ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตเอ็นจีโอ(1)


 ยื่นหนังสือ ล่าลายเซ็น การศึกษาดูงานกรณีปัญหา บ่อนอก หินกูด น้ำพอง
วิธีการต่างๆในการเคลื่อนไหวต่อสู้และต่อรองกับอำนาจ มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือ การล่ารายชื่อชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆรอบโครงการเพื่อแสดงการคัดค้าน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดมนการเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชน ไปจนถึงการชุมนุมเรียกร้อง เพี่อต่อรองกับรัฐบาล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งในหลายกรณีนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตาม ตรวจสอบปัญหา ร่วมกับทางหน่วยงานราชการ รัฐบาล อย่างกรณีปากมูลมีคณะกรรมการเป็นร้อยชุด อย่างกรณีเหมืองแร่โปแตชก็มี10-20 ชุด ซึ่งการตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมอาจจะไม่ใช่หนทางที่นำไปสู่ข้อยุติ แต่ก็เป็นเสมือนกับเครื่องถ่วงดุล ตรวจสอบอำนาจและทำให้การเกิดขึ้นของโครงการชะงักงัน หรือเลื่อนออกไป การเกิดขึ้นของคณะทำงานศึกษาในกรณีปัญหา เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอและนับรู้ปัญหา
ดังเช่นตอนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานและประสานกับทางจังหวัด กับชาวบ้านเรื่องกำหนดการประชุม ได้เห็นความตื่นตัวของชาวบ้าน เมื่อหลังจากได้เข้ารับฟังและร่วมประชุมแล้ว ก็จะจัดประชุมในหมู่บ้าน เพื่อรายงานให้พี่น้องทราบความคืบหน้าในอีกด้านหนึ่งก็เป็นเครื่องยืนยันสถานะตำแหน่งและการทำบทบาทหน้าที่ของตนเองในคณะกรรมการชุดนั้น และสะท้อนให้เห็นการตื่นตัวของการเมืองภาคประชาชนในระดับรากหญ้า แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของคณะกรรมการอย่างกรณีเหมืองแร่โปแตช นำไปสู่การตรวจสอบในเชิงของนโยบาย ในระดับประเทศ เช่นเรื่องของกฎหมายแร่ การจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญปี2540 พรบ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือแม้แต่สัญญาที่บริษัทข้ามชาติได้ทำกับรัฐบาลไทย ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น
 แม้ว่า กฎหมายแร่จะผ่านแต่บริษัทก็ต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ตามกฎหมายแร่ใหม่และรัฐธรรมนูญปี2540 ที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการต่อสู้ผลักดันของประชาชนในระดับรากหญ้าทั้งสิ้น ซึ่งต้องผ่านการยื่นหนังสือ การชุมนุมประท้วง เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง และสะท้อนเสียงเหล่านี้ให้รัฐบาลได้ยินและลงมาดูแลและสั่งการตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่สิ่งที่สะท้อนได้ชัดก็คือแม้ว่าประชาชนจะสามารถสะท้อนเสียงตนเองไปยังผู้มีอำนาจและสร้างอำนาจในการต่อรองให้เกิดขึ้น แต่ชัยชนะที่เกิดเป็นชัยชนะในระดับแรกเริ่มเท่านั้น ยังไม่ใช่ชัยชนะในระดับปลายสุด ที่จะสามารถนำไปสู่การล้มเลิกโครงการ แม้แต่องค์กรอิสระต่างๆก็ไม่อาจอยู่ข้างประชาชนบนฐานของความถูกต้องชอบธรรมตามความต้องการของมนุษย์ตามธรรมชาติที่อยากจะให้เป็น แต่เป็นการตัดสินโดยอ้างเหตุผลตามตัวบทกฎหมาย
ในกรณีของโครงการเหมืองแร่โปแตช แม้จะมีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายแร่ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ในเรื่องของแดนกรรมสิทธิ์ การจำกัดสิทธิ์และลิดรอนเสรีภาพของประชาชน แต่ท้ายที่สุดก็กลับตัดสินว่ากฎหมายแร่ดังกล่าวไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือในตัวอย่างเรื่องสัญญา ตัวสัญญาก็ไม่ได้มีการยกเลิกเพียงแต่ให้บริษัททรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าโครงการเหมืองแร่โปแตชยังเป็นหนังเรื่องยาวที่ชาวบ้านจะต้องต่อสู้กับอำนาจการตัดสินใจภายใต้เงาของรัฐบาลและกลุ่มทุนข้ามชาติที่จะเข้ามากอบโกยทรัพยากรใต้พื้นดินอีสาน เพราะประชาชนยังไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหรือตัดสินอนาคตของตนเองที่แท้จริงแต่อย่างใด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...