ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานผาแดงนางไอ่(2)

จนกระทั่งนางไอ่คำถึงวัยที่จะมีเหย้ามีเรือนได้พญาขอมจึงได้แจ้งข่าวให้กับบรรดาหัวเมืองต่างๆ ได้ทำบั้งไฟขึ้นมาจุดแข่งขัน บั้งไฟใครขึ้นสูงก็จะได้นางไอ่ไปครอบครอง อีกทั้งเพื่อเป็นการบูชาพญาแถนที่อยู่บนฟ้า ช่วยดลบันดาลให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาลเพื่อให้ชาวเมืองได้ทำการเพาะปลูก และได้กำหนดให้วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันจัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อให้บรรดาเจ้าชายจากเมืองต่างๆ ทำบั้งไฟเอ้ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน มาร่วมเฉลิมฉลอง แห่เซิ้งเพื่อความสนุกสนาน และจุดแข่งขันกันโดยเอานางไอ่เป็นเดิมพัน  ทั้งท้าวผาแดง และพังคีก็มาร่วมงานด้วย โดยท้าวผาแดงได้ทำบั้งไฟมาแข่งขันด้วย  ผลการจุดปรากฏว่าบั้งไฟของพญาขอมแตก ซึ่งเป็นลางว่าบ้านเมืองอาจเกิดภัยพิบัติ ส่วนของท้าวผาแดงไม่ขึ้น ส่วนของเจ้าเมืองเชียงเหียน ฟ้าแดดสูงยางขึ้นได้สูง บางสำนวนก็ว่าขึ้นนานถึงสามวันสามคืนจึงตกลงมา  แต่เนื่องจากทั้งคู่เป็นอาของนางไอ่จึงไม่ได้นางไอ่ไป ชาวบ้านบางคนบอกว่านางไอ่ไม่ชอบคนแก่ แต่ชอบคนหนุ่มอย่างผาแดงจึงไม่ยอมแต่งงานด้วย หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันความรักของผาแดงและนางไอ่ก็มีมากขึ้นทั้งคู่มีความสัมพันธ์ต่อกันจนกระทั่งผาแดงเดินทางกลับเมืองตนเอง ข้างฝ่ายพังคีก็หลงรักนางไอ่มากจนทนไม่ได้ ต้องปลอมเป็นกระรอกด่อน (กระรอกเผือก)แขวนขอคำ(กระดิ่งทองคำ) มาวิ่งเล่นอยู่ตามต้นไม้ใกล้ที่ประทับของนางไอ่ เพื่อให้เห็นหน้านางไอ่  และเมื่อนางไอ่ได้เห็นกระรอกพังคีก็ใคร่อยากจะได้มาเป็นของตนเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด หรือจับเป็น จับตายก็ตาม นางจึงได้รับสั่งให้เรียกชายฉกรรจ์และนายพรานที่มีในเมือง  มาร่วมไล่ล่ากระรอก  ชื่อของนายพรานกลายเป็นชื่อของหมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านกงพราน มาจากนายกงพาน บ้านพรานงัวมาจากนายพรานชื่องัว   หรือบ้านพรานงู และพรานซ่อน[1]
การไล่ล่ากระรอกดังกล่าวเป็นที่มาของตำนานชื่อหมู่บ้านต่างๆรอบหนองหาน การไล่ล่ากระรอกเผือกเริ่มตั้งแต่ บ้านอุ่มจาน  เพราะวิ่งผ่านป่าต้นจาน(ทองกราว)  ออกจากบ้านนี้วิ่งไปบ้านโพนทอง จอมปลวกกลายเป็นทอง กระรอกวิ่งเลี้ยวไปทางอื่น เรียกว่าบ้านแชแล ชาวบ้านนายพรานที่ไล่ล่าก็เอาปืนยิงใส่กระรอก เกิดเป็นบ้านเมืองปรังเพราะเสียงปืน แต่ยิงกระรอกไม่เข้ากระรอกไม่ตาย จึงได้ชื่อว่าบ้านดอนคง ต่อจากนั้นก็เข้าไปบ้านคอนสาย เพราะนายพรานใช้หน้าไม้เล็งยิงกระรอกจนสายหน้าไม้ขาด จนต้องแบกคอนกลับไป จากนั้นก็ตามกระรอกไป โดยโยนหิน โยนพริกโยนเกลือ ปาหินใส่กระรอก กลายเป็นบ้านเมืองพรึก จนกระทั่งกระรอกเผือกมาถูกยิงตายที่บ้านพันดอน ชาวบ้านบอกว่าที่ชื่อพนดอนเพราะชาวบ้านและนายพรานวิ่งไล่กระรอกมาพันกว่าดอนแล้ว ก่อนตายกระรอกพังคี อธิษฐานขอให้เนื้อตัวเองมีมากถึง8,000 เกวียน คนทั้งเมืองกินเท่าไหร่ก็ไม่หมดสิ้น และใครที่กินก็ขอให้พบกับหายนะภัยพิบัติเป็นไปต่างๆ  จากนั้นก็นำเนื้อกระรอกมาชำแหละที่บ้านเชียงแหว โดยแจกจ่ายให้ชาวบ้านายพราน ทหาร คนในเมืองรวมถึงธิดาไอ่คำ ทั้งปิ้งย่าง ทำลาบกก้อย ต้มเลี้ยงกันรวมถึงเจ้าเมืองขอมและนางไอ่คำ ยกเว้นพวกแม่ม่ายที่ไม่มีสามีเพราะไม่ได้ช่วยทำงานจึงไม่ได้รับส่วนแบ่งหรือได้กินเนื้อกระรอก


[1] หมู่บ้านเหล่านี้อยู่ในเขตอำเภอหนองหานในปัจจุบัน คือบ้านกงพราน บ้านพรานงัว บ้านพังงู และบ้านพังซ่อน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...