อาจกล่าวได้ว่าทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม บนดินแดนแห่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ถูกจัดการและวางแผนภายใต้การพัฒนาของรัฐมาตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ.2504 เป็นต้นมา ซึ่งอีสานได้กลายเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่มีความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาล โดยเฉพาะทรัพยากรแร่ธาตุใต้พื้นดินที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ ทรัพยากรใต้แผ่นดินของจังหวัดอุดรธานี จึงไม่ได้เป็นของคนอุดรธานีเท่านั้น แต่หากได้กลายมาเป็นทรัพยากรของชาติ ของคนในประเทศ ที่เป็นเจ้าของร่วมกันในการสร้างความเจริญให้กับประเทศชาติ ภายใต้การลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ที่มีศักยภาพความพร้อมทางด้านเงินลงทุน ความรู้และเทคโนโลยีอันทันสมัย
![]() |
การทำเหมืองใต้ดินด้วยวิธีการที่เรียกว่า Room and Pillar |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น