ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสรีภาพในทางวิขาการ: ข้อจำกัดหริอโอกาสในการงอกงามทางความรู้ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตอนนี้มีข้อถกเถียงกันมากเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งจริงๆมันมีและเป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อของการประกันคุณภาพการศึกษา…แต่แท้ที่จริงแล้ว เสรีภาพในทางวิชาการโดยเฉพาะการเรียนการสอน การวิจัย ถูกตรวจสอบมานานแล้ว นับตั้งแต่เนื้อหาการสอน คำถามในข้อสอบ หรืองานวิจัย ที่มักจะถูกกำหนดลักษณะประเภทของการให้ทุนและสนับสนุนทุน เช่น ต้องเป็นวิจัยในเชิงประยุกตฺ์ไม่ใช่การสร้างองค์ความรู้ หรือแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆที่เชื่อมโยงกับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง… เสรีภาพคือการสร้างโอกาส ไม่ใช่จำกัดโอกาส คือการให้อำนาจทางวิชาการ ไม่ใช่ให้อำนาจการเมืองมาควบคุมวิชาการ ที่สำคัญคือการไม่เอาความคิดใดความคิดหนึ่งมาจำกัดและชูว่าเป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เช่น เรื่องศาสนา (ศาสนาที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่แค่ศาสนาสากล ) เสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตทางวิขาการ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขีบน การแสดงความคิดเห็นในร฿ปแบบต่างๆ และเสรีภาพทางวิชาการ ไม่ใช่เพียงอาจารย์ ยังรวมถึงนักศึกษา นักวิชฃจัยหรือสถาบันการศึกษาและวิจัย ด้วยเช่นกัน ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Who’s Afraid of Academic Freedom? โดย Akeel Bilgrami และ Jonathan R. Cole ซึ่งเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พูดถึงคำว่าเสรีภาพทางวิชาการ หนังสือเล่มนี้รวมบทความจากนักคิดที่มีชื่อเสียงหลายคน โดยเน้นถึงความเสี่ยงที่เสรีภาพทางวิชาการกำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน ผู้เขียนบทความต่างๆมีการวิเคราะห์เชิงลึกและมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการในยุคปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาในประเด็นนี้ โดยเราจะได้เบห็นนักวิชาการและนักคิดหลายคนที่มองประเด็นเสรีภาพทางวิชาการจากมุมมองที่หลากหลาย โดยเนื้อหาสำคัญและตัวอย่างที่น่าสนใจจากหนังสือมีดังนี้: สาระสำคัญของหนังสือที่ชวนท้าทายและขบคิดก็คือ 1. ความหมายของเสรีภาพทางวิชาการ หลายบทความในหนังสืออภิปรายถึงความหมายที่แท้จริงของเสรีภาพทางวิชาการในยุคปัจจุบัน เสรีภาพในการสอน การค้นคว้าวิจัย และการแสดงความคิดเห็นในวงวิชาการนั้นมีขอบเขตอย่างไร และการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการอาจส่งผลกระทบอย่างไรต่อการพัฒนาความรู้ใหม่ๆอย่างไร โดยไม่ใช่การปิดกั้นแต่ให้โอกาส เพืิอขยายพรมแดนความรู้ 2.ความท้าทายต่อเสรีภาพทางวิชาการ โดยหนังสือชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่นักวิชาการในมหาวิทยาลัยทั่วโลกต้องเผชิญ เช่น การแทรกแซงจากภาครัฐ อิทธิพลจากการเมืองและการเงิน หรือการเซ็นเซอร์จากภายในมหาวิทยาลัยเอง ทั้งยังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคของความถูกต้องทางการเมือง (political correctness) และการครอบงำทางการเมืองที่มักเอาคนภายนอกเข้ามากำกับทิศทางของการศึกษาในประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและลดการต่อต้าน 3. บทบาทของมหาวิทยาลัย ในหลายบทความกล่าวถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันที่สนับสนุนการเรียนรู้และการวิพากษ์วิจารณ์ เปิดโอกาสให้นักวิชาการได้วิจัยโดยปราศจากความกลัวต่อการลงโทษหรือการจำกัดสิทธิ์ แต่ต้องกลายเป็นสถาบันที่สยบยอมต่ออำนาจและสร้างประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาตามนโยบาย 4. การคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการมีความสำคัญ ผู้เขียนต่างเสนอมุมมองเกี่ยวกับวิธีการปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ เช่น การสร้างระบบสนับสนุนที่เป็นอิสระจากการเมืองหรือการเงิน หรือการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับความคิดที่แตกต่างและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆที่หลากหลาย ตัวอย่างที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการ 1. ประเด็นเสรีภาพทางวิชาการในสหรัฐฯ ในบางบทความกล่าวถึงตัวอย่างของเหตุการณ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพของนักวิชาการ เช่น กรณีที่นักวิชาการบางคนถูกลงโทษจากการแสดงความเห็นในประเด็นทางสังคมและการเมืองที่ขัดแย้งกับกระแสหลัก 2. กรณีในประเทศต่างๆ หนังสือยังให้ความสนใจถึงกรณีในประเทศที่รัฐบาลมีบทบาทมากในการควบคุมมหาวิทยาลัย เช่น การควบคุมเนื้อหาการสอนหรือการวิจัยในบางประเทศ ซึ่งแสดงถึงความท้าทายที่เกิดจากอิทธิพลทางการเมือง 3. บทบาทของภาคเอกชน ตัวอย่างเกี่ยวกับการแทรกแซงของภาคเอกชนหรือสถาบันที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งอาจมีการกำหนดทิศทางของการวิจัยให้สนับสนุนผลประโยชน์ขององค์กรเอง แทนที่จะให้ความสำคัญกับการค้นคว้าเพื่อความรู้ หนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ Academic Freedom in an Age of Conformity: Confronting the Fear of Knowledge โดย Joanna Williams กล่าวถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นต่อเสรีภาพทางวิชาการในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีการคาดหวังให้คนคิดหรือทำไปในทางเดียวกัน (conformity) เนื้อหาในหนังสือเน้นการตั้งคำถามถึงวิธีการที่สถาบันการศึกษาและนักวิชาการในมหาวิทยาลัยกำลังเผชิญกับความกลัวในเรื่องของการแสวงหาความรู้และการแสดงความคิดเห็นที่อาจขัดแย้งกับกระแสสังคม ความน่าสนใจและสาระสำคัญของหนังสือ มีดังนี่ 1. เสรีภาพทางวิชาการและการบีบบังคับทางสังคมหนังสือชี้ให้เห็นว่าความกลัวที่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาคือการถูกคาดหวังให้ทำตามกระแสสังคมและความเห็นที่เป็นที่ยอมรับ โดยที่นักวิชาการและนักศึกษาอาจลังเลที่จะตั้งคำถามหรือเสนอความเห็นที่แตกต่างเพราะกลัวว่าจะถูกต่อต้านหรือกดดัน 2. ความถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) โดย Williams วิเคราะห์ว่าความถูกต้องชอบธรรม ทางการเมืองได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เสรีภาพทางวิชาการถูกจำกัด เพราะนักวิชาการอาจกังวลว่าจะถูกวิจารณ์หรือกดดันหากเสนอแนวคิดที่ขัดแย้งกับมาตรฐานทางสังคม 3. บทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะพื้นที่สำหรับการโต้แย้งทางปัญญา ผู้เขียนย้ำถึงบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการแสวงหาความรู้แบบอิสระและการเปิดโอกาสให้มีการโต้แย้งทางปัญญา โดยเธอกล่าวว่าความหลากหลายทางความคิดเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ การวิพากษ์วิจสรณ์ถกเถียงทำให้เกิดความงอกเงยทางปัญญา 4. ความกลัวต่อการรู้จริง หนึ่งในประเด็นสำคัญที่หนังสือกล่าวถึงคือ การที่คนในสังคมเริ่มกลัวต่อการรู้ความจริง เพราะการเปิดเผยความรู้หรือข้อมูลบางอย่างอาจนำไปสู่การขัดแย้งหรือความไม่สบายใจทางสังคม ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นการกีดกันการสืบค้นความรู้ที่ไม่เข้ากับกระแส และไม่เท่าทันต่อสถานการณ์ ตัวอย่างที่น่าสนใจ 1. การเซ็นเซอร์ตัวเอง (Self-Censorship) โดย Williams ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่นักวิชาการในสถาบันการศึกษาบางแห่งเลือกที่จะไม่พูดถึงประเด็นที่เป็นที่ถกเถียง เช่น ศาสนา การเมือง หรือเรื่องเพศ เพราะกลัวว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกลงโทษทางสังคม ยิ่งในสังคมที่มีการออกกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ 2. กรณีการแทรกแซงจากนักศึกษาที่มีความคิดเห็นบางอย่างสุดโต่ง หนังสือยังกล่าวถึงตัวอย่างของกลุ่มนักศึกษาที่กดดันให้มหาวิทยาลัยปิดกั้นการบรรยายหรือการวิจัยที่พวกเขามองว่าเป็นการละเมิดความถูกต้องทางการเมือง แม้แต่ในบางกรณีที่หัวข้อเหล่านั้นเป็นการค้นคว้าทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ก็ตาม 3. ความเป็นกลางทางวิชาการ โดย Williams เน้นว่ามหาวิทยาลัยควรทำหน้าที่เป็นสถานที่ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นกลางทางวิชาการ นักวิจัยควรได้รับโอกาสในการศึกษาประเด็นต่างๆ โดยไม่ถูกกดดันจากสังคมหรือความเชื่อทางการเมือง ผมว่าในทางวิชาการเรามีจุดยืนชัดเจน มีจริยธรรมที่เหนือกว่าจริยธรรมในเชิงกระดาษ มีเสรีภาพมากกว่าที่ควรจะถูกกำหนด หรือลดทอนภายใต้แนวทางแบบChecklist เราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง…ผมก็แสวงหาที่ทางให้ตัวเอง การไม่มีกรอบคือการออกจากกรอบ ซึ่งผมก็ทำและพูดมาเสมอ หาที่ทางหรือช่องทางนำเสนอความคิดของตัวเอง..กรอบกฏเกณฑ์ขังเราได้แต่หัวใจ อย่างปรารถนาว่าจะครอบครอบครอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...