ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(6)


ทีวีสาธารณะ ทีวีที่หาดูได้ยาก ต้องดูกันทุกคน
บ้านหลังใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นโรงสี โรงเลี้ยงหมู และทำกิจการรถสองแถวรับจ้างเข้าออกในหมู่บ้านหนองมะเกลือเป็นบ้านหลังแรกที่มีทีวีในหมู่บ้าน เพราะมีเครื่องปั่นไฟสำหรับโรงสี ผม น้องชายและพ่อแม่ พร้อมกับชาวบ้านหลายคน เข้ามานั่งดูหนังดูละครที่บ้านหลังนี้ เพราะอยู่ที่บ้านผมและครอบครัวจะมีทีวีขาวดำเครื่องเล็กๆยี่ห้อธานินท์ ที่ใช้คงทนมากตั้งแต่ผมเด็กจนถึงประมาณป.5-6 ผมจึงมีทีวีสี ทีวีขาวดำเครื่องแรก เป็นทีวีที่ทำจากไม้สักอย่างดี และบริเวณตัวเครื่องจะมีฉากไม้สามารถเปิดปิดได้เลื่อนเข้าออกได้ และมีปุ่มปรับจูนช่องเป็นวงกลมที่สามารถหมุนเพื่อปรับหาช่องได้ จนกระทั่งมีทีวีสียี่ห้อวีสตาร์
ผมจำได้ว่าตอนเป็นเด็กผมไม่มีทีวีสี บางครั้งอยากดูโทรทัศน์สามมิติที่จะดูพร้อมแว่นตาทำจากฟิล์มสีแดงสีน้ำเงินก็ต้องอาศัยบ้านของจ่าทหารที่ค่อนข้างมีฐานะที่มีห้องแถวอยู่ไม่ไกลกันกับของผมเท่าไหร่นัก จำได้ว่ามีลุงมีชัย ป้าปี พ่อแม่ของปุ้ยและโอปอ เป็นคนแรกๆที่ขายของในค่ายเป็นคนแรกที่มีทีวีสี ผมและน้องแวะเวียนไปเล่นที่นั่นเป็นประจำจนครอบครัวพวกเราสนิทสนมกันมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งลุงมีชัยป้าปี ย้ายไปสร้างบ้านอยู่ที่บ้านโนนสูงน้ำคำและไม่ได้อยู่ที่ค่ายทหาร ทำให้ผมและน้องไปสนิทกับครอบครัวของลุงม้วนและป้านาง พ่อแม่ของพี่ปู พี่กุ้ง พี่กบซึ่งเป็นลูกสาวล้วนของแก  ลุงม้วนเป็นทหารเสนารักษ์เด็กทุกคนในค่ายจะรู้จักดี เพราะแกจะเป็นคนฉีดยาให้เด็กทุกคน บ้านของแกจะขายของ และมีบ่อน้ำขนาดใหญ่เลี้ยงปลานิลและปลาประเภทต่างๆ มีต้นงิ้วใหญ่ที่แปลูกไว้เอานุ่น ผมและน้องเคยไปช่วยแกแกะนุ่น เลือกเมล็ดออกจากนุ่นเสมอ  และชอบมานั่งดูทีวี ที่พี่กุ้งพี่กบ มักจะเปิดรายการทีวีเพลงของแจ้ ฟรุ๊ตตี้ กุ้งตวงสิทธิ์ และศิลปินค่ายนิธิทัศน์อื่นๆที่ดังในยุคนั้น ทำให้ผมเป็นคนชอบร้องเพลง ซึ่งข้าพเจ้าและน้องกลับชอบทีวีสีและมาดูที่บ้านของแกมากกว่าทีวีขาวดำที่บ้านตัวเอง
ร้านค้าของป้านางและลุงม้วน มักจะมีขนมใหม่ๆมาเสนอ ขนมในยุคนั้นเป็นขนมจำพวกขนมโก๋ ขนมแป้ง ขนมผิงรูปปลา ไก่หยอง หมูหยอง รวมถึงขนมที่ซื้อแล้วมีการจับสลาก ได้การ์ตูน สมุด ดินสอ ยางลบ หรือปากกา นั่นคือขนมสมัยนั้น สมัยนั้นผมเยซื้อไก่หยองถุงละบาทมาคลุกเคล้ากับข้าวร้อนๆเหยาะซอสปรุงรสก็สามารถอิ่มได้หนึ่งมื้อ นี่คือชีวิตในค่ายทหาร
แต่เมื่อมาอยู่ที่บ้านหนองมะเกลือ ผมกับพบว่า ทีวีแม้มีเพียงเครื่องเดียวและก็ไม่ใช่ทีวีสี แต่เป็นทีวีขาวดำ แต่ทว่าก็มีความสำคัญกับคนในหมู่บ้านในการเป็นสื่อต่อเติมความสุข แม้แต่ตัวผมเองที่อยากดูรายการทีวี ละครทีวี โทรทัศน์เครื่องนี้ก็เติมเต็มได้สมบูรณ์ แม้ว่าจะต้องเสียเงินคนละหนึ่งบาทเป็นการช่วยค่าไฟเจ้าของบ้าน รวมทั้งไม่สามารถจะเปลี่ยนช่องไปไหนได้ ต้องตามใจเจ้าของบ้านและนั่งดูร่วมกันแต่ต้นจนจบ บางครั้งจะมีการเช่าหนังหรือวีดีโอมาขายเพื่อเก็บเงินกับเด็กในหมูบ้านและชาวบ้าน จึงไม่น่าแปลกว่าวัฒนธรรมหนังกลางแปลงสะท้อนพื้นที่ชุมชนได้ดีเช่นเดียวกัน เมื่อเวลามีงานสำคัญของชุมชน เช่นงานวัด งานบุญแจกข้าว  กฐิน ผ้าป่า ความคาดหวังของเด็กๆและผมกับน้องก็คือ การได้ดูหนังกลางแปลง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...