ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติหนองหานกุมภวาปี


แผนทีหนองหานกุมภวาปี
หนองหานกุมภวาปี (ดูแผนที่ที่1.1) เป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 22,500 ไร่ (ในหนังสือสำคัญสำหรับที่ทางหลวงสาธารณประโยชน์ระบุว่ามีเนื้อที่ 18,025 ไร่ 3 งาน 18 3/10 ตารางวา) ครอบคลุมพื้นที่ ใน3 อำเภอ คือ  อำเภอกุมภวาปี กิ่งอำเภอกู่แก้ว และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านพื้นที่  97 หมู่บ้าน 8 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอุ่มจาน ตำบลนาม่วง กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม  ตำบลคอนสาย ตำบลแชแล กิ่งอำเภอกู่แก้ว   ตำบลเวียงคำ ตำบลตูมใต้ และตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี หนองหานกุมภวาปีถือว่า เป็นหนองน้ำที่มีความสำคัญเพราะเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำปาว หนึ่งในลำน้ำสาขาสำคัญของลำน้ำชี และหนองหานมีลำห้วยสาขาหลายสายที่ไหลมาบรรจบกัน เช่น ห้วยสามพาด ห้วยลักนาง ห้วยหัวเลิง ห้วยไพจาน  ห้วยกองสี ห้วยหิน ห้วยวังแสง ห้วยโพนไฟ ห้วยบ้านแจ้งและห้วยน้ำฆ้อง ที่หล่อเลี้ยงผู้คนที่อาศัยอยู่รอบหนองหาน ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์ปลา และน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เพื่อการเกษตร มาตั้งแต่อดีตและมีความสัมพันธ์กับมิติทางประวัติศาสตร์ชุมชน สังคมวัฒนธรรม ความเชื่อของคนลุ่มน้ำหนองหานที่เล่าผ่านนิยายปรัมปราพื้นบ้าน คือ ตำนานผาแดง นางไอ่ ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือหลักฐานทางโบราณคดี ระบุว่า บริเวณหนองหานเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว และเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนหนาแน่นมาตั้งแต่โบราณ และเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองโบราณ ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน บริเวณดอนแก้ว ตำบลตูมใต้ ซึ่งเป็นเกาะกลางหนองหาน (ศรีศักร วัลลิโภดม2519:29-30) เนื่องจากมีร่องรอยของใบเสมาหินศิลปะสมัยลพบุรี ปรากฏอยู่ที่บ้านดอนแก้ว ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นเรียกว่า ดอนหลวง หรืออาจจะเป็นเมืองขอมตามตำนานผาแดงนางไอ่ที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมา  แต่จากข้อสันนิษฐานทางโบราณคดี ก็อาจกล่าวได้ว่า บริเวณเขตหนองหานกุมภวาปี เป็นพื้นที่ที่มีการรับเอาวัฒนธรรมและการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากต่างถิ่นเข้ามาผสมผสานเป็นของตนเอง  รวมทั้งจากหลักฐานนิยายปรัมปรา และตำนานอุรังคธาตุ ได้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนในบริเวณนี้มีพวกที่อพยพมาจากที่อื่นๆ เข้ามาเช่นทางตอนเหนือตอนใต้ของแม่น้ำโขง ซึ่งมีคนหลายเหล่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวและเกิดเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ดังนั้นในเขตนี้จึงมีวัฒนธรรมหลายแบบหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี ในศตวรรษที่12 ซึ่งแคว้นหนองหานน้อยที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหนองหานหลวง ( หนองหานสกลนคร ) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของลุ่มน้ำชี ในศตวรรษที่ 12 นี้เอง ที่วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาจากลุ่มน้ำชี ได้แผ่ขยายบ้านเมืองในเขตหนองหานกุมภวาปี  มีการรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามานับถือ และสร้างเสมาหินขึ้นปักเขตศักดิ์สิทธิ์ ดังที่พบในพื้นที่ดอนหลวง ซึ่งเป็นเกาะกลางหนองหานกุมภวาปี จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่16 ในสมัยลพบุรี ที่วัฒนธรรมขอมก็แผ่ขยายลงมาผ่านหนองหานกุมภวาปี และเข้ามาในแอ่งสกลนคร ทำให้เกิดเมืองและศาสนสถานแบบขอม ปรากฏอยู่หลายพื้นที่บริเวณแถบอำเภอหนองหาน สภาพพื้นที่ของหนองหานได้ถูกบรรยายเมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จผ่านเมืองกุมภวาปี เมื่อครั้งมาตรวจราชการมณฑลอีสานว่า
“[เมืองกุมภวาปี] เวลาบ่ายสามโมง ไปเที่ยวตามทางหมู่บ้าน ข้างหลังหมู่บ้าน ออกไปเป็นทุ่งใหญ่ แลเห็นหนองหาร ทุ่งนี้แลดูกว้างใหญ่มากโดยยาวกว่า ๑๐๐ เส้น ตกขอบหนองหารกลางทุ่งมีเนินเล็กๆ ไม้ขึ้นเป็นพุ่มอยู่สักแห่งหนึ่งสองแห่ง ราษฎรปล่อยโคกระบือและม้าออกกินหญ้าเป็นฝูงๆ หนองหารนี้มีชื่อเสียงมาในพงศาวดาร เป็นหนองใหญ่มาก มีชาวบ้านตั้งหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองประมาณ ๒ วัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะห่างจากเมืองกุมภวาปี 200 เส้น มีเกาะในหนองเรียกว่าเกาะดอนแก้ว มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะด้วย น้ำหนองหารนี้ไหลลงน้ำปาวไปตกลำพาชี... (ดำรงราชานุภาพ 2521: 16)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...