ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...

   ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่

   หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน

   สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..

    การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..

    ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(privatization of sleep)  การนอนถูกอ้างอิงกับปัจเจกบุคคลที่แนบชิดกับห้องนอน ห้องส่วนตัว เตียงนอนในบ้าน ของสมาชิกในครอบครัวเดี่ยว

    ในสังคมบุพกาล สังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรม อาจนอนในหมู่สมาชิกครอบครัว กลุ่มสายตระกูล กลุ่มเครือญาติ  ผู้นับถือผีเดียวกัน เฉพาะกลุ่มผู้ชาย เฉพาะกลุ่มผู้หญิง หรือเด็กเล็ก  การนอนในสังคมแบบนี้อาจไม่แยกกลางคืนกลางวัน เมื่อไม่ได้ไปล่าสัตว์ หาของป่า หรือทำการเกษตรก็จะนอนได้ทุกเวลา   มีการแชร์สถานที่นอนร่วมกัน (Share sleep space)  แต่การนอนแบบนี้ค่อยๆเปลี่ยนแปบงเมื่อสังคมเข้าสู่อารยธรรมและอุตสาหกรรมในสังคมสมัยใหม่ นับแต่ช่วงศตวรรษที่16-19 ที่ทำให้การนอนเกี่ยวข้องกับเรื่องของศีลธรรม สุขภาพสาธารณสุข และเศรษฐกิจ

    ในทางมานุษยวิทยาที่ทำงานสนาม สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มองว่าการนอนเป็นทั้งลักษณะทางชีววิทยาและทางวัฒนธรรม และมันยังสัมพันธ์กับการจัดประเภทและลักษณะของประสบการณ์มนุษย์...

  ในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก  การจัดประเภทดังกล่าวอยู่ภายใต้วิธีการแยกคู่ตรงกันข้ามระหว่างการตื่นกับการนอน กลางวันกับกลางคืน เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อน ประสบการณ์ว่าด้วยการนอนในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน..

   งานของ Marcel Mauss (1973) เรื่อง Techniques of the body ที่มีการบรรยายการนอน ร่วมกับการปฎิบัติการเชิงร่างกายอื่นๆเช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำเช่นเดียวกับปรากฏการณ์เชิงชีววิทยาและสังคมนี่คือสิ่งที่มาร์คเซลมอสส์บรรยายว่าใันคือนิสัยหรือ(habitus ) อย่างไรก็ตามการนอนมันก็ไม่ได้เป็นธรรมชาติที่แสดงออกผ่านร่างกายและไม่ใช่สิ่งที่ได้รับมาโดยธรรมชาติกับการนอนเท่านั้น..แต่ค่อนข้างเป็นสิ่งที่สำคัญกับความหมายทางวัฒนธรรมและกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

     ย้อนกลับมาที่งานทางมานุษยวิทยาในยุคเริ่มแรก งานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนาไม่กี่ชิ้น ที่อ้างถึง ให้ความสนใจหรือศึกษาเกี่ยวกับการนอน การพูดถึงการนอนมีการอ้างอิงเชื่อมโยงกับความฝันอยู่บ่อยครั้ง  การนอนเสมือนการเปลี่ยนผ่านและการเดินไปยังอีกโลกหนึ่ง  ดังเช่นชาวอินเดียนในอเมริกาใต้ เชื่อเรื่องการนอนเป็นการเดินทางสู่โลกแห่งความฝันซึ่งมีสถานะเท่ากับโลกของความจริง หากในฝันของพวกเขามีใครทำร้าย เมื่อตื่นจากความฝันพวกเขาก็จะเข้าไปทำร้ายคนนั่นคืนในโลกแห่งความจริง

ในเฮติ การนอนเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นเสมือนการเดินทางไปเยี่ยมเยียนพระเจ้า เป็นต้น..

   แม้ว่านักมานุษยวิทยาจะไม่ได้เน้นย้ำหรือสนใจเกี่ยวกับเรื่องการนอนในการเป็นประเด็นของการศึกษามากนัก แต่การนอนหลับก็มักจะแทรกหรือปรากฏในงานสนาม งานขาติพันธุ์วรรณนาในยุคคลาสสิค ตัวอย่างที่เป็นไปได้กับการสังเกตการณ์เกี่ยวกับการนอน การศึกษาการนอนในวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจลักษณะทางโครงสร้าง ว่าใครนอน นอนอย่างไร ที่สำคัญคือพวกเขาคิดกับการนอนอย่างไร

     งานชิ้นสำคัญของมาลีนอฟสกี้ เรือง Argonauts of the western pacific (1922) และ A diary in the strict sense of the Term  (1989) บรรยายความยากลำบากของนักมานุษยวิทยาที่สร้างความยากลำบากในการนอนในช่วงการทำงานภาคสนาม ในพื้นที่ใหม่ที่ไม่คุ้นชิน ในไดอารี่ของเขา เขียนอ้างถึงการไปนอน (went to sleep)  การนอนจึงเป็นเครื่องหมายเช่นเดียวกับการสิ้นสุดของวันและความกระตือรือร้นของเขากับการทำงานสนาม รวมทั้งการอ้างถึงความไม่สามารถนอนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ที่สร้างความกังวลของเขาในการนอนมากกว่าเรื่องการทำงานภาคสนาม

