ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มานุษยวิทยาการแพทย์ มุมมองผ่านเรื่องโควิด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

โควิด 19 กับมุมมองมานุษยวิทยาการแพทย์ การตรวจสอบผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเป็นสิ่งที่ติดตามมา ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างกว้างขวาง เราจะเห็นกระบวนการไกล่เกลี่ยและแก้ปัญหาภายใต้ภาวะของการระบาดใหญ่ ทั้งการปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ การยกเลิกการประชุมใหญ่ๆในโรงแรมและใช้การประชุมย่อยในรูปแบบออนไลน์ที่เฉพาะ รวมทั้งการสูญเสียรายได้สำหรับผู้ที่ทำงานรับจ้างในภาคเอกชน การทำงานแผงลอยและบริการข้างถนนทั้งร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม และผู้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบต่างๆเช่น ผู้ขายบริการทางเพศ คนไร้บ้านเร่ร่อน แรงงานข้ามชาติ แรงงานผลัดถิ่นที่ผิดกฏหมาย ผู้นำและผู้จัดการทางการเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล เนื่องจากพวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะเปิดอะไรต่อไป อะไรยังจะต้องปิดเพื่อควบคุมความปลอดภัย พนักงานคนใดควรเก็บไว้ และใครและเมื่อใดควรเลิกจ้างเพื่อรักษาเสถียรภาพของโรงงานและบริษัทในภาวะโควิด รวมทั้งภาวะของความกลัวและความตื่นตระหนกมาจากความเสี่ยงของการติดเชื้อน้อยลงและมากขึ้นที่เกิดขึ้นจากสื่อสารมวลชนและการรายงานตัวเลขในจอโทรทัศน์ นักมานุษยวิทยาทางการแพทย์มีส่วนอย่างมากในการทำความเข้าใจผลกระทบของโรคระบาดและการระบาด ผลกระทบต่อชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีผลต่อบริการด้านสุขภาพและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาจากเอกสารและบทความต่างๆ เกี่ยวกับเอชไอวี ซึ่งรวมถึงวิธีที่ผู้คนใช้ภาพในอดีตของโรคระบาด และความกลัวต่อการติดเชื้อทำให้เกิดการกีดกันทางสังคมและการเลือกปฏิบัติ (ดูในงานของ Briggs 2005; Parker 2001; Schoepf 2001 ) การวิเคราะห์การแพร่กระจาย ความพยามระดับโลกในการแก้ไข้ปัญหา การแพรระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ โรคสมัยใหม่ในปัจจุบัน ตัวอย่าง ผลกระทบจากโรคซารส์ ไข้หวัดใหญ่ H5N1 H5N5 ไข้หวัดหมู อีโบลา และไวรัส Zika เช่นเดียวกับการระบาดของโรคครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก เช่น อหิวาตกโรค โรคหัด โรคคางทูม โรคตับอักเสบ และอื่นๆ สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ขนาดความชุกและการระบาดของโรคเท่านั้น แต่เป็นปฏิกิริยาของรัฐชาติต่างๆ ในการจำกัดการแพร่กระจายของโรคและเชื้อไวรัสดังกล่าว ในบทความของ Martineau et al (2017) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักมานุษยวิทยาในการกำหนดนโยบายกับอีโบลา ได้อธิบายถึงความสนใจภายใต้ความเชี่ยวชาญทางมานุษยวิทยาที่ที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมความตาย กิจกรรมในพิธีศพ และการรับรู้ การตระหนักถึงความสำคัญของ "วัฒนธรรม" ในเรื่องนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการละเลยความเข้าใจทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน(Home Care) ในขณะที่นักมานุษยวิทยาได้รับการพิจารณาให้มีส่วนในการทำความเข้าใจการดูแลการจัดการร่างกายหรือคนตายหรือศพโดยเฉพาะ การดูแลผู้ป่วยไม่ได้ถูกมองว่าเป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและความอ่อนไหวของ "วัฒนธรรม" “วัฒนธรรม” ถูกรวมอยู่ในวาทกรรมยอดนิยมและเรื่องราวการนำเสนอผ่านสื่อเกี่ยวกับอีโบลาอยู่เสมอ และตอกย้ำให้โรคดังกล่าวอยู่ในประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับโรค coronavirus 2019 ที่มีชื่อว่า COVID-19 เพื่อแยกโรคดังกล่าวออกจากเมืองหวู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งระบุการพบการติดเชื้อไวรัสครั้งแรก ดังนั้น COVID-19 ดูเหมือนจะอยู่นอกวัฒนธรรมของพวกเขา ทว่าสถาบันการกักกัน การล็อกดาวน์ และการควบคุมชายแดน และการยืนกรานในการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย (การล้างมือ) เน้นว่าการปฏิบัติและพฤติกรรมของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องอย่างไร และคาดการณ์ถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมในทั่วโลก ขณะที่การแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้นในชุมชนต่างๆทั่วโลก ที่ความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวอย่างมากมายเชื่อมโยงกับความยากจนของโครงสร้างพื้นฐานและการครอบครองและการเข้าถึงทรัพยากร (Satterthwaite et al. 2019) การพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสด้วยบริบทของการใช้ชีวิต การนอนร่วมกันในที่พักอาศัยที่คับแคบ ลักษณะพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดี ขาดสุขอนามัย ไม่ปลอดเชื้อและความสะอาดที่ไม่ดีหรือขาดหายไป การขาดแคลนน้ำและก๊อกน้ำที่หักพังชำรุด และการขาดความสามารถในการจัดการสำหรับครัวเรือน แต่ยังรวมถึงสถาบันต่างๆ (ศูนย์ให้บริการสุขภาพในท้องถิ่นด้วย) กระบวนการการจัดหาและมอบสบู่และเจลล้างมือ รวมถึงการจัดหาวัคซีน การพิจารณาถึงผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนในแง่ของการมทำงาน การมีอุปรกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอในการป้องกันโรคและป้องกันตัวเอง การประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆที่เกีย่วข้อง ระบบการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย มุมมองต่อตัวผู้ป่วยที่ไม่ใช่เชื้อโรคแต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นเดียวกับตัวเอง และความท้าทายที่พวกเขาเผชิญ ในการพยายามจัดการต่อโรคในชาวบ้านที่มีอายุ มีความเจ็บป่วยแทรกซ้อนมีโรคประจำตัว เมื่อบริการขนส่งและระดับอำเภออยู่ห่างออกไปหลายไมล์ หรือพิจารณาการแพร่กระจายอย่างไฟลามทุ่ง หากโควิด-19 เกิดขึ้นใน ภายใต้การตั้งถิ่นฐานและสลัมอย่างที่ผู้คนอยู่อย่างแออัดยากจนในแอฟริกาใต้ เคนยา และไนจีเรีย หรือเมืองต่างๆในทวีปอเมริกา เช่น รีโอเดจาเนโรและเม็กซิโกซิตี้ และค่ายผู้ลี้ภัยที่คับแคบในแอฟริกาตะวันออก ตุรกี จอร์แดน บังกลาเทศ และปากีสถาน ที่เชื่อมโยงความเจ็บป่วยต่อโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำและความเปราะบาง (Farmer 2006)ในบริบทที่ผู้คนมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ การกล่าวร้าย การโจมตี ถูกเลือกปฏิบัติและถูกกีดกันทางสังคม คำถามที่น่าสนใจคือ หากรัฐบาลหรือรัฐชาติตอบสนองต่อภัยพิบัติด้านต่างๆที่กระทบต่อสุขภาพ ที่มองปัญหาร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวกันของคนทั้งโลก ในะดับโลก ปัญหาของโลกและโรคของโลก เช่น ความรุนแรงจากเพศสภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สงคราม ความยากจน เอชไอวี/เอดส์ โรคอุบัติใหม่ หรือความหิวโหย ด้วยความกระตือรือร้น รวดเร็วและกระฉับกระเฉงในการแก้ปัญหาเช่นนี้ ภาระปัญหาของระบบสาธารณสุขทั่วโลกน่าจะคลี่คลายไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว... รวมทั้งกรณีผู้นำระดับโลกและคนดังหลายคนได้ทวีตถึงการติดเชื้อ COVID-19 ของพวกเขาที่ทำให้พวกเขาถูกชื่นชมมากกว่าถูกตำหนิหรือกล่าวโทษ แต่ในแอฟริกาใต้ ปรากฏพบผู้ติดเชื้อรายแรกในเมืองต่างๆที่เป็นคนธรรมดาทั่วไป ซึ่งอาจเป็นผลจากการที่ชาวบ้านได้รับเชื้อไวรัสในครัวเรือนที่มีฐานะร่ำรวยกว่า ซึ่งพวกเขาถูกจ้างให้เป็นคนงานทำงานบ้าน ชาวสวน และพี่เลี้ยงเด็ก การแพร่เชื้อจากผู้มีสิทธิพิเศษไปสู่ผู้ด้อยโอกาสเป็นสถานการณ์ฝันร้ายที่คนจนทุกคนต้องเผชิญ ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้มีฐานะร่ำรวยมัวหมองด้วยมลทินมากเท่ากันคนยากจน ในขณะที่การกลัวการถูกตีตรา การถูกหนิ การกล่าวโทษ หรือแม้แต่กลัวขาดรายได้ในการดำรงชีวิต ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนปฏิเสธการเปิดเผยตัวตน การยอมรับตัวเองว่าเป็นโรค หรือการเข้ารับการรักษา หากไม่มีอาการหนักจริงๆ รวมถึงการนำเสนอของสื่อว่า ระบบบริการสุขภาพไม่เพียงพอ ไม่มีเตียงในโรงพยาบาล มีเครื่องช่วยหายใจออกซิเจนไม่เพียงพอ ยังไม่นับถึงคุณภาพของโรงพยาบาลสนาม และพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำให้คนไม่อยากเข้าไปรักษา หรืออยากจะกักต่ออยู่ที่บ้านมากกว่า ในแง่หนึ่งเราได้บทเรียนพิเศษจากการตอบสนองต่อภาวะ "ความตื่นตระหนก" ต่อ COVID-19 ที่ผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือพฤติกรรม ประการแรกคือ ผู้คนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับมอบอำนาจจากสถาบันให้ทำเช่นนั้น สังเกตจากสินค้าที่มีการขายในออนไลน์ ผลิตภัณฑ์พวกเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ หรือในชั้นวางที่ของว่างเปล่าในร้านค้า ห้างสรรพสินค้าเป็นหลักฐานว่าผู้คนทั่วโลกล้างมือเป็นประจำและใส่หน้ากากมากขึ้น นั่นคือในหมู่คนที่สามารถซื้อหายาฆ่าเชื้อให้กับตัวเองได้ (ไม่ได้หมายถึงทุกกลุ่ม) ความสัมพันธ์ระหว่างกันที่เปลี่ยนแปลง เช่น การทักทายแบบที่ผู้คนจะชนข้อศอกแทนการกอด จูบ หรือจับมือกัน เป็นต้น ผู้คนเริ่มเคลื่อนที่ช้าลงและย้ายพื้นที่ของการเรียนรู้ไปที่ห้องเรียนและการประชุมเสมือนจริง ผู้คนกำลังสะสมกระดาษชำระ เจลมหน้ากากและอาหารกระป๋อง เป็นต้น รวมทั้งผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงความยั่งยืนของระบบทุนนิยมโลก ภายใต้โลกของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป นับตั้งแต่ระบบมหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ และโรงละครทุกแห่งกำลังปิดตัวลง ดูเหมือนว่าเมืองทั้งเมืองกำลังเกิดปรากฏการณ์แบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงกระนั้นก็ตาม เราพบว่าผู้ที่อาจติดเชื้อบางราย อาจจำเป็นต้องทำกิจวัตรประจำวันตามปกติของตนเองในภาวะที่เจ็บป่วย เนื่องจากงานของพวกเขาไม่ได้ให้เวลาพักผ่อนหรือรักษาตัว หรืออาจเป็นเพราะระบบสาธารณสุขของรัฐและเอกชนล้มเหลวไร้และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเจ็บป่วยของผู้คน ดังนั้นความสามารถในการตอบสนองจึงไม่เท่ากันภายใต้ความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียม ทางรายได้ อาชีพ ชนชั้น เชื้อชาติ และเพศ ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่า COVID-19 ได้พิสูจน์แล้วว่าผู้คนสามารถดูแลซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผ่านการ "เว้นระยะห่างทางสังคม" ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมคือการแก้ปัญหาทุกอย่าง เพราะการเว้นระยะห่างไม่ได้ทำให้คนบางกลุ่มปลอดภัยมากขึ้น แต่ยิ่งห่างไปจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันคนบางคนก็ติดอยู่กับความรุนแรงเชิงโครงสร้างต้องเผชิญกับการเข้าถึงทรัยกรที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น การใช้น้ำอุปโภคบริโภคอย่างจำกัด ระบบสุขาภิบาลที่ไม่ทันสมัย หรือการไม่มีบ้านที่ปลอดภัยที่มีการระบายอากาศที่ดีพอ อยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด ดังเช่นวิกฤตการณ์ของผู้คนในค่ายผู้ลี้ภัยทั่วยุโรป ภาวะของคนไร้บ้าน คนชายขอบของสังคมต่างๆทั่วโลกเป็นพยานหลักฐานถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน ดังนั้น ในแง่นี้เราจึงเห็นความพยายามระดับโลกในการระบุเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีน ส่งเสริมให้เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม การปิดท่าเรือ การปิดพรมแดน และยับยั้งการรวมตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การเรียนและการใช้ชีวิตสาธารณะในบริบทของการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ มานุษยวิทยาการแพทย์จึงเชื่อมโยงกับเรื่องราวเหล่านี้ในฐานะของวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่ต้องทำความเข้าใจความซับซ้อนของผู้คน ทั้งตัวผู้ป่วย ผู้ให้บริการสุขภาพ ญาติพี่น้องคนใกล้ชิด คนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย เหตุการณ์ต่างๆ การให้ความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก อัตวิสัย โครงสร้างต่างๆที่เชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ในระดับปัจเจก ชุมชน สังคม องค์กร ระดับท้องถิ่น ระดับโลก ประวัติศาสตร์บริบทของพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับสุขภาพและความเจ็บป่วย รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจและความเหลื่อมล้ำ
References 1. Atlani-Duault, L., and C. Kendall 2009 Influenza, anthropology, and global uncertainties. Medical Anthropology 28(3):207–11. 2. Benton, A. 2017 Ebola at a distance: A pathographic account of anthropology’s relevance. Anthropological Quarterly 90(2):495–524. 3. Briggs, C. L. 2005 Communicability, racial discourse, and disease. Annual Review of Anthropology 34:269–91. 4. Farmer, P 2006 AIDS and Accusation: Haiti and the Geography of Blame. Berkeley, CA: University of California Press. 5. Schoepf, B. G. 2001 International AIDS research in anthropology: Taking a critical perspective on the crisis. Annual Review of Anthropology 30:335–61. 6. Stellmach, D., I. Beshar, J. Bedford, P. Du Cros, and B. Stringer 2018 Anthropology in public health emergencies: What is anthropology good for? BMJ Global Health 3(2).

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...