ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(ุ6)


ศาลพ่อปู่ประกายเพชรรุ่งโรจน์ ศาลา ต้นมะขามเทศ โรงน้ำมัน
ค่ายเปปเปอร์ไกรเดอร์ หรือ ส่วนแยก202 บชร.2 ในอดีตเคยเป็นค่ายของทหารอเมริกัน ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสูงตำบลโนนสูงตังหวัดอุดรธานี ตรงกันข้ามจะเป็นวันป่าศรัทธาธรรม ตอนที่ครอบครัวผมไปอยู่ทหารอเมริกันมีการถอนกองทัพออกไปแล้วเนื่องจากวิกฤตการณ์สงครามอินโดจีนในเวียดนามเริ่มคลี่คลายลง สิ่งที่เหลือไว้คือบรรดา ตึก ป้อมยาม คลังเก็บอาวุธ และร่องรอยของโรงอาคารต่างๆที่มีคันดินลูกรังขนาดสูง4-5 เมตร รอบรอบตัวอาคารซึ่งมีมากกว่า 20 โรง มีพื้นปูน เศษน็อต เศษเหล็ก รวมถึงเศษกระเบื้องแตกอยู่จำนวนมากมาย ช่วงที่ครอบครัวผมมาอยู่เพิ่งจะเริ่มสร้างห้องแถวสองชั้นเพื่อเป็นบ้านพักของทหาร โดยถ้าเป็นทหารชั้นประทวนก็จะอยู่ห้องแถว แถว1 ถึง แถว 6 ซึ่งแต่ละแถวมีประมาณ  5-6 ห้อง  บริเวณด้านหน้าเป็นบ้านพักของหัวหน้าหน่วย และนายทหารยศสัญญาบัตรซึ่งที่พักจะเป็นสัดส่วนและใหญ่กว่า มีหอประชุมประกายเพชรรุ่งโรจน์ สำหรับกิจกรรม มีสนามเด็กเล่น
หากเดินไปยังสถานที่ทำงานของทหารจากห้องแถวก็จะประมาณ 1 กิโลเมตร โดยเป็นอาคารชั้นเดียว อาคารแรกจะเป็นร้านค้าสวัสดิการทหาร มีสนามเปตอง ส่วนอาคารถัดไป จะเป็นที่ทำงานที่พ่อผมมักจะเข้าไปอยู่เวร มีเตียงนอน มีเครื่องพิมพ์ดีดและสำนักงานเป็นสัดส่วน  เลยไปเป็นคลังอาวุธ มีป้อมยาม เลยไปก็จะเป็นโรงนอนและโรงครัวของทหารเกณฑ์ ก็จะอยู่เลยไปอีก โดยมีรั้วกั้นซึ่งถูกใช้เป็นที่เลี้ยงวัว และปลูกมะม่วงหิมพานต์ตามโครงการอีสานเขียว บริเวณนี้มีบ่อน้ำ ห้วย หนอง จำนวนมากซึ่งมีปลาชุกชุม รวมถึงต้นไม้ขนาดใหญ่พวกต้นกรุง ต้นสะเดา มะขามป้อม ต้นมะขาม ต้นขี้เหล็ก ต้นมะรุม ต้นพุทรา พุ่มไผ่เพ็ก ต้นอ้อและผือ รวมถึงไม้พุ่มเช่นต้นเล็บแมวอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทหารชั้นผู้น้อยในฤดูกาลต่างๆ
พ่อแม่ผมและน้อง เรามาหากินบริเวณนี้เป็นประจำ ด้วยรถจักรยานเพรสสันสีแดง มีตระแกรงด้านหน้าละมีกระดิ่งบริเวณคันบังคับรถ พ่อจะเอาผมกับแม่ซ้อนด้านหลัง ส่วนตระแกรงด้านจะเอาน้องชายของผมใส่ไว้เพราะตัวเล็กสุด เมื่อไปถึงบริเวณบ่อหรือหนองน้ำที่ไม่ใหญ่มาก บางทีอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ บางครั้งเป็นลำธารเล็กๆที่มีท่อเหล็กเพื่อระบายน้ำ เมื่อพ่อเห็นปลาที่สิ่งอยู่ในท่อ หรือลูกปลา(ลูกครอก)ตัวเล็กๆอยู่บริเวณกอหน้า หรือสังเกตสีน้ำขุ่นๆก็จะเริ่มลงมือปั้นคันคูดินให้สูงเพื่อวิดน้ำออกให้แห้ง เมื่อแห้งก็จะลงมือจับปลา ทั้งปลาหมอ ปลาหลด ปลาช่อน ปลาดุก รวมถึงปลาขนาดเล็กอย่างปลาซิว และกุ้งก็จะเก็บมาเพื่อทำเป็นอาหาร เพราะก็อย่างที่รู้กันว่าทหารชั้นประทวนเงินเดือนไม่ได้มาก อีกทั้งมีภาระหนี้สิน หักสหกรณ์ทรัพย์ก็เหลือไม่เท่าไหร่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ครอบครัวทหารชั้นผู้น้อยต้องดิ้นรนต่อสู้ หารายได้เลี้ยงครอบครัว ทั้งจับนก จับตักกระแตนมาขายให้กับครอบครัวทหารด้วยกัน รวมถึงการหาอบายมุขต่างๆ เช่นเล่นไพ่ น้ำเต้าปูปลา รวมทั้งเล่นหวยเสี่ยงโชคเพื่อหารายได้โดยทางลัด รวดเร็ว ได้เงินมาง่ายและเป็นความฝันของคนชั้นผู้น้อย
ครอบครัวของผมถูกชมเสมอว่าพ่อขยันหากินเก่ง ซึ่งลักษณะดังกล่าวส่งมาถึงลูกๆด้วย ที่ชอบไปวิดปลา เก็บแมงอีนูน เพื่อเอาไปขาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...