แม้ว่าผมจะจบปริญญาเอกทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ สนใจมานุษยวิทยาการแพทย์ แต่ก็ไม่ค่อยได้สอนวิชานี้ ส่วนมากมักจะแทรกอยู่ในวิขามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย มานุษยวิทยว่าด้วยเพศและเพศวิถี แต่ผมก็ไม่สามารถลงลึกได้ในแนวคิดทฤษฎี หรือระเบียบวิธีวิจัย แม้ว่าผมจะอ่านและเรียบเรียงประเด็นพวกนี้อยู่พอสมควร แต่ผมก็มีนักศึกษาหลายคนอยากทำประเด็นเรื่องผู้ป่วยระยะสุดท้ายผู้ป่วยมะเร็ง หรือ การรักษาแบบประคับประคอง ผมจึงมักแนะนำและหางานให้อ่าน เพื่อได้เข้าวจประเด็นของการศึกษา และระเบียบวิธีการศึกษาที่ชัดเจนมากขึ้น
ผมอ่านงานชิ้นหนึ่งชื่อ Mental well-being of patients from ethnic minority groups during critical care: a qualitative ethnographic study ของ Rose Lima Van Keer, Reginald Deschepper ,Luc Huyghens และJohan Bilsen (2017) ที่ทำให้เห็นการประยุกต์ใช้การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาที่มีความเป็นไปได้ของการศึกษาผู้ป่วยในสถานพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการเสนอผลกระทบที่เกิดจากการดูแลรักษาอีกด้วย ชาติพันธุ์วรรณนาถือเป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำได้ง่ายแลแต่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพสำหรับการศึกษากลุ่มคนภายใต้การค้นหาประสบการณ์ที่มีร่วมกัน งานทางด้านชาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยการศึกษาวัฒนธรรม พฤติกรรม และบรรทัดฐานของกลุ่มคนชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีการวิจัยที่มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ประสบการณ์ของผู้ป่วยและผู้ใช้บริการระหว่างการเดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยหรือการวินิจฉัยโรคเฉพาะ ตลอดจนบรรทัดฐานและพฤติกรรมของผู้ป่วย ข้อมูลทางชาติพันธุ์วิทยาช่วยให้พวกเราได้ยินเสียงของผู้ป่วย ข้อมูลจากการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาของกลุ่มผู้ป่วยสามารถใช้ในการปรับปรุงบริการด้านสุขภาพและการดูแลทางสังคมได้ด้วย
ผู้ป่วยมีความต้องการขั้นพื้นฐานหลายอย่างของมนุษย์ทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ ญาติของพวกเขา หรือผู้ป่วยรายอื่นๆ ความต้องการเหล่านี้รวมถึงความจำเป็นในการติดต่อทางสังคม ความต้องการเพิ่มความสะดวกสบายและบรรเทาความเจ็บปวด ความต้องการแสดงความสิ้นหวัง หมดหวังและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในวาระสุดท้ายของชีวิต มีการระบุปัจจัยเสี่ยงสามประการที่สัมพันธ์กันสำหรับการพัฒนาปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วย: ประการแรก แนวทางการดูแลทางชีวการแพทย์เป็นหลักของบุคลากรทางการแพทย์ (เช่น การมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้ป่วย การสนับสนุนทางจิตวิทยาเชิงสังคมที่จำกัด) ประการที่สอง บริบทของห้องไอซียู (เช่น เวลา ความกดดัน ความไม่แน่นอน กรอบการกำกับดูแล) และประการที่สาม ภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันของผู้ป่วย (เช่น ความแตกต่างทางศรสนา)
สิ่งที่น่าสนใจคือสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่มาจากกลุ่มชนกลุ่มน้อยในระหว่างการดูแลขั้นวิกฤตินั้นมีลักษณะเฉพาะคือความเหงาทางอารมณ์ที่รุนแรง สิ่งสำคัญคือเจ้าหน้าที่ควรเน้นย้ำและตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเฉพาะของผู้ป่วยในเวลาที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสุขในทางจิตของพวกเขา โดยคำนึงถึงภัยคุกคามที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการดูแลทางการแพทย์หลักทางชีวการแพทย์ของพวกเขาเอง บริบทเชิงโครงสร้างของ ICU ตลอดจนผู้ป่วย ภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างเข้าใจ..
