ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เธอ ผู้เเป็นแรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจ ทำให้เกิดพลังสร้างสรร สิ่งต่างๆได้อย่างไม่หยุดยั้ง แม้สิ่งที่คิดว่าจะทำไม่ได้ ในชีวิตไม่เคยจะทำ ก็ลุกขึ้นมาทำ  บางครั้งเราอยากจะทำอะไรบางอย่างที่ไม่กล้าจะทำ ก็สามารถทำได้ เช่น ในเรื่องของเพลง ผมเขียนเพลงหลายเพลง เพลงแต่ละเพลงบ่งบอกความคิด ความฝัน ความหวังของตัวผมกับบางสิ่ง แม้ใกล้เอื้อ หรือเกินเอื้อม ทั้งสมหวัง หรือผิดหวัง อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจที่ดีให้กับเรา ในการก้าวไปข้างหน้า อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ต้องบอกว่า I'am Possible ไม่ใช่ Impossible

เพลงเจ้าหญิงองค์น้อย คำร้อง ทำนอง โดย ต้นตะวัน
เจ้าหญิงองค์น้อย หลับฝันนิทรา ใต้แสงจันทรา มีชายคนหนึ่งจะคอยกล่อมเธอนอน ขับบรรเลงเสียงเพลงด้วยความรู้สึกข้างใน
อาจไม่มีดอกไม้ช่อใหญ่ แต่มีหัวใจ
เพลงทุกเพลงที่เขียนให้เธอ มันมาจากหัวใจ เก็บเอาดาวมาร้อยมาเรียงขีดเขียนทำนอง เอาท้องฟ้าเป็นกระดาษ พระจันทร์มาเป็นปากกา แต่งเนื้อเรียบเรียงทำนอง ภายใต้ดาวสดใส
****เจ้าหญิงเธอไม่ต้องกลัว เธอไม่ต้องกลัว จะไม่มีใครทำร้าย เจ้าหญิงขอเพียงเธอหลับตา และฟังเสียงเพลงกล่อม
คืนนี้เธอจงนอน จะกล่อมให้เธอฝันดี
เจ้าหญิงองค์น้อย  เธอจงฝันดี  ในยามราตรี มีชายคนหนึ่งจะคอยอยู่เคียงกัน


เพลง ดาว ฉันและเธอ
ในคืนที่ฟ้าพร่างพราวด้วยหมู่ดาว สองเราเคยคู่กัน ท้องฟ้าดูช่างเชิดฉัน
อาบอุ่นหัวใจด้วยเหงาของแสงจันทร์ เธอหลับตาฝัน ในอ้อมแขนของฉัน
*ดาวทอแสงประกาย พระจันทร์ก็ยิ้มทักทาย โลกก็ดูสดใส ไม่มีอะไรหมองหม่น
เปรียบกับคนสองคนที่รักกัน เปรียบกับใจสองใจใต้เงาพระจันทร์
**ในค่ำคืนนี้ ฉันมีเธออยู่ข้างกาย ไม่จากไปไหน ฉันอยากให้เธอรู้
ว่ายังมีใครที่ยังเฝ้าดูอยู่ อยู่เคียงท้องฟ้าเคียงคู่ดาว
ในคืนที่ฟ้าพร่างพราวด้วยแสงจันทร์  สองเราเคียงคู่กัน ท้องฟ้าดูช่างสุขสันต์
อบอุ่นหัวใจด้วยรักของสองเรา เธอหลับตาฝัน ในอ้อมเขียนของฉัน
ซ้ำ *และ **

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...