ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตเอ็นจีโอ(5)


ธงเขียว ขึ้นป้าย พื้นที่ของพรมแดนแห่งการสร้างความเป็นอื่น คู่ตรงกันข้าม
       ธงเขียวสีใบตองอ่อนคือสัญลักษณ์ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำได้ว่า สัญลักษณ์ของกลุ่มพี่สุวิทย์ให้น้องที่รู้จักเป็นคนออกแบบ เพราะจะต้องใช้ครั้งแรกในช่วงของบุญกุ้มข้าวใหญ่ครั้งที่1 เพราะจ้ะองระดมทุนเพื่อการเคลื่อนไหว การทำผ้าป่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งในซองผ้าป่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าวใหญ่ ผู้เขียนเป็นคนเรียบเรียงข้อความ และเขียนสโลแกนในซองผ้าป่าว่า ข้าวคือชีวิต คือวิถีชีวิตเกษตรกรรม ต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องเกลือเข้าไป
นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าว ความสำคัญของวิถีชีวิตชาวนาที่สัมพันธ์กับเรื่องของที่ดิน ผลกระทบจากโครงการขุดเจาะเกลือและโพแทชที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตการเกษตร การทำบุญกุ้มข้าว นอกจากจะเป็นการรื้อฟื้นและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ต้องการสร้างความสามัคคีการร่วมกันเสียสละข้าวเปลือกแล้ว ยังเพื่อใช้ในงานบุญของวัดและ ของหมู่บ้าน และส่วนหนึ่งทางวัดก็จะขายเป็นเงินเพื่อนำไปพัฒนาวัดและหมู่บ้านต่อไป โลโก้รูปข้าว น้ำและปลาที่แสดงถึงกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี  จึงเป็นสิ่งที่จะต้องถูกประทับไว้ในซอง ก่อนที่ในปีต่อๆมารูปแบบโลโก้จะเปลี่ยนไปและไม่ได้ใช้ตราประทับแต่พิมพ์ไว้ในแผ่นพับที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ของบุญกุ้มช้าว และรายชื่อของเจ้าภาพผ้าป่า จากหมู่บ้านต่างๆ สัญลักษณ์ของกลุ่มดังกล่าวปรากฏผ่านธงเขียวที่จะติดไว้ที่หน้าบ้านของแต่ละคนใน หมู่บ้านต่างๆที่เข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
        นอกจากนี้ ยังมีการเขียนป้ายโดยผมกับน้องที่เป็นนักพัฒนาเอกชนในองค์กรเดียวกัน และกลุ่มเยาวชน ที่ไปขอผ้าฝ้ายดิบที่ไม่ใช้แล้วจากวัด ซื้อพู่กันและสีเอามาเขียนป้าย โดยคิดคำต่างๆที่ง่ายๆ กินใจ  และรุนแรง เช่น โปแตชมาปูปลาตายหมด โปแตชออกไปจากชุมชน  เราไม่เอาเหมืองแร่โปแตช

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...