ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตเอ็นจีโอ(4)


บุญกุ้มข้าวใหญ่รวมข้าวรวมใจและตอกย้ำอัตลักษณ์ของความเป็นชาวนา
บุญกุ้มข้าวใหญ่ เป็นประเพณีของคนอีสานมาตั้งแต่ดั้งเดิม หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วเสร็จ ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรกรรมส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งมาไว้เป็นสมบัติ/ทรัพย์สินส่วนรวมของชุมชน โดยใช้พิธีกรรมเรื่องของบุญกุ้มข้าวใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประจำปีของหมู่บ้าน ในการเก็บรวบรวมข้าวเปลือกของแต่ละครัวเรือน นำมากองรวมกันที่ลานวัดกลางแจ้ง และทำพิธีทำบุญ สู่ขวัญข้าว ให้ขวัญกำลังใจกับเกษตรกร และถือได้ว่าเป็นงานรื่นเริงที่ช่วยผ่อนคลายเกษตรกรจากระยะเวลาของการผลิตอันยาวนาน
อีกทั้งยังทำให้คนในชุมชนได้ภาคภูมิใจในน้ำพักน้ำแรงที่ตนลงทุนไป ข้าวเปลือกแต่ละเม็ดที่แต่ละครัวเรือนนำมากองรวมกันนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และการพึ่งตนเองของชุมชน การกระจายและแบ่งปันผลผลิตตอบแทนกลับสู่ชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งทุกครัวเรือนจะรับรู้ร่วมกันว่าผลผลิตข้าวส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ที่ยุ้งฉาง เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก บางส่วนเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น เจ็บป่วย ลูกเข้าโรงเรียน อยากทำบุญต่างๆ ก็จะนำมาขายแลกเป็นเงิน อีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในลักษณะแบบคอมมูน ในแง่ของการแบ่งปัน การช่วยเหลือและการกันผลิตผลิตส่วนหนึ่งของตัวเองให้เป็นผลผลิตร่วมกันของชุมชน เพื่อนำไปขายนำเงินมาซ่อมแซม ทำนุบำรุงวัด โรงเรียน หรือพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดเกือบ 5 ทศวรรษ ของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การปฎิวัติเทคโนโลยีทางการเกษตรและชลประทาน ที่เรียกว่า การปฎิวัติเขียว ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ทั้งมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะวิถีการทำการเกษตร ที่ได้ทำลายระบบความสัมพันธ์ของเครือญาติและเวลาประกอบกิจกรรมในรอบปี  จะเห็นได้ว่าการปฎิวัติเทคโนโลยีในการผลิตไม่ว่าจะเป็น รถไถนาเดินตาม แทนวัวควาย การใช้พันธ์ข้าวชนิดพิเศษที่ให้ผลอย่างรวดเร็วและใช้ระยะเวลาอันสั้น ระบบชลประทานคลองส่งน้ำ ที่ทำให้ไม่ต้องรอน้ำฝนตามธรรมชาติและสามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปีในบางพื้นที่ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าหญ้าของเกษตรกร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ หน้าดินเสื่อมคุณภาพ ปูปลาในน้ำในนา ปนเปื้อนด้วยสารพิษ ชาวบ้านไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ทางการผลิตอย่างมากมาย เกิดลักษณะการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น มีการจ้างแรงงาน แทนการวานแรงงาน หรือหมุนเวียนกันในหมู่เครือญาติ
ดังจะพบว่าปัญหาในปัจจุบันก็คือ การแย่งชิงแรงงานกันในการเกษตร โดยเฉพาะฤดูของการเก็บเกี่ยว การเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวไม่พร้องกัน อันเนื่องมาจากการรอคอยแรงงาน ซึ่งส่งผลกับการทำกิจกรรมหรือประเพณีร่วมกันของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ประเพณีและกิจกรรมบางอย่างก็ลดความสำคัญลงไป เช่นบุญคูณลาน หรือบุญกองข้าว ซึ่งจะต้องทำพิธีบริเวณที่นาที่เป็นลานตีข้าวเปลือกออกจากรวง เนื่องจากปัจจุบันไม่ต้องลงแขกตีข้าว แต่มีรถที่สามารถแยกรวงข้าวออกมาได้ ทำให้เมื่อเวลานำข้าวเป็นฟ่อนๆใส่ลงไปในเครื่องแยกเมล็ดข้าว ก็สามารถเอาใส่กระสอบและบรรทุกใส่รถมาเก็บที่ยุ้งฉางได้เลย โดยไม่ต้องกองไว้บนลานนาดังเช่นในอดีต ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพิธีกรรมและความเชื่อของชาวบ้านในปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...