    ในงานเรื่อง Argonauts of the western pacific (1922)  การอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เชื่อมโยงกับการนอนหลับในหมู่บ้าน ในเกาะโทรเบี้ยน เขาบันทึกเกี่ยวกับการสร้างบ้านบนพื้นดิน ที่มืดมากและอุดอู้ ที่ถูกครอบครองโดยสามี ภรรยาและลูกเล็กๆ ส่วนชีวิตลูกเมื่อเป็นวัยรุ่นก็จะแยกบ้าน ภายในบริเวณที่อยู่อาศัยจะใช้ตอนกลางคืนเท่านั้นหรือช่วงที่ฝนตกเปียกชื้น และใช้เพื่อนอนเป็นหลักและการมีเพศสัมพันธ์ แต่ ไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่นๆ 

    ในงานของเลวี่ สเตร๊าท์เรื่อง  Tristes -Tropique   (1961) บันทึกว่าขนเผ่า Bambikwara เป็นสิ่งที่ถูกอ้างกับชนเผ่าเพื่อนบ้านว่าเป็น uaikoakore หรือคนผู้ซึ่งนอนกับพื้นดิน ที่อ้างอิงการนอนของพวกเขาบนพื้นดินที่โล่งเตียน บ่อยครั้งมีขี้เถ้าถ่านจากไฟที่พสกเขาก่อเพื่อรักษาความอบอุ่นในช่วงกลางคืน.                           

Raymond Firth (1936) ในงานWe the Tikopia สร้างจุดสำคัญที่เกี่ยวกับการนอนและตอนกลางคืน  การนอนของTikopia คือระบบสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับพิธีกรรมเฉลิมฉลอง  คือเด็กหนุ่มที่เจ้าพิธีกรรมแรกรับ  ที่ได้รับความเจ็บปวดจากการตัดหรือกรีด หรือขลิบปลายอวัยวะเพศขาย ในข่วงพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน เด็กผู้ชายเป็นสิ่งที่จัดวางการนอนโดยชุมชนของพวกเขา การนอนเสื่อที่ปูอยู่บนพื้น ที่เด็กผู้ชายต้องนอนหลังพิธีกรรม เปรียบดังการกลับไปสู่มดลูกของแม่ที่ให้กำเนิด และเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาในเช้าวันถัดไปก็คือการกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการนอนคือสัญลักษณ์ของการเติบโตและการเปลี่ยนผ่านสู่สถานภาพใหม่ของพวกเขา

    ในงานของ Radcliffe-Brown (1948) บรรยายเกี่ยวกับชาวเกาะอันดามัน ทั้งเด็กผู้หญิงและผู้ชาย ที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ผู้ใหญ่ พร้อมกับพิธีกรรมฉลองที่สำคัญ  ในพิธีของการแยกตัว ที่จะมีการสร้างพื้นที่ควบคุมร่างกาย โดยเด็กชายจะต้องอยู่ด้วยกันห้ามพูดห้ามนอน 48 ชั่วโมง และเด็กผู้หญิงจะต้องอยู่ด้วยกันไม่พูดหรือไม่นอน 24 ชั่วโมง จึงจะถือว่าสมบูรณ์

  เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนที่เรียกว่า Kula  ของชาวเกาะโทรเบี้ยน ที่ผู้นำเรือแคนู ที่เรียกว่า Towlinga จะมีพิธีกรรมและข้อห้ามที่เคร่งครัด เช่น การต้องนอนคนเดียวลำพัง ในขณะที่ผู้ชายหนุ่มคนอื่นจะนอนอยู่ด้วยกัน..

    นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการนอน ทั้งในแง่ของอันตราย การควบคุม หรือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่าน เติบโต เกิดใหม่ และการเดินทางไปยังอีกโลกหนึ่ง  การนอนถูกเรียนรู้ร่วมกัน ถูกถ่ายทอด ตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ ...ในโลกดั้งเดิม ที่เปลี่ยนผ่านสู่โลกสมัยใหม่ การกำหนดช่วงเวลาการนอนที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ท่านอนของทารก เด็กและผู้ใหญ่ที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนอน เช่น ผ้าห่ม หมอน เตียงนอน และอื่นๆ อาชีพที่สัมพันธ์กับการนอนและห้ามนอน การทำงานกลางวันกลางคืน  โลกออออนไลน์ การซื้อของออนไลน? การพูดคุย การดูซีรี่ส์ย้อนหลังได้ยาวๆ การดูรายการทีวีตลอดวันที่กระตุ้นการไม่หลับไม่นอน และอื่นๆ ล่วนช่างน่าสนใจยิ่งในปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง