ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลังเรียนมหาวิทยาลัย(5)


การประชุมในวันนั้นถือว่าได้ผลอย่างมาก ผมได้รู้จักผู้เฒ่าหลายคนที่รักชาติบ้านเมืองไม่ว่าจะเป็นแม่เบ้า แม่สา(ซึ่งต่อมาผู้เขียนได้มาอาศัยอยู่บ้านยายสา และได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องผ้าไหม การหากบ และยังไปมาหาสู่กันด้วยความเคารพเสมอ)รวมถึงคนอื่นๆที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องเหมืองแร่โปแตชและไม่ต้องการให้มันเกิด รวมทั้งแม่มณี ที่เป็นอบต.บ้านสังคม(ตอนหลังเป็นรองประธานกลุ่มอนุรักษ์ ปัจจุบันเป็นประธานสภาอบต.ห้วยสามพาดและได้รับรางวัลสตรีดีเด่นจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ที่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงการและอยากร่วมต่อต้าน รวมถึงการจะช่วยประสานกับผู้นำหมู่บ้านอื่นๆ ที่แม่มณีรู้จักเนื่องจากท่านเคยประกอบอาชีพขายหวยและส่งขนมทองม้วนขายทำให้รู้จักคนมากและกว้างขวางทั้งในระดับหมู่บ้านและนักการเมืองท้องถิ่น
หลังจากนั้นผู้เขียนก็เริ่มต้นที่จะทำตารางการประชุมหมู่บ้านต่างๆ ทุกวันไม่ได้หยุด ซึ่งการประชุมก็จะมีทั้งที่ไปคนเดียวบ้าง ไปกับพี่สุวิทย์และพี่เกรียงศักดิ์ บ้าง แต่ในช่วงหลังๆที่สามารถประชุมหมู่บ้านต่างๆเกือบ20 หมู่บ้าน และประมาณ 15 หมู่บ้าน ที่มีคณะกรรมเข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จนสามารถที่จะจัดการประชุมเพื่อตั้งคณะกรรมการและจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการทำงานนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนกว่า ซึ่งถือว่าเร็วมากเพราะสถานการณ์ช่วงนั้นกดดันหลายด้าน ทั้งในแง่รายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ของบริษัทAPPCจากแคนาดา กำลังจะผ่าน รวมถึงเรื่องกฎหมายแร่ฉบับแก้ไขด้วย
ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวทำให้เราต้องมีการสร้างกลุ่มองค์กรที่เป็นทางการเข้ามาขับเคลื่อนและต่อรองทางนโยบาย ซึ่งในวันที่ 17 มกราคม 2545 ถือได้ว่าเป็นวันที่เริ้มก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งตอนแรกมีผู้เสนอว่าให้เอากลุ่มต่อต้าน แต่เนื่องจากชื่อกลุ่มต่อต้าน มันมีความหมายโจ่งแจ้งและมีทิศทางตรงอย่างเดียวเลยมีมติว่าให้เอากลุ่มอนุรักษ์ ฯซึ่งเป็นกลุ่มที่ตัวแทนชาวบ้าน 16 หมู่บ้าน 3ตำบลร่วมสนับสนุน และมีสีประจำกลุ่มคือเขียวใบตอง ซึ่งได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มรวงข้าวสีเขียว ธงเขียวเพื่อบ่งบอกความเป็นกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและต่อต้านโครงการของบริษัทข้ามชาติที่จะเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อมและกอบโกยเอาทรัพยากรของชุมชน
        อันที่จริงแล้วแล้ว กระบวนการที่สามารถทำให้เกิดกลุ่มองค์กรชาวบ้านได้ ไม่ใช่เพียงแค่การจัดประชุมให้ข้อมูลความรู้ หรือถามความเห็นของชาวบ้านต่อโครงการ ความสนใจที่จะร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อติมตามเรื่องเหมืองแร่โปแตช เท่านั้น ซึ่งยังต้องมีกระบวนการต่างๆก่อนหน้านั้น ที่จะทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจ ในตัวของคนทำงานในพื้นที่ และเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการต่อสู้เคลื่อนไหวต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิของชุมชน  การเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาการร่วมในกรณีของกฎหมายแร่การยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพรบ.แร่ในช่วงนั้น กับพ..สมคิด สีสังคม อ.จอน อึ้งภากรณ์ รวมถึงการลงพื้นที่เหมืองบำเหน็จณรงค์ ที่ชัยภูมิ ร่วมกับวุฒิสภา ทำให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อมั่นว่ายังมีหลายๆองค์กรช่วยเหลือชาวบ้าน ชาวบ้านไม่ได้โดดเดี่ยว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...