ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(14)


เก็บผักหวาน เก็บเห็ด ดอกกระเจียวและอีลอก
ถึงฤดูแล้งที่แสงแดดจากไฟแผดเผาต้นไม้และทุ่งหญ้า รวมถึงไฟลามไหม้ป่า พืชผักต่างๆก็แห้งและมีเถ้าถ่านสีดำเปื้อนพื้นดิน เมื่อมีฝนลงมาพืชพันธุ์เหล่านี้ก็จะกลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะกอผักหวานจะแตกใบสีเขียวอ่อน ชูช่อให้เราเก็บไปใส่แกงเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม ผมกับพ่อจะต้องจำบริเวณที่มีต้นผักหวานขึ้น จากนั้นเมื่อถึงช่วงที่ผักหวานออกยอด เราก็จะมาเก็บเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อน เมื่อได้เต็มกำมือก็จะนำมาใส่ใบตองกรุง เพื่อมัดไม่ให้ยอดใบ หรือก้านมันหักหรือแตก จากนั้นใช้เถาวัลย์เส้นเล็กๆที่หาได้ตามป่ามามัด  ผักหวานเป็นพืชที่แตกใบอ่อนได้เสมอเมื่อเก็บยอดมันแล้วมันก็จะแตกใบขึ้นเรื่อยๆ ผักหวานสามารถนำไปแกงใส่ปลาแห้งหรือไข่มดแดงอร่อยมาก
นอกจากนี้ยังมีพืชผักชนิดอื่นในช่วงนี้ ทั้งดอกกระเจียวสีขาว สีชมพู ที่แทงยอดโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน ลำต้นอวบขาวสามารถที่จะใช้มีดกดลงไปเพื่อให้ได้ดอกกระเจียวที่ติดก้านหรือลำต้นสีขาว โดยไม่เอาหัวมันขึ้นมาเพื่อให้มันเกิดในครั้งต่อไป ดอกกระเจียวที่ได้จะนำไปลวกกินกับน้ำพริกหรือแจ่ว นึ่งปลา โดยดอกกระเจียวที่เก็บจะต้องเป็นดอกอ่อนไม่ใช่ดอกแก่
พืชผักอีกชนิดที่จะออกในช่วงฤดูฝนคือนางลอกหรืออีลอก ลักษณะปลายยอดจะมีดอกเรียวยาวสีขาวออกเหลือง ลำต้นยาวสูงประมาณ30 เซนติเมตร โดยลำต้นจะมีสีเขียวเป็นลายเหมือนเสือดาว กอหนึ่งของต้นอีลอก จะมีหนึ่งดอก เวลาจะกินจะลอกเปลือกและใยออกเหมือนสายบัว นำไปล้างหั่นเป็นท่อนๆ ไปแกงหรือผัดได้
นอกจากนี้ป่าบริเวณนี้จะมีพืชจำพวกเห็ดเกิดขึ้น ทั้งเห็ดละโงกจะเกิดขึ้นเป็นหมู่ท่างดอกบาน ดอกตูมหรือไข่เห็ด สีขาวสีเหลือง เมื่อกวาดใบไม้ออกจะพบกับเห็นชนิดต่างๆ เช่นเห็ดน้ำหมากที่มีสีแดง เห็ดถ่านมีสีดำ และเห็ดผึ้งหวานที่มีดอกสีขาวเทา และสีเหลืองอมทอง เห็ดโคน เห็ดปลวกจิก เห็ดปลวกขี้ไก่น้อยที่จะดอกเล็กมากเกิดกันเป็นหมู่สามารถเอาไปหมกหรือต้นกลิ่นหอมอร่อย รวมทั้งเห็ดชนิดอื่นๆ เช่น เห็ดหำพระ เห็ดมันปู และเห็ดตระไค ซึ่งมักจะเกิดอยู่บริเวณกอหญ้าตะไคสีขาว ลักษะของดอกจะไม่บานมากลำต้นอวบใหญ่ มีกลิ่นหอมนำไปใช้ทำป่นเห็ด โดยย่างไฟให้หอม โขลกเข้ากับพริก กระเทียม หอมที่ย่างไฟเรียบร้อยแล้ว อาจใส่เนื้อปลาย่างหรือน้ำปลาแมงดาเพื่อให้มีกลิ่นหอม กินกับข้าวสวยหรือข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ โดยมีผักชนิดต่างๆเป็นเครื่องเคียง พ่อ แม่ ผมและน้องจะดีใจมากที่เจอเห็ดชนิดนี้เพราะหากินยากราคาค่อนข้างแพง
เวลาไปหาเห็ดเราจะไปแต่เช้า เพื่อไม่ให้แดดร้อนมาก บางคนไปหาตอนกลางคืนที่เรียกว่าไต้เห็ด หรือส่องเห็ด แต่พ่อของผมและแม่มักจะไปตอนเช้าตรู่ เวลาไปก็จะต้องเตรียมตะกร้า เตรียมมีด และไม้เอาไว้เขี่ยหาเห็ดตามพื้นดินที่มีใบไม้มาทับถม บางครั้งเราหาได้มากเราก็เอาใส่ถุงไปขายที่ตลาดหรือคนที่รู้ว่าเราเก็บเห็ดก็จะมาขอซื้อถึงที่บ้าน
ผมได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการไปเก็บเห็ดกับพ่อ ทั้งในแง่ของความรู้เกี่ยวกับเห็ดชนิดต่างๆที่กินได้หรือไม่ได้ วิธีการดูเห็ดว่าเห็ดไหนมีพิษไม่มีพิษ รวมถึงพืชในป่าที่กินได้หรือกินไม่ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...