกพื้นที่ปลูกบ้านจะต้องไม่ปลูกทับลําห้วย (ที่คี่ขวาจุ) ต้นน้ํา (ทีคี่) จอมปลวก หรือการปลูกบ้านใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่เกิดขึ้นบริเวณบ้านจนเงาทับตัวบ้าน ชาวกะเหรี่ยงก็มักจะขยับขยายออกไปอยู่ในท่ีแห่งใหม่เพื่อให้ไม่เบียดเบียนต้นไม้ จนมีคํากล่าวว่ากะเหรี่ยงมีความรู้สึกต่อธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนคนในยุค ปัจจุบันที่ถ้าจะสร้างบ้านก็จะตัดต้นไม้ทิ้งไปไม่ว่าต้นไม้ใหญ่หรือเล็กก็ตาม...
จากคําบอกเล่าของชาวกะเหรี่ยงที่อุทัยธานีบอกว่าในอดีต ไม้ที่นํามาใช้ในการสร้างบ้านจะมีอยู่ 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 คือ ต้นไม้ที่อยู่ในป่าเบญจพรรณ (เมย์เผ่อ) และป่าดิบ (เมย์ หละก่า) ในไร่ของตัวเอง โดยพืชพันธ์ุไม้จํานวนมากที่พบในป่า เช่น ไม้หว้า ไม้ตะเคียน ไม้ยาง ไม้ประดู่ ไม้รัก ฯลฯ ชาวกะเหรี่ยงมักเลือกใช้ไม้ขนาดกลางในการสร้างบ้านเรือนมากกว่าจะเป็นไม้ขนาดใหญ่ หรือพวกตระกูลไม้สูง ไม้ที่ชาวกะเหรี่ยงใช้สร้างบ้านส่วนมากจะเป็นพวก ไม้ตีนเป็ด ไม้สวอง ไม้เสลา ไม้ยางดง เป็นต้น
ลักษณะที่2 คือ การสร้างบ้านจากไม้ไผ่ โดยชาวกะเหรี่ยงมีคํากล่าวว่า “สมัยก่อนแม้ไม่มีเงิน สักบาทก็สามารถสร้างบ้านด้วยตัวเองได้ ผู้ชายกะเหรี่ยงมีมีดโต้เล่มเดียว ปลูกบ้านได้หนึ่งหลัง สามารถ ฟันไร่ได้จํานวนหลายสิบไร่” เนื่องจากไผ่เป็นพันธ์ุพืชที่ขึ้นอยู่มากมายในพื้นที่เพาะปลูกของชาว กะเหรี่ยงรวมถึงบริเวณที่อยู่อาศัยก็จะมีการปลูกไผ่เอาไว้หลากหลายชนิดและใช้ประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ไผ่รวก ไผ่หนาม ไผ่บง ไผ่นวล ไผ่ผาก โดยพื้นที่ในป่าจะมีแหล่งไม้ไผ่จํานวนมาก เช่น “ว๊าบองกล่า” หรือพื้นที่ผ่าที่มีไผ่รวกขึ้นอยู่มากมาย “ว๊ามิกล่า” คือพื้นที่ที่มีไผ่นวล สองพื้นที่นี้จะต้อง ขึ้นไปบนท่ีสูงหน่อย ส่วนพื้นท่ีใกล้นํ้าจะพบไผ่จําพวก ว๊ามิกล่าหรือไผ่นวลเช่นกัน รวมถึงไผ่ตระกูลใหญ่ อย่าง “ว๊าซู๊กล่า”หรือไผ่หนาม หรือ “ว๊ากะกล่า” คือ พวกไผ่ผาก ไม้จําพวกไผ่จะถูกนํามาใช้ในการสร้าง บ้านและซ่อมแซมบ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงที่สามารถหาได้ในไร่นาและในป่า
ไม้เนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเช่นตีนเป็ดกับยางดงที่ลําต้นกลมสูงจะถูกนํามาใช้เป็นเสาและคาน บางส่วน ในส่วนต้นไผ่ชนิดต่างๆ ชาวกะเหรี่ยงนิยมนํามาทําเป็นส่วนประกอบต่างๆของบ้าน เช่น คาน ผนัง พื้นบ้าน ตามคุณสมบัติต่างๆของไผ่แต่ละชนิด เช่น ไผ่หนามแม้ว่าลักษณะจะไม่ค่อยสวยเพราะกิ่ง ก้านหนามค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับไผ่ชนิดอื่น แต่เนื่องจากต้นใหญ่เนื้อแข็งมักนิยมนํามาทุบให้เป็น แผ่นยาวใช้รองทําพื้นบ้านท่ีใช้สําหรับนั่ง นอน เดิน เพราะเนื้อแข็ง มีความยืดหยุ่นสูง ส่วนไผ่นวลนิยม นํามาใช้ทําส่วนของผนังหรือฝาบ้าน เนื่องจากเน้ือของไผ่นวลมีความเหนียว เนื้อไม้อ่อนตัดและเหลาง่าย ส่วนใหญ่นิยมนํามาจักตอกทําเครื่องจักสาน ไม้ไผ่รวกลําต้นตรงขนาดไม่ใหญ่มาก เนื้อแข็งและมีความเหนียวจะนํามาทําหลังคาเช่นเดียวกับไผ่นวล หรืออาจจะใช้ลําของไผ่รวกสามารถใช้เป็นโครงของพื้นบ้านก่อนใช้แผ่นไม้ไผ่มาวางเป็นพื้นบ้านได้เช่นเดียวกัน ภูมิปัญญาในการสร้างบ้านของกะเหรี่ยงในอดีตจะไม่ นิยมใช้ตะปูตอก พวกเขาใช้เพียงการเจาะหรือเซาะไม้ให้เป็นร่องเพื่อนําเอาไม้อีกท่อนมาสอดหรือประกบให้เข้ากัน หรือการใช้เส้นตอกของไม้ไผ่ที่มีความเหนียวมามัดเท่าน้ัน ส่วนหลังคานิยมใช้ใบตองตึง หญ้าคาในการมุง โดยหลังคาจะ 3 ปี เปลี่ยนทีหนึ่ง ชาวกะเหรี่ยงด้ังเดิมมักทําใต้ทุนเอาโล่งเอาไว้ซึ่งไม่สูงมากนักประมาณ 1 เมตร ส่วนบันได อาจใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งทําก็ได้ สามารถยกขึ้นลงได้
ในส่วนของพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ชาวกะเหรี่ยงสวนมากมักจะจัดพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ส่วนแรก คือ ห้องนอนจะอยู่สูงกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆอาจมีประมาณ 1 – 2 ห้อง โดยพ่อแม่อาจนอนรวมกับลูกห้องหนึ่ง หรือลูกๆผู้ชาย ผู้หญิงอาจจะมีการแยกห้องนอนออกไปต่างหาก ส่วนพื้นท่ีที่สองจะเป็นส่วนนั่งเล่น ห้องสำหรับทํากิจกรรมต่างๆ เช่น จักสาน พูดคุย กินอาหาร เป็นต้น ส่วนสุดท้ายจะเป็นห้องครัวที่เป็นพื้นที่แยกออกต่างหาก จากห้องอื่นๆ อาจจะอยู่ด้านช้าง ด้านหน้า หรือด้านหลังก็ได้ มักมีการใช้ไม้ไผ่วางเป็นช้ันไว้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในการประกอบอาหาร ด้านล่างจะทําเป็นเตาท่ีมีไม้ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วเอาทรายหรือขี้เถ้ามาใส่ให้เต็มเพื่อวางหินสาม เส้า หรือเตาไฟทําอาหาร เป็นต้น บ้านไม้แบบดั้งเดิมยังนิยมทํากันในส่วนของบ้านเจ้าวัด และในศาลาที่ ใช้ในพิธีกรรมบริเวณเจดีย์เจ้าวัดก็จะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ใช้วัสดุด้ังเดิมเป็นหลัก..,.
ผมสนใจเรื่องพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษระหว่างห้องที่แบ่งสัดส่วนและปกปิดมิดชิด พื้นที่ระหว่างห้องระเบียน ชานบ้าน พื้นที่นั่งเล่น ทำกับข้าว หรือกิจกรรมในครอบคร้ว รวมไปถึงพื้นที่ว่างภายนอกบ้าน ที่ใช้รวมกลุ่ม ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเครือญาติ ชุมชน พื้นที่ก่อไฟปิ้งปลา ทำขนมจีน ตำข้าว ทำเทียน ทอผ้า ที่แสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพี่น้อง เครือญาติ พื้นที่ว่างจึงไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวแต่เป็นพื้นที่ใช้สอยร่วม การแชร์อำนาจในการใช้สอยร่วมกันได้...ความหมายของพื้นที่จึงเกิดจากกิจกรรมของผู้คนในพื้นที่ ที่ก่อรูปความหมายและความสำคัญให้กับตัวพื้นที่ดังกล่าว ตัวพื้นที่หาได้มีความหมายด้วยตัวมันเองไม่...ที่ว่างจึงเป็นการแสดงตัวตนและความหมายที่ไร้ข้อจำกัดและอยู่นอกเหนือโครงสร้างกรอบอาคาร ถ้าในทางสถาปัตยกรรมพื้นที่ว่างคือพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจง...
ในพื้นที่ว่างในเมือง ก็มีหลายพื้นที่ที่เราแชร์การใช้สอยร่วมกัน เช่น ลานหน้าห้าง สวนสาธารณะ สนามกีฬา เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามเราก็จะเห็นพื้นที่ว่างหลายพื้นที่ ที่ไม่ได้มีการแชร์การใช้พื้นที่ร่วมกัน กลายเป็นพื้นที่ที่มีเจ้าของ มีผู้มีอำนาจเข้ามาครอบครอง ทำให้พื้นที่ว่างเหล่านี้ ไม่อาจสร้างกิจกรรมที่นำไปสู่ความหมายให้กับพื้นที่...
Rene Decart นักปรัชญาฝรั่งเศส บอกว่าที่ว่างไม่ใช่ความว่างเปล่า แต่เป็นพื้นที่ที่ถูกบรรจุด้วยสรรพสิ่ง
ที่ว่าง เป็นพื้นที่นอกเหนือหรือเหลือจากรูปร่าง เป็นองค์ประกอบที่สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก..ความหมายที่ถูกวางสัมพันธ์กับประสบการณ์ของมนุษย์ สิ่งที่สร้างได้ รู้สึกได้และออกแบบได้...
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น