***มานุษยวิทยาว่าด้วยกลางคืน (Anthropology of The Night )***
การเกิดขึ้นของสาขาย่อยใหม่ของการวิจัยทางมานุษยวิทยากลางคืน ที่เกิดขึ้นจากการประชุมของนักจิตวิทยาและนักมานุษยวิทยา คำถามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเผยให้เห็นช่องว่างทางทฤษฎีและระเบียบวิธีอันน่าทึ่งในการวิจัยในส่วนกลางคืนของวัฏจักรทางเวลาในห้วงกลางวันและกลางคืน ในช่วงเวลาของการใช้ชีวิตในหนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมง ดังนั้น คำถามทั่วไปจึงเกิดขึ้น ว่าการศึกษากลางคืนเป็นสิ่งที่นักมานุษยวิทยาควรที่จะดำเนินการหรือสามารถศึกษาได้หรือไม่? ถ้าหากสามารถศึกษาเช่นนั้นได้เราควรจะใช้วิธีใดในการศึกษา? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะสามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาทางจิตสรีรวิทยา(psychophysiological study) ในแง่ของปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์ทุกคนมีร่วมกันด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยาแบบองค์รวมต่อปรากฏการณ์ "กลางคืน" ที่เน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้อย่างไร
เราควรจะต้องพิจารณาหรือคิดว่าก่อนที่เราจะตอบคำถามดังกล่าวได้.. เราจำเป็นต้องอธิบายการศึกษาภาคสนามของกิจกรรมยามราตรีซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ ความเชื่อ วาทกรรม พฤติกรรม กิจกรรมและวัตถุทางพิธีกรรมในตอนกลางคืนแตกต่างไปจากช่วงกลางวัน ที่แลดูห่างไกลจากกระบวนการค้นหาความรู้ และความคล้ายคลึงกันกับงานภาคสนามทั่วไป รวมถึงความท้าทายของโจทย์ปัญหา ภายใต้สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งมากมาย ควรได้รับการพิจารณา ตัวอย่างโดยรวมแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลากลางคืนเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพของโครงสร้างทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกับการนอนหลับ และการวิเคราะห์ดังกล่าวต้องการเครื่องมือเฉพาะในการทำความเข้าใจ “กลางคืน” ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกที่ร่างกายมนุษย์ประสบพบเจอและหล่อหลอมประสบการณ์และการตีความทางวัฒนธรรมของพวกเขา
การนอนหลับเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ของมนุษย์ มันกำหนดพวกเราและเชื่อมโยงการนอนของพวกเรากับสัตว์ประเภทอื่น ๆที่ยังคงหลับใหลอยู่ ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งในวิธีการนอนของพวกเขาที่แตกต่างจากของเรา ตัวอย่างเช่น สัตว์บางชนิด เช่น โลมา และนกบางชนิด สามารถมีลักษณะร่วมในสิ่งที่เรียกว่าการนอนหลับแบบครึ่งสมองหรือสมองครึ่งซีก( Unihemispheric Sleep) ที่เป็นกลไกการนอนหลับ โดยสมองครึ่งหนึ่งจะหยุดพักและให้สมองอีกครึ่งหนึ่งทำงาน โดยที่สัตว์เหล่านี้จะนอนด้วยสมองครึ่งหนึ่งในแต่ละครั้ง (Rattenborg, Amlaner และ Lima 2000) ยีราฟมีการนอนหลับที่กระจัดกระจายอย่างมาก โดยจะนอนลงครั้งละไม่เกินสิบนาทีโดยมีเวลานอนรวมประมาณ 4.6 ชั่วโมง (Tobler and Schwierin 1996, 27) ค้างคาว ตัวพอสซั่ม และเม่นมีแนวโน้มที่จะนอนหลับได้มากที่สุดในโลกของสัตว์ โดยมีเวลานอน 17 ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน (Zepelin 1989, 85) ในขณะที่มนุษย์มีวัฏจักรการนอนหลับที่เป็น Non Rapid-Eye Movement (NREM) หรือช่วงหลับธรรมดาประมาณสี่ถึงห้ารอบ (เริ่มจากช่วง เริ่มง่วง ผล็อยหลับหรือเคลิ้มหลับ จนถึงช่วงหลับลึก ที่อุณหภูมิในร่างกายจะลดลง และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า) รวมถึงภาวะการนอนที่เรียกว่า Rapid-Eye Movement (REM) คือช่วงเวลาของการหลับฝัน ช่วงนี้จะมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับยามเราตื่น ช่วงนี้จะเป็นการฝันมากกว่าการนอนหลับในช่วงอื่นๆ ประมาณ 90 นาที
ความยาวของวงจรการนอนหลับนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ โดยประมาณเวลาในการนอนคือ 85 นาที สำหรับลิงชิมแปนซี การใช้เวลานอน 72 นาทีสำหรับช้าง การใช้เวลานอน 25 นาทีสำหรับกระต่าย และเวลาในการนอน 12 นาทีสำหรับหนู (Tobler 1995, 38) ในปี 2545 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก พบว่าในกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกัน 1.1 ล้านคน ผู้ที่นอนหลับเป็นเวลาเจ็ดชั่วโมงจะมีชีวิตยาวนานที่สุด (Kripke et al. 2002) ผู้ที่นอนมากกว่าแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่าหกชั่วโมงพบอันตรายต่อการตายที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เมื่อพิจารณาถึงบทบาทสำคัญในชีวิตของเรา การนอนจึงเป็นจุดสนใจของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้น แม้ว่ากลไกและจุดประสงค์ของการนอนหลับจะยังไม่ชัดเจน (Center for Sleep and Consciousness, 2012) แล้วเราเข้าใจการนอนหลับได้อย่างไร?
การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมของการนอนหลับของผู้คนกลุ่มต่างๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การเชื่อมโยงกับหลักฐานทางระบาดวิทยาที่เชื่อมโยงกับภาวะของการขาดการนอนหลับ ซึ่งรวมถึงการนอนหลับไม่เพียงพอและคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โดยนำไปสู่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง การระบุปัจจัยกำหนดของการขาดการนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำความเข้าใจบทบาทของการนอนหลับที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ ที่ชี้ให้เห็นปัจจัยทางชีวจิตวิทยาสังคมที่แตกต่างกันของการนอนหลับ รวมถึงอายุ เพศ ปัจจัยทางจิตสังคม (ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และความเหงา) ตำแหน่งแห่งที่ทางเศรษฐกิจและสังคม และเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ เนื่องจากระยะเวลาการนอนหลับส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดยพฤติกรรม ระยะเวลาการนอนหลับจะถูกกำหนดโดยค่านิยม ความเชื่อ และการปฏิบัติทางวัฒนธรรม ปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่อาจส่งผลต่อการนอนหลับ หากกลุ่มวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ หรือสังคมบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการนอนไม่เพียงพอ การนอนหลับที่แตกต่างกันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หากสามารถระบุกลไกที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการขาดการนอนหลับในประชากรบางกลุ่มได้ การจัดกิจกรรมหรือโครงการเชิงนโยบายสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อกำหนดเป้าหมาย และจัดการกับปัจจัยเหล่านี้เพื่อลดความแตกต่างของการนอนหลับและอาจลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด นี่คือมิติการนอนในทางการแพทย์และสุขภาพ
นี่เป็นเพียงประเด็นเดียวของการศึกษามานุษยวิทยาว่าด้วยกลางคืน ...ยังมีอีกหลายประเด็นที่ท้าทายนักมานุษยวิทยาในการทำความเข้าใจวิถีของผู้คน...ในภาวะกลางคืน
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น