ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตายดี และการดูแล โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

The truth is, once you learn how to die, you learn how to live.” By Mitch Albom in Tuesdays with Morrie “ความจริงก็คือ เมื่อคุณเรียนรู้ที่จะตาย คุณจะได้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่” เราจะพบว่ามีงานวรรณกรรมจำนวนมากอธิบายถึงแนวทางเชิงบวกในการตาย ตัวอย่างเช่น ในเรื่อง “Tuesdays with Morrie ที่มิทช์ อัลบอมไปเยี่ยมอดีตศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาของเขาที่ชื่อ Morrie Schwartz ซึ่งได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับการยอมรับ การสื่อสาร และการให้ความรักท่ามกลางกระบวนการที่กำลังจะตายของตัวเขาเอง หรืองานอีกชิ้นอย่าง “Man’s Search for Meaning”ของ Viktor Frank ได้บรรยายประสบการณ์ในค่ายกักกันของนาซีที่นำไปสู่การค้นพบความหมายในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานและความตาย นอกจากนี้ ยังมีงานเรื่อง “The Last Lecture” ของ Randy Pausch ที่เขาพูดถึงเหตุการณ์หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม เขาตั้งคำถามกับตัวแองว่าจะใช้ชีวิตและยอมรับทุกช่วงเวลาอย่างแท้จริงได้อย่างไร “เมื่อเวลาคือสิ่งเดียวที่คุณมีและวันหนึ่งคุณอาจพบว่าคุณมีน้อยกว่าคุณคิด…” ซึ่งเป็นคำกล่าวสุนทรพจน์ในงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รวมถึง Steve Jobs ภายหลังการวินิจฉัยโรคมะเร็งเมื่อไม่นานมานี้ เขาเรียกความตายว่า “น่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดแห่งชีวิต” (very likely the single best invention of life) ซึ่งเขาได้บรรยายโดยเน้นไปที่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตและมีความหมายต่อเขาในขณะที่เขาเผชิญหน้ากับความตาย หรือย้อนกลับไปในข่วงศตวรรษที่19 ที่มีวรรณกรรมที่บันทึกเรื่องราวการเสียชีวิตของชาวนาฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 ที่บรรยายว่า“เธอติดเชื้ออหิวาตกโรคในฤดูร้อน หลังจากนั้นสี่วันเธอก็ขอไปพบบาทหลวงประจำหมู่บ้านซึ่งมาและอยากจะทำพิธีสุดท้ายให้เธอ…” สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นมุมมอง3 เรื่อง ได้แก่ ประเด็นแรก ทำให้เรามองเห็นว่าเห็นผู้หญิงคนนี้ต้องการเสียชีวิตอย่างดีตามความเชื่อในสังคมของเธอ ในเรืองศาสนาซึ่งเป็นแสงสว่างในชีวิตของเธอ ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างอย่างมากจากการตายที่ดีของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ที่ผู้คนต้องการพบนักบวชไม่ใช่แพทย์ ไม่เหมือนในปัจจุบันที่การตายไม่ได้ถูกปกครองโดยศาสนา แต่ถูกปกครองควบคุมโดยการแพทย์ ประเด็นที่สอง ประเด็นที่สอง เธอเสียชีวิตในชุมชนท้องถิ่นที่ทุกคนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในปัจจุบัน การดูแลแบบประคับประคองสนับสนุนให้บุคคลจัดวางบทของตนเองเกี่ยวกับการเสียชีวิตและการใช้ชีวิตที่ใกล้จะตาย เช่นเดียวกับที่พวกเขาวางแนวทางเพื่อหาเลี้ยงชีพ ประการที่สาม จากเนื่้อเรืองสันนิษฐานว่าเธอจะเสียชีวิตภายในไม่กี่วันด้วยโรคติดเชื้อ ในทุกวันนี้เรามีคงามก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การชะลอความแก่ การต้านความตาย เรากำลังดิ้นรนเพื่อเรียนรู้วิธีที่จะเตรียมตัวตายในฐานะที่ความตายเป็นธรรมชาติน้อยลง การตายที่ดีนั้นจึงขึ้นอยู่กับสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล บรรทัดฐานของการตายที่ดีจึงแตกต่างกันไปในสังคมพหุวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ในวัฒนธรรมอินเดีย คนในชุมชนจะเก็บรักษาคนชราเอาไว้ที่บ้าน เพราะพวกเขามีประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ที่กำลังจะตายที่บ้าน แต่ในยุคปัจจุบันผู้คนคาดหวังให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพทำเช่นนั้นแทนผู้สูงอายุของครอบครัว ตัวอย่างวรรณกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นโครงสร้างต่างๆทางความคิดว่าด้วยเรื่องของการตายที่ดีหรือ “Good Death” เมื่อย้อนไปดูวัฒนธรรมในสังคมชนเผ่า การเป็นส่วนหนึ่งของชนเผ่าคือการยึดมั่นในศาสนาหรือความเชื่อบางอย่างของชนเผ่า ในหลายสังคม ศาสนาของสังคมนั้นเป็นที่คาดหวังให้สมาชิกของสังคมยึดมั่นในศาสนา ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ยึดเหนี่ยวผู้คนในสังคมเข้าไว้ด้วยกันในฐานะสมาขิกของสังคม การตายของสมาชิกคนใดคนหนึ่งถือเป็นบ่อนทำลายสายสัมพันธ์ของครอบครัว ชุมชน และแม้แต่ สำหรับบุคคลที่มีสถานะทางสังคมสูง ดังนั้นจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ความตายจะได้รับการจัดการตามความเหมาะสม แบละจำเป็นต้องมีพิธีกรรมทางศาสนา เพราะเป็นพิธีกรรมที่ยึดโยงกลุ่มเข้าด้วยกันในเวลาที่สังคมถูกคุกคามจากความตายและการสูญเสียมากที่สุด ทัศนะเกี่ยวกับความตายในหนังสือที่ปรากฏในปัจจุบัน สะท้อนว่าสังคมที่ถูกครอบงำและบ่มเพาะควมคิดนี้ด้วยอิทธิพลทางศาสนาฮินดู ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนายิว และศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่ทว่าในสังคมตะวันตกสมัยใหม่หลายแห่งกลับไม่เป็นอย่างนั้น เนื่องด้วยประการแรก หลายคนได้รับอิทธิพลจากนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งมีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่คนเป็นสามารถทำได้เพื่อช่วยให้วิญญาณผ่านพ้นไปหลังความตายได้ ประการที่สอง สังคมยุโรปส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีความเป็นฆราวาสมี่เน้นเรื่องของโลกียะมากกว่าโลกุตระเป็นอย่างมาก โดยมีเพียงประมาณ 40% ของชาวยุโรปเท่านั้นที่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย แม้ว่าสิ่งนี้จะมีจำนวนสูงถึง 75% สำหรับชาวไอริช (เหนือและใต้) และสำหรับชาวอเมริกัน สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าสำหรับหลาย ๆ คนในปัจจุบันนี้จึงไม่มีชีวิตหลังความตายที่จะต้องเตรียมตัว ที่สำคัญกว่านั้น ไม่ว่าปัจเจกบุคคลจะเชื่ออะไรก็ตาม สถาบันทางสังคมสมัยใหม่ก็จะเชื่อว่านี่คือชีวิตเดียวของมนุษย์ ในขณะที่ส่วนหนึ่งก็ยังคงเชื่อในศาสนา ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณา ประการที่สามก็คือ ศาสนากลายเป็นทางเลือกส่วนบุคคล ในตอนแรกอาจจะหมายถึงการเลือกที่จะเลือกนับถือศาสนาหรือนิกายใดนิกายหนึ่ง แต่หากมันยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงการพัฒนาจิตวิญญาณส่วนบุคคลของตนเอง ซึ่งเชื่อมโยงกับศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่มีเลย หรืออาจปะปนและจับคู่กันได้ อำนาจสูงสุดไม่ใช่อำนาจของชุมชนที่ตนเองเป็นสมาชิก หรือข้อความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่กำหนดให้ตนเลือกเดิน หากแต่เป็น "สิ่งที่ใช้ได้ผลสำหรับฉัน" (what works for me) มันคือการช่วยให้ผู้ป่วยค้นพบจิตวิญญาณของตนเอง และค้นหาเส้นทางของตนเองผ่านการเจ็บป่วยหรือความตาย การเคลื่อนไหวของบ้านพัก Hospics ในประเทศตะวันตกในหลายประเทศก็เป็นเช่นนั้น หรือสถานพยาบาลในประเทศอื่น ๆ ก็มีการปฏิบัติทางศาสนาแบบดั้งเดิมมากกว่าบนเตียงในโรงพยาบาล โดยการเพิ่มขึ้นของความสัมพันธ์แบบปัจเจกบุคคลระหว่างปัจเจกบุคคลและผู้ช่วยให้รอดหรือผู้ดูแลพวกเขา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอนที่การดูแลแบบประคับประคองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในอังกฤษ มีการวางรากฐาน และพัฒนามาอย่างง่ายดายในสหรัฐอเมริกาและอดีตอาณานิคมอื่นๆ พร้อมกับปรากฏการณ์ของการต่อสู้ดิ้นรนและต่อรองในประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี ซึ่งเป็นสังคมที่ครอบครัวมีความสำคัญเหนือกว่าปัจเจกบุคคลแต่ละบุคคล หรือญี่ปุ่นที่มีลำดับชั้นทางอำนาจและคำสั่งของแพทย์ มีน้ำหนักมากกว่าความพึงพอใจหรือความเห็นชอบของผู้ป่วย ในปัจจุบัน ภายในชุมชนด้านการดูแลสุขภาพและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านพักคนชราและการดูแลแบบประคับประคอง มีการพูดคุยกันถึงแนวคิดเรื่องการตายที่ดี แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากขบวนการบ้านพักรับรองของคณะนักบวช (hospice ) และได้รับการอธิบายว่าเป็นชุดของประสบการณ์ที่หลากหลายเฉพาะตัวปัจเจกบุคคล ตามรายงานของสถาบันการแพทย์ที่ตีพิมพ์เมื่อ 19 ปีที่แล้ว การตายที่ดีคือการเสียชีวิตที่ปราศจากความทุกข์ทรมานและความทุกข์ยากที่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล ซึ่งสอดคล้องกับความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว และสอดคล้องกับมาตรฐานทางคลินิก วัฒนธรรม และจริยธรรม แนวคิดนี้ได้รับความในหลายสาขาวิชา รวมถึงการแพทย์ จิตวิทยา เทววิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความหมายที่ขึ้นอยู่กับมุมมองของบุคคลที่กำลังจะตายมากกว่า ดังนั้นเราจะพบคำว่า “การตายที่ดี” (good death ) หรือ “การตายที่ประสบความสำเร็จ” (successful dying) ที่มองว่าตายที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว และผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ (HCP) **บทสรุป*** 1.การตายที่ดีขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงเมื่อกาลเวลาผ่านไป 2.มีแนวคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความตายที่ดี โดยเฉพาะในสังคมพหุวัฒนธรรม 3 ลัทธิศาสนาและฆราวาสนิยมมีอิทธิพลต่อแนวคิดเกี่ยวกับความตายที่ดี 4 สังคมปัจเจกนิยมส่งเสริมเอกราชหรืออิสระส่วนบุคคลของผู้กำลังจะตาย รวมถึงการดูแลแบบประคับประคองและการการุณยฆาตโดยสมัครใจ 5. ภาวะการรับรู้ถึงการตายเร็วและตายช้า ในปัจจุบัน การแพทย์แผนปัจจุบันสามารถวินิจฉัยโรคร้ายแรงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม และการติดเชื้อเอชไอวี พวกเราอยู่ในบริบทที่รับรู้ว่าเราหรือคนที่เรารัก เป็นโรคที่คุกคามถึงชีวิตและคาดคะเนถึงการตายและการมีชีวิตอยู่ได้ไม่ชัดเจน แพทย์อาจบอกเราว่าอาจเป็นเดือนหรือหนึ่งปีหรือสองปีก็ได้ คำถามที่ว่าเราจะตายได้ดีในวันนี้ได้อย่างไร คือ จะอยู่อย่างไรเป็นเดือนหรือเป็นปี โดยรู้ว่าเรากำลังจะตายให้มีความสุข คำถามนี้คือสิ่งที่ทั้งฝ่ายการดูแลแบบประคับประคองและการเคลิ่อนไหวของกลุ่มคนที่พูดถึงการการุณยฆาตกำลังพูดถึงและถกเถียงกันอยู่ และยังเป็นคำถามที่หลายๆ ฃคนที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือสมองเสื่อมไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการอย่างไร แต่ในขณะเดียวกัน เราจะเห็นการเติบโตของตลาดว่าด้วยความตายในสังคมต่างๆ ที่ได้พัฒนาความรู้เรื่องนี้ ทั้งหนังสืออัตชีวประวัติ(ที่ผู้เผชิญหน้ากับความตายเขียน พระเขียน นักบวชเขียน แพทย์เขียน) คอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ และรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการตายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแจ้งให้สังคมที่สับสนว่าการตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอย่างไร โรคโควิด19เป็นอย่างไร หรือการดูแลผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์น้องทำอย่างไร เรากำลังเห็นการพัฒนาของตลาดใหม่ว่าด้วย ศิลปะแห่งความตายและศิลปะของการใช้ชีวิตในสภาวะใกล้ตาย พร้อมการเกิดขึ้นของสถาบัน องค์กรรัฐและเอกชน โรงพยาบาล วัด Hospics และอื่นๆที่สนใจในประเด็นเรื่องการตายดี การดูแลผู้ป่วยแบบประคุบประคอง ภาพของสังคมชนบทกลับมา …สังคมชนบทที่ผู้คนเสียชีวิตที่บ้าน รายล้อมไปด้วยครอบครัวและเพื่อนบ้าน และช่วยในพิธีกรรมของพระหรือนักบวช จนมาถึงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผู้คนส่วนใหญ่เสียชีวิตในโรงพยาบาล โดยมีท่อช่วยหายใจ สายออกซิเจน พยาบาล และแพทย์ประจำบ้านรายล้อม สุดท้ายขอยกคำทำนายของผู้ก่อตั้ง BACUP (สมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งอังกฤษ) ซึ่งพยายามผสมผสานความรู้ทางการแพทย์เข้ากับความรู้ของผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขาว่า “ในที่สุดฉันก็ได้พบกับผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็นมะเร็งรังไข่ เราแบ่งปันประสบการณ์ของเรา... ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงตระหนักว่าผู้ป่วยรายอื่นสามารถให้สิ่งพิเศษแก่ฉัน ซึ่งฉันไม่สามารถได้รับจากแพทย์หรือพยาบาล ไม่ว่าจะมีความเอาใจใส่แค่ไหนก็ตาม”
อ้างอิง 1. Ariès P. The hour of our death. London: Allen Lane, 1981: 10. 2. Durkheim E. The elementary forms of the religious life. London: Unwin, 1915. 3. Firth S. Approaches to death in Hindu and Sikh communities in Britain. In: Dickenson D, Johnson M, eds. Death, dying and bereavement. London: Sage, 1993. 4. Walter T. The eclipse of eternity: a sociology of the afterlife. Basingstoke: Macmillan, 1996: 32-3 5. Walter T. The ideology and organization of spiritual care: three approaches. Palliat Med 1997;11: 21-30. [PubMed] [Google Scholar] 6. Macfarlane A. The origins of English individualism. Oxford: Blackwell, 1978. 7. Gittings C. Death, burial and the individual in early modern England. London: Croom Helm, 1984. 8. Stannard D. The Puritan way of death. New York: Oxford University Press, 1977. 9. Pellegrino E. Is truth telling to the patient a cultural artifact? JAMA 1992;268: 1734-5. [PubMed] [Google Scholar] 10. Paton L, Wicks M. The growth of the hospice movement in Japan. Am J Hosp Palliat Care 1996:13: 26-31. [PubMed] [Google Scholar] 11. Diamond J. C: because cowards get cancer too. London: Vermillion, 1998. 12. Bayley J. Iris and the friends: a year of memories. London: Abacus, 2000. 13. Walter T. The revival of death. London: Routledge, 1994. 14. Seale C. Heroic death. Sociology 1995;29: 597-613. [Google Scholar] 15. Clement-Jones V. Cancer and beyond: the formation of BACUP. BMJ 1985;219: 1021-3. [PMC free article] [PubMed] [Google Scholar]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...