ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

weedthropology : สำรวจวัฒนธรรมการใช้กัญชา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Weedthropology: การสำรวจทางสังคมวัฒนธรรมของการใช้และห้ามกัญชา มองจากประวัติศาสตร์และตำนาน *** weed แปลว่าพืช จำพวกหญ้าหรือวัชพืช เช่นยาสูบ กัญชง กัญชา โดยมากมันรวมเอาประเภทของ Canabis ที่เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ Hemp คือกัญชง Marijuana ก็เป็นคำเรียกพื้นเมืองของกัญชา (ปล. ยังมีสิ่งที่เรียกว่า Hashish ที่เป็นยางของต้นกัญชาที่มีฤทธิ์แรงกว่าใบ นิยมใช้กันแถบตะวันออกกลาง) มุมมองทางสังคมวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมาของกัญชาในวัฒนธรรมต่าง ๆ ตลอดช่วงอายุเป็นอย่างไร และเรามาถึงสถานที่ต้องห้ามได้อย่างไร? จึงต้องมีการสำรวจเอกสาร ethnobotany เกี่ยวกับมานุษยวิทยาของการใช้กัญชา อย่างแรกมีข้อสันนิษฐานถึงแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของพืชเหล่านี้และประวัติศาสตร์ของการนำไปใช้ แหล่งกำเนิดเริมแรกจะอยู่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานและบริเวณเทือกเขาอัลไต บริเวณทางตอนใต้ของไซบีเรีย โดยการแพร่กระจายอย่างแพร่หลายของกัญชาในที่ต่างๆสะท้อนให้เห็นการผสมผสานของปัจจัยทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยการใช้ประโยชน์ของผู้คนในพืชชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ใบประกอบอาหารเป็นยามึนเมา เส้นใยถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเส้นใยและนำเนื้อเยื่อเพื่อนำมาใช้ทำกระดาษ เมล็ดพืชใช้ผลิตอาหารและน้ำมัน โดยเฉพาะกัญชาถูกใช้เป็นอาหารนกมานานแล้ว ในส่วนของพืชกัญชา (Cannabis) แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย Ganja (ในภาษาของชนแถบหิมาลัย) หรือ Marijuana (กัญชา) หมายถึงช่อดอกของต้นเพศเมียที่หลุดจากใบเล็กๆ ของพวกมัน (ตามถิ่นฐานที่ปลูกในเทือกเขาหิมาลัยมายาวนาน) ส่วน Hamp (กัญชง) ถือเป็นพืชที่มีเส้นใยที่ปลูกที่เก่าแก่ที่สุด ประวัติศาสตร์การปลูกกัญชงในจีนมีระยะเวลานานกว่า 5,000 ปี และสันนิษฐานว่าเส้นใยป่านจะถูกถักทอเป็นผ้าและเครื่องนุ่งห่มอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล ผู้คนยุคแรกทดลองกับวัตถุดิบจากส่วนประกอบของพืชทุกชนิดที่เขาเคี้ยวได้ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติของกัญชา (Marijuana) สำหรับการแสวงหาเมล็ดพืชและน้ำมัน แน่นอนว่าพวกเขากินยอดเหนียวของพืช เมื่อรับประทานกัญชง หรือกัญชาจะนำไปสู่ความปีติยินดี ความปลาบปลื้มใจ และภาพหลอน ที่อาจนำพาหรือเชื่อมโยงมนุษย์มาสู่โลกอื่นซึ่งทำให้เกิดความเชื่อทางศาสนา (Religion Beliefs) หรือแม้แต่แนวคิดเรื่องเทพเจ้า (Concept of Deity) พืชนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นของขวัญพิเศษจากเหล่าทวยเทพ (The gift of the Gods) ซึ่งเป็นสื่อศักดิ์สิทธิ์ (Medium Sacred) สำหรับสร้างและหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกขอมนุษย์และโลกฝ่ายวิญญาณและด้วยเหตุนี้การใช้กัญชาจึงยังคงดำรงอยู่ในบางวัฒนธรรมจวบจนถึงปัจจุบัน กัญชาแพร่กระจายไปทั่วจีนไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น และไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรป เชื่อมโยงโลกเก่ากับโลกใหม่ ความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ถูกเชื่อมโยงกับแผนทื่ทางภูมิศาสตร์ และผ้าปูที่นอนทำจากใยกัญชง เกือบทุกคนรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ จอร์จ วอชิงตันและโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในร่างแรกของปฏิญญาการประกาศอิสรภาพถูกเขียนลงบนกระดาษที่ทำจากกัญชง ประมาณหนึ่งศตวรรษต่อมา กัญชงและกัญชาเริ่มเป็นความต้องการใหม่ของผู้คน แต่ทว่าการห้ามกัญชาในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 2480 และอาการฮิสทีเรียที่เพิ่มไปพร้อมกับเรื่องยาเสพติดเพิ่มขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ อาชญากรรมทุกประเภทนำเสนอผ่าน ความรู้และการสร้าง"เรื่องจริง" ซึ่งอ้างอิงพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็นผลมาจากการใช้กัญชา ที่เริ่มปรากฏในการรายงานข่าวของสื่อทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันในอเมริกา บริษัทกระดาษและทำไม้ของเฮิร์สต์เพิ่งพัฒนาวิธีการใหม่ในการฟอกเยื่อไม้สำหรับทำกระดาษ ในเวลาเดียวกัน มีการคิดค้นเครื่องจักรสำหรับการสกัดเส้นใยจากกัญชง ซึ่งทำให้การผลิตพืชกัญชงและกัญชาส่งผลต่อการมีการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจกระดาษ. ในตำนานชาวเนปาลบอกว่าฤทธิ์ของผงแป้งของพืชศักดิ์สิทธิ์ (Power of the divine plant/Cannabis) เชื่อมโยงกับตำนาน การอธิบายว่ากัญชาถูกค้นพบและช้ครั้งแรกได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ในตำนานพื้นเมืองมีการกล่าวถึงพระอิศวรที่อาศัยอยู่กับพระแม่ปารวตี ซึ่งเป็นภริยาบนสวรรค์ ณ เทือกเขาหิมาลัยที่เป็นเสมือนหลังคาโลก และศูนย์กลางของจักรวาล อย่างไรก็ตามพระอิศวรไม่เคยอยู่ติดบ้าน แต่เดินทางไปท่องเทียวที่ภูเขาแทน ซึ่งพระอิศวรก็จะสนุกเพลิดเพลินกับนางไม้ศักดิ์สิทธิ์และเล่นสนุกกับเทพธิดาที่มีเสน่ห์ชวนหลงใหล สิ่งนี้ทำให้พระอิศวรไม่ได้แสดงออกซึ่งความโปรดปรานพระนางปาราวตีมากนัก ดังนั้นพระนางปราวตีจึงค้นหาวิธีผูกสามีของเธอกับเธอและตรึงเขาให้อยู่ในบ้านของเธอ เธอพบต้นกัญชงและนำดอกตัวเมียที่เป็นยาง เมื่อพระอิศวรกลับถึงบ้าน ปาราวตีก็มอบกัญชงให้เขาสูบ พระอิศวรจึงถูกปลุกเร้าด้วยความรื่นเริงในทันทีและความปรารถนาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับตัวเขาและภรรยาของเขา ทั้งสองมารวมกันในความสุขดั่งสรวงสวรรค์ พระอิศวรประสบกับความปีติยินดีอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะเปิดประตูสวรรค์ให้กับสาวกของเขาในเวลาต่อมา หลังจากนี้เป็นต้นไปพระอิศวรอยู่กับภรรยาของเขา และเมื่อใดก็ตามที่ทั้งสองหลอมรวมกันพวกเขาก็สูดควันกัญชง นี่คือเหตุผลที่ทำให้กัญชงถือเป็นยากระตุ้น หรืออาหารเร้าความใคร่ (Aphrodisiac)ที่ดีที่สุด ได้ประทานแก่มนุษย์เพื่อพวกเขาจะได้มีชีวิตอยู่ตลอดไปในความสุขและความสงบในบ้าน เมื่อมองจากมุมมองทางมานุษยวิทยา กัญชาในสังคมโบราณเชื่อมโยงกับพื้นฐานของความเป็นเครือญาติ เป็นภาพตัวแทนหรือภาพแสดงของเทพเจ้าและความศักดิ์สิทธิ์ ในยุคปัจจุบัน สังคมมีความเชื่อกันว่ากัญชาเป็น “สารผิดกฎหมาย”(Illegal Substance) ที่บริโภคกันมากที่สุดในโลก….ผู้คนใช้กัญชาเพราะมันได้ผลในทางการรักษาโรค ทุกประเทศมีวัฒนธรรมกัญชา ไม่ว่าจะในที่โล่งแจ้งหรือในใต้ดิน ในตู้เสื้อผ้า ในบ้านหรือนอกบ้าน กัญชาเติบโตเกือบทุกที่ที่มนุษย์ตั้งรกรากอันเป็นผลมาจากคุณสมบัติอันดีเยี่ยมของมัน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเชื่อในทฤษฎีอาชญาวิทยา ทฤษฎีศีลธรรมจริยธรรม ทฤษฎีวาทกรรม ทฤษฎีปิตาธิปไตย หรือระบบทุนนิยมและอื่นๆ ที่ทั้งเชื่อมโยงกับการกดขี่ ห้ามปรามหรือเชิดชู ส่งเสริมกัญชาหรือไม่ก็ตาม หลักฐานทางสังคมวัฒนธรรมของการแพร่หลายของกัญชาตั้งแต่รุ่งอรุณของกาลเวลาและการห้ามทั่วโลกตั้งแต่รุ่งอรุณอันเติบโตของอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่จะสามารถพิจารณาได้อย่างเหมาะสม หากเราทำความเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งเพียงพอ .... อีกทั้งสิ่งใดจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อยู่ที่การนำไปใช้.. นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ชวนคิด ผมชอบอ่านงานประวัติศาสตร์เพราะมันทำให้เห็นความคิดและวิธีปฏิบัติของผู้คนในความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีมิติในการอธิบายทั้งประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาและการแพทย์ กฏหมายและนโยบาย และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากๆครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...