ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Material Culture : Hard and soft power โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ถ้าพูดถึงวัตถุและสิ่งของในมิติทางวัฒนธรรม มีหนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจ เช่น The Social Life of Things: Commodities in Cultural Perspective โดยมี Arjun Appadurai เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้สำรวจถึงความหมายของวัตถุในชีวิตประจำวันและกระบวนการที่สิ่งของกลายเป็นสิ่งมีค่าในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม หรืองานของ Daniel Miller เรื่อง Material Culture and Mass Consumption ที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับวัตถุในบริบทของการบริโภค โดยใช้กรอบแนวคิดทางมานุษยวิทยาเพื่อศึกษาโลกของการบริโภคในปัจจุบัน รวมถึงหนังสือเรื่อง Stuff ที่วิเคราะห์ถึงความสำคัญของ "สิ่งของ" ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ผ่านมุมมองของมานุษยวิทยาและเศรษฐกิจการบริโภค หรืองานชื่อ The Anthropology of Space and Place: Locating Culture ของ Setha M. Low and Denise Lawrence-Zúñiga ที่เกี่ยวกับการศึกษาพื้นที่และสถานที่ในมุมมองของวัตถุและวัฒนธรรม โดยเน้นการสร้างและการใช้พื้นที่ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึง The Material Culture Reader ที่มี Victor Buchli เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความที่สำรวจบทบาทของวัตถุในชีวิตประจำวันจากหลากหลายมุมมองทางมานุษยวิทยา เช่น การใช้วัตถุเพื่อแสดงออกทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจ 1. การมองวัตถุเป็นศูนย์กลางของสังคม หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดว่าวัตถุไม่ใช่สิ่งเฉยๆ ที่ไม่มีบทบาท แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่กำหนดและสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุ การที่มนุษย์สร้างและใช้วัตถุไม่ใช่แค่เพื่อวัตถุประสงค์เชิงกายภาพเท่านั้น แต่ยังแฝงด้วยความหมายทางสังคม เช่น การสะท้อนอัตลักษณ์ ความเชื่อ และสถานะทางสังคม 3. วัตถุและการสร้างอัตลักษณ์ วัตถุมีบทบาทสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและกลุ่ม ตัวอย่างเช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หรือสิ่งของสะสมที่สามารถสะท้อนตัวตน ความเป็นกลุ่ม หรือสถานะ 4. วัตถุกับสภาพแวดล้อมและอำนาจ วัตถุสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้ เช่น การใช้วัตถุในพิธีกรรมหรือการออกแบบพื้นที่ในการแสดงอำนาจ 5. ความเป็นตัวแทนของวัตถุในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในวัตถุสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรม สังคมและประวัติศาสตร์อย่างไร ดังนั้น วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) จึงเป็นคำที่ใช้ในแวดวงวิชาการทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาเพื่ออ้างถึงวัตถุที่มีตัวตนและเป็นรูปธรรมทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้น ถูกใช้ ถูกเก็บรักษา และถูกทิ้งไว้เบื้องหลังผ่านวัฒนธรรมในอดีตและสืบต่อสู่ปัจจุบัน วัฒนธรรมทางวัตถุ ยังหมายถึง สิ่งของที่ใช้ ที่อยู่อาศัย วัตถุที่ถูกจัดแสดง และวัตถุที่สร้างประสบการณ์ หรือข้อกำหนดบางอย่าง รวมถึงทุกสิ่งที่ผู้คนทำ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องปั้นดินเผา บ้าน เฟอร์นิเจอร์ ถนนหนทางแม้แต่ตัวของเมืองเองด้วยก็ตาม..ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางวัตถุหมายถึงวัตถุที่จับต้องได้ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้น จุดสนใจอย่างหนึ่งของนักมานุษยวิทยาต่อวัตถุก็คือความหมายของวัตถุ เรานำวัตถุใช้อย่างไร หรือเราปฏิบัติต่อวัตถุอย่างไร เราพูดถึงมันอย่างไร วัตถุบางอย่างสะท้อนถึงความเชื่อมโยงประวัติของครอบครัว การเป็นสัญลักษณ์ร่วม บ่งบอกสถานะทางสังคม การเชื่อมโยงกับมิติทางเพศ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจรวมถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์... วัฒนธรรมทางวัตถุสะท้อนถึงสังคมและมีส่วนร่วมในการประกอบสร้างและการเปลี่ยนผ่าน การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยน และการบริโภควัตถุเป็นส่วนสำคัญของการแสดง การเจรจาต่อรอง และเสริมสร้างตัวตนที่เฉพาะในพื้นที่สาธารณะ.. แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันมีความหมายมากกว่าตัววัตถุ เพราะวัตถุมันเกี่ยวเนื่องกัมนุษย์ และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ทั้งความคิด ควาเชื่อ จิตวิญญาณ เพียงแต่ความหมายตรงนี้ เราเข้าใจผ่านมุมมองของผู้สร้างสิ่งนั้นๆหรือเราตีความกันไปไกลกว่าที่ตัวผู้สร้างเองจะคาดถึง หรือแม้แต่ความสามารถของเราในการอ่านรหัสทางวัฒนธรรมที่ผู้สร้างใส่ลงไปในตัววัตถุที่สร้างได้อย่างรู้เท่าทัน และเข้าใจความหมายที่แท้จริง อันนี้ก็ถือเป็นสิ่งดี ที่ควรจะทำ...แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ในยุคปัจจุบันภายใต้วิธีคิดแบบสัญวิทยาที่บอกว่า Death of the Author ผู้สร้างผู้แต่งตายไปแล้ว แต่ตัวผู้ตีความต่างหากที่สร้างความหมายและขยายต่อความหมายนั้นๆ ตามมุมมองการรับรู้ ประสบการณ์และอคติของตัวเอง..เป็นสิ่งที่น่าขบคิดและวิพากษ์เป็นอย่างยิ่ง ในยุคที่สังคมไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Origin อีกต่อไป มีแต่สิ่งที่แตกหน่อ ออกลูก แผ่หลานและก้าวผ่านมาจากสิ่งที่เป็นOrigin...แล้วความหมายของวัตถุและการครอบครองตำแหน่งแห่งที่ทางอำนาจของการอธิบายวัตถุควรจะเป็นของใคร หรือตัววัตถุเองที่มีอำนาจในตัวเองและทำให้คนปฏิบัติหรือมีความคิดต่อวัตถุนั้นอย่างไม่ตั้งคำถาม หรือวัตถุได้นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งในมวลหมู่มนุษย์ด้วยกันเอง อำนาจในการควบคุมวัตถุได้หลุดลอยออกจากมนุษย์ แต่วัตถุกำลังแสดงให้เห็นอำนาจและควบคุมเหนือตัวมนุษย์ สิ่งนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยที่จะศึกษาทำความเข้าใจต่อ.. สุดท้ายแม้ตัววัตถุจะเป็นสิ่งที่ต้องมีความหมาย แต่ความว่างเปล่าก็ล้วนเป็นความหมายแบบหนึ่ง หากมนุษย์มีอำนาจให้ความหมายต่อวัตถุ แต่ทำไมความหมายจึงแตกต่างหลากหลายกันไป หรือตัววัตถุมีความหมายมากมายในตัวมันเอง เพื่อรอการค้นพบ ใส่ความหมาย สภาวะของวัตถุจึงเป็น floating signifier หรือรูปสัญญะที่ล่องลอยตามการอธิบายแบบสี(วิทยา หลังโครงสร้างนิยม หรือแบบที่ Jacques Derrida บอกว่ามันคือ Difference หรืความหลากเลื่อน(หลากหลาย +ชะลอ) ภาวะของการชะลอความหมาย ที่รอให้ความหมายมาเกาะเกี่ยวอย่างไม่สิ้นสุด เรื่องของวัตถุทางวัฒนธรรมจึงมีความน่าสนใจอย่างมากในการศึกษา ในสังคมที่วัตถุเหล่านี้ได้ก้าวข้ามจากประโยชน์ใข้สอย สู่กสรแลกเปลี่ยน และหลายเป็นสัญญะแบบหนึ่งในวัฒนธรรมบริโภค

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...