ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(5)


ป่าช้าประจำหมู่บ้าน
ลักษณะเด่นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของบ้านหนองมะเกลือก็คือ พื้นที่นาซึ่งกว้างใหญ่ไพศาล บางครอบครัวมีที่นา40-50 ไร่จนกระทั่งถึง100 ไร่ แต่เมื่อพ่อแม่ตายก็กระจายมรดกเหล่านี้ให้กับลูกๆ ซึ่งแต่ละครอบครัวมีลูกถึง 10 คนก็มีมาก เพราะต้องใช้เป็นแรงงานในภาคการเกษตร อย่างเช่นครอบครัวของแม่ผมก็มีถึง8 คน แต่ก็มีตายไปตั้งแต่เด็กถึง 2 คน ดังนั้นจะว่าไปจริงๆแล้วย่าผมมีลูกถึง 10 คน แม่ของผมเป็นคนรอง  จนกระทั่งยุคที่รัฐบาลรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด พร้อมทั้งออกคำขวัญเตือนใจเรื่องการมีลูกมากจะยากจน ทำให้จำนวนประชากรลดลง แรงงานในภาคการเกษตรที่เคยใช้ระบบเครือญาติหรือสมาชิกในครอบครัวต้องใช้การจ้างแรงงานจากหมู่บ้านอื่นเข้ามา
ผมกับพ่อเคยเข้าไปหาเห็ดกันอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นเห็ดละโงก เห็ดน้ำหมาก เห็ดถ่านออกกันมาก ท่านและผมจึงพากันเดินเข้าไปในโคกหรือปาของหมู่บ้าน เราเดินไปไกลเป็นระยะเวลานานมากก็ยังไม่ถึงป่าเห็ดและเดินวนเวียนในป่าแห่งนี้
ผมสังเกตเห็นคราบสีดำบริเวณพื้น เศษข้าวของเครื่องใช้ เงินและมีดที่ถูกเผา ผมจะเข้าไปเก็บแต่พ่อก็ห้ามไว้ ท่านไม่พูดอะไร จนกระทั่งออกจากป่าท่านจึงบอกว่าป่าที่เราเข้าไปคือป่าช้า ที่ท่านไม่พูดอะไรเพราะท่านเกรงว่าผมจะกลัวและขวัญกระเจิงวิ่งป่าราบไป พื้นที่บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่าป่าช้า เชิงตะกอนของหมู่บ้านที่เขาจะเอาศพมาเผาหรือผังบริเวณนี้ โดยจะมีการเผาร่างคนตาย พร้อมกับเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องมือในการเกษตร เพราะพวกเขามีความเชื่อในเรื่องโลกอีกโลกหนึ่งที่เป็นที่รวมของวิญญาณคนตาย วิญญาณบรรพบุรุษที่คล้ายกับโลกของเราซ้อนทับโลกเราอยู่ กินอาหารใช้สิ่งของเหมือนพวกเรา พวกเขาจึงเผาเพื่อส่งสิ่งของเหล่านี้ให้กับผู้ตายและทำบุญข้าวสาร อาหารแห้ง ไปให้กับคนตายเพื่อใช้ในโลกหน้า
บริเวณหัวไร่ปลายนามักจะพบสถูปเจดีย์ใส่อัฐิอยู่บริเวณเนินดินตรงคันนาหรือใกล้เถียงนา(ขนำกลางทุ่ง)นี่คือวิญญาณของปู่ย่าตายายที่มีความรักหวงแหนแผ่นดิน ผมรู้สึกกลัวผี แต่คนที่นี่เขาอยู่กับผีที่เขาเรียกว่าวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เชื่อมโยงกับวิถีการผลิต ช่วยปกปักรักษาไร่นา ดูแลบผลผลิตให้มีความอุดมสมบูรณ์และตอกย้ำความเป็นมูลมังของบรรพบุรุษ แม้ว่าปัจจุบันการรุกคืบขอบงอุตสาหกรรม ความเจริญต่างๆ มีการสร้างหมู่บ้าน สร้างสำนักงานต่างๆ ทับที่ของบรรพบุรุษ พร้อมกับการประกาศขายพื้นที่ดังกล่าว มูลมังของบรรพบุรุษกลายเป็นทรัพย์สินมากกว่าคุณค่าทางด้านจิตใจ หรือนี่คือสิ่งที่เรียกว่า ทุนนิยมยุคโลกาภิวัฒน์ที่ความทันสมัยและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ลดทอนมิติทางด้านจิตวิญญาณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...