ภาวะอาการประสาทหลอน ความกลัว และภาวะซึมเศร้ามักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักหรือผู้ช่วยวิกฤต (ICU) ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงการรักษาที่รุกรานพื้นที่ทางร่างกายและจิตใจ การแยกตัวพวกเขาออกจากครอบครัว ความเจ็บปวดทางกายและจิตใจ การไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ การพึ่งพาอาศัยผู้อื่น การถูกควบคุม การขาดความเป็นส่วนตัว และการสื่อสารที่ไม่ดีระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาล เป็นต้น
ดังนั้นแม้ว่าการรบกวนสุขภาพจิตของผู้ป่วยวิกฤตจะส่งผลเสียต่อกระบวนการดูแลทั้งหมดของพวกเขา แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในสถานดูแลผู้ป่วยวิกฤตก็ยังขาดกลยุทธ์ที่เพียงพอในการปรับปรุงสุขภาพจิตของผู้ป่วย พวกเขามักไม่ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วย เนื่องจากเน้นการดูแลด้านร่างกายผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นหลัก และขาดการให้ความสำคัญหรือคำนึงถึงด้านการดูแลจิตใจ ตัวอย่างเช่น พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤตจำนวนมากไม่มีความเข้าใจเพียงพอในองค์ประกอบที่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ในสังคมโดยรวม ปัญหาสุขภาพจิตยังคงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมักไม่ค่อยได้รับการยอมรับและพูดถึงมากนักและมักมองคนเหล่านี้ในลักษณะผืดปกติและเจ็บป่วยเป็นหลัก
นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องสื่อสารกับผู้ป่วยที่มาจากกลุ่มชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มขาติพันธุ์ย่อยๆมากขึ้น ซึ่งทำให้เห็นภาวะของผู้ป่วยทที่มีต้นกำเนิดหรือภูมิหลังที่แตกต่างกันซึ่งมีลักษณะทางวัฒนธรรมบางอย่างที่เฉพาะ อันเป็นผลจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นของสังคม
แม้วาการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ย้ายถิ่นโดยหลักการพื้นฐานแล้วจะจัดในลักษณะเดียวกับผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความแตกต่างระหว่างการดูแลผูป่วยที่เป็นคนกลุ่มน้อยหรือผู้ย้ายถิ่น ที่มักเกิดปัญหาขึ้นเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน 2 ลักษณะ ประการแรกได้แก่ ความแตกต่างด้านสุขภาพ (ชนกลุ่มน้อยมีโอกาสมีสุขภาพที่ดีน้อยกว่าผู้ที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่) และปัญหาประการที่สองเกี่ยวกับ การเข้าถึงและการใช้บริการด้านสุขภาพ (ชนกลุ่มน้อยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพต่ำกว่าและได้รับการดูแลที่มีคุณภาพน้อยกว่าสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่) ปัญหามีความซับซ้อนมากและเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม
เราสามารถสันนิษฐานว่าผู้ป่วยวิกฤตจากชนกลุ่มน้อยมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพจิต และความแตกต่างทางชาติพันธุ์ทำให้ปัญหาสุขภาพจิตซับซ้อนมากขึ้น และหลายแง่มุม ความไม่ตั้งใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อพฤติกรรมทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์เฉพาะ (เช่น การแบ่งแยกเพศ วัฒนธรรมการกิน การใช้ชีวิต ความเชื่อ ) การเลือกปฏิบัติของหมอ ความไม่คุ้นเคยกับระบบการรักษาพยาบาลแบบตะวันตกและวิถีทางอาหารที่แตกต่างกันสามารถนำไปสู่ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์นอกจากนี้ ความแตกต่างทางภาษาและบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่กำหนดการยอมรับความทุกข์ทรมานทางร่างกาย สามารถนำไปสู่การสื่อสารและการบรรเทาความเจ็บปวดที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยดังกล่าวได้ ถึงกระนั้น แม้ว่าเราจะอาศัยอยู่ในสังคมหลายเชื้อชาติมากขึ้นเรื่อยๆ แต่งานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ป่วยจากชนกลุ่มน้อยในช่วงวิกฤต การดูแลค่อนข้างหายากและมีการศึกษาเชิงลึกน้อยมาก ซึ่งนั่นคือสิ่งที่สะท้อนการขาดความเข้าใจในกลุ่มคนเหล่านี้
