แนวคิด Hybridity ของ Homi K. Bhabha เป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญในงานศึกษาวัฒนธรรมหลังอาณานิคม (Postcolonial Studies) ที่ใช้ในการอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและอำนาจในบริบทของการปะทะกันระหว่างโลกอาณานิคมและผู้ถูกล่าอาณานิคม
กรอบคิดหลักของ Hybridity ประกอบด้วย
1. การผสมผสานของวัฒนธรรม (Cultural Mixing) Hybridity เน้นถึงการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอาณานิคมและวัฒนธรรมของผู้ถูกอาณานิคมซึ่งไม่ใช่การผสมที่สมบูรณ์แบบหรือเท่ากัน แต่เป็นพื้นที่ที่ทั้งสองวัฒนธรรมถูกเปลี่ยนแปลงและดัดแปลงไปตามสภาวะการปะทะ
2. การต่อต้านการเป็นศูนย์กลาง (Anti-essentialism) โดย Bhabha มองว่า Hybridity ท้าทายแนวคิดที่ว่ามีวัฒนธรรมบริสุทธิ์หรือชัดเจนหนึ่งเดียว วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงและปรับตัวผ่านการปะทะกันในบริบทที่หลากหลาย
3พื้นที่ระหว่าง (Third Space) ซึ่ง Bhabha ใช้แนวคิดพื้นที่ระหว่างหรือ "Third Space" เพื่ออธิบายสถานที่ที่เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่ที่อัตลักษณ์และอำนาจถูกต่อรองและถูกนิยามใหม่ พื้นที่นี้ไม่ใช่ที่วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งจะเข้าครอบครองหรือควบคุม แต่เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความหมายใหม่ๆ
4. การต่อต้านและสร้างใหม่ (Resistance and Reappropriation) แนวคิด Hybridity ยังสามารถถูกมองว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการต่อต้านการครอบงำทางวัฒนธรรม ผู้ถูกอาณานิคมสามารถนำวัฒนธรรมของผู้ล่าอาณานิคมมาใช้และปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขของตน ซึ่งทำให้เกิดการท้าทายต่ออำนาจที่ครอบงำ
5. การเลื่อนและการไม่สมบูรณ์ (Ambiguity and Incompleteness) แนวคิดนี้ยังเน้นการเลื่อนลอยและความไม่สมบูรณ์ของอัตลักษณ์ ไม่มีการผสมที่สมบูรณ์แบบ หรือการบรรลุถึงอัตลักษณ์ที่ตายตัว Hybridity เปิดเผยความขัดแย้งและความซับซ้อนของการเป็นตัวตน โดยรวมแล้ว แนวคิด "Hybridity" ของ Homi K. Bhabha เสนอให้เราเข้าใจวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในแบบที่ซับซ้อน ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดโดยอำนาจข้างใดข้างหนึ่ง แต่เป็นผลผลิตจากการปะทะ การปรับตัว และการสร้างความหมายใหม่ในบริบทของโลกที่มีความซับซ้อนและหลากหลาย
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น