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในงานชิ้นนี้คือ การเขียนระเบียบวิธีการวิจัยที่ละเอียดชัดเจน ที่เขาบอกว่า งานภาคสนามชาติพันธุ์วิทยาดำเนินการในห้องไอซียูแห่งหนึ่งของโรงพยาบาลในเขตเมืองที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติในเบลเยียมเป็นเวลากว่า 6 เดือน (มกราคม 2014–มิถุนายน 2014) 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย ICU จะเป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ โดยเน้นศึกษาพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและญาติ เป็นเวลา 360 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกและสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามพวกเขา ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ของพวกเขา จะต้องถูกติดตามตลอดระยะเวลาวิกฤตทั้งหมด โดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมการวิจัยก่อนเริ่มการศึกษา ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวได้รับการคัดเลือกและเข้าหาแบบตัวต่อตัวโดยตั้งใจ พวกเขามีสิทธิ์เข้าร่วมในการศึกษานี้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยหรือผู้ปกครองตามกฎหมายอย่างน้อยหนึ่งคน หรือสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคน (ผู้ป่วย/ญาติของผู้ป่วย) ยินยอมเข้าร่วม รวมถึงความสามารถพูดภาษาดัตช์ ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอังกฤษ และผู้ป่วยต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีขึ้นไป โดยคัดเลือกผู้ป่วย 10 รายและสมาชิกในครอบครัวที่มาเยี่ยม ซึ่งมีพื้นเพมาจากโมร็อกโก แอลจีเรีย ตุรกี คองโก และโปรตุเกส
ผู้ป่วยที่ศึกษามีอายุระหว่าง 40 ถึง 82 ปี เป็นชาย 6 คน และหญิง 4 คน พวกเขาเข้ารับการรักษาด้วยโรคปอดบวม ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เลือดออกในสมอง มะเร็ง และอุบัติเหตุร้ายแรง ผู้ป่วยทั้งหมดในบางครั้งถูกทำให้สงบด้วยการรักษา ไม่สามารถสื่อสารได้หรือมีความสามารถในการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีทีมดูแลผู้ป่วยวิกฤติประกอบด้วยพยาบาล 80 คนและแพทย์ 12 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวคอเคเชียนผิวขาวจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่โดดเด่นหรือชาติพันธุ์หลักในสังคม ที่เต็มใจจะเข้าร่วมการวิจัย รวมถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยในระหว่างการทำวิจัยภาคสนามของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น แพทย์ที่ส่วนใหญ่ทำงานในวอร์ดอื่นๆ ผู้เข้าร่วมการวิจัยทราบถึงเหตุผลของผู้วิจัยในการทำวิจัย
ข้อมูลถูกรวบรวมโดยใช้กลยุทธ์การรวบรวมข้อมูลหลายรูปแบบ ได้แก่ การสังเกตในห้องไอซียู การสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรทางการแพทย์ และการอ่านเวชระเบียนของผู้ป่วย ท่ามกลางความกดดันด้านเวลาและงานการดูแลช่วยชีวิตที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้วิจัยที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกิจกรรมหลักของชีวิตทางสังคมในวอร์ด ดังนั้นจึงเลือกใช้วิธีการสังเกตการณ์บนเตียงคนไข้แทนซึ่งหมายความว่าก่อนเริ่มการสังเกต ผู้วิจัยจะขออนุญาตผู้เข้าร่วมการวิจัย ตัวผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย หมอ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องทุกครั้ง
ผมคิดว่างานชิ้นนี้เป็นงานที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำวิจัยในประเด็นเรื่องของการแพทย์และสุขภาพ ที่ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย และมีคุณูปการในการทำตวามเข้าใจผู้ป่วย แพทย์ หรือญาติผู้ป่วย รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ หรือข้อมูลสำหรับการวางแผนการให้บริการสุขภาพที่คำนึงถึงตัวผู้ป่วย ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ของผู้ป่วยมากขึ้น